φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



สรุปเกมเล่นช่วงปลายปี 2009
เขียนเมื่อ 2010/04/09 22:38
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

จากที่คราวก่อนได้พูดถึงเกมที่เล่นจบไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา https://phyblas.hinaboshi.com/20100327

ซึ่งเป็นการเล่นโดยวิธีการเปิด auto ผ่าน ซึ่งช่วยให้เล่นไปพร้อมกับทำอย่างอื่นในเวลาเดียวกันได้

(การเปิด auto ในวิชวลโนเวลหมายถึงการเปิดให้เกมมันเดินไปเองโดยเราจะได้ฟังแต่เสียงอย่าง เดียว จะข้ามการอ่านคำบรรยายไปเลย รวมถึงท่อนที่ตัวเอกพูดซึ่งไม่มีเสียงก็จะถูกข้าม ดังนั้นจึงไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ใจความของเนื้อเรื่องจะขาดไปเยอะ)  

คราวนี้จะแนะนำเกมที่จบไปในช่วงที่ตั้งแต่เริ่มใช้วิธีเปิด auto นี้ ซึ่งก็คือตั้งแต่ช่วงปลายปี 2009 (ไม่รวมบางเกมเช่น しゅぷれ〜むキャンディ ที่เล่นโดยตั้งใจอ่านละเอียด)

ช่วงนั้นก็มีเล่นไปหลายเกมเหมือนกัน แต่นอกจากเกม 77 〜And, two stars meet again〜 กับ 天神乱漫 LUCKY or UNLUCKY!? ซึ่งเริ่มเล่นในช่วงเดือนสิงหาคมแล้ว เกมที่เหลือนั้นส่วนใหญ่เล่นอยู่ในช่วงพฤศจิกายนถึงธันวาคม

 

77(セブンズ)~And,two stars meet again~

Whirlpool - 2009/07/31

เพลงเปิด http://www.youtube.com/watch?v=8q9tZKSpp5U
แนะนำหอแห่งปัญญา http://www.youtube.com/watch?v=hysyOXqwoH0
แนะนำหอแห่งพลัง http://www.youtube.com/watch?v=T2aUmiznCQY
แนะนำหอแห่งโชคชะตา http://www.youtube.com/watch?v=Sk1UEfERaCA

เป็นเกมแรกที่ริเริ่มลองเล่นโดยการเปิด auto เนื่องจากช่วงที่เกมออกนั้น เกิดความสนใจจึงโหลดมาแต่เนื่องจากไม่มีเวลา จึงคิดขึ้นมาได้ว่าแค่เปิดทิ้งไว้แล้วฟังอย่างเดียวก็ยังดี หลังจากนั้นก็เลยมีเกมที่เล่นแบบนี้อยู่อีกมากมาย

เรื่องราวเกมนี้เกิดขึ้นบนเกาะลอยฟ้าแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน ซึ่งประกอบไปด้วยอาคารเรียนสามหอหลัก คือหอแห่งปัญญา หอแห่งพลัง หอแห่งโชคชะตา โรงเรียนนี้มีสิ่งที่เรียกว่าเทศกาลแห่งดวงดาวซึ่งก็คือพิธีการคัดเลือก ประธานนักเรียนกับรองประธานคนต่อไปซึ่งอิงตามตำนานวันทานาบาตะ พระเอกซึ่งเป็นแค่นักเรียนธรรมดาคนหนึ่งได้รับเลือกให้เป็นฮิโกโบชิ เนื่องจากไปได้ถือครองแหวนแห่งอัลไทร์เข้าโดยไม่ตั้งใจ เขาจึงต้องเข้าไปพัวพันกับพิธีการคัดเลือกอันแสนวุ่นวายนี้ และได้เจอกับสาวน้อย ๙ คนซึ่งได้รับเลือกเป็นโอริฮิเมะและมิโกะแห่งดารา

ลองอ่านเนื้อเรื่องละเอียดกว่านี้ได้ที http://por-mind.exteen.com/20100311/77-65288-12475-12502-12531-12474-65289-77-visual-fan-book

เกมนี้ดูเหมือนเป็นฮาเร็มซะจนทำให้คิดว่าไม่น่าจะมีเนื้อเรื่องอะไรมาก แต่ความจริงแล้วเนื้อหาค่อนข้างมากทีเดียว และค่อนข้างดำเนินเนื้อเรื่องดี ภาพก็ทำได้ดีมาก มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างหลากหลาย ตัวละครก็ออกแบบได้ดี และยังใช้นักพากย์ชื่อดังมาพากย์มากมาย

