φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนฮกจิว (หมิ่นตง)
เขียนเมื่อ 2019/12/13 09:49
แก้ไขล่าสุด 2022/03/23 20:07
บทความนี้จะแสดงหลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนฮกจิว (福州话/福州話) หรือภาษาหมิ่นตง (闽东语/閩東語) เป็นภาษาไทย

ภาษาจีนฮกจิวมีหลักการถอดเสียงเป็นอักษรโรมันซึ่งถูกใช้อยู่ทั่วไปคือ ปั่งงั่วเจ๋ย์ (平话字/平話字, Bàng-uâ-cê)

ระบบการถอดเสียงนี้ใช้ในวิกิพีเดียฉบับภาษาฮกจิว https://cdo.wikipedia.org/wiki/Hók-ciŭ-uâ

นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวบอกเสียงอ่านในดิกชันนารีในเว็บอย่างเช่นวิกชันนารี https://en.wiktionary.org/wiki/福州話

นอกจากปั่งงั่วเจ๋ย์แล้วยังมีการใช้ระบบอื่น เช่นในดิกเว็บนี้ก็ใช้ระบบถอดเสียงอีกระบบ http://120.25.72.164/fzhDictionary/index.php?s=/Home/Dictionary/index

อย่างไรก็ตาม ภาษาฮกจิวมีความซับซ้อน และการเขียนถอดเสียงเป็นอักษรโรมันก็มีความยุ่งยากด้วย

ระบบการถอดเสียงแบบปั่งงั่วเจ๋ย์ถูกเขียนขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 19 และภาษาฮกจิวก็มีวิวัฒนาการไปมาก แต่รูปแบบการเขียนกลับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากตอนนั้นนัก ทำให้เสียงปัจจุบันมีหลายจุดที่ไม่ค่อยตรงกับรูปที่เขียนปั่งงั่วเจ๋ย์

อีกทั้งภาษาฮกจิวยังมีการเปลี่ยนทั้งวรรณยุกต์ สระ พยัญชนะต้น เมื่อนำหน้าหรือตามหลังคำอื่นด้วย ทำให้เสียงอักษรตัวหนึ่งๆเมื่ออยู่โดดๆกับเมื่ออยู่รวมเป็นคำจะออกต่างกัน แต่ปั่งงั่วเจ๋ย์จะเขียนแบบเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง จึงต้องตำกฎว่าเสียงมีการเปลี่ยนอย่างไรเมื่อไปนำหน้าหรือตามหลังคำไหน

ในการถอดเสียงเป็นภาษาไทยนี้จะถอดตามเสียงที่ออกจริง ซึ่งผ่านการแปรเสียงมาแล้ว วรรณยุกต์ก็ใช้เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยที่ใกล้เคียงที่สุดเขียน



วรรณยุกต์และสระกับตัวสะกด

ในภาษาจีนฮกจิว วรรณยุกต์มีความสัมพันธ์กับสระและตัวสะกดอย่างใกล้ชิด คือเมื่อวรรณยุกต์เปลี่ยนไป สระก็อาจมีการเปลี่ยนตามไปด้วย จึงต้องนำมาสรุปรวมกัน แจกแจงกรณีให้เห็นภาพโดยละเอียด

วรรณยุกต์ในภาษาจีนฮกจิวมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่ ๗ เสียง แต่ว่ามีวรรณยุกต์อีก ๒​ เสียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการแปรเสียงเมื่ออักษรตัวนึงไปนำหน้าอีกตัว จึงรวมแล้วทั้งหมดมี ๙ เสียง

วรรณยุกต์มีการแบ่งเป็นเสียงแน่น (紧韵/緊韻) และเสียงคลาย (松韵/鬆韻) โดย ๒ กลุ่มนี้จะมีสระไม่เหมือนกัน

การแสดงวรรณยุกต์ในระบบปั่งงั่วเจ๋ย์ทำโดยใส่เครื่องหมายไว้ด้านบนตัวสระ โดยทุกเสียงมีการใส่ทั้งหมด

สระอาจประกอบด้วยอักษร a e i o u นอกจากนี้ยังมีอักษรที่เติมจุดสองจุดไว้ข้างล่าง ซึ่งแสดงเสียงสระต่างออกไปอีกคือ a̤ e̤ o̤ ṳ รวมทั้งหมด ๙ ตัวอักษร อักษรเหล่านี้ยังเรียงผสมกันเป็นสระประสมได้อีกหลายแบบ

