φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนฮากกา (จีนแคะ)
เขียนเมื่อ 2019/04/11 22:57
แก้ไขล่าสุด 2022/03/23 20:04
บทความนี้จะเขียนวิธีการทับศัพท์ภาษาจีนฮากกา (จีนแคะ) เป็นภาษาไทย

ภาษาจีนฮากกา (客家语/客家語) หรือจีนแคะ เป็นภาษาจีนกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และในไต้หวัน รวมถึงชาวจีนโพ้นทะเล

ฮากกามีอยู่หลายสำเนียงซึ่งต่างกันค่อนข้างมาก แต่ที่ถือเป็นมาตรฐานคือสำเนียงเหมย์เซี่ยน (梅县话/梅縣話) ในเมืองเหมย์โจว (梅州市) ซึ่งอยู่ตอนตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง

ชาวเหมย์เซี่ยนเองก็เป็นกลุ่มที่อพยพไปยังโพ้นทะเลมาก รวมถึงในไต้หวันด้วย ดังนั้นพอพูดถึงภาษาฮากกาขึ้นมาเฉยๆก็มักจะหมายถึงสำเนียงนี้

ในไทยมักแบ่งสำเนียงฮากกาออกเป็นแคะลึกกับแคะตื้น ภาษาฮากกาสำเนียงเหมย์เซี่ยนและซื่อเซี่ยนนี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าแคะลึก เซินเค่อ (深客) ในไทยเองก็มีคนแคะลึกอยู่ไม่น้อย แต่ก็มีอีกจำนวนมากที่เป็นแคะตื้น หรือ แคะครึ่งเขา ป้านซานเค่อ (半山客) ซึ่งอยู่แถวเมืองเฟิ่งซุ่น (丰顺/豐順) และบริเวณถัดลงมาทางใต้ค่อนไปทางฝั่งทะเล สำเนียงแคะตื้นจะต่างไปจากแคะลึกไปพอสมควรแต่ก็อยู่ในระดับที่สื่อสารกันรู้เรื่อง

ในไต้หวันมีชาวฮากกาอยู่จำนวนมากจนเป็นหนึ่งในภาษาที่ใช้ในการประกาศต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวฮากกาจาเหมย์เซี่ยนและบริเวณรอบๆ โดยเฉพาะอำเภอเจียวหลิ่ง (蕉岭) ดังนั้นฮากกามาตรฐานในไต้หวันเองก็ยืนพื้นจากสำเนียงเหมย์เซี่ยน แต่จะมีความแตกต่างไปเล็กน้อย เรียกว่าสำเนียงซื่อเซี่ยน (四县话/四縣話)

ระบบทับศัพท์ที่จะเขียนถึงต่อไปนี้จะยึดตามสำเนียงซื่อเซี่ยนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นฮากกามาตรฐานที่ใช้ในไต้หวัน มีโอกาสเจออยู่ตลอดในชีวิตประจำวัน

วิกิพีเดียฉบับภาษาฮากกาก็ยืนพื้นจากสำเนียงซื่อเซี่ยน https://hak.wikipedia.org/wiki/Thèu-Ya̍p

การเขียนแทนเสียงอ่านภาษาฮากกาด้วยอักษรโรมันนั้นถูกทำได้หลากหลายรูปแบบมาก แต่ในวิกิใช้ระบบที่เรียกว่า "พักฟ้าซื้อ" (Pha̍k-fa-sṳ) คำว่า "พักฟ้าซื้อ" เป็นคำอ่านในภาษาฮากกาของคำว่า 白话字/白話字 ("ไป๋ฮว่าจื้อ" ในจีนกลาง) เพื่อไม่ให้สับสนกับไป๋ฮว่าจื้อที่ใช้ในภาษาจีนฮกเกี้ยนอาจเรียกแยกว่าเป็น ไป๋ฮว่าจื้อฮากกา (客语白话字/客語白話字)

