φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
เขียนเมื่อ 2022/05/28 10:36
แก้ไขล่าสุด 2022/06/04 18:47
 



อักษรกรีก (Ελληνικό αλφάβητο) เป็นอักษรเก่าแก่ที่มีความสำคัญ เป็นที่รู้จักดี และยังถูกใช้มาอย่างยาวนานตลอดจนถึงปัจจุบัน

ในปัจจุบันอักษรกรีกมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆมากมาย และคนทั่วไปก็รู้จักอักษรกรีกกันในฐานะสัญลักษณ์แทนอะไรต่างๆซะมาก แม้ว่าจะไม่รู้ภาษากรีกเลยก็ยังคุ้นเคยกับอักษรกรีกกันพอสมควร

แต่แน่นอนว่าเดิมทีแล้วอักษรกรีกนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เขียนภาษากรีก (Ελληνικά) ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณเป็นพันๆปีก่อน และยังคงใช้เขียนภาษากรีกสมัยใหม่ซึ่งใช้พูดมาจนถึงปัจจุบัน

อักษรกรีกเป็นอักษรแทนเสียงอ่าน และเสียงอ่านนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงจากยุคโบราณมาจนถึงยุคสมัยใหม่ ทำให้เมื่อพูดถึงอักษรกรีกหรือภาษากรีกแล้วอาจมีการสับสนเกิดขึ้นได้

ในบทความนี้จะอธิบายถึงอักษรกรีก ทั้งชื่อเรียกตัวอักษร และเสียงอ่านตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่





กรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่

ภาษากรีกโบราณกับกรีกสมัยใหม่นั้นต่างก็เขียนโดยใช้อักษรกรีกเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียด เปลี่ยนไปตายุคสมัย

ภาษากรีกสมัยใหม่ (Νεοελληνική γλώσσα) หมายถึงภาษากรีกที่ใช้ซึ่งพูดโดยชาวกรีกยุคปัจจุบัน ซึ่งมี ๑๐ กว่าล้านคน รวมถึง ซึ่งนอกจากจะใช้ในประเทศกรีซ (Ελλάδα) แล้วยังใช้ในประเทศไซปรัส (Κύπρος) ซึ่งเป็นประเทศเกาะเล็กๆทางใต้ของตุรกีด้วย

แผนที่แสดงตำแหน่งของพื้นที่ที่ใช้ภาษากรีก คาบสมุทรด้านซ้ายและรวมถึงเกาะต่างๆในแถบนั้นคือประเทศกรีซ ส่วนเกาะหนึ่งที่แยกมาโดดเดี่ยวทางด้านขวาคือประเทศไซปรัส



ในขณะที่ภาษากรีกโบราณ (Αρχαία ελληνική γλώσσα) จะหมายถึงภาษากรีกที่ใช้ในสมัยก่อนนานมาแล้ว

ตัวภาษากรีกเองก็มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดตามยุคสมัย แต่โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงกรีกโบราณแล้วจะหมายถึงภาษากรีกที่ใช้ในช่วงยุคที่อาณาจักรของชาวกรีกนั้นได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด คือช่วง 400 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งมีการเขียนเอกสารต่างๆบันทึกไว้เป็นภาษากรีกจำนวนมากซึ่งหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน

คนกรีกปัจจุบันสามารถเข้าใจภาษากรีกโบราณได้ในระดับนึง แต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากภาษากรีกมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดช่วงระยะเวลาเป็นพันๆปี

อักษรที่ใช้ในภาษากรีกมี ๒๔ ตัวตั้งแต่สมัยกรีกโบราณจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้แตกต่างกัน แต่วิธีการเขียนนั้นได้ต่างไปจากเดิม เช่นภาษากรีกโบราณมีการแต่งเติมสัญลักษณ์เพิ่มเติมมากกว่า อีกทั้งแม้แต่อักษรตัวเดียวกันก็มีเสียงอ่านเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งทำให้เวลาพูดถึงชื่อต่างๆในภาษากรีก คนมักจะสับสนว่าจริงๆควรเรียกว่าอะไรกันแน่ เพราะเสียงอ่านจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่ายึดตามกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่

ปัจจุบันนี้หากศึกษาภาษากรีกเพื่อไปคุยกับคนกรีกก็ต้องเรียนภาษากรีกสมัยใหม่ แต่หากต้องการศึกษาประวัติศาสตร์หรือภาษาศาสตร์ทางยุโรปแล้วก็ควรจะเรียนภาษากรีกโบราณ