จุดที่เติมขึ้นอยู่ด้านล่าง จึงไม่ไปชนกับวรรณยุกต์ที่จะต้องใส่ไว้ด้านบน

ตารางแสดงวรรณยุกต์ทั้งหมด

เลข สัญลักษณ์ ระดับเสียง เทียบวรรณยุกต์ไทย ชนิด ตัวอย่าง
1 ă ˥˥ (55) ตรี แน่น 君 = gŭng = กุ๊ง 通 = tĕ̤ng = เทิ้ง
2 ā ˧˧ (33) สามัญ แน่น 滾 = gūng = กุง 桶 = tūng = เทิง
3 á ˨˩˧ (213) เอก คลาย 贡/貢 = góng = โก่ง 套 = tó̤ = ถ่อ
4 áh/ák ˨˦ (24) จัตวา คลาย 谷 = gók = โก๋ว 铁/鐵 = tiék = ถี
5 à ˥˧ (53) โท แน่น 群 = gùng = กุ้ง 糖 = tòng = โท่ง
6 â ˨˦˨ (242) จัตวา คลาย 郡 = gông = ก๋ง 烫/燙 = tâung = ถอง
7 ăh/ăk ˥ (5) ตรี แน่น 掘 = gŭk = กุ๊ 特 = dĕk = เต๊ย์
เสียงเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อนำหน้าคำอื่น
8   ˨˩ (21) เอก แน่น 骨头/骨頭 = gók-tàu = กุท่าว 
9   ˧˥ (35) จัตวา แน่น 国语/國語 = guók-ngṳ̄ = กั๋วงวี 

เสียง 3 กับ 4 ใช้ ă เหมือนกัน และเสียง 1 กับ 7 ใช้ á เหมือนกัน แต่จะต่างกันตรงที่เสียง 4 จะลงท้ายด้วย h หรือ k เสมอ จึงแยกความต่างกันตรงนี้

เสียง 4 กับ 7 เป็นเสียงกัก จะลงท้ายด้วย h หรือ k เสมอ โดยที่ในอดีต ๒ เสียงนี้มีความต่างกัน โดย h เป็นเสียงกักเส้นเสียง ส่วน k เป็นตัวสะกดแม่กก แต่ปัจจุบันเสียงตัวสะกดแม่กกได้เลือนหายไป เสียง k จึงกลายเป็นเสียงกักเส้นเสียงไปด้วย จึงไม่มีความต่าง

แต่อย่างไรก็ตาม ความต่างของ h กับ k ก็ยังมีผลต่อเสียงสระและการแปลงวรรณยุกต์ จึงยังต้องแยก h กับ k อยู่

เสียงวรรณยุกต์ของอักษรตัวหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเมื่อไปนำหน้าอักษรอีกตัว โดยจะเปลี่ยนเป็นเสียงอะไรก็ขึ้นอยู่กับว่าตามด้วยตัวอะไร

ตารางแสดงการเปลี่ยนวรรณยุกต์เมื่อนำหน้าคำอื่น

ตัว
ข้าง
หน้า
เสียงตัวที่ตามหลัง
1
ă
ตรี
5
à
โท
7
ăh/ăk
ตรี
2
ā
สามัญ
3
á
เอก
4
áh/ák
จัตวา
6
â
จัตวา
1
ă
ตรี
1
ตรี
5
โท
3
á
เอก
6
â
จัตวา
4 (h)
áh
จัตวา
4 (k)
ák
จัตวา
8
เอก
9
จัตวา
1
ตรี
2
ā
สามัญ
5
à
โท
1
ตรี
2
สามัญ
8
เอก
7 (h,k)
ăh/ăk
ตรี

สำหรับเสียง 4 จะแยกกรณี h กับ k มีกฎการเปลี่ยนเสียงต่างกันไป

เสียงกักมักจะเทียบเท่ากับสระเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย ก็คือเป็นคำตาย อย่างไรก็ตามเสียง 4 เป็นวรรณยุกต์จัตวา ซึ่งในภาษาไทยไม่มีเสียงสามัญและจัตวาที่เป็นคำตาย  มีแต่เอก โท ตรี ดังนั้นกรณีเสียงจัตวาจึงเลี่ยงมาเขียนในรูปคำเป็นแทน แม้จริงๆควรจะเป็นคำตายก็ตาม

เช่น 却/卻 kiók เขียนเป็น "ขัว", 刻 káik เขียนเป็น "ก๋าย", 脱/脫 tuák เขียนเป็น "ถัว"

ส่วน 接 ciék เขียนเป็น "จี๋" แม้ว่าจริงๆอาจเขียนรูปคำตายเป็น "จิ๋" ได้ก็ตาม แต่ก็อ่านยากและไม่คุ้นเคย ดังนั้นยังไงก็ให้เขียนเสียง 4 ในรูปคำเป็นทั้งหมด

รวมทั้งเวลาที่ไปนำหน้าคำอื่นแล้วเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ ถ้ากลายเป็นเสียงสามัญหรือเสียจัตวา ก็ให้เขียนในรูปคำเป็น แต่ถ้ากลายเป็นเสียง เอก โท ตรี แล้วอยู่ในรูปที่สามารถเขียนเป็นคำตายในภาษาไทยได้ก็ให้เขียนในรูปคำตาย ถ้าไม่ได้จึงเขียนในรูปคำเป็น

