φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
เขียนเมื่อ 2012/10/10 16:14
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
หลายวันก่อนมีกระแสออกมาอย่างแรง เรื่องการเปลี่ยนมาตรฐานในการเขียนทับศัพท์ของราชบัณฑิต http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000121006


ซึ่งในนี้ประกาศว่าจะเปลี่ยนหลักการเขียนทับศัพท์ให้ต้องใส่รูปวรณยุกต์ให้ตรงกับที่อ่านออกเสียงจริง เช่น คอมพิวเตอร์ ให้เปลี่ยนเป็น ค็อมพิ้วเต้อร์ กอล์ฟ ให้เปลี่ยนเป็น ก๊อล์ฟ

การประกาศครั้งนี้ทำให้มีผู้คนมากมายออกมาต่อต้าน และเราก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงแบบนี้ด้วยแน่นอน

นั่นเพราะในปัจจุบันหลักการทับศัพท์เดิมซึ่งกำหนดโดยราชบัณฑิตไว้ชัดเจนว่าไม่ให้ใส่วรรณยุกต์ถ้าไม่จำเป็น

อ่านหลักเกณฑ์กันได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/คำทับศัพท์



หากจะมากลับคำเปลี่ยนเป็นว่าให้มาใส่รูปวรรณยุกต์กันเอาตอนนี้ แน่นอนว่าต้องเกิดความสับสนอลหม่าน คนก็จะไม่รู้ว่าจะยึดตามหลักเก่าหรือใหม่ดี

และที่สำคัญคือการที่เราไม่ควรจะใส่รูปวรรณยุกต์ให้กับคำที่ทับศัพท์นั้นมันก็มีเหตุผลที่สมควรแล้ว

เหตุผลง่ายๆก็คือ

1. เสียงวรรณยุกต์ที่คนไทยออกเสียงกันในคำเหล่านั้นไม่ใช่เสียงที่แท้จริง
เสียงที่เราออกกันนั้นส่วนใหญ่ตามความเคยชินของคนไทย มันไม่ใช่เสียงที่เจ้าของภาษาเขาออกกันจริงๆ เช่น คอมพิวเตอร์ คนไทยออกเสียงว่า ค็อมพิ้วเต้อร์ แต่เสียงมาตรฐานจริงๆฟังดูแล้วน่าจะเป็น ค็อมพิ้วเต่อร์ มากกว่า
การไปใส่วรรณยุกต์มันก็เหมือนเป็นการเน้นว่าเราต้องอ่านตามแบบเดิมที่ผิดๆมาจนชินนั้น

2. คำในภาษาต่างประเทศดั้งเดิมนั้นไม่มีเสียงวรรณยุกต์แน่นอน และเปลี่ยนไปตามรูปประโยค
ถึงแม้ว่าจะพยายามเขียนวรรณยุกต์เพื่อเลียสเสียงภาษานั้นๆให้ใกล้ที่สุดก็ตาม ก็ยังไม่สามารถทำให้ตรงได้หมดอยู่ดี เพราะภาษาส่วนใหญ่ในโลกนั้นไม่มีเสียงวรรณยุกต์ ปกติแล้วเสียงจะต่างไปตามแต่ว่าอยู่ส่วนไหนของประโยค จึงอยากจะกำหนดวรรณยุกต์ที่แน่นอนให้คำนั้นๆ
แต่ก็ยกเว้นภาษาที่มีวรรณยุกต์ เช่น จีน พม่า เวียดนาม เวลาทับศัพท์ภาษาเหล่านี้ควรใส่วรรณยุกต์ให้ตรง นอกนั้นแล้วก็ไม่ควรใส่

