φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



range และ xrange ใน python 2.x และ 3.x
เขียนเมื่อ 2015/12/18 11:19
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
บทความนี้แตกออกมาจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20151217



การเปลี่ยนหน้าที่ของฟังก์ชันและตัวแปรนั้นเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในไพธอน 3.x เมื่อเทียบกับไพธอน 2.x

หนึ่งในฟังก์ชันที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปก็คือฟังก์ชัน range และมีฟังก์ชันหนึ่งที่หายไป นั่นก็คือ xrange นี่เป็นหัวข้อหนึ่งที่น่ายกมาพูดถึงสักหน่อย

ในไพธอน 2 นั้นมีฟังก์ชัน range กับ xrange ทั้ง ๒ ฟังก์ชันนี้ดูเผินๆแล้วคล้ายกันแต่มีความต่างกันเล็กน้อย

กล่าวคือ range เป็นฟังก์ชันสำหรับคืนค่าข้อมูลประเภทลิสต์ของจำนวนเต็มซึ่งมีค่าในช่วงตามที่กำหนดออกมา เช่น
print(range(10))
จะได้

[0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9]

ถ้าลองหาชนิดของข้อมูล
print(type(range(10))
จะได้
<type 'list'>

ในขณะที่ xrange นั้นจะให้สิ่งที่คล้ายกัน คือได้จำนวนเต็มที่มีค่าไล่เรียงในช่วงที่กำหนด อย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้นั้นไม่ใช่ข้อมูลประเภทลิสต์ แต่เป็นชนิด xrange ซึ่งเป็นชนิดของมันเอง
print(xrange(10))
จะได้

xrange(10)

พอลองถามหาชนิดของข้อมูล
print(type(xrange(10)))
จะได้

<type 'xrange'>

จะเห็นว่า xrange ไม่ได้ให้ลิสต์ออกมา แต่ให้ข้อมูลที่เป็นชนิดของมันเองโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามหากลอง

print([i for i in xrange(10)])
ก็จะพบว่าได้
[0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9]
ซึ่งเหมือนกับการใช้ range เลย

นั่นหมายความว่า xrange นั้นไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นลิสต์ แต่เมื่อมันถูกเรียกใช้มันจะทำการสร้างข้อมูลตัวเลขเรียงขึ้นมาใหม่ ผลสุดท้ายจึงทำงานเหมือนเป็นลิสต์

ในการใช้งานนั้น เวลาที่สร้างตัวแปรขึ้นมานั้น xrange จะสร้างได้เร็วกว่าเพราะมันไม่ได้ทำการไล่สร้างลิสต์ขึ้นมาใหม่ในขณะนั้นเลย อีกทั้งยังทำให้ประหยัดหน่วยความจำด้วย

ลอง
import time
t0 = time.time()
a = range(1000000)
print(time.time() - t0)
ได้ผลเป็น
0.0569779872894

แต่พอลอง
import time
t0 = time.time()
a = xrange(1000000)
print(time.time() - t0)
จะได้
3.09944152832e-06
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต่างกันมาก ยิ่งจำนวนที่ทดสอบมีค่ามากความต่างก็จะยิ่งเห็นชัด
(อนึ่ง การทดสอบความเร็วนั้นในแต่ละเครื่องจะได้ผลต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคอม)

แต่เมื่อใช้งาน xrange จึงจะทำการสร้างจำนวนขึ้นมา ดังนั้นในจังหวะนั้นมันจะทำงานช้ากว่า range เล็กน้อย



ที่ว่ามาข้างต้นนั้นคือเรื่องของไพธอน 2

ในทางกลับกันในไพธอน 3 นั้นได้ยกเลิก range แบบเดิมทิ้ง แล้วให้ range ทำงานในลักษณะเดียวกับ xrange เดิมไปแทน

print(range(10))
print(type(range(10)))
จะได้

range(0, 10)
<class 'range'>

หากลองทดสอบเวลาดู

import time
t0 = time.time()
a = range(1000000)
print(time.time() - t0)
ก็จะได้
6.9141387939453125e-06
ซึ่งก็เร็วเหมือนกับการใช้ xrange ในไพธอน 2

ในขณะที่ฟังก์ชัน xrange นั้นได้หายไปจากไพธอน 3
ถ้าพิมพ์

print(xrange(10))
ก็จะขึ้นมาว่า
NameError: name 'xrange' is not defined
ส่วนฟังก์ชัน range ในรูปแบบเดิมในไพธอน 2 นั้นก็ได้หายไป ไม่สามารถทำได้แล้ว

แต่หากต้องการให้ได้ลิสต์ในลักษณะแบบฟังก์ชัน range เดิมในไพธอน 2 ก็แค่ต้องใช้ฟังก์ชัน list เพื่อเปลี่ยนตอนที่สร้างขึ้นมาทันที

a = list(range(10))
แบบนี้ก็จะได้ข้อมูลออกมาเป็นลิสต์แล้ว

สรุปโดยรวมแล้วก็คือ
หากใครใช้ xrange มาในไพธอน 2 ก็จะต้องเปลี่ยนมาใช้ range แทนในไพธอน 3 ซึ่งความหมายของ range ในไพธอน 3 ก็จะเหมือนกับ xrange ในไพธอน 2

ในขณะที่ หากใครที่ใช้ range มาตั้งแต่ในไพธอน 2 แล้วเปลี่ยนมาใช้ไพธอน 3 ก็ยังสามารถใช้ range ได้เหมือนเดิม เพียงแต่ชนิดข้อมูลที่ได้จะเปลี่ยนไปเท่านั้น การทำงานก็เปลี่ยนไป แต่ผลยังเหมือนเดิม



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