เช่น 日本 nĭk-buōng ตัวหน้าเป็นเสียง 7 (ตรี) ไปนำหน้าเสียง 2 (สามัญ) แปรเป็นเสียง 2 (สามัญ) จึงอ่าน "นีปวง" โดยที่ "นี" เป็นเสียงกัก แต่เนื่องจากเป็นวรรณยุกต์สามัญ เขียนในรูปคำตายไม่ได้ จึงเขียนเป็นรูปคำเป็นแทนเพื่อความง่าย

ส่วนกรณีของเสียง 7 เป็นวรรณยุกต์เสียงตรีซึ่งเขียนในรูปคำตายได้อยู่แล้ว จึงเขียนเป็นคำตายไป

เช่น 肉 nṳ̆k เขียนเป็น "นวิ", 玉 nguŏh เขียนเป็น "งัวะ", 绝/絕 ciŏk เขียนเป็น "จั๊วะ"

แต่ก็มีบางรูปที่ไม่สามารถเขียนในรูปคำเป็นได้ กรณีนี้ให้เขียนเป็นรูปคำตายแม้จะเป็นเสียงตรีก็ตาม เช่น 诺/諾 = nŏk = โน้ว

ข้อควรระวังอีกอย่างก็คือ เสียงที่ถูกเปลี่ยนไปจะกลายเป็นวรรณยุกต์เสียงแน่นทั้งหมด อาจเป็นเสียงแน่นที่ซ้ำกับวรรณยุกต์พื้นฐาน คือเสียง 1,2,5 หรืออาจกลายเป็นเสียงใหม่ คือ 8,9 ทั้งหมดนี้ถือเป็นเสียงแน่นหมด

สำหรับวรรณยุกต์เสียง 3,4,6 ซึ่งเป็นเสียงคลาย เมื่อนำหน้าคำอื่นจะกลายเป็นเสียงแน่น และอาจมีผลทำให้เสียงสระเปลี่ยนไปด้วย ในกรณีที่เป็นสระในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนเสียงไปตามชนิดของวรรณยุกต์

เช่น 福 เป็น hók อ่าน "โหว" แต่พอนำหน้า 州 เป็น 福州 hók-ciŭ จะอ่าน "หุจี๊ว" ไม่ใช่ "โหวจี๊ว"

จะเห็นว่านอกจากวรรณยุกต์จะเปลี่ยนแล้วสระก็ยังเปลี่ยนไปด้วย เพราะ hók เป็นเสียงวรรณยุกต์ 4 ซึ่งเป็นเสียงคลาย และสระชุดที่มีเสียงคลายเป็น hok ก็มี huk เป็นเสียงแน่น

เพียงแต่รูปสะกดโดยปั่งงั่วเจ๋ย์จะยังคงเป็น hók-ciŭ ไม่ได้เปลี่ยน จึงต้องจำกฎการเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนเอาเอง



ตัวอย่างการเปลี่ยนเสียง แจกแจงเป็นตาราง

ตัว
ข้าง
หน้า
เสียงตัวที่ตามหลัง
อยู่โดดๆ 1
ă
ตรี
2
ā
สามัญ
3
á
เอก
4
áh/ák
จัตวา
5
à
โท
6
â
จัตวา
7
ăh/ăk
ตรี
1
ă
ตรี
ă
อ๊า
ă ă
อ๊า อ๊า
ตรี
ă ā
อ้า อา
โท
ă á
อ้า อ่า
โท
ă áh
อ้า อ๋า
โท
ă à
อ๊า อ้า
ตรี
ă â
อ้า อ๋า
โท
ă ăh
อ๊า อ๊ะ
ตรี
2
ā
สามัญ
ā
อา
ā ă
อ่า อ๊า
เอก
ā ā
อ๋า อา
จัตวา
ā á
อ๊า อ่า
ตรี
ā áh
อ๊า อ๋า
ตรี
ā à
อ่า อ้า
เอก
ā â
อ๊า อ๋า
ตรี
ā ăh
อ่า อ๊ะ
เอก
3
á
เอก
ā
อ่า
á ă
อ๊า อ๊า
ตรี
á ā
อ้า อา
โท
á á
อ้า อ่า
โท
á áh
อ้า อ๋า
โท
á à
อ๊า อ้า
ตรี
á â
อ้า อ๋า
โท
á ăh
อ๊า อ๊ะ
ตรี
4
áh
จัตวา
áh
อ๋า
áh ă
อ๊ะ อ๊า
ตรี
áh ā
อ้ะ อา
โท
áh á
อ้ะ อ่า
โท
áh áh
อ้ะ อ๋า
โท
áh à
อ๊ะ อ้า
ตรี
áh â
อ้ะ อ๋า
โท
áh ăh
อ๊ะ อ๊ะ
ตรี
4
ák
จัตวา
ák
อ๋า
ák ă
อะ อ๊า
เอก
ák ā
อ๋า อา
จัตวา
ák á
อ๊ะ อ่า
ตรี
ák áh
อ๊ะ อ๋า
ตรี
ák à
อะ อ้า
เอก
ák â
อ๊ะ อ๋า
ตรี
ák ăh
อะ อ๊ะ
เอก
5
à
โท
à
อ้า
à ă
อ๊า อ๊า
ตรี
à ā
อา อา
สามัญ
à á
อ่า อ่า
เอก
à áh
อ่า อ๋า
เอก
à à
อา อ้า
สามัญ
à â
อ่า อ๋า
เอก
à ăh
อา อ๊ะ
สามัญ
6
â
จัตวา
â
อ๋า
â ă
อ๊า อ๊า
ตรี
â ā
อ้า อา
โท
â á
อ้า อ่า
โท
â áh
อ้า อ๋า
โท
â à
อ๊า อ้า
ตรี
â â
อ้า อ๋า
โท
â ăh
อ๊า อ๊ะ
ตรี
7
ăh/ăk
ตรี
ăh
อ๊ะ
ăh ă
อ๊ะ อ๊า
ตรี
ăh ā
อา อา
สามัญ
ăh á
อะ อ่า
เอก
ăh áh
อะ อ๋า
เอก
ăh à
อา อ้า
สามัญ
ăh â
อะ อ๋า
เอก
ăh ăh
อา อ๊ะ
สามัญ



ต่อไปจะแสดงการจับคู่สระและตัวสะกดกับวรรณยุกต์ทั้งหมด

วิธีการเขียนในแต่ละกลุ่มอาจแบ่งเป็น ๒ หรือ ๔ แบบ โดยที่จะเป็นคู่เสียงเปิดกับเสียงกัก เช่น a / ah และสำหรับบางกลุ่มจะมีการแยกรูปการเขียนในกรณีเสียงวรรณยุกต์เสียงคลายกับแน่นเขียนคนละแบบด้วย

เช่น ung / ong แบบนี้หมายความว่าเสียงแน่นจะเขียนเป็น ung เสียงคลายจะเขียนเป็น ong

แต่ไม่ว่ารูปเสียงแน่นกับเสียงคลายจะเขียนต่างกันหรือไม่ก็ตาม เสียงที่ออกก็อาจจะต่างกัน เช่น a̤ เสียงแน่นอ่านเป็นสระเอ เสียงคลายอ่านเป็นสระอา ดังนั้น ă̤ อ่าน "เอ๊" ในขณะที่ á̤ อ่าน "อ่า"

หรืออย่างเสียง o̤ ก็ด้วย เสียงแน่นจะเป็นสระโอ เช่น ŏ̤ = "โอ๊" แต่เสียงคลายจะเป็นสระออ เช่น ó̤ = "อ่อ"

และในทางตรงกันข้ามก็มีบางกลุ่มที่วิธีการเขียนต่างกันแต่เสียงไม่ต่างกันมากจึงเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยเหมือนกัน



ต่อไปเป็นตารางแจกแจงสระกับตัวสะกดและวรรณยุกต์ พร้อมยกตัวอย่าง

ในที่นี้วรรณยุกต์ 3,4,6 เป็นเสียงคลาย สระอาจต่างจากวรรณยุกต์ 1,2,5,7 จึงทำเป็นตัวสีเขียวไว้ให้แยกได้ชัด

สระและตัวสะกด วรรณยุกต์
1
ă
ตรี
2
ā
สามัญ
3
á
เอก
4
áh/ák
จัตวา
5
à
โท
6
â
จัตวา
7
ăh/ăk
ตรี
a
ah
ă
อ๊า
ā
อา
á
อ่า
áh
อ๋า
à
อ้า
â
อ๋า
ăh
อ๊ะ
嘉 = gă = ก๊า
骂/罵 = má = หม่า
客 = káh = ขา
ang
ak
ăng
อั๊ง
āng
อัง
áng
อ่าง
ák
อ๋า
àng
อั้ง
âng
อ๋าง
ăk
อ๊ะ
山 = săng = ซั้ง
达/達 = dăk = ต๊ะ
姓 = sáng = ส่าง
萨/薩 sák = สา
ai ăi
อ๊าย
āi
อาย
ái
อ่าย
  ài
อ้าย
âi
อ๋าย
 
开/開 = kăi = ค้าย
海 = hāi = ฮาย
在 = câi = จ๋าย
au ău
อ๊าว
āu
อาว
áu
อ่าว
  àu
อ้าว
âu
อ๋าว
 