ภาษากรีกโบราณนั้นเป็นรากศัพท์ของภาษาต่างๆมากมายทางยุโรป มักถูกใช้ในเชิงวิชาการ ชื่อเทพเจ้าหรืออะไรที่เก่าๆโบราณก็มักจะเรียกตามภาษากรีกโบราณเป็นหลัก ในขณะที่กรีกสมัยใหม่จะใช้เรียกชื่อคนหรือสถานที่ในปัจจุบันเป็นหลัก




อักษรกรีก ๒๔ ตัว

อักษรกรีกที่ใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันมีทั้งหมด ๒๔ ตัว โดยแต่ละตัวนั้นมีการเขียนเป็นตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่

ตารางต่อไปนี้จะแสดงชื่อเรียกอักษรแต่ละตัว รวมถึงเสียงอ่าน โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกรีกโบราณกับกรีกสมัยใหม่ด้วย โดยจะแสดงด้วย IPA พร้อมทับศัพท์ด้วยอักษรไทย

ชื่ออักษรแต่ละตัวที่นิยมเรียกในภาษาไทยนั้นมีทั้งที่อ่านตามแบบกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่ปนๆกันไป หรือบางตัวก็ไม่ได้อ่านเหมือนทั้งกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่ แต่อ่านตามเสียงที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ

เสียงอ่านภาษาไทยตามที่นิยม (อาจมีหลายแบบ) และชื่อที่เขียนด้วยอักษรโรมันก็จะใส่ลงในนี้เพื่อเปรียบเทียบด้วย

อักษร ชื่อเรียก เสียงอ่าน
ตัว
เล็ก
ตัว
ใหญ่
กรีก ไทย โรมัน กรีก
โบราณ
กรีก
สมัยใหม่
โบราณ สมัยใหม่
α Α ἄλφα
[alpʰa]
อัลพา
άλφα
[alfa]
อัลฟา
อัลฟา
แอลฟา
alpha /a/
อา
β Β βῆτα
[bɛːta]
แบตา
βήτα
[vita]
วีตา
เบตา
บีตา
beta /b/
/v/
(ว)
γ Γ γάμμα
[ɡamma]
กัมมา
γάμμα
[ɣama]
กามา
กัมมา
แกมมา
gamma /ɡ/
(ก)
/ɣ/
(ก)
δ Δ δέλτα
[delta]
เดลตา
δέλτα
[ðelta]
เดลตา
เดลตา delta /d/
/ð/
(ด)
ε Ε εἶ
[eː]
เอ
έψιλον
[epsilon]
เอปซีลน
เอปซีลอน
เอปไซลอน
epsilon /e/
เอ
ζ Ζ ζῆτα
[zdɛːta]
แซตา
ζήτα
[zita]
ซีตา
เซตา
ซีตา
zeta /zd/
(ซ)
/z/
(ซ)
η Η ἦτα
[ɛːta]
แอตา
ήτα
[ita]
อีตา
เอตา
อีตา
eta /ɛː/
แอ
/i/
อี
θ Θ θῆτα
[tʰɛːta]
แทตา
θήτα
[θita]
ธีตา
เธตา
ธีตา
theta /tʰ/
/θ/
(ธ)
ι Ι ἰῶτα
[iɔːta]
อีออตา
ιώτα
[ʝota]
โยตา
อีโอตา
ไอโอตา
iota /i/
อี
κ Κ κάππα
[kappa]
กัปปา
κάππα
[kapa]
กาปา
คัปปา
แคปปา
kappa /k/
λ Λ λάμβδα
[lambda]
ลัมบ์ดา
λάμβδα
[lamða]
ลัมดา
ลัมบ์ดา
แลมบ์ดา
lambda /l/
μ Μ μυ
[myː]
มือ
μυ
[mi]
มี
มิว mu /m/
ν Ν νυ
[nyː]
นือ
νυ
[ni]
นี
นิว nu /n/
ξ Ξ ξεῖ
[kseː]
กเซ
ξι
[ksi]
กซี
คซี
คไซ
xi /ks/
กซ
ο Ο οὖ
[uː]
อู
όμικρον
[omikron]
โอมีกรน
โอมีครอน
โอไมครอน
omicron /o/
โอ
π Π πεῖ
[peː]
เป
πι
[pi]
ปี
ไพ pi /p/
ρ Ρ ρώ
[rɔː]
รอ
ρώ
[ro]
โร
โร rho /r/
σ
ς
Σ σῖγμα
[siɡma]
ซิกมา
σίγμα
[siɣma]
ซิกมา
ซิกมา sigma /s/
τ Τ ταῦ
[tau]
ตาว
ταυ
[taf]
ตัฟ
เทา tau /t/
υ Υ
[yː]
อือ
ύψιλον
[ipsilon]
อิปซีลน
อิปซีลอน
อุปซีลอน
อิปไซลอน
upsilon /y/
(อือ)
/i/
อี
φ Φ φεῖ
[pʰeː]
เพ
φι
[fi]
ฟี
ฟี
ไฟ
phi /pʰ/
/f/
χ Χ χεῖ
[kʰeː]
เค
χι
[çi]
คี
คี
ไค
chi /kʰ/
/x/
(คฮ)
ψ Ψ ψεῖ
[pseː]
ปเซ
ψι
[psi]
ปซี
พซี
พไซ
psi /ps/
ปซ
ω Ω
[ɔː]
ออ
ωμέγα
[oˈmeɣa]
โอเมกา
โอเมกา omega /ɔː/
ออ
/o/
โอ