ตัวเลือกทางแยกในเกมนี้มีเยอะมาก น่าจะวางระบบมาดีพอสมควรทีเดียว เนื่องจากตัวละครก็มีเยอะด้วย ทางให้แยกจบได้ก็เยอะตาม การที่เล่นจบไปทางนึงแล้ว จะกลับมาเล่นอีกทางนั้นอาจต้องย้อนไปแก้ไกลเหมือนกัน จึงยังไม่ได้เล่นจบไปหลายบทนัก

ที่เล่นจบไปก็คือ โซระ > อากิ > รุรุ

จำนวนฉากจบที่เล่นจบ 3 จาก 10
คะแนนระบบเกม 4
คะแนนภาพ 7
คะแนนตัวละคร 7
ความประทับใจ 6

* คะแนนที่ว่านี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัว อาจไม่ตรงกับใครๆก็ได้
- คะแนนระบบเกม (5) ก็คือเกมนั้นมีการวางทางเลือกซับซ้อนแค่ไหน ถ้าไม่มีทางแยกเลยแล้วตัดเข้าเนื้อเรื่องง่ายๆก็จะน้อย หากทางเลือกซับซ้อนสุดๆแบบเกม clannad ก็จะได้เต็ม 5

- คะแนนภาพ (10) เน้นที่ฉาก บรรยากาศโดยรวมในเรื่อง และตัวละครด้วย รวมไปถึงการเคลื่อนไหวหรืออนิเมชันในเกม
- คะแนนตัวละคร (10) เน้นที่การออกแบบตัวละครเป็นหลัก รวมไปถึงบุคลิกลักษณะด้วย ดูที่ภาพรวมเฉลี่ยแต่ละตัวละคร โดยเฉพาะตัวละครหลัก
- ความประทับใจ (10) คือความรู้สึกส่วนตัวโดยภาพรวมหลังเล่นจบไป
สาเหตุที่ไม่ได้พิจารณาคะแนนด้านเนื้อเรื่องก็เพราะว่าตัวเองแค่เล่นผ่านๆ คงไม่อาจเข้าใจเนื้อเรื่องได้ทั้งหมด

 

天神乱漫 LUCKY or UNLUCKY!?

ゆずソフト - 2009/05/29

เพลงเปิด http://www.youtube.com/watch?v=Pqisib2bAb8

ผลงานที่สี่ของค่ายยุซึซอฟต์ซึ่งคิดตามผลงานมาตั้งแต่เกม E×E แล้ว มีจุดเด่นที่ตัวละครที่ออกแบบได้สุดยอด โดยส่วนตัวแล้วยกให้เกมนี้เป็นเกมที่ภาพตัวละครสวยที่สุดของปี 2009 เลย

เรื่องราวของเด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งมักจะประสบโชคร้ายตลอดเวลา จนวันหนึ่งมีเทพหญิงคนหนึ่งมาปรากฏตัวที่บ้านเขาบอกว่าโชคร้ายของเขานั้น เป็นทัณฑ์จากสวรรค์ และเธอมาเพื่อที่จะช่วยปัดเป่าโชคร้ายนั้นไป โดยจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่ที่บ้านกับเขาไปสักพัก จากนั้นเรื่องวุ่นๆของเด็กหนุ่มจอมโชคร้ายกับเทพผู้มาปัดเป่าโชคร้ายจึง เริ่มขึ้นจากจุดนี้

แนวเรื่องดูจะเป็นแนวชีวิตในโรงเรียนวุ่นๆฮาๆทั่วๆไปไปเรื่อยๆไม่มีอะไรพิเศษ แต่ก็ดำเนินเรื่องได้ดีเหมือนกัน ไม่ทำให้ผิดหวังเลย เพียงแต่ว่าหากให้เทียบ กับเกมก่อนๆของค่ายอย่าง E×E กับ 夏空カナタ แล้ว ต้องเรียกว่าเนื้อเรื่องยังค่อนข้างหลวมกว่า

อ่านเรื่องย่อได้ที่ http://roronor.exteen.com/tenshinranman

ที่เล่นจบไปคือบท ซานะ > รุริ > อาโออิ แต่ยังคิดไว้ว่าอยากเล่นที่เหลืออีก

จำนวนฉากจบที่เล่นจบ 3 จาก 6
คะแนนระบบเกม 2
คะแนนภาพ 8
คะแนนตัวละคร 9
ความประทับใจ 7

 