พักฟ้าซื้อถูกคิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยหมอสอนศาสนาชาวตะวันตกที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ แต่ในไต้หวันได้เอาระบบนี้มาปรับปรุงใหม่ให้เข้ากับสำเนียงซื่อเซี่ยนเป็นหลัก ระบบที่ใช้ในวิกิพีเดียนี้เองก็เป็นระบบพักฟ้าซื้อของไต้หวัน

นอกจากนี้ที่ไต้หวันได้มีการสร้างระบบใหม่เพื่อใช้แทนเสียงอ่านในภาษาฮากกาสำเนียงต่างๆที่ใช้ในไต้หวัน เรียกว่า พินอินฮากกาไต้หวัน (台湾客家语拼音方案/臺灣客家語拼音方案) ระบบนี้ใช้การเขียนในรูปแบบต่างกันไปในสำเนียงต่างๆเพื่อแสดงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงที่ออกเสียงจริงมากขึ้น

พินอินฮากกาไต้หวันในส่วนของสำเนียงซื่อเซี่ยนไม่ได้ต่างจากพักฟ้าซื้อมากนักแต่มีความใกล้เคียงกับพินอินของจีนกลางมากกว่า

นอกจากนี้ทางฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ก็ได้คิดระบบพินอินฮากกา (客家话拼音方案/客家話拼音方案) โดยปรับปรุงจากพินอินของจีนกลาง ยึดเสียงตามสำเนียงเหมย์เซี่ยน ระบบนี้ใช้เป็นมาตรฐานของภาษาจีนฮากกาในจีนแผ่นดินใหญ่

ระบบการทับศัพท์เป็นภาษาไทยที่จะเขียนถึงต่อไปนี้จะเน้นแปลงจากพักฟ้าซื้อเป็นหลัก แต่จะมีการเปรียบเทียบกับระบบพินอินฮากกาของจีนแผ่นดินใหญ่ (ต่อจากนี้ไปจะเรียกว่า "พินอินเหมย์เซี่ยน") และพินอินฮากกาไต้หวันสำหรับสำเนียงซื่อเซี่ยน (ต่อจากนี้ไปจะเรียกว่า "พินอินไต้หวัน") ด้วย

พักฟ้าซื้อถูกใช้ใน wiktionary
และใน http://hakka.fhl.net/dict/i2019042019041111ndex_hakka.html

พินอินฮากกาไต้หวันถูกใช้ในดิกต่างๆที่แสดงเสียงสำเนียงต่างๆหลากหลาย เช่น
https://hakka.dict.edu.tw/hakkadict/index.htm
https://www.moedict.tw/:客家
http://syndict.com



วรรณยุกต์

ภาษาฮากกาแต่ละสำเนียงมีเสียงวรรณยุกต์ค่อนข้างแตกต่างกันไปมาก ในบางสำเนียงอาจมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง ๗ เสียง แต่ในสำเนียงส่วนใหญ่รวมถึงสำเนียงเหมย์เซี่ยนและซื่อเซี่ยนมีวรรณยุกต์ทั้งหมด ๖​ เสียง

เสียงวรรณยุกต์ที่จะแสดงต่อไปนี้ยึดตามสำเนียงเหมย์เซี่ยนและซื่อเซี่ยนเท่านั้น แต่ว่าแต่ละสำเนียงอาจออกเสียงคำเดียวกันค่อนข้างต่างกันมาก เหน่อกันไปคนละทิศทาง เช่นสำเนียงไห่ลู่เฟิง (海陆丰/海陸豐) จะมีแนวโน้มการขึ้นลงสูงต่ำของเสียงแทบจะตรงกันข้ามกับสำเนียงเหมย์เซี่ยนทั้งหมด

ในการเขียนแสดงเสียงอ่านด้วยอักษรโรมันวรรณยุกต์อาจแสดงด้วยตัวเลขหรือใช้เครื่องหมายกำกับ