ในจำนวนนี้อักษรที่เป็นสระมีอยู่ ๗ ตัวคือ α ε η ι ο υ ω ในที่นี้แทนด้วยพื้นสีเหลือง ที่เหลืออีก ๑๗ ตัวเป็นพยัญชนะ

ε และ υ นั้นในกรีกโบราณเรียกชื่อแค่สั้นๆ แต่ในยุคหลังได้มีการเติมคำว่า ψιλον (psilon) ซึ่งมีความหมายว่า "ก็แค่ธรรมดา" ลงไป จึงกลายเป็น έψιλον (epsilon) และ ύψιλον (upsilon) ไป

ส่วนคำว่า μικρον (micron) และ μέγα (mega) ในชื่ออักษร ο และ ω นั้นหมายถึง "เล็ก" และ "ใหญ่" ถูกเติมมาในสมัยหลังเพื่อแยกชื่อเรียกตัว ο และ ω ให้ต่างกัน จึงกลายเป็น όμικρον (omicron) และ ωμέγα (omega)

อักษรซิกมานั้นจะพิเศษหน่อยตรงที่ตัวพิมพ์เล็กมีเขียนอยู่ ๒ แบบ ปกติจะเขียนเป็น σ แต่ถ้าอยู่ท้ายสุดของคำจะเขียนเป็น ς



ความแตกต่างของเสียงสระเดี่ยวในกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่

ข้อแตกต่างระหว่างเสียงอ่านภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือเสียงสระ

ในที่นี้ขอแสดงตารางเปรียบเทียบเสียงอ่านเฉพาะแค่อักษร ๗ ตัวที่เป็นสระ โดยอธิบายความแตกต่างลงไปด้วย

อักษร เสียงอ่าน คำอธิบาย
ตัว
เล็ก
ตัว
ใหญ่
กรีก
โบราณ
กรีก
สมัยใหม่
α Α /a/, /aː/
อา
เป็นเสียงสระอา ในกรีกโบราณอาจเป็นเสียงสั้นหรือยาว แล้วแต่คำ
ในกรีกสมัยใหม่ไม่แยกเสียงสั้นยาว
ε Ε /e/
เอ
เป็นเสียงสระเอ ในกรีกโบราณแทนเสียงสั้นเสมอ
ในกรีกสมัยใหม่ไม่แยกเสียงสั้นยาว
η Η /ɛː/
แอ
/i/
อี
ในกรีกโบราณเป็นสระแอเสียงยาว
ในกรีกสมัยใหม่เป็นสระอี (เหมือน ι)
ι Ι /i/, /iː/
อี
เป็นเสียงสระอี ในกรีกโบราณอาจแทนเสียงสั้นหรือยาว แล้วแต่คำ
ในกรีกสมัยใหม่ไม่แยกเสียงสั้นยาว
ο Ο /o/
โอ
เป็นเสียงสระโอ ในกรีกโบราณแทนเสียงสั้นเสมอ
ในกรีกสมัยใหม่เป็นไม่แยกเสียงสั้นยาว
υ Υ /y/, /yː/
(อือ)
/i/
อี
ในกรีกโบราณเมื่ออยู่เดี่ยวเป็นเสียง /y/ (คล้าย "อือ") โดยอาจเป็นเสียงสั้นหรือยาวแล้วแต่คำ แต่หากอยู่ต่อจากสระอื่นจะออกเสียงเป็นสระอู
ส่วนในกรีกสมัยใหม่เป็นเสียงสระอี (เหมือน ι)
ω Ω /ɔː/
ออ
/o/
โอ
ในกรีกโบราณแทนสระออเสียงยาว
ในกรีกสมัยใหม่แทนเสียงสระโอ (เหมือน ο)