ましろ色シンフォニー

ぱれっと - 2009/10/30

เพลงเปิด http://www.youtube.com/watch?v=G8A-wMHPpIA
ตัวอย่างเปิดเรื่อง http://www.youtube.com/watch?v=5lK9E8Fe1b8

เกมนี้โหลดมาเล่นตั้งแต่วันแรกๆที่มันออกมาเลย ด้วยความที่เป็นเกมที่รอมานานก่อนจะออก เป็นเกมจากค่ายพาเล็ตต์ซึ่งเป็นค่ายหนึ่งที่ทำภาพได้สวยมากๆ ทั้งตัวละครและภาพรวม สำหรับเกม ましろ色シンフォニー นี้ได้คนออกแบบตัวละครคนเดียวกับที่ออกแบบให้เกม あかね色に染まる坂 ของค่าย feng ภาพตัวละครจึงยิ่งโดดเด่น

อ่านเรื่องย่อได้ที่ http://por-mind.exteen.com/20100301/mashiro-iro-symphony-etc

เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในเมืองเล็กๆที่สงบแห่งหนึ่ง เป็นแนวรักๆสบายๆไปเรื่อยๆทั่วไป ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ค่อนข้างธรรมดา เนื้อเรื่องค่อนข้างยาวแบบดำเนินไปเรื่อยๆ น้ำค่อนข้างเยอะทำให้อาจเบื่อได้ง่ายเหมือนกัน แต่ด้วยบรรยากาศในเกมที่ทำมาอย่างดีทำให้เดินเรื่องสบายๆไปเรื่อยๆได้ไม่ เบื่อนัก ถึงอย่างนั้นก็ต้องยอมรับว่าเนื้อหาเบาบางมากจริงๆ

จุดเด่นนอกจากจะอยู่ที่ภาพและตัวละครดังที่กล่าวไป แล้ว ยังเด่นที่ดนตรีประกอบเรื่องซึ่งแม้เล่นจบไปก็ยังรู้สึกอยากนำเพลงมาฟังอีก เรื่อยๆ เพราะว่ามันเพราะมากจริงๆ

เกมนี้มีตัวละคนคนหนึ่งที่ชอบมาก แต่เนื่องจากเป็นตัวละครน้องสาวก็เลยไม่ได้เลือกเล่น สำหรับบทที่จบไปก็คือ แองเจกับมิอุ

จำนวนฉากจบที่เล่นจบ 2 จาก 4
คะแนนระบบเกม 1
คะแนนภาพ 9
คะแนนตัวละคร 9
ความประทับใจ 7

 

キスと魔王と紅茶

ま~まれぇど - 2009/10/30

เพลงเปิด http://www.youtube.com/watch?v=ZWCrh6INCjU
ตัวอย่างแนะนำเรื่อง http://www.youtube.com/watch?v=TAS3ZrIjxFE

เรื่องราวในโรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งมีเรื่องเล่าตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับจอมมารอยู่ ซึ่งทุกคนก็ไม่ได้ล่วงรู้ว่าตัวตนของจอมมารที่ว่านี้คืออะไรกันแน่ แต่แล้วชะตาก็เล่นตลกกับเด็กหนุ่มคนหนึ่ง เมื่อเขาได้ล่วงรู้ว่าแท้จริงแล้วจอมมารที่ว่านั้นก็คือตัวเขานั่นเอง แถมวันต่อมาเขาก็ถูกบังคับให้เข้าร่วมชมรมปราบจอมมารด้วย โดยที่คนอื่นๆก็ไม่รู้ถึงตัวตนของเขา ทำให้เขาต้องทำทีเป็นช่วยตามล่าจอมมารซึ่งแท้จริงก็คือตัวเขาเอง ไปพร้อมกับคอยปกปิดตัวตนของตัวเองด้วย

เกมนี้เด่นเรื่องดนตรีประกอบอย่างมาก ซึ่งทำออกมาได้ดีจริงๆ ส่วนเพลงจบของเกมก็คือเพลง 忘れない(วาสึเรไน = จะไม่ลืมเลือน) ที่เคยเขียนถึงไป https://phyblas.hinaboshi.com/20100129

ด้านเนื้อเรื่องก็ถือว่ามาแนวแปลกดีเหมือนกัน และก็ดำเนินเรื่องได้ดี เนื่องจากมีตัวละครในกลุ่มเพื่อนเยอะจึงทำให้รู้สึกอบอุ่นเป็นอย่างมาก บทฮาก็ทำได้ดี และยังมีมุกล้อเลียนด้วย http://kotorichan.exteen.com/20091218/entry นอกจากนี้ ยังมีตัวละครที่เป็น trap อยู่ด้วย (สำหรับคนที่ชอบสายนี้)