ในพินอินเหมย์เซี่ยนจะใช้ตัวเลข 1-6 แสดงเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๖ แต่ในพักฟ้าซื้อจะใช้เครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์วางบนตัวอักษรที่เป็นสระ

พินอินไต้หวันมีการใช้ทั้งตัวเลขและเครื่องหมาย แต่เมื่อใช้เครื่องหมายจะวางไว้หลังคำ (ไม่ใช่ด้านบนสระ) และเมื่อใช้ตัวเลขจะใช้เลขบอกค่าความสูงต่ำของเสียง (ไม่ใช่เลขลำดับ 1-6 ที่กำหนดขึ้นเอง) คือเป็นเลข 1-5 โดยที่ 1 แทนเสียงต่ำสุด 5 แทนเสียงสูงสุด

ตารางนี้แสดงสัญลักษณ์และระดับเสียงของวรรณยุกต์ทั้ง ๖ โดยสำเนียงเหมย์เซี่ยนและซื่อเซี่ยนเกือบจะเหมือนกันแต่ก็ต่างกันอยู่เล็กน้อยจึงแยกแสดงทั้ง ๒ แบบเปรียบเทียบกันไปด้วย

เลข เครื่องหมาย ระดับเสียง เทียบวรรณยุกต์ไทย ตัวอย่าง
พัก
ฟ้าซื้อ
พินอิน
ไต้หวัน
เหมย์เซี่ยน ซื่อเซี่ยน
1 â 44 24/33 สามัญ 夫 = fû = ฟู
2 à 11 เอก 扶 = fù = ฝู่
3 á a^ 31 โท 府 = fú = ฟู่
4 a a 53 55 ตรี 富 = fu = ฟู้
5 ak agˋ 1 2 เอก 福 = fuk = ฝุก
6 a̍k ag 5 ตรี 服 = fu̍k = ฟุก

เสียง 1 ในสำเนียงซื่อเซี่ยนมี ๒ แบบคือสำเนียงทางเหนือเป็น 24 คือเป็นเสียงยกขึ้นคล้ายเสียงจัตวา ส่วนสำเนียงทางใต้เป็น 33 คือเสียงเรียบๆกลางๆคล้ายเสียงสามัญ ส่วนสำเนียงเหมย์เซี่ยนเป็น 44 ซึ่งก็เป็นเสียงเรียบคล้ายสามัญแต่สูงกว่าเล็กน้อย

ในที่นี้เลือกใช้เสียงสำมัญ โดยยืนพื้นจากสำเนียงเหมย์เซี่ยนและสำเนียงซื่อเซี่ยนทางใต้ แต่สำเนียงมาตรฐานในไต้หวันยึดสำเนียงซื่อเซี่ยนทางเหนือ จึงออกเสียงเป็นเสียงจัตวา

ส่วนเสียง 2, 3, 4 นั้นบังเอิญค่อนข้างตรงกับเสียงเอก โท ตรี ในภาษาไทย จึงไม่มีปัญหาในการเลือกวรรณยุกต์ที่ใช้ในการทับศัพท์

สำหรับเสียง 5 และ 6 นั้นเป็นกลุ่มเสียงกัก หรือก็คือเทียบเท่ากับคำตายในภาษาไทย คือคำที่สะกดด้วยตัวสะกดแม่กก กด กบ

ตัวสะกดแม่กก กด กบ ใน พักฟ้าซื้อใช้ k t p แต่ในพินอินเหมย์เซี่ยนและพินอินไต้หวันใช้ g d b

เสียง 5 ในพักฟ้าซื้อจะไม่มีการกำกับรูปวรรณยุกต์เช่นเดียวกับเสียง 4 แต่จะลงท้ายด้วย k t p เสมอจึงแยกจากเสียง 4 ได้ชัดเจน

เสียง 5 จะค่อนข้างต่ำจึงแทนด้วยเสียงเอก ส่วนเสียง 6 ค่อนข้างสูง จึงแทนด้วยเสียงตรี