จากตารางจะเห็นว่าอักษร η, υ และ ω มีเสียงอ่านที่ต่างกันไประหว่างกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่ จึงต้องระวังให้ดี

ในกรีกโบราณนั้น อักษรสระ ๗ ตัวแทนสระที่ต่างกันออกไปทั้งหมด แต่เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงทำให้เสียงอ่านต่างไปจากเดิม ในกรีกสมัยใหม่มีการซ้ำกันเกิดขึ้น สร้างความสับสนขึ้นมาได้

เช่นเดิมทีภาษากรีกโบราณแยกเสียงสระโอกับสระออ โดยสระโอใช้ตัว ο และสระออใช้ตัว ω แต่ว่าในปัจจุบันทั้ง ο และ ω ต่างแทนเสียงสระโอเหมือนกันทั้งคู่

ส่วนอักษร η และ υ นั้นก็เปลี่ยนเป็นสระอีซึ่งไปซ้ำกับอักษร ι อีกที ทั้งที่เดิมที่เป็นคนละสระกันต่างออกไป

ตัว υ ในภาษากรีกโบราณออกเสียง /y/ คือคล้าย ü ในภาษาจีนกลางหรือภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นสระที่ไม่มีในภาษาไทย แต่ฟังดูคล้ายๆสระอือ หรือเป็น "อวี"

เพียงแต่หาก υ ไปตามหลังอักษรสระตัวอื่นจะออกเสียงเป็นสระอูแทน เช่นชื่อเทพ Ζεύς (Zeus) อ่านว่า "เซอุส"

นอกจากนี้ภาษากรีกโบราณมีการแยกเสียงสั้นและเสียงยาวด้วย โดยอักษร α ι υ นั้นอาจเป็นได้ทั้งเสียงสั้นหรือยาว แล้วแต่คำ ในขณะที่อักษร ε ο จะเป็นเสียงสั้นเสมอ และอักษร η ω จะเป็นเสียงยาวเสมอ

เสียงสั้นหรือยาวของตัว α ι υ นั้นไม่ได้ถูกเขียนแยกให้ต่างกันชัดเจน แต่ในบางครั้งก็มีการเติมเครื่องหมาย ¯ เป็น ᾱ ῑ ῡ เพื่อแทนเสียงยาว หรือเติม ˘ เป็น ᾰ ῐ ῠ เพื่อแสดงเสียงสั้น แต่ก็ไม่ได้ใช้ในการเขียนโดยทั่วไป จึงมักจะต้องแยกเสียงสั้นหรือยาวเอาเองด้วยวิธีอื่น




เสียงสระเมื่อวางต่อกันสองตัว

อักษรสระ ๒ ตัวอาจนำมาวางต่อกันเพื่อแสดงเสียงสระประสม หรือสระใหม่ที่ต่างกันออกไปได้ ซึ่งเสียงของสระเหล่านี้ก็มีความแตกต่างกันไประหว่างกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่เช่นกัน

เขียน เสียงอ่าน คำอธิบาย
กรีก
โบราณ
กรีก
สมัยใหม่
αι /ai/, /aːi/
ไอ, อาย
/e/
เอ
ในกรีกโบราณอ่านตรงตัวเป็นสระอาตามด้วยสระอี (=สระไอ)
ในกรีกสมัยใหม่เสียงกลายเป็นสระเอ
αυ /au/, /aːu/
เอา, อาว
/af/
อัฟ
ในกรีกโบราณอ่านตรงตัวเป็นสระอาตามด้วยสระอู
ในกรีกสมัยใหม่เสียง υ ด้านหลังกลายเป็น "ฟ"
ει /ei/, /eː/
เอย์, เอ
/i/
อี
ในกรีกโบราณเป็นสระเอเสียงยาว หรือสระเอแล้วตามด้วยสระอี
ในกรีกสมัยใหม่กลายเป็นสระอี
ευ /eυ/
เอว
/ef/
เอฟ
ในกรีกโบราณอ่านตรงตัวเป็นสระเอตามด้วยสระอู
ในกรีกสมัยใหม่เสียง υ ด้านหลังกลายเป็น "ฟ"
οι /oi/
โอย
/i/
อี
ในกรีกโบราณอ่านตรงตัวเป็นสระโอตามด้วยสระอี
ในกรีกสมัยใหม่เสียงกลายเป็นสระอี
ου /u/
อู
ออกเสียงสระอูตลอดทั้งในกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่