3. จะทำให้ระบบการเขียนปั่นป่วน เพราะแต่ละคนเขียนไม่เหมือนกัน
ถ้าเป็นคำที่ใช้กันมาจนคุ้นเคยคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเจอคำใหม่ที่ไม่คุ้นเคยจะทำยังไง เนื่องจากการที่ภาษาดั้งเดิมนั้นมีวรรณยุกต์ไม่แน่นอน ทำให้ถ้าหากเวลาจะเขียนทับศัพท์เป็นไทยแล้วต้องพยายามมาใส่รูปวรรณยุกต์ตลอดละก็ แต่ละคนอาจจะเขียนไม่เหมือนกันเลยก็เป็นได้ จะแน่ใจได้แค่ไหนว่าคนที่เขียนเขารู้สำเนียงถูกต้องทุกคำ หรือต่อให้รู้สำเนียงถูกต้อง เสียงบางคำมันก็ก้ำกึ่งระหว่างวรรณยุกต์สองตัว ก็ทำให้เขียนได้หลายแบบอยู่ดี และไม่อาจตัดสินได้ง่ายๆว่าแบบไหนถูก จึงทำให้เกิดอะไรที่เป็นหลายมาตรฐาน
ปัจจุบันนี้แค่การเขียนพยัญชนะกับสระให้ถูกต้องโดยไม่สนใจวรรณยุกต์คนยังเขียนกันไม่ค่อยจะถูกเลย ถ้ายิ่งต้องมาจู้จี้เรื่องวรรณยุกต์ด้วยก็จะยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีก

4. เสียงในคำไทยดั้งเดิมเองก็มีคำที่เขียนไม่ตรงเสียงวรรณยุกต์
เช่นคำว่า ตำรวจ กำราบ สำเร็จ ฯลฯ คำพวกนี้ก็ต้องมาคอยจำเสียงอ่านให้ถูกเหมือนกัน ถ้าคิดจะเปลี่ยนการออกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาต่างประเทศละก็ เปลี่ยนคำไทยพวกนี้ก่อนน่าจะดีกว่า



ต่อไปจะพูดถึงเหตุผลที่ผู้ที่บอกว่าสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงตามที่ราชบัณฑิตเสนอมานี้ พร้อมทั้งหักล้าง

- ไอ้ที่เขียนกันมามันผิดมาตลอด เราควรจะแก้ไขเพื่อให้ถูกต้อง
>>> ผิดถูกนั้นดูจากอะไร? ถ้าจะบอกว่าสิ่งที่ราชบัณฑิตกำหนดนั้นถูกต้อง งั้นก่อนหน้านี้ที่เราเขียนตามมาตรฐานเดิมของราชบัณฑิตอยู่แล้วก็ต้องถือว่าถูกไม่ใช่หรือ การเปลี่ยนครั้งนี้เลยดูเหมือนการแก้สิ่งที่ผิดให้เป็นถูก สิ่งที่ถูกให้เป็นผิดมากกว่า

- การแก้ไขนี้ก็เพื่อให้เด็กที่เพิ่งหัดภาษาไทยออกเสียงให้ถูกง่ายขึ้น
>>> มันก็แค่ถูกตามที่คนไทยทั่วไปออกเสียง แต่ไม่ได้ถูกตามสำเนียงภาษาดั้งเดิม (ไปอ่านข้อ 1. ด้านบน)

- ต่อให้ที่ออกเสียงกันตอนนี้จะไม่ใกล้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาพอดี แต่ก็ยังใกล้เคียงมากกว่าการอ่านตามที่เขียนตรงๆแบบไม่ใส่รูปวรรณยุกต์
>>> ถึงจะออกเสียงใกล้เคียงขึ้นแต่ก็คงแค่นิดเดียว ไม่ได้สำคัญขนาดจะต้องมาจู้จี้ตรงนี้

- เขียนรูปวรรณยุกต์ให้แน่นอนไปเลยจะได้ไม่ต้องมานั่งจำกันเอาเองว่าคำโน้นคำนี้อ่านออกเสียงวรรณยุกต์แบบนี้
>>> การจำว่าอ่านยังไงมันไม่ใช่เรื่องยากขนาดนั้น ส่วนใหญ่ก็ตามความเคยชิน ตรงนี้อาจต้องยอมลำบากนิดหน่อยเพื่อไม่ให้ระบบภาษาปั่นป่วน (ไปอ่านข้อ 3. ด้านบน) ภาษาต่างประเทศซึ่งไม่มีวรรณยุกต์ถึงอ่านวรรณยุกต์ผิดก็ไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยน

- ภาษาเรามีวรรณยุกต์นั้นถือเป็นข้อดี ก็ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์สิ
>>> ถ้าจะใช้ประโยชน์ก็ควรใช้โดยการเขียนให้ออกเสียงตรงภาษาเดิมที่สุดมากกว่า เช่นในตำราสอนภาษาอังกฤษบางเล่ม มีการใช้วรรณยุกต์เพื่อการกำกับ accent ซึ่งนั่นเป็นเสียงที่น่าจะใกล้เคียงเสียงอ่านจริงๆมากที่สุด แต่ก็พบว่าคำส่วนใหญ่แทบไม่เหมือนกับที่คนไทยออกเสียงหรือที่ราชบัณฑิตต้องการให้เปลี่ยนมาเขียนตามนั้นเลย ดังนั้นถ้าจะใส่วรรณยุกต์จริงๆก็ควรทำให้ได้แบบนี้ แล้วก็สอนเด็กไทยใหม่ไปเลย

- คนที่ไม่อยากเปลี่ยนก็แค่ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง
>>> เรายอมรับความเปลี่ยนแปลงได้เสมอนะ ถ้าเปลี่ยนแล้วมันดีขึ้น แต่เปลี่ยนแล้วไม่ได้ประโยชน์แถมยังดูจะยิ่งแย่ลงใครจะอยาก (ทำไมเปลี่ยนแล้วถึงไม่ดี? ย้อนไปดูข้อก่อนๆ)

- เปลี่ยนแล้วไม่ได้บังคับว่าจะต้องเขียนตามสักหน่อย ใครไม่ชอบจะเขียนแบบเดิมก็ไม่มีใครว่า
>>> แล้วจะมากำหนดให้เปลี่ยนไปเพื่ออะไรถ้าไม่คิดจะบังคับเด็ดขาด จะยิ่งทำให้กลายเป็นแต่ละคนเขียนไม่เหมือนกัน บางคนยึดตามแบบเก่า บางคนยึดตามแบบใหม่ วุ่นวายแย่



จากที่เจอมา คนส่วนหนึ่งที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพราะเขาเข้าใจว่าเสียงที่คนไทยออกกันปกติอยู่นี้ก็ตรงกับเจ้าของภาษามากอยู่แล้ว ซึ่งเราก็ต้องพยายามอธิบายให้เข้าใจว่ายังไงมันก็ไม่ได้ใกล้เลย

แต่เราไม่ได้บอกว่าคนไทยควรจะเลิกอ่านสำเนียงภาษาต่างประเทศแบบที่เคยชินกันอยู่ตอนนี้แล้วเปลี่ยนให้อ่านสำเนียงตรงกับเจ้าของภาษาเป๊ะๆ เพราะมันเป็นไปไม่ได้และไม่จำเป็นด้วย เราอ่านตามที่ชินอยู่อย่างนี้ก็ดีอยู่แล้วเวลาพูดภาษาไทย
เพียงแต่มันไม่ใช่สิ่งที่จะต้องมาเน้นหรือกำหนดมาตรฐานให้แน่ชัดว่าเราต้องอ่านแบบนี้ให้ได้ทุกคน ยังไงถ้าเกิดและโตในไทยก็อ่านแบบนี้ไปได้เองตามธรรมชาติอยู่ดี
พวกฝรั่งที่มาเรียนภาษาไทย พูดไทยได้ชัด แต่พอพูดคำทับศัพท์เขาก็พูดตามสำเนียงเขาเองโดยไม่พูดตามสำเนียงไทยก็มีมากมาย ซึ่งก็ไปว่าเขาไม่ได้

เขียนมาซะยาว สรุปง่ายๆว่าทำไมไม่ควรเปลี่ยน นั่นคือมันไม่มีประโยชน์ มีข้อเสียมากกว่าข้อดี

สิ่งที่ควรทำมากมากกว่าในตอนนี้คือการรณรงค์เพื่อให้เขียนภาษาไทยให้ถูกกันมากขึ้น และพยายามแก้ปัญหาการใช้ภาษาวิบัติมากกว่า
 


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