ดังนั้นเสียงเอกจึงใช้แทนทั้งเสียง 2 และ 5 ส่วนเสียงตรีใช้แทนทั้งเสียง 4 และ 6 แต่แยกกันชัดเจนเพราะเสียง 2 และ 4 เป็นคำเป็น ส่วนเสียง 5 และ 6 เป็นคำตาย

อนึ่ง เสียง 1, 2, 3, 4 ในฮากกาเทียบเคียงได้กับเสียง 1, 2, 3, 4 ในจีนกลาง นั่นคือคำที่มีเสียง 1, 2, 3, 4 ในจีนกลางก็มักจะเป็นเสียง 1, 2, 3, 4 ในฮากกาด้วย จึงง่ายต่อการจำ

เพียงแต่ว่าในฮากกามีเสียงกักด้วยซึ่งจีนกลางไม่มี จึงมีเสียง 5 และ 6 เพิ่มมา ซึ่งในจีนกลางไม่มี จึงไม่สามารถเทียบเคียงได้



พยัญชนะต้น

ภาษาฮากกามีเสียงพยัญชนะต้นแทบจะเหมือนกับภาษากวางตุ้ง แต่จะมีการแยก j/z, q/c, x/s คล้ายจีนกลาง แต่ก็ไม่มีเสียง zh, ch, sh แบบที่มีในจีนกลาง

เสียงที่ค่อนข้างพิเศษในภาษาฮากกาซึ่งหายากในภาษาจีนกลุ่มอื่นๆคือเสียง v เหมือน v ในภาษาอังกฤษ เทียบได้กับเสียง "ว" (มักแทนด้วย w) ในภาษาจีนกลุ่มอื่น

โดยรวมแล้วเสียงพยัญชนะเกือบทั้งหมดเหมือนภาษาไทย จึงแทนด้วยภาษาไทยได้ไม่ยาก

พัก
ฟ้าซื้อ
พินอิน
ไต้หวัน
พินอิน
เหมย์
เซี่ยน
IPA ทับศัพท์ไทย ต้วอย่าง
p b /p/ 把 = pá = ป้า
ph p /pʰ/ พ,​ผ 爬 = phà = ผ่า
m /m/ 麻 = mà = หม่า
f /f/ ฟ, ฝ 化 = fa = ฟ้า
v /v/ 蛙 = vâ = วา
t d /t/ 打 = tá = ต้า
th t /tʰ/ ท, ถ 他 = thâ = ทา
n /n/ 拿 = nâ = นา
l /l/ 裸 = là = หล่า
k g /k/ 嘉 = kâ = กา
kh k /kʰ/ ค, ข 卡 = khà = ค่า
ng /ŋ/ 芽 = ngà = หง่า
h /h/ ฮ, ห 夏 = ha = ฮ้า
ch z /ʦ/ 炸= cha = จ๊า
j /ʨ/ 祭 = chi = จี๊
chh c /ʦʰ/ ช, ฉ 茶 = chhà = ฉ่า
q /ʨʰ/ ช, ฉ 取 = chhí = ชี่
s s /s/ ซ, ส 沙 = sâ = ซา
x /ɕ/ ซ, ส 西 = sî = ซี
y i y /i/ 野 = yâ = ยา
衣 = yî = ยี

ในพักฟ้าซื้อ ch, chh, s อ่านได้ ๒ แบบ ถ้าเป็นสระอีจะอ่านเหมือน j, q, x ในจีนกลาง แต่ถ้าเป็นสระอื่นจะอ่านเหมือน z, c, s ในจีนกลาง

แต่ในพินอินฮากกาทั้งของเหมย์เซี่ยนและของไต้หวันจะเขียนแยก j/z, q/c, x/s ตามเสียงที่ออกจริงๆหมด

ในที่นี้ใช้พักฟ้าซื้อเป็นหลัก ดังนั้น ch จึงแทนเสียง c หรือ q ในพินอินจีนกลาง ไม่ใช่เสียง ch ในพินอินจีนกลาง