เล่นจบไป ๓ บท ลิเซ > ทสึบาสะ > ซาราสะ

จำนวนฉากจบที่เล่นจบ 3 จาก 6
คะแนนระบบเกม 2
คะแนนภาพ 8
คะแนนตัวละคร 8
ความประทับใจ 7

 

アメサラサ~雨と、不思議な君に、恋をする~

CUFFS - 2007/04/27

เพลงเปิด http://www.youtube.com/watch?v=75Jr-pRM3Fw

เกมนี้จริงๆเคยเล่นจบไป ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2008 แล้ว ถือเป็นเกมต้นๆที่ได้เล่น แต่ช่วงนั้นยังอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องและก็จบไปแบบงงๆอยู่ จึงนำกลับมาเล่นใหม่ช่วงปลายปี 2009

เรื่องราวเกี่ยวกับพระเอกซึ่งเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษเป็นคุณชายฝน เมื่อเขาอารมณ์ดีหรืออารมณ์เสียสุดๆก็จะเกิดฝนตกขึ้นมาทุกครั้ง ซึ่งตัวเขาเองก็ท่าจะไม่ได้ชอบมันสักเท่าไหร่ วันหนึ่งได้มีเด็กสาวคนหนึ่งย้ายเข้ามาเรียนและได้อยู่ห้องเดียวกับเขา ซึ่งเมื่อได้เจอกันเขาก็รู้สึกเหมือนเคยเจอเธอที่ไหนมาก่อน เธอดูร่าเริงแต่ก็ดูมีอะไรลึกลับน่าค้นหาในขณะเดียวกัน

เนื้อเรื่องค่อนข้างสั้นมากๆ เล่นไม่นานก็จบแล้ว ไม่ได้รู้สึกว่ามีจุดเด่นให้น่าประทับใจนัก และภาพก็ไม่ได้สวยมากอย่างที่คิด แม้ภาพวาดภายนอกจะเห็นนางเอกดูสวยมาก แต่พอดูในเกมกลับไม่ค่อยสวย ภาพในเกมก็มีการขยับน้อยมาก หากให้เทียบกับเกมอื่นๆที่ขายในปี 2007 เช่นเดียวกันแล้วละก็ เรียกได้ว่าด้อยกว่ามากเลย

เกมนี้เคยเขียนแนะนำเรื่องไว้ในหน้า https://phyblas.hinaboshi.com/20091117

จำนวนฉากจบที่เล่นจบ 4 จาก 4
คะแนนระบบเกม 3
คะแนนภาพ 3
คะแนนตัวละคร 4
ความประทับใจ 4

 

_summer(アンダーバーサマー)

HOOK - 2007/12/21

เพลงเปิด http://www.youtube.com/watch?v=cV-M9P2anf8
เพลงเปิดอนิเมะ http://www.youtube.com/watch?v=04-dshKtDB4

เป็นเกมที่ดังถึงขั้นเป็นอนิเมะมาแล้ว ผลงานที่เด่นที่สุดของค่าย hook มีจุดเด่นที่ตัวละครซึ่งออกแบบได้ค่อนข้างดี

เนื้อเรื่องไม่มีอะไรมาก ไม่มีจุดหักเหอะไรตอนต้นเรื่อง เกี่ยวกับเด็กหนุ่มคนหนึ่งในรั้วโรงเรียนซึ่งใช้ชีวิตอยู่ตามปกติ ซึ่งรอบตัวเขานั้นก็เต็มไปด้วยสาวๆอยู่โดยรอบ

เป็นแนวรักใสๆธรรมดา ไม่มีอะไรโดดเด่น การดำเนินเรื่องก็สบายๆไปเรื่อยๆ ก็ถือว่าเหมาะกับเอามาเล่นเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยเช่นเดียวกับ ましろ色シンフォニー

จำนวนฉากจบที่เล่นจบ 3 จาก 6
คะแนนระบบเกม 3
คะแนนภาพ 6
คะแนนตัวละคร 7
ความประทับใจ 5

 

春色桜瀬

パープルソフトウェア - 2008/07/31 

เพลงเปิด http://www.youtube.com/watch?v=EVujrMIzcwM

เกมของค่ายเพอร์เพิลซอฟต์ซึ่งมีผลงานมาแล้วมากมาย โดยเกือบทุกเกมของค่ายนี้จะมีภาพเคลื่อนไหวเป็นอนิเมะอยู่ในเพลงเปิดด้วย รวมทั้งเกมนี้ก็เช่นกัน แต่เกมอื่นของค่ายนี้ยังไม่เคยมีโอกาสได้เล่นเหมือนกัน เคยแต่ฟังคนอื่นมา