郊 = gău = ก๊าว
口 = kāu = คาว
透 = táu = ถ่าว
闹/鬧 = nâu = หนาว

a̤h
ă̤
เอ๊
ā̤
เอ
á̤
อ่า
á̤h
อ๋า
à̤
เอ้
â̤
อ๋า
ă̤h
เอ๊ะ
西 = să̤ = เซ้
妻 = chă̤ = เช้
济/濟 = cá̤ = จ่า
eng / aing
eik / aik
ĕng
เอ๊ง
ēng
เอง
áing
อ่ายง์
áik
อ๋าย
èng
เอ้ง
âing
อ๋ายง์
ĕk
เอ๊ย์
灯/燈 = dĕng = เต๊ง
邓/鄧 = dâing = ต๋ายง์
克 = káik = ขาย
黑 = háik = หาย
eu / aiu ĕu
เอ๊ว
ēu
เอว
áiu
อ่าว
  èu
เอ้ว
âiu
อ๋าว
 
狗 = gēu = เกว
牟 = mèu = เม่ว
料 = lâiu = หลาว
e̤ / ae̤
e̤h / ae̤h
ĕ̤
เอ๊อ
ē̤
เออ
áe̤
อ่อ
áe̤h
อ๋อ
è̤
เอ้อ
âe̤
อ๋อ
ĕ̤h
เอ๊อะ
初 = chĕ̤ = เช้อ
e̤ng / ae̤ng
e̤k / ae̤k
ĕ̤ng
เอิ๊ง
ē̤ng
เอิง
áe̤ng
อ่อง
áe̤k
อ๋อย
è̤ng
เอิ้ง
âe̤ng
อ๋อง
ĕ̤k
เอ๊ย
东/東 = dĕ̤ng = เติ๊ง
觉/覺 = gáe̤k = ก๋อย
i / e
ih / eh
ĭ
อี๊
ī
อี
é
เอ่ย์
éh
เอ๋ย์
ì
อี้
ê
เอ๋ย์
ĭh
อิ๊
之 = cĭ = จี๊
字 = cê = เจ๋ย์
气/氣 = ké = เข่ย์
ing / eng
ik / ek
ĭng
อิ๊ง
īng
อิง
éng
เอ่ง
ék
เอ๋ย์
ìng
อิ้ง
êng
เอ๋ง
ĭk
อิ๊
宾/賓 = bĭng = ปิ๊ง
秦 = cìng = จิ้ง
密 = mĭk = มิ
剩 = sêng = เสง
毕/畢 = ék = เป๋ย์
ia
iah

เอี๊ย

เอีย

เอี่ย
iáh
เอี๋ย

เอี้ย

เอี๋ย
iăh
เอี๊ยะ
奇 = kiă = เคี้ย
iang
iak
iăng
เอี๊ยง
iāng
เอียง
iáng
เอี่ยง
iák
เอี๋ย
iàng
เอี้ยง
iâng
เอี๋ยง
iăk
เอี๊ยะ
声/聲 = siăng = เซี้ยง
成 = chiàng = เชี่ยง
ie
ieh

อี๊

อี

อี่
iéh
อี๋

อี้

อี๋
iĕh
อี๊
鸡/雞 = giĕ = กี๊
 系/係 = hiê = หี
ieng
iek
iĕng
อี๊ง
iēng
อีง
iéng
อี่ง
iék
อี๋
ièng
อิ้ง
iêng
อี๋ง
iĕk
อิ๊
天 = tiĕng = ที้ง
穴 = hiĕk = ฮิ
业/業 = ngiĕk = งิ
薛 = siék = สี
别/別 = biék = ปี๋
ieu iĕu
อี๊ว
iēu
อีว
iéu
อี่ว
  ièu
อี้ว
iêu
อี๋ว
 
烧/燒 = siĕu = ซี้ว
超 = chiĕu = ชี้ว
焦 = ciĕu = จี๊ว
d, t, n, l, c, ch
นำหน้า
io
ioh

ตั๊ว

ตัว

ตั่ว
ióh
ตั๋ว

ตั้ว

ตั๋ว
iŏh
อั๊วะ
主 = ciō = จัว
绿/綠 = liŏh= ลัวะ
อื่นๆนำหน้า
เอวี๊ย

เอวีย

เอวี่ย
ióh
เอวี๋ย

เอวี้ย

เอวี๋ย
iŏh
เอวี๊ยะ
桥/橋 = giò = เกวี้ย
d, t, n, l, c, ch
นำหน้า
iong
iok
diŏng
ต๊วง
diōng
ตวง
dióng
ต่วง
diók
ตั๋ว
diòng
ต้วง
diông
ต๋วง
diŏk
ตั๊วะ
墙/牆 = chiòng = ช่วง
想 = siōng = ซวง
略 = liŏk = ลัวะ
雪 = siók = สัว
อื่นๆนำหน้า iŏng
เอวี๊ยง
iōng
เอวียง
ióng
เอวี่ยง
iók
เอวี๋ย
iòng
เอวี้ยง
iông
เอวี๋ยง
iŏk
เอวี๊ยะ
香 = hiŏng = เฮวี้ยง
强/強 = giòng = เกวี้ยง
疟/瘧 = ngiŏk = เงวี้ยะ
若 = iŏk = เอวี๊ยะ
样/樣 = iông = เอวี๋ยง
iu / eu
อี๊ว