จะเห็นว่าในกรีกโบราณเสียงอ่านจะเกิดเป็นเสียงสระประสมค่อนข้างตรงตัว เข้าใจได้ง่ายกว่า ในกรีกสมัยใหม่ได้สูญเสียสระประสม และเกิดเป็นสระเดี่ยวซ้ำๆกันมากมาย

ส่วนเสียง υ ใน αυ กับ ευ นั้นได้กลายเป็นออกเป็นเสียง "ฟ" ไป




สระประสมที่กลายเป็นสระเดี่ยวในกรีกสมัยใหม่

เนื่องจากภาษากรีกสมัยใหม่มีสระหลายรูปที่เขียนต่างกันแต่ออกเสียงเหมือนกัน จึงขอสรุปรวมแต่ละเสียงไว้ในตารางนี้

เขียน เสียงอ่านกรีกสมัยใหม่
α /a/
อา
ε αι /e/
เอ
ι η υ ει οι /i/
อี
ο ω /o/
โอ
ου /u/
อู





เครื่องหมายเน้นเสียง

ภาษากรีกมีการเติมเครื่องหมายเพื่อเน้นเสียงสูงเสียงต่ำด้วย โดยในกรีกโบราณมีการเติมเครื่องหมายเน้นเสียง ๓ ชนิด ในขณะที่กรีกสมัยใหม่จะใช้แค่ ´

เขียน ความหมาย
´ วางบนสระเพื่อแสดงเสียงสูง ใช้ทั้งในกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
` วางบนสระเพื่อแสดงเสียงต่ำในกรีกโบราณ ส่วนกรีกสมัยใหม่ไม่ได้ใช้
˜ ˆ วางบนสระเพื่อแสดงเสียงขึ้นสูงแล้วลงต่ำ ส่วนกรีกสมัยใหม่ไม่ได้ใช้
อาจเขียนเป็น ˜ หรือ ˆ ก็ได้ ความหมายไม่ต่างกัน

กรณีที่เป็นสระประสมจะวางไว้ที่สระตัวหลัง เช่น αῖ (ไม่ใช่ ᾶι)

หากเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เครื่องหมายจะไปอยู่ด้านซ้าย เช่น Ὲ Έ




เสียง "ฮ" ในกรีกโบราณ

ในภาษากรีกโบราณนั้นมีเสียง "ฮ" อยู่ด้วย แต่ว่าไม่ได้มีอักษรพยัญชนะที่ใช้แทนเสียง "ฮ" โดยเฉพาะ แต่เสียง "ฮ" กลับถูกแสดงโดยใช้เครื่องหมาย เติมด้านบนสระ

นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องหมาย ᾿ เพื่อแยกว่าไม่ต้องออกเสียง "ฮ" แต่ให้เป็น "อ" ไป

สัญลักษณ์ กับ ᾿ นี้จะถูกเขียนบนอักษรสระที่ไม่ได้ตามด้วยพยัญชนะ เพื่อจะแยกว่าเป็นเสียง "อ" หรือ "ฮ" แต่จะไม่เขียนบนสระที่ตามหลังพยัญชนะอยู่แล้ว

การเขียน และ ᾿ นั้นอาจใช้ปนกับสัญลักษณ์แสดงการเน้นเสียง โดยหากอยู่กับ ´ หรือ ` จะวางอยู่ด้านซ้าย แต่หากอยู่กับ ˜ (หรือ ˆ) จะวางอยู่ด้านล่าง

ตัวอย่างการใช้เช่นชื่อเทพ Ἑρμῆς (Hermēs) อ่านว่า "เฮร์แมส" เพราะ Ε เติม ส่วนชื่อเทพ Ἔρις (Eris) อ่าน "เอริส" เพราะเติม ᾿

อย่างไรก็ตาม กรีกสมัยใหม่ได้สูญเสียเสียง "ฮ" ไปแล้ว จึงไม่มีการเติม กับ ᾿ และอ่านเป็น "อ" ทั้งหมด

เขียน ตัวอย่างและความหมาย
ἁ ἃ ἅ ἇ ἑ ἓ ἕ ἡ ἣ ἥ ἧ ἱ ἳ ἵ ἷ ὁ ὃ ὅ ὑ ὓ ὕ ὗ ὡ ὣ ὥ ὧ
วางบนสระที่ไม่มีพยัญชนะนำหน้าเพื่อแสดงว่าออกเสียง "ฮ"
᾿ ἀ ἂ ἄ ἆ ἐ ἒ ἔ ἠ ἢ ἤ ἦ ἰ ἲ ἴ ἶ ὀ ὂ ὄ ὐ ὒ ὔ ὖ ὠ ὢ ὤ ὦ
วางบนสระที่ไม่มีพยัญชนะนำหน้าเพื่อแสดงว่าไม่ออกเสียง "ฮ" ให้ออกเสียง "อ" ไป

