φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ร่วมกิจกรรมดูดาวที่ตึกรปปงงิฮิลส์ 24 พฤษภาคม 2019
เขียนเมื่อ 2019/05/24 23:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# ศุกร์ 24 พ.ค. 2019

วันนี้มีกิจกรรมทางดาราศาสตร์จัดขึ้นที่ตึกรปปงงิฮิลส์ (六本木ろっぽんぎヒルズ) โดยสมาคมดาราศาสตร์รปปงงิ (六本木天文ろっぽんぎてんもんクラブ)

ปกติงานนี้จะจัดขึ้นทุกสัปดาห์สุดท้ายของแต่ละเดือน

งานนี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือช่วงบรรยาย เวลา 19:00~20:00 ภายในอาคารชั้น ๔๙ หลังจากนั้น 20:00~22:00 จะให้ขึ้นไปบนยอดตึกรปปงงิฮิลส์เพื่อดูดาว

เนื่องจากสถานที่เป็นดาดฟ้าตึกรปปงงิฮิลส์ซึ่งสูงถึง ๒๓๘ เมตร จึงสามารถมองเห็นฟ้าได้รอบทิศ เหมาะแก่การดูดาว เพียงแต่อยู่กลางเมืองโตเกียวมลพิษทางแสงจึงมาก ยังไงก็ไม่อาจเห็นดาวได้ชัด

ผู้บรรยายในห้องคือ เซนซึย โทโมฮิโระ (泉水せんすい 朋寛ともひろ) เป็นซอเมอลีเยแห่งดวงดาว (ほしのソムリエ)

คำว่าซอเมอลีเย (sommelier, [sɔməlje]) มาจากภาษาฝรั่งเศส ปกติใช้เรียกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องไวน์ ซอเมอลีเยแห่งดวงดาวจึงหมายถึงผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดูดาว คือเมื่อมองไปบนท้องฟ้าจะรู้ว่าดาวดวงไหนคืออะไร และสามารถแนะนำคนอื่นว่าจะดูดาวยังไง

ส่วนคนที่ทำงานบรรยายที่ยอดตึกมีหลายคน มีคนนึงเป็นคนที่ทำงานที่หอดูดาวแห่งชาติ คนนี้เองที่เป็นคนชวนมางานนี้ และเป็นคนขับรถจากหอดูดาวแห่งชาติมาส่งถึงที่ เรามากับเพื่อนคนไทยที่ทำงานอยู่ด้วยกันอีกคน



เราออกจากหอดูดาวแห่งชาติตอนประมาณห้าโมงครึ่ง ระหว่างทางก็รถติดอยู่ กว่าจะถึงรปปงงิฮิลส์ก็เกือบทุ่มซึ่งเป็นเวลาเริ่มบรรยาย

ห้องบรรยายชั้น ๔๙



การบรรยายเริ่มขึ้น เริ่มจากให้ดูว่าคืนนี้จะเห็นดาวอะไรได้บ้างตอนสองทุ่มกว่า มีการเล่านิทานดาวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวที่เห็นด้วยส่วนหนึ่ง




กลุ่มดาวหลักๆที่เขาแนะนำในคืนนี้คือกลุ่มดาวหญิงสาว กลุ่มดาวผมเบเรนิซ กลุ่มดาวนกกา เป็นต้น

แล้วก็มีพูดถึงว่าเดือนหน้าเหมาะแก่การดูดาวพฤหัส เพราะตำแหน่งดาวพฤหัสจะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลกพอดี



หลังจากบรรยายเสร็จเขาก็ปล่อยให้ผู้ร่วมงานเดินไปยังชั้นดาดฟ้าเพื่อดูดาว



เริ่มจากลงจากห้องบรรยายที่ชั้น ๔๙ แล้วขึ้นลิฟต์ไปชั้น ๓ ตรงอีกฝั่งตึก



จากชั้น ๓ เดินไปขึ้นลิฟต์ไปยังชั้น ๕๒




จากชั้น ๕๒ เดินไปที่ห้องที่มีตู้ล็อกเกอร์เพื่อฝากสัมภาระต่างๆซึ่งห้ามนำขึ้นดาดฟ้า แล้วก็ขึ้นลิฟต์ต่อไปยังชั้นดาดฟ้า




ถึงชั้นดาดฟ้า



ตรงกลางของดาดฟ้ามีคนบรรยายว่าดาวอะไรอยู่ตรงไหนบ้างให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจ นอกจากนี้ก็มีตั้งกล้องสำหรับส่องดูวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ เช่นดาวพฤหัส และกระจุกดาว M44 เราก็ได้ลองส่องกล้องดูกระจุกดาว M44 ด้วย





ส่วนนี่เป็นทิวทัศน์ที่มองเห็นจากข้างบนนี้




ทางนี้เห็นย่านชินจุกุซึ่งเต็มไปด้วยตึกสูงๆเต็ม แต่ก็เห็นบริเวณมืดๆ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะต่างๆเป็นหย่อมๆ




ที่โดดเด่นเมื่อมองจากตรงนี้ไปทางตะวันออกก็คือหอคอยโตเกียวและโตเกียวสถายทรี



หอคอยโตเกียวที่มองจากตรงนี้สวยงามทีเดียว




โตเกียวสกายทรีอยู่ไกลไปหน่อยเลยไม่เด่นมาก ต้องขยายเข้าไปจึงจะพอเห็น



หลังจากนั้นก็กลับลงมาตอนสามทุ่มกว่า



จากชั้น ๕๒ นี้มีทางเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะชั้น ๕๓ แต่ว่าดึกแล้วอยากรีบกลับจึงไม่ได้เข้า



เดินผ่านร้านอาหารชั้น ๕๒ เป็นร้านอย่างแพง



มูมิน



จากนั้นก็กลับลงมาด้านล่าง แล้วเดินออกจากตึกไป ก่อนจะกลับก็ถ่ายตัวตึกสักหน่อย ตอนขามานั่งรถเข้ามาในตึกเลยทำให้ไม่ได้มีโอกาสถ่ายตัวตึก



เสร็จแล้วก็ได้เวลาเดินทางกลับ โดยไปขึ้นรถไฟไต้ดินสถานีรปปงงิ (六本木駅ろっぽんぎえき)



เวลานี้ในรถไฟคนแน่นตามคาด ไม่มีโอกาสได้นั่งแน่นอน



การเดินทางกลับต้องไปต่อรถไฟที่สถานีชินจุกุ แล้วนั่งไปลงสถานีโจวฟุ แล้วจึงนั่งรถเมล์จากสถานีโจวฟุกลับไปยังหอดูดาวแห่งชาติ



ลงจากรถเมล์ก็แวะลอว์สันเพื่อหาอะไรกินก่อนจะเดินกลับถึงที่พัก เพราะคืนนี้ไม่ได้กินมื้อเย็น ไม่มีเวลากินเลย

กว่าจะกลับถึงก็ประมาณสี่ทุ่มกว่า ดึกมากแล้ว กลับมาถึงก็รีบมาเขียนบันทึกนี้เสร็จตอนตีสอง

แล้วก็ได้เวลานอน วันรุ่งขึ้นยังต้องตื่นเช้าเพื่อเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดโดยขึ้นรถที่สถานีชินจุกุตอน 7:30



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ดาราศาสตร์
-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ท่องเที่ยว >> ตึกระฟ้า

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