อีว
éu
อี่ว
 
อี้ว
êu
อี๋ว
 
秋 = chiŭ = ชี้ว
酒 = ciū = จีว
救 = cêu = จี๋ว
秀 = séu = สี่ว
ong / aung
ok / auk
ŏng
โอ๊ง
ōng
โอง
áung
อ่อง
áuk
อ๋อว
òng
โอ้ง
âung
อ๋อง
ŏk
โอ๊ว
缸 = gŏng = โก๊ง
堂 = dòng = โต้ง
诺/諾 = nŏk = โน้ว
作 = cáuk = จ๋อว
oi / o̤i ŏi
เอ๊ย
ōi
เอย
ó̤i
อ่อย
  òi
เอ้ย
ô̤i
อ๋อย
 
催 = chŏi = เช้ย
衰 = sŏi = เซ้ย
帅/帥 = só̤i = ส่อย
碎 = chó̤i = ฉ่อย

o̤h
ŏ̤
โอ๊
ō̤
โอ
ó̤
อ่อ
ó̤h
อ๋อ
ò̤
โอ้
ô̤
อ๋อ
ŏ̤h
โอ๊ะ
歌 = gŏ̤ = โก๊
枣/棗 = cō̤ = โจ
落 = lŏ̤h = โละ
贺/賀 / hô̤ = หอ
u / o
uh / oh
ŭ
อู๊
ū
อู
ó
โอ่ว
óh
โอ๋ว
ù
อู้
ô
โอ๋ว
ŭh
อุ๊
孤 = gŭ = กู๊
胡 = hù = ฮู่
木 = mŭk = มุ
度 = dô = โต๋ว
数/數 = só = โส่ว
ung / ong
uk / ok
ŭng
อุ๊ง
ūng
อุง
óng
โอ่ง
ók
โอ๋ว
ùng
อุ้ง
ông
โอ๋ง
ŭk
อุ๊
春 = chŭng = ชุ้ง
准/準 = cūng = จุง
谷 = gók = โก๋ว
动/動 = dông = โต๋ง
ua
uah

อั๊ว

อัว

อั่ว
uáh
อั๋วะ

อั่ว

อั๋ว
uăh
อ๊วะ
花 = huă = ฮั้ว
话/話 = uâ = อั๋ว
跨 = kuá = ขั่ว
化 = huá = หั่ว
uang
uak
uăng
อ๊วง
uāng
อวง
uáng
อ่วง
uák
อั๋ว
uàng
อ้วง
uâng
อ๋วง
uăk
อ๊วะ
欢/歡 = huăng = ฮ้วง
活 = uăk = อั๊วะ
换/換 = uâng = อ๋วง
阔/闊 = kuák = ขัว
uai uăi
อ๊วย
uāi
อวย
uái
อ่วย
  uài
อ้วย
uâi
อ๋วย
 
歪 = uăi = อ๊วย
ui / oi ŭi
อู๊ย
ūi
อูย
ói
อู่ย
  ùi
อู้ย
ôi
อู๋ย
 
辉/輝 = hŭi = ฮู้ย
蕊 = lūi = ลูย
翠 = chói = ฉู่ย
uo
uoh

อั๊ว

อัว

อั่ว
uóh
อั๋วะ

อั้ว

อั๋ว
uŏh
อั๊วะ
靴 = kuŏ = คั้ว
过/過 = guó = กั่ว
uong
uok
uŏng
อ๊วง
uōng
อวง
uóng
อ่วง
uók
อั๋ว
uòng
อ้วง
uông
อ๋วง
uŏk
อั๊วะ
光 = guŏng = ก๊วง
郭 = guŏk = กั๊วะ
月 = nguŏk = งัวะ
况/況 = kuóng = ข่วง
uoi uŏi
อู๊ย
uōi
อูย
uói
อู่ย
  uòi
อู้ย
uôi
อู๋ย
 
