# อาทิตย์ 14 ม.ค. 2023วันที่ 14 มกราคมที่เซนไดมีจัดงานเทศกาลดนโตะไซ (どんと
祭) ซึ่งเป็นงานเทศกาลที่มีการก่อกองไฟเผาพวกของประดับจากเทศกาลปีใหม่ สถานที่จัดงานคือศาลเจ้าและวัดหลายแห่งในจังหวัดมิยางิ แต่ที่เป็นสถานที่จัดหลักคือที่ศาลเจ้า
โอซากิฮาจิมังงู (
大崎八幡宮) นอกจากนี้ก็ยังมีจัดที่
วัดมุตสึโคกุบุง (
陸奥国分寺)
ครั้งนี้เราไปด้วยกันกับเพื่อนอีกคนที่ทำงาน โดยเริ่มจากไปที่วัดมุตสึโคกุบุงก่อนเสร็จแล้วก็เดินทางไปโอซากิฮาจิมังงูต่อ
วัดมุตสึโคกุบุงเป็นวัดโคกุบุงแห่งแคว้นมุตสึ (
陸奥国) ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ทางเหนือที่สุด วัดโคกุบุงเป็นวัดประจำแคว้นต่างๆทั่วญี่ปุ่นซึ่งสร้างขึ้นในช่วงยุคจักรพรรดิโชวมุ (
聖武天皇, ปี 724- 749) จึงมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาก เพียงแต่ปัจจุบันไม่ได้เหลือสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมในยุคนั้น สิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลือของวัดนี้คือ
ยากุชิโดว (
薬師堂) ซึ่งเป็นอาคารหลักที่สร้างขึ้นในปี 1607
ภายในบริเวณวัดยังได้มีการสร้างศาลเจ้าฮากุซัง (
白山神社) ขึ้นมาด้วย ทำให้เป็นทั้งวัดและศาลเจ้า
การเดินทางมานั้นสามารถมาได้ง่ายโดยขึ้นรถไฟใต้ดินไปลงที่
สถานียากุชิโดว (
薬師堂駅)
สถานีนี้เมื่อก่อนเคยแวะไปมาแล้วทีนึง เล่าไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20221029ครั้งนี้เราก็นัดเจอเพื่อนที่สถานีนี้ตอนเวลา 14:30
เดินออกมาจากสถานีก็เจอป้ายที่อธิบายเกี่ยวกับวัดมุตสึโคกุบุงและอาคารยากุชิโดว
มีภาพแสดงแบบจำลองในจินตนาการของอาคารวัดดั้งเดิมสมัยก่อนด้วย เชื่อก้นว่าเมื่อก่อนเคยมีหอคอยสูงตั้งอยู่
จากสถานีเดินมานิดหน่อยก็ถึงหน้าทางเข้าวัด
เดินผ่านประตูนิโอวมง (
仁王門)
ซึ่งภายในมียักษ์เฝ้าประตูอยู่
เดินผ่านเข้ามาด้านในก็เริ่มเห็นควันและมคนกำลังมุงกันอยู่
ตรงนี้เป็นผู้คนที่เข้าคิวเพื่อเอาของประดับเทศกาลปีใหม่ไปเผาในกองไฟ แต่เราไม่ได้เตรียมอะไรมาเผา จึงแค่ดูอยู่ห่างๆ
กองไฟที่กำลังเผา
ข้างๆมีรถดับเพลิงเตรียมไว้อยู่ด้วย คงเตรียมไว้เวลามีเหตุไม่คาดคิด
เดินเล่นดูภายในบริเวณวัด ก็เป็นเหมือนสวนสาธารณะเล็กๆ
มองไปทางเหนือเห็นชิงช้าสวรรค์ ตรงนั้นเป็นบริเวณสนามกีฬา
รากุเตงโมบายล์พาร์กมิยางิ (
楽天モバイルパーク
宮城)
ตรงนี้เป็นศาลเจ้าฮากุซัง ศาลเจ้าเล็กๆที่อยู่ภายในบริเวณวัด
อาคารหลักยากุชิโดวของวัดแห่งนี้ มีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมอยู่ด้วย
ทางตะวันตกของวัดเป็นบริเวณที่เรียกว่าสวนสาธารณะคิโนะชิตะ (
木ノ
下公園)
ภายในมีหอพระจุนทีโพธิสัตว์ (
準胝観音堂)
มองไปทางใต้เป็นสนามหญ้า มีเด็กมาวิ่งเล่นกันอยู่
ตรงนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆซึ่งบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัดนี้
เข้ามาชมข้างในได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการชม
ภายในไม่ใหญ่มาก ประกอบด้วยห้องเดียว
ตรงนี้อธิบายประวัติศาสตร์และแบบจำลองในอดีต
มีเจ้าหน้าที่คอยอธิบายด้วย
พวกของโบราณที่ถูกขุดค้นเจอในบริเวณ
แผนที่แบบวางซ้อนให้เลื่อนดูได้เพื่อเทียบภาพปัจจุบันกับในอดีต
หลังจากชมเสร็จก็กลับมาขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางไปยังศาลเจ้าโอซากิฮาจิมังงูต่อไป
เรามาลงที่สถานีคาวาอุจิ (
川内駅)
จากนั้นก็เดินขึ้นไปทางเหนือ
ระหว่างทางผ่าน
สะพานอุชิโงเอะ (
牛越橋) ซึ่งเมื่อก่อนเคยมาทีนึงแล้วเพื่อเข้าร่วมงานอิโมนิ (เล่าไว้ใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20221011)
เดินข้ามสะพานแล้วต่อมาเรื่อยๆ
พอเริ่มเข้าใกล้ก็เริ่มเจอขบวนแห่ของงานเทศกาล แบบนี้เรียกว่าฮาดากะไมริ (
裸参り) ซึ่งคนที่เดินจะแต่งตัวแบบเกือบเปลือยอย่างที่เห็น อากาศหนาวแบบนี้ดูแล้วทรมานแย่ แต่เขาก็แต่งกันแบบนี้เดินกันอยู่ได้จริงๆ
หลังจากเดินผ่านขบวนมาก็ถึงแยกที่ข้ามไปฝั่งตรงข้ามก็จะถึงที่หมาย
แล้วก็เดินมาถึงหน้าศาลเจ้าโอซากิฮาจิมังงู แต่ก็พบว่าคนแน่นมาก ถ้าจะเข้าไปด้านในต้องต่อคิวยาว
มองดูแล้วแถวคิวยาวไปทางตะวันออกอีกไกลเลย
ระหว่างที่ลังเลว่าจะเดินไปท้ายแถวเพื่อเข้าดีหรือไม่ ก็เห็นขบวนฮากาดะไมริผ่านมา
ในขบวนนี้ผู้ชายจะเปลือยท่อนบน ส่วนผู้หญิงจะไม่ได้เปลือย แต่ก็สวมผ้าบางอยู่ ยังไงก็คงจะหนาวเหมือนกัน
ขบวนแห่เดินเข้าไปในศาลเจ้า
เรารอดูอยู่หน้าศาลเจ้าสักพักก็เห็นขบวนแห่เดินผ่านเรื่อยๆ และคนก็ยิ่งแน่นขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายคิดว่ายังไงก็คงจะรอเข้าคิวเพื่อเข้าไปด้านในศาลเจ้าไม่ไหว ก็เลยตัดใจแล้วเดินทางกลับ
ในขากลับนี้เดินไปทางตะวันออกสวนทางแถวคิวฝูงชน
ตรงนี้เป็นป้ายรถเมล์ที่เวลาปกติน่าจะมีรถเมล์มาจอด แต่คงเพราะอยู่ใกล้ศาลเจ้าที่เป็นที่จัดงานมากไปก็เลยปิดชั่วคราว แล้วถูกย้ายให้ไปรอที่ป้ายที่อยู่ห่างไปทางตะวันออกอีกหน่อย
แล้วก็เดินมาจนถึงป้ายรถเมล์ เจอรถเมล์สายที่จัดขึ้นเฉพาะกิจสำหรับรับคนจากสถานีเซนไดมาที่นี่
บริเวณป้ายรถเมล์นี้อยู่หน้าห้างโคปมิยางิ (COOPみやぎ)
แล้วเราก็ขึ้นรถเมล์เดินทางกลับ เป็นอันจบการเที่ยวชมงานเทศกาลเพียงเท่านี้
แม้จะน่าเสียดายที่ไม่ได้เข้าไปในศาลเจ้าที่เป็นที่จัดงานหลัก แต่ก็ช่วยไม่ได้ เพราะว่าคนแน่นแบบนั้นยังไงก็ไม่ไหว แต่ยังไงครั้งนี้ก็ได้เห็นกองไฟที่วัดโคกุบุงแล้ว และก็มาเห็นขบวนแห่งฮาดากะไมริที่หน้าศาลเจ้าแม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปก็ตาม เท่านี้ก็พอแล้ว