เนื้อเรื่องเกมนี้เกิดในโรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งมีตำนานเกี่ยวกับต้นซากุระอยู่ เด็กหนุ่มคนหนึ่งได้เข้าไปเดินในสวนของโรงเรียนในฤดูที่ซากุระบานสะพรั่ง และเจอเด็กสาวคนหนึ่งอยู่ใต้ต้นซากุระ เธอได้พูดกับเขาว่าเขาจะต้องตกหลุมรักเธออย่างแน่นอน เรื่องราวก็เริ่มขึ้นจากตรงนั้น

เป็นแนวรักธรรมดาไม่ค่อยมีอะไร มีส่วนที่คาดไม่ถึงโผล่มาเหมือนกัน แต่ก็ยังถือว่าเนื้อเรื่องยังธรรมดา ด้านภาพ เกมนี้ค่อนข้างทำได้ดี มีภาพเคลื่อนไหวในฉากด้วย เวลารถออกเห็นรถเคลื่อนที่จริงๆ อยู่บนรถก็เห็นวิวเคลื่อน และเห็นภาพซากุระโปรยปรายตลอดเวลาได้บรรยากาศของฤดูใบไม้ผลิดีมาก นับว่าทำได้ไม่เลวเลย

จำนวนฉากจบที่เล่นจบ 1 จาก 5
คะแนนระบบเกม 3
คะแนนภาพ 8
คะแนนตัวละคร 6
ความประทับใจ 5

 

Clover Point

Meteor(メテオ) - 2007/12/21

เพลงเปิด - http://www.youtube.com/watch?v=5nlLxtU-3NQ

เมื่อพูดถึงเกมนี้ สิ่งที่จะนึกถึงก่อนก็คือเพลงเปิด คือเพลง クローバー(โคลเวอร์) https://phyblas.hinaboshi.com/20091226 ซึ่งขับร้องโดยมิโตเสะ โนริโกะ เพลงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ดึงดูดให้ติดใจเกมนี้ได้มากที่สุด ทำนองของเพลงนี้ยังเปิดในเกมบ่อยมากด้วย

เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในหน้าหนาว เมื่อชมรมละครของโรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการจัดการแสดงขึ้นในงานโรงเรียน แต่เนื่องจากยังขาดคนแสดง พระเอกซึ่งอยู่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวของประธานชมรมจึงถูกใช้ให้ไปเฟ้นหาตัว นักแสดง ในระหว่างนั้นเขาได้เจอกับเด็กสาวคนหนึ่งซึ่งเขามีความรู้สึกแปลกๆตั้งแต่ แรกพบแต่ก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไร เขารู้สึกว่าเธอดูเหมาะกับบทที่ขาดอยู่จึงชวนเธอเข้าชมรม เรื่องราวทั้งหมดก็เริ่มจากตรงนี้

สุดสำคัญของเรื่องอยู่ที่โคลเวอร์ ซึ่งตามตำนานแล้วโคลเวอร์สี่ใบสามารถก่อให้เกิดปาฏิหาริย์ได้เมื่ออธิษฐาน สำหรับในเนื้อเรื่องเกมนี้ก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสวนแห่งหนึ่งซึ่งหากเข้า ไปก็จะพบโคลเวอร์สี่ใบเต็มไปหมด

เนื่องจากเกิดในฤดูหนาว ดังนั้นจึงเป็นเนื้อเรื่องที่ให้ความรู้สึกค่อนข้างอบอุ่นดี แม้ว่าตัวละครจะค่อนข้างน้อย ภาพเกมนี้ค่อนข้างวาดตัวละครได้ดี ภาพสวนโคลเวอร์นั้นก็ทำได้เขียวขจีสดใสสวยงามดีมาก

จุดเด่นของเกมนี้ที่คนคงสนใจมากสุดเลยน่าจะเป็นตัวละครที่เป็นนางเอกคนหลักก็คือยายะ ด้วยความที่เป็นตัวละครน้องสาวที่มีคนชื่นชอบมากคนหนึ่ง

เล่นจบไปแล้วสองบทก็คือยายะกับมิโอริ

จำนวนฉากจบที่เล่นจบ 2 จาก 5
คะแนนระบบเกม 1
คะแนนภาพ 6
คะแนนตัวละคร 7
ความประทับใจ 6



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> เกม >> vn

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