杯 = buŏi = ปู๊ย
粿 = guōi = กูย
水 = cūi = จูย
梅 = muòi = มู่ย
贵/貴 = uói = กู่ย
ṳ / e̤ṳ
ṳh / e̤ṳh
ṳ̆
อวี๊
ṳ̄
อวี
é̤ṳ
เอ่ย
é̤ṳh
เอ๋ย
ṳ̀
อวี้
ê̤ṳ
เอ๋ย
ṳ̆h
อวิ๊
须/須 = sṳ̆ = ซวี้
猪/豬 = dṳ̆ = ตวี๊
许/許 = hṳ̄ = ฮวี
序 = sê̤ṳ = เสย
ṳng / e̤ṳng
ṳk / e̤ṳk
ṳ̆ng
อวิ๊ง
ṳ̄ng
อวิง
é̤ṳng
เอิ่ง
é̤ṳk
เอ๋ย
ṳ̀ng
อวิ้ง
ê̤ṳng
เอิ๋ง
ṳ̆k
อวิ๊
银/銀 = ngṳ̀ng = งวิ่ง
续 = sṳ̆k = ซวิ
曲 = ké̤ṳk = เขย
触/觸 = ché̤ṳk = เฉย



พยัญชนะต้น

โดยพื้นฐานแล้วในภาษาจีนฮกจิวมีพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๕ เสียง แต่นอกจากนี้ยังมี ๒​ เสียงที่อาจเกิดขึ้นได้เพิ่มเติมเมื่อบางคำไปตามหลังคำอื่นบางคำ จึงรวมเป็น ๑๗

ตารางแสดงพยัญชนะต้นทั้งหมด

ปั่งงั่วเจ๋ย์ IPA ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
b /p/ 宝/寶 = bō̤ = โป
p /pʰ/ พ, ผ 炮 = páu = เผ่า
m /m/ 猫/貓 = mà = ม่า
d /t/ 到 = dó̤ = ต่อ
t /tʰ/ ท, ถ 桃 = tò̤ = โท่
n /n/ 脑/腦 = nō̤ = โน
l /l/ 老 = lâu = หลาว
g /k/ 高 = gŏ̤ = โก๊
k /kʰ/ ค, ข 靠 = kó̤ = ข่อ
ng /ŋ/ 牙 = ngà = ง่า
h /h/ ฮ, ห 号/號 = hô̤ = หอ
c /ʦ/ 造 = cô̤ = จ๋าว
ch /ʦʰ/ ช, ฉ 草 = chāu = ชาว
s /s/ ซ, ส 掃 = sáu = ส่าว
ไร้พยัญชนะต้น - 澳 = ó̤ = อ่อ
  /β/  
  /ʒ/  

เสียง /β/ จะเกิดขึ้นกับเสียง b หรือ p เมื่อตามหลังคำอื่น

/β/ เป็นเสียงคล้ายๆ "บ" จึงให้ทับศัพท์เป็น "บ"

ส่วน /ʒ/ จะเกิดขึ้นกับเสียง c หรือ ch เมื่อตามหลังคำอื่น

/ʒ/ เป็นเสียงคล้าย "จ" แต่เป็นเสียงแบบเสียดแทรก ให้ทับศัพท์เป็น "จ"

สรุปกฎการเปลี่ยนเสียงเมื่อตามหลังคำอื่น

ตัวสะกดของคำหน้า พยัญชนะต้น เปลี่ยนเป็น ตัวอย่าง
k ไม่มีการเปลี่ยนเสียง
ng b p m 閩北 = mìng-báe̤k = หมิ่งหมอย
d t l s n 青岛/青島 = chĭng-dō̤ = ชิ่งโน
汕头/汕頭 = sáng-tàu = ซั้งเน่า
广西/廣西 = guōng-să̤ = ก่วงเน้
อ g k h ng 沈阳/瀋陽 = sīng-iòng = สิ่งเงวี่ยง
韩国/韓國 = hàng-guók = หั่งหงัว
上海 = siông-hāi = ซ่วงงาย
c ch /ʒ/ 南昌 = nàng-chuŏng = นั้งจ๊วง
杭州 = hòng-ciŭ = โฮ้งจี๊ว
m n ng ไม่เปลี่ยน
อื่นๆ b p /β/ 台北/臺北 = dài-báe̤k = ต่ายบ๋อย
d t s l 台东/臺東 = dài-dĕ̤ng = ต๊ายเลิ้ง
朝鲜/朝鮮 = dièu-siēng = ตีวลีง
g k h 美国/美國 = mī-guók = มี้อั๋ว
武汉/武漢 = ū-háng = อู๊อ่าง
c ch /ʒ/ 潮州 = dièu-ciŭ = ตี๊วจี๊ว
อ m n ng l ไม่เปลี่ยน

แต่ถ้ามี * แทรกอยู่ระหว่างคำจะหมายถึงว่าไม่มีการเปลี่ยนเสียงเนื่องจากตัวหน้าหรือตัวหลัง



ตัวอย่าง

ตัวเลข

0 〇/零 lìng /l̃iŋ⁵³/ ลิ่ง
1 ék /ɛiʔ²⁴/ เอ๋ย์
2 /nˡɛi²⁴²/ เหนย์
3 săng /saŋ⁵⁵/ ซั้ง
4 /sɛi²¹³/ เส่ย์
5 ngô /ŋou²⁴²/ โหงว
6 lĕ̤k /l̃øyʔ⁵/ เล้ย
7 chék /t͡sʰɛiʔ²⁴/ เฉย์
8 báik /paiʔ²⁴/ ไป๋
9 gāu /kau³³/ เกา
10 sĕk /sɛiʔ⁵/ เซ้ย์
100 báh /pɑʔ²⁴/ ป๋า
1,000 chiĕng /t͡sʰieŋ⁵⁵/ ชี้ง
10,000 万/萬 uâng /uɑŋ²⁴²/ อ๋วง
100,000,000 亿/億 é /ɛi²¹³/ เอ่ย์
1,000,000,000,000 diêu /tiɛu²⁴²/ ตี๋ว


ชื่อสถานที่ในมณฑลฝูเจี้ยนและในเมืองฝูโจว

อักษรจีน ปั่งงั่วเจ๋ย์ IPA ทับศัพท์ จีนกลาง
福建 Hók-gióng /huʔ²⁴⁻⁵⁵ kyɔŋ²¹³/ ฮุเกวี่ยง ฝูเจี้ยน
闽东/閩東 Mìng-dĕ̤ng /miŋ⁵³⁻⁵⁵ (t-)nøyŋ⁵⁵/ มิ้งเนิ้ง หมิ่นตง
福州 Hók-ciŭ /huʔ²⁴⁻²¹ t͡sieu⁵⁵/ หุจี๊ว ฝูโจว
榕城 Ṳ̀ng-*siàng /yŋ⁵³⁻³³ siaŋ⁵³/ อวิงเซี่ยง หรงเฉิง
长乐/長樂 Diòng-lŏ̤h /tuoŋ⁵³⁻³³ (l-)nˡoʔ⁵/ ตวงเนาะ ฉางเล่อ
闽侯/閩侯 Mìng-âu /miŋ⁵³⁻²¹ (Ø-)ŋɑu²⁴²/ หมิ่งเหงา หมิ่นโฮ่ว
连江/連江 Lièng-gŏng /l̃ieŋ⁵³⁻⁵⁵ (k-)ŋouŋ⁵⁵/ ลี้งโง้ง เหลียนเจียง
罗源/羅源 Lô-goân /l̃o⁵³⁻³³ ŋuoŋ⁵³/ โลง่วง หลัวหยวน
闽清/閩清 Mìng-chiăng /miŋ⁵³⁻⁵⁵ (t͡sʰ-)ʒiaŋ⁵⁵/ มิ้งเจี้ยง หมิ่นชิง
永泰 Īng-tái /iŋ³³⁻⁵⁵ (tʰ-)nɑi²¹³/ อิ๊งหน่าย หย่งไท่
平潭 Bìng-tàng /piŋ⁵³⁻³³ (tʰ-)naŋ⁵³/ ปิงนั่ง ผิงถาน
福清 Hók-chiăng /huʔ²⁴⁻²¹ t͡sʰiaŋ⁵⁵/ หุเชี้ยง ฝูชิง
厦门/廈門 Â-muòng /a²⁴²⁻⁵⁵ muoŋ⁵³/ อ๊าม่วง เซี่ยเหมิน
龙岩/龍岩 Lṳ̀ng-ngàng /l̃yŋ⁵³⁻³³ ŋaŋ⁵³/ ลวิงงั่ง หลงหยาน
南平 Nàng-bìng /nˡaŋ⁵³⁻³³ (p-)miŋ⁵³/ นังมิ่ง หนานผิง
宁德/寧德 Nìng-dáik /nˡiŋ⁵³⁻²¹ (t-)naiʔ²⁴/ หนิ่งหนาย หนิงเต๋อ
莆田 Buò-dièng /puo⁵³⁻³³ (t-)lieŋ⁵³/ ปัวเลี่ยง ผูเถียน
泉州 Ciòng-ciŭ /t͡suoŋ⁵³⁻⁵⁵ (t͡s-)ʒieu⁵⁵/ จ๊วงจี๊ว เฉวียนโจว
三明 Săng-mìng /saŋ⁵⁵ miŋ⁵³/ ซั้งมิ่ง ซานหมิง
漳州 Ciŏng-ciŭ /t͡suoŋ⁵⁵ (t͡s-)ʒieu⁵⁵/ จ๊วงจี๊ว จางโจว
马祖/馬祖 Mā-cū /ma³³⁻³⁵ (t͡s-)ʒu³³/ หมาจู หมาจู่

จางโจวและเฉวียนโจวเป็นคนละเมืองกัน จีนกลางออกเสียงต่างกัน แต่ออกเสียงเหมือนกันในภาษาจีนฮกจิว



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาจีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