และพักฟ้าซื้อใช้เสียง p/ph, t/th, k/kh แทนเสียง ป/พ, ต/ท, ก/ค แทนที่จะใช้ b/p, d/t, g/k แบบในพินอินจีนกลาง ดังนั้นจึงอาจทำให้สับสนได้ง่าย

เสียง ย ในพินอินฮากกาของไต้หวันจะเขียนเป็น i และถ้าเป็นสระเป็น i อยู่แล้วก็ไม่ต้องเขียนเพิ่ม เช่น yang > iang,  yim > im



สระและตัวสะกด

ภาษาฮากการักษาเสียงจากภาษาจีนโบราณไว้ได้ค่อนข้างดี มีเสียงตัวสะกดหลงเหลืออยู่ครบถ้วนเช่นเดียวกับภาษากวางตุ้ง

สระเดี่ยวมี ๖ ตัว และมีสระประสมหลายตัว

ตารางสรุปสระและตัวสะกดทั้งหมดที่มี แสดงในระบบพักฟ้าซื้อ

สระหน้า ตัวสะกด
- i u m p n t ng k
a a
อา
ai
ไอ
au
เอา
am
อัม
ap
อับ
an
อัน
at
อัด
ang
อัง
ak
อัก
e e
เอ
  eu
แอว
em
แอม
ep
แอบ
en
แอน
et
แอด
   
i i
อี
  iu
อิว
im
อิม
ip
อิบ
in
อิน
it
อิด
   
o o
ออ
oi
ออย
      on
ออน
ot
ออด
ong
ออง
ok
ออก
u u
อู
ui
อุย
      un
อุน
ut
อุด
ung
อุง
uk
อุก

อือ
    ṳm
อึม
ṳp
อึบ
ṳn
อึน
ṳt
อึด
   
ia ia
เอีย
  iau
เอียว
iam
เอียม
iap
เอียบ
    iang
เอียง
iak
เอียก
ie ie
เอีย
    iem
เอียม
iep
เอียบ
ien
เอียน
iet
เอียด
   
io io
ยอ
        ion
ยอน
iot
ยอด
iong
ยอง
iok
ยอก
iu iu
อิว
        iun
ยุน
iut
ยุด
iung
ยุง
iuk
ยุก
oa oa
วา
oai
ไว
      oan
วัน
oat
วัด
   
oe           oen
แวน
oet
แวด
   
-       m
อึม
  n
อึน
  ng
อึง
 

โดยพื้นฐานแล้วพักฟ้าซื้อใช้อักษรเหมือนภาษาอังกฤษ แต่จะมีอักษร ṳ (ตัว u เติม ๒ จุดด้านล่าง) แทนสระอือ แต่ในระบบพินอินไต้หวันจะใช้ ii แทน ส่วนพินอินเหมย์เซี่ยนใช้ i เมื่อไม่มีตัวสะกด และใช้ e เมื่อมีตัวสะกด

สระแอพักฟ้าซื้อและพินอินไต้หวันใช้ e แต่พินอินเหมย์เซี่ยนใช้ ê

นอกจากนี้พวกเสียบควบ ว เช่น "วา", "แวน" ในพักฟ้าซื้อจะใช้ oa, oen แต่ในพินอินเหมย์เซี่ยนและพินอินไต้หวันใช้ ua, uen

สระที่นำด้วย i นั้นคือเสียงควบ "ย" แต่เพื่อความสะดวกในการทับศัพท์จึงเขียนแทน ia และ ie ด้วยสระเอีย ส่วน iu จะเป็น "อิว" แต่เมื่อมีตัวสะกดจึงเขียนเป็นเสียงควบ "ย"