นอกจากนี้แล้ว ยังใช้เติมบนตัว ρ เป็น เพื่อแสดงเสียง /r̥/ ด้วย เช่นชื่อเทพ Ῥέα (Rhea) อ่านว่า "เรอา"




อีโอตาตัวเล็กวางด้านล่าง

ในภาษากรีกโบราณนั้นอักษร ι เมื่อตามหลัง α (เสียงยาว) หรือตัว η หรือ ω นั้นเสียง ι จะหายไป การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดในกรีกโบราณยุคหลัง แต่เนื่องจากยังมีหน้าที่ทางไวยากรณ์อยู่ จึงมีการเขียน ι ที่มีตัวตนอยู่แต่เสียงหายไปนี้ในรูปห้อยด้านล่างตัว α η ω กลายเป็นเหมือนเครื่องหมายขีดด้านล่าง

อักษร เสียงอ่านกรีกโบราณ
ตัว
เล็ก
ตัว
ใหญ่
ยุคแรก ยุคหลัง
/aːi/
อาย
/aː/
อา
/ɛːi/
แอย
/ɛː/
แอ
/ɔːi/
ออย
/ɔː/
ออ

ตัวอย่างเช่นชื่อเทพแห่งขุมนรก ᾍδης อ่านว่า "ฮายแดส" ในกรีกโบราณยุคต้น แต่เสียง ι ได้หายไป จึงอ่านเป็น "ฮาแดส" ในกรีกโบราณยุคหลัง ในขณะที่กรีกสมัยใหม่จะละ ι ไป จึงเขียนเป็น Άδης (อ่านว่า "อาดีส")




เสียงคู่พ่นลมกับไม่พ่นลมในกรีกโบราณที่หายไป

ภาษากรีกโบราณนั้นมีการแยกเสียงพ่นลมและไม่พ่นลม เช่นเดียวกับในภาษาไทย

เสียงไม่พ่นลมหมายถึงเสียง "ก ต ป" ซึ่งแทนด้วยอักษร κ τ π ทั้งในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่

ในขณะที่เสียงพ่นลมจะหมายถึงเสียง "ค ท พ" ซึ่งมีในกรีกโบราณ แทนด้วยตัวอักษร χ θ φ ในขณะที่ในกรีกปัจจุบันนั้นเสียงของอักษรเหล่านี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว

ตารางเปรียบเทียบเสียงแต่ละคู่ แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลง

อักษร เสียงอ่าน คำอธิบาย
ตัว
เล็ก
ตัว
ใหญ่
กรีก
โบราณ
กรีก
สมัยใหม่
κ Κ /k/
χ เป็นเสียงพ่นลมของ κ ในภาษากรีกโบราณ
แต่ในกรีกสมัยใหม่ χ กลายเป็นเสียง /x/ คือเป็นเสียงคล้าย "ค" แต่มีการกักภายในลำคอ
χ Χ /kʰ/
/x/
(คฮ)
τ Τ /t/
θ เป็นเสียงพ่นลมของ τ ในภาษากรีกโบราณ
แต่ในกรีกสมัยใหม่ χ กลายเป็นเสียง /θ/ คือเหมือนเสียง th ในภาษาอังกฤษ
θ Θ /tʰ/
/θ/
(ธ)
π Π /p/
φ เป็นเสียงพ่นลมของ π ในภาษากรีกโบราณ
แต่ในกรีกสมัยใหม่ φ กลายเป็นเสียง "ฟ"
φ Φ /pʰ
/f/




การเปลี่ยนแปลงของพยัญชนะเสียงก้อง

ในภาษากรีกมีพยัญชนะที่แทนเสียงก้องอยู่ ๔ ตัว คือ β γ δ ζ เป็นคู่เสียงก้องของอักษร π κ τ σ ซึ่งเป็นเสียงไม่ก้อง

แต่อักษรเหล่านี้ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงเสียงอ่านต่างไประหว่างกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่

อักษร เสียงอ่าน คำอธิบาย
ตัว
เล็ก
ตัว
ใหญ่
กรีก
โบราณ
กรีก
สมัยใหม่
β Β /b/
/v/
(ว)
ในกรีกโบราณเป็นเสียง "บ" แต่ในกรีกสมัยใหม่กลายเป็นเสียงเหมือน v ในภาษาอังกฤษ
γ Γ /g/
(ก)
/ɣ/
(ก)
ในกรีกโบราณเป็นเสียงเหมือน g ในภาษาอังกฤษ แต่กรีกสมัยใหม่กลายเป็นเสียงกักในลำคอ คล้ายเสียง "ฅ" ในภาษาไทยโบราณ
δ Δ /d/
/ð/
(ด)
ในกรีกโบราณเป็นเสียง "ด" แต่ในกรีกสมัยใหม่กลายเป็นเสียง /ð/ คือคล้าย th ในภาษาอังกฤษคำว่า the
ζ Ζ /zd/
(ซ)
/z/
(ซ)
ในกรีกโบราณเป็นเสียงเหมือน z ในภาษาอังกฤษปนกับ "ด" แต่ในกรีกสมัยใหม่เป็นแค่เสียง z เฉยๆ




วิวัฒนาการของอักษรกรีกจากอักษรฟินิเชียและไปสู่อักษรโรมัน

อักษรกรีกนั้นถูกพัฒนาขึ้นโดยดัดแปลงมาจากอักษรฟินิเชีย (Phoenicia) ซึ่งเป็นอักษรโบราณที่ใช้ในช่วงยุคโบราณ และถือเป็นรากฐานของอักษรอีกหลายชนิดบนโลกนี้

อักษรฟินิเชียมีทั้งหมด ๒๒ ตัว ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอักษรกรีก โดยได้มีการเพิ่มอักษรบางตัวเข้าไป และอักษรบางตัวได้ถูกเลิกใช้

ลำดับการเรียงอักษรกรีกรวมถึงชื่อเรียกอักษรต่างๆนั้นก็มีที่มาจากการเรียงอักษรฟินิเชียนี้ด้วย โดยอักษรที่อยู่ลำดับท้ายต่อจาก υ ได้แก่ φ χ ψ ω นั้นล้วนเป็นอักษรที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ไม่ได้มีที่มาจากอักษรฟินิเชียโดยตรง

นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่รู้กันว่าอักษรโรมันนั้นได้ดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทีด้วย โดยลำดับการเรียงอักษรโรมันก็มีที่มาจากอักษรกรีกด้วย

ดังนั้นในที้นี้จะขอแสดงตารางเทียบระหว่างอักษรฟินิเชีย อักษรกรีก และอักษรโรมัน ที่มีความเกี่ยวข้องวิวัฒนาการกันมา

อักษรฟินิเชีย ชื่อเรียก อักษรกรีก อักษรโรมัน
𐤀 ʼāleph α Α a A
𐤁 bēth β Β b B
𐤂 gīmel γ Γ c C
g G
𐤃 dāleth δ Δ d D
𐤄 ε Ε e E
𐤅 wāw ϝ Ϝ f F
υ Υ u U
v V
w W
y Y
𐤆 zayin ζ Ζ z Z
𐤇 ḥēth η Η h H
𐤈 ṭēth θ Θ
𐤉 yōdh ι Ι i I
𐤊 kaph κ Κ k K
𐤋 lāmedh λ Λ l L
𐤌 mēm μ Μ m M
𐤍 nun ν Ν n N
𐤎 sāmekh ξ Ξ
𐤏 ʿayin ο Ο o O
𐤐 π Π p P
𐤑 ṣādē ϻ Ϻ
𐤒 qōph ϙ Ϙ q Q
𐤓 rēš ρ Ρ r R
𐤔 šin σ Σ s S
𐤕 tāw τ Τ t T

ในจำนวนนี้มีอักษร ϝ ϻ ϙ ที่เลิกใช้ไปแล้วในภาษากรีก แต่ ϝ นั้นกลายมาเป็นที่มาของอักษรโรมัน f ส่วน ϙ เป็นที่มาของอักษรโรมัน q

อักษร ϝ กับ υ นั้นแตกมาจากอักษรฟินิเชียตัวเดียวกัน แต่ ϝ ถูกวางในตำแหน่งเดิม ในขณะที่ υ ถูกนำไปวางไว้ในตำแหน่งท้ายต่อจาก τ

อักษรโรมัน u v w y ล้วนแตกมาจากอักษรกรีก υ ทั้งสิ้น

อักษรกรีก γ นั้นเป็นที่มาของอักษรโรมัน c กับ g แต่ c ถูกวางในตำแหน่งเดิม ในขณะที่ g ถูกย้ายไปวางหลัง f

อักษรฟินิเชียยังอาจมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอักษรพราหมี ซึ่งเป็นที่มาของอักษรไทยด้วย รายละเอียดเรื่องนี้อ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20220131




อักษรกรีกที่เลิกใช้ไปแล้ว

นอกจากอักษร ๒๔ ตัวที่ใช้ทั่วไปในภาษากรีกจนถึงปัจจุบันแล้ว ก็ยังมีอักษรกรีกที่เคยถูกใช้ในอดีตแต่ไม่ได้แพร่หลายและถูกเลิกใช้ไปตั้งแต่สมัยกรีกโบราณด้วยเหตุผลต่างๆ

อักษรเหล่านี้แม้จะไม่ถูกใช้งานแล้วและไม่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน แต่ก็พบได้ในเอกสารเก่าแก่จำนวนหนึ่ง

อักษร ชื่อเรียก เสียงอ่าน คำอธิบาย
ตัว
เล็ก
ตัว
ใหญ่
ϝ Ϝ digamma
หรือ wau
/w/
มีที่มาจากอักษรฟินิเชีย เคยใช้แทนเสียง "ว" ในภาษากรีกยุคต้นๆ แต่เสียงนี้ได้หายไปจากภาษากรีก อักษรนี้จึงเลิกใช้
ϛ Ϛ stigma /st/
สต
ถูกสร้างเพิ่มเข้ามา เคยถูกใช้แทน στ แต่ยกเลิกไป
ͱ Ͱ heta /h/
ถูกสร้างมาเพื่อใช้แทนเสียง "ฮ" แต่ในกรีกโบราณมาตรฐานได้เปลี่ยนมาเป็นการเขียน บนสระเพื่อแทนเสียง "ฮ" แทน
ϻ Ϻ san /s/
มีที่มาจากอักษรฟินิเชีย แต่ในภาษากรีกเสียงไปซ้ำกับ σ จึงเลิกใช้
ϙ Ϙ koppa /k/
มีที่มาจากอักษรฟินิเชีย แต่ในภาษากรีกเสียงไปซ้ำกับ κ จึงเลิกใช้
ͳ Ͳ sampi /ss/
สส
ถูกสร้างเพิ่มเข้ามา เคยถูกใช้แทน σσ แต่ยกเลิกไป
ϸ Ϸ sho /ʃ/
(ช)
ถูกสร้างเพิ่มมาเพื่อใช้ในภาษาบักเตรียเพื่อแทนเสียง /ʃ/ (sh ในภาษาอังกฤษ) ซึ่งไม่มีในภาษากรีก

ภาษาบักเตรีย เป็นภาษาที่ตายไปนานแล้วซึ่งเคยใช้ในดินแดนบักเตรียซึ่งเคยตั้งอยู่ในแถบเอเชียกลาง ภาษานี้เป็นตระกูลใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย แต่กลับใช้อักษรกรีกในการเขียน โดยได้มีการเพิ่มอักษร ϸ เข้าไปเป็นตัวที่ ๒๕ เพื่อแทนเสียง /ʃ/ ที่มีในภาษาบักเตรียแต่ไม่มีในภาษากรีก




คีย์บอร์ดภาษากรีก

หากต้องการพิมพ์อักษรกรีกก็สามารถทำได้ง่ายโดยใช้คีย์บอร์ดกรีก ตำแหน่งแป้นพิมพ์ของอักษรกรีกค่อนข้างสัมพันธ์กับคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษ จึงเป็นการง่ายที่จะจดจำและใช้งาน



สามารถลองใช้คีย์บอร์ดนี้ดูได้ที่ https://keyboardingonline.net/greek-keyboard/




สรุปความต่างระหว่างกรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่

จากที่เขียนถึงมาข้างต้น อาจสรุปความแตกต่างที่สำคัญได้ดังนี้

กรีกโบราณ กรีกสมัยใหม่
เสียงอ่านสระตรงตามที่เขียน และรักษาสระประสมไว้มากกว่า เสียงอ่านมีความหลากหลายน้อยลง ยุบเหลือเพียงสระเดี่ยว ๕ สระ
มีการแยกสระเสียงสั้นและยาว ไม่มีการแยกสระเสียงสั้นและยาว
มีเสียง "ฮ" แทนด้วย เสียง "ฮ" ได้หายไปแล้ว
มีการเติมสัญลักษณ์ทั้ง ´ ` ˜ (ˆ) ῾ ᾿ มีการใช้แค่ ´ เท่านั้น
อักษร χ θ φ เป็นเสียงพ่นลมของ κ τ π อักษร χ θ φ เป็นเสียง /x/ /θ/ /f/
อักษร γ δ β เป็นเสียงก้องของ κ τ π อักษร γ δ β เป็นเสียง /ɣ/ /ð/ /v/


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> ตัวอักษร
-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