ตัวอย่างคำ พร้อมเทียบวิธีเขียนในระบบอื่น

พัก
ฟ้าซื้อ
พินอิน
ไต้หวัน
พินอิน
เหมย์
เซี่ยน
ทับศัพท์ ตัวอย่าง
สระเดี่ยว
a อา 阿 = â = อา
也 = ya = ย้า
e ê แอ 个/個 = ke = เก๊
蝓 = yè = เหย่
i อี 地 = thi = ที้
以 = yî = ยี
o ออ 哦 = ô = ออ
唷 = yô = ยอ
u อู 姑 = kû = กู
又 = yu = ยู้
ii i อือ 资/資 = chṳ̂ = จือ
使 = sṳ́ = ซื่อ
สระประสม
ai ไอ 挨 = âi = ไอ
太 = thai = ไท้
au เอา 拗 = áu = เอ้า
敲 = khau = เค้า
eu êu แอว 欧/歐 = êu = แอว
腰 = yêu = แยว
ia เอีย 谢/謝 = chhia = เชี้ย
写/寫 = siá = เซี่ย
iau เอียว 凋 = tiâu = เตียว
挑 = thiâu = เทียว
ie เอีย 介 = kie = เกี๊ย
契 = khie = เคี้ย
iu อิว 留 = liù = หลิ่ว
牛 = ngiù = หงิ่ว
oi ออย 哀 = ôi = ออย
害 = hoi = ฮ้อย
oa ua วา 掛 = koa = กว๊า
夸/誇 = khôa = ควา
oai uai ไว 怪 = koai = ไกว๊
快 = khoai = ไคว้
ui อุย 贵/貴 = kui = กุ๊ย
锐/銳 = yui = ยุ้ย
แม่กม
am อัม 庵 = âm = อัม
柑 = ham = ฮั้ม
em êm แอม 砧 = chêm = แจม
岑 = chhèm = แฉ่ม
im อิม 金 = kîm = กิม
饮/飲 = yím = ยิ่ม
ṳm iim em อึม 针/針 = chṳ̂m = จึม
深 = chhṳ̂m = ชึม
iam เอียม 甜 = thiàm = เถี่ยม
险/險 = hiám = เฮี่ยม
iem iêm เอียม 弇 = khièm = เขี่ยม
แม่กบ
ap ab อับ 鸭/鴨 = ap = อับ
叶/葉 = ya̍p = ยับ
ep eb êb แอบ 掷/擲 = te̍p = แต๊บ
勒 = le̍p = แล้บ
ip ib อิบ 及 = khi̍p= คิบ
邑 = yip = หยิบ
ṳp iib eb อึบ 汁 = chṳp = จึบ
湿/濕 = sṳp = สึบ
iap iab เอียบ 叠/疊 = thia̍p = เที้ยบ
业/業 = ngia̍p = เงี้ยบ
iep ieb iêb เอียบ 激 = kie̍p = เกี๊ยบ
揜 = khiep = เขียบ
แม่กน
an อัน 恁 = án = อั้น
版 = pán = ปั้น
en ên แอน 宴 = yen = แย้น
凳 = ten = แต๊น
in อิน 引 = yín = ยิ่น
品 = phín = พิ้น
on ออน 安 = ôn = ออน
看 = khon = ค้อน
un อุน 允 = yún = ยุ่น
敦 = tûn = ตุน
ṳn iin en อึน 镇/鎮 = chṳ́n = จึ้น
神 = sṳ̀n = สึ่น
ien iên เอียน 扁 = pién = เปี้ยน
钱/錢 = chhièn = เฉี่ยน
ion ยอน 阮 = ngiôn = งยอน
吮 = chhiôn = ชยอน
iun ยุน 军/軍 = kiûn = กยุน
欣 = hiûn = ฮยุน
oan uan วัน 关/關 = kôan = กวัน
款 = khóan = ควั่น
oen uen uên แวน 耿 = kóen = แกว้น
แม่กด
at ad อัด 拔 = pha̍t = พัด
杀/殺 = sat = สัด
et ed êd แอด 北 = pet = แปด
墨 = me̍t = แม้ด
it id อิด 抑 = yit = หยิด
力 = li̍t = ลิด
ot od ออด 遏 = ot = ออด
割 = kot = ขอด
ut ud อุด 物 = vu̍t = วุด
骨 = kut = ขุด
ṳt iid ed อึด 质/質 = chṳt = จึด
直 = chhṳ̍t = ชึด
iet ied iêd เอียด 裂 = lie̍t = เลี้ยด
结/結 = kiet = เกียด
iot iod ยอด 唶 = chio̍t = จย๊อด
iut iud ยุด 屈 = khiut = ขยุด
oat uad วัด 刮 = koat = กวัด
oet ued uêd แวด 国/國 = koet = แกวด
แม่กง
ang อัง 声/聲 = sâng = ซัง
影 = yáng = ยั่ง
ong ออง 杨/楊 = yòng = หย่อง
昂 = ngòng = หง่อง
ung อุง 用 = yung = ยุ้ง
工 = kûng = กุง
iang เอียง 病 = phiang = เพี้ยง
请/請 = chhiáng = เชี่ยง
iong ยอง 强/強 = khiòng = ขย่อง
想 = sióng = ซย่อง
iung ยุง 胸 = hiûng = ฮยุง
从/從 = chhiùng = ฉยุ่ง
แม่กก
ak ag อัก 扼 = ak = อัก
白 = pha̍k = พัก
ok og ออก 恶/惡 = ok = ออก
约/約 = yok = หยอก
uk ug อุก 育 = yuk = หยุก
督 = tuk = ตุก
iak iag เอียก 锡/錫 = siak = เสียก
逆 = ngia̍k = เงี้ยก
iok iog ยอก 略 = lio̍k = ลย้อก
脚/腳 = kiok = กยอก
iuk iug ยุก 玉 = ngiu̍k = งยุก
足 = chiuk = จยุก
ไร้สระ
m อึม 毋 = m̀ = อึ่ม
n อึน 嗯 = n̂ = อึน
ng อึง 吴/吳 = ǹg = อึ่ง



สระที่แสดงในที่นี้แสดงเฉพาะที่มีในสำเนียงซื่อเซี่ยนเท่านั้น แต่ในสำเนียงเหมย์เซี่ยนจะมีบางส่วนต่างไปเล็กน้อย เช่นมีเสียง "วอ" (uo) ในขณะที่ในสำเนียงซื่อเซี่ยนเสียง "ว" (u) ด้านหน้าจะหายไปแล้วออกเสียงเป็น "ออ" (o) เฉยๆ เช่น 光 สำเนียงเหมย์เซี่ยนเป็น "กวอง" (kuong) แต่ในสำเนียงซื่อเซี่ยนจะเป็น "กอง" (kong) ซึ่งจะไปซ้ำกับ 江 ซึ่งเป็นเสียง "กอง" ในทั้ง ๒ สำเนียง



ตัวอย่าง

ตัวเลข

0 〇/零 làng หลั่ง
1 yit หยิด
2 ngi งี้
3 sâm ซัม
4 si ซี้
5 ńg อึ้ง
6 liuk หลยุก
7 chhit ฉิด
8 pat ปัด
9 kiú กิ้ว
10 sṳ̍p ซึบ
100 pak ปัก
1,000 chhiên เชียน
10,000 万/萬 van วั้น
100,000,000 亿/億 yi ยี้
1,000,000,000,000 seu แซ้ว

ชื่อเมืองและดินแดนต่างๆในถิ่นฮากกา

อักษรจีน พักฟ้าซื้อ ทับศัพท์ไทย จีนกลาง
广东/廣東 Kóng-tûng ก้องตุง กว่างตง (กวางตุ้ง)
梅州 Mòi-chû หม่อยจู เหมย์โจว
梅县/梅縣 Mòi-yen หม่อยแย้น เหมย์เซี่ยน
嘉应/嘉應 Kâ-yin กายิ้น เจียอิ้ง
梅江 Mòi-kông หม่อยกอง เหมย์เจียง
蕉岭/蕉嶺 Chiâu-liâng เจียวเลียง เจียวหลิ่ง
平远/平遠 Phìn-yén ผิ่นแย่น ผิงหย่วน
兴宁/興寧 Hîn-nèn ฮินแหน่น ซิงหนิง
五华/五華 Ńg-fà อึ้งฝ่า อู่หัว
丰顺/豐順 Fûng-sun ฟุงซุ้น เฟิงซุ่น
大埔 Thai-phû ไท้พู ต้าผู่
河源 Hò-ngièn ห่อเหงี่ยน เหอหยวน
源城 Ngièn-sàng เหงี่ยนสั่ง หยวนเฉิง
紫金 Chṳ́-kîm จื้อกิม จื่อจิน
龙川/龍川 Liùng-chhôn หลยุ่งชอน หลงชวาน
连平/連平 Lièn-phìn เหลี่ยนผิ่น เหลียนผิง
和平 Fò-phìn ฝ่อผิ่น เหอผิง
东源/東源 Tûng-ngièn ตุงเหงี่ยน ตงหยวน
惠州 Fi-chû ฟี้จู ฮุ่ยโจว
惠城 Fi-sàng ฟี้สั่ง ฮุ่ยเฉิง
惠阳/惠陽 Fi-yòng ฟี้หย่อง ฮุ่ยหยาง
博罗/博羅 Pok-lò ปอกหล่อ ปั๋วหลัว
惠东/惠東 Fi-tûng ฟี้ตุง ฮุ่ยตง
龙门/龍門 Liùng-mùn หลยุ่งหมุ่น หลงเหมิน
汕尾 Sân-mî ซันมี ซ่านเหว่ย์ (ซัวบ้วย)
陆丰/陸豐 Liu̍k-fûng ลยุกฟุง ลู่เฟิง (หลกฮง)
海丰/海豐 Hói-fûng ฮ่อยฟุง ไห่เฟิง (ไหฮง)
陆河/陸河 Liu̍k-hò ลยุกห่อ ลู่เหอ
韶关/韶關 Sèu-koân แส่วกวัน เสากวาน
深圳 Chhṳ̂m-chun ชึมจุ๊น เซินเจิ้น
揭阳/揭陽 Kiet-yòng เกียดหย่อง เจียหยาง (กิ๊กเอี๊ย)
福建 Fuk-kien ฝุกเกี๊ยน ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)
龙岩/龍岩 Liùng-ngàm หลยุ่งหงั่ม หลงหยาน
新罗/新羅 Sîn-lò ซินหล่อ ซินหลัว
永定 Yún-thin ยุ่นทิ้น หย่งติ้ง
长汀/長汀 Chhòng-tîn ฉ่องติน ฉางทิง
武平 Vú-phìn วู่ผิ่น อู่ผิง
漳平 Chông-phìn จองผิ่น จางผิง
上杭 Song-hòng ซ้องห่อง ซ่างหาง
连城/連城 Lièn-sàng เหลี่ยนสั่ง เหลียนเฉิง
三明 Sâm-mìn ซั่มหมิ่น ซานหมิง
江西 Kông-sî กองซี เจียงซี (กังไส)
赣州/贛州 Kam-chû กั๊มจู ก้านโจว
台湾/台灣 Thòi-vân ถ่อยวัน ไถวาน (ไต้หวัน)



อ้างอิง
https://zh.wikipedia.org/wiki/客家語
https://zh.wikipedia.org/wiki/梅縣話
https://zh.wikipedia.org/wiki/四縣話
https://zh.wikipedia.org/wiki/客語白話字
https://zh.wikipedia.org/wiki/客家話拼音方案
https://zh.wikipedia.org/wiki/臺灣客家語拼音方案
http://xuewen.cnki.net/CJFD-YWZG200605013.html


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาจีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