φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



เดินชมมหาวิทยาลัยคิวชู วิทยาเขตอิโตะ และวิทยาเขตมาอิดาชิ
เขียนเมื่อ 2025/07/23 20:03
แก้ไขล่าสุด 2025/07/24 03:07
# พุธ 23 ก.ค. 2025

วันนี้เกิดอยากแวะไปเดินเล่นแถวมหาวิทยาลัยคิวชู (九州大学きゅうしゅうだいがく) สักหน่อย เพราะถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังที่สุดของคิวชู แต่ว่าเนื่องจากวิทยาเขตหลักอยู่นอกเมืองฟุกุโอกะ แล้วก็ไม่ได้มีธุระอะไรก็เลยยังไม่ได้มีโอกาสแวะไปเลยจนถึงตอนนี้

แต่ว่าตอนนี้ในไม่ช้าก็จะย้ายออกจากฟุกุโอกะแล้ว ก็เลยอยากแวะไปสักหน่อยก่อนที่จะไม่มีโอกาสอีก

มหาวิทยาลัยคิวชูมีวิทยาเขตหลักคือวิทยาเขตอิโตะ (伊都いとキャンパス) ซึ่งอยู่เกือบปลายขอบทางตะวันตกของเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ บริเวณนี้เรียกว่าเป็นคาบสมุทรอิโตชิมะ (糸島半島いとしまはんとう) และถ้าไปต่ออีกนิดเดียวก็เป็นเมืองอิโตชิมะ (糸島市いとしまし) แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในส่วนของเมืองฟุกุโอกะอยู่

ที่จริงแล้ววิทยาเขตอิโตะนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่และย้ายมาอยู่ตั้งแต่ปี 2005 เดิมทีมหาวิทยาลัยคิวชูเองก็อยู่ในย่านตัวเมืองฟุกุโอกะ

การเดินทางไปยังวิทยาเขตอิโตะนั้นมีรถเมล์ เช่นสาย K ที่วิ่งจากย่านใจกลางเมืองอย่างฮากาตะและเทนจิงไปได้สะดวก เพียงแต่ว่าสายนี้มีแค่ประมาณครึ่งชั่วโมงต่อเที่ยว

ครั้งนี้เราก็ไปโดยนั่งรถเมล์สาย K นี้ไป แถวบริเวณมหาวิทยาลัยมีป้ายรถเมล์ให้ลงได้หลายที่ ครั้งนี้เราเลือกมาลงที่ป้ายกรมดับเพลิงตะวันตกสาขาโมโตโอกะ (西消防署元岡出張所前にししょうぼうしょもとおかしゅっちょうじょまえ) ซึ่งอยู่หน้าทางเข้ามหาวิทยาลัย



ที่มาลงตรงนี้เพราะว่าตรงนี้มีร้านราเมงอยู่ ชื่อว่าร้านมารุกัตสึราเมง (まるかつらーめん) เลยตั้งใจจะแวะมากินก่อนที่จะเข้าไปเดิน



เข้ามานั่งที่โต๊ะเคาน์เตอร์



เมนูของร้าน ราเมงทั้งหมดเป็นราเมงกระดูกหมูเป็นพื้นฐาน และมีใส่ส่วนผสมต่างๆที่ต่างกันไป รวมถึงมิโสะด้วย



เราสั่งแบบที่ใส่มิโสะ ราคา ๑๐๐๐ เยน อร่อยดีทีเดียว



กินเสร็จแล้วก็ออกมาเดินต่อ ลองมองไปฝั่งตรงข้ามแถวนี้ก็เป็นย่านหอพัก มีสำนักงานอสังหาริมทรัพย์อยู่ด้วย



แล้วก็เดินต่อไปตามทางเข้าสู่บริเวณมหาวิทยาลัย




ตรงนี้เป็นอาคารศูนย์วิจัยพลังงานลดการปล่อยคาร์บอน



ตรงนี้เป็นทางเดินลอยเชื่อมระหว่างอาคารเซนเตอร์ 3 (センター3号館ごうかん) กับอาคารเซนเตอร์ 2 (センター2号館ごうかん)



เราเข้าไปภายในอาคารเซนเตอร์ 3



แล้วก็เดินขึ้นไปชั้น ๓ ไปข้ามทางลอยด้านบน



ทิวทัศน์ที่มองจากทางข้ามด้านบน




มองลงไปเห็นป้ายมหาวิทยาลัยข้างล่าง



ข้ามมาถึงส่วนอาคารเซนเตอร์ 2 แล้วก็เดินต่อไป ด้านหน้ามีทางลอยเชื่อมระหว่างอาคารนี้กับอาคารเซนเตอร์ 1 (センター1号館ごうかん)ที่อยู่ข้างๆ



จากตรงทางลอยเชื่อมมองลงไป บริเวณนี้เป็นลานที่ดูน่าเดิน



มองไปทางตะวันตกต่อไปเห็นอาคารเวสต์ 1 (ウエスト1号館ごうかん) ตั้งเด่นอยู่



เราเดินมาเรื่อยๆจนมาสุดทาง ลงไปจากตรงนี้



มองอาคาร์เวสต์ 1 จากตรงหน้า



แล้วก็เดินข้ามไปดู



ส่วนทางใต้ของอาคารนี้เป็นอาคารร้านอาคาร



มีพวกร้านต่างๆมากมาย



ตรงส่วนนี้เป็นโรงอาหาร ตอนนี้เป็นเวลาใกล้เที่ยงก็เลยมีคนอยู่แน่นทีเดียว



เมนูอาหาร




เดินต่อเข้ามา มองไปข้างหน้าก็ยังเจออาคารอยู่ลึกเข้าไปข้างในอีก ตรงโน้นเป็นอาคารเวสต์ 2 (ウエスト2号館ごうかん) และถ้าเดินต่อไปก็จะเจออาคารหมายเลขถัดไปอีกเรื่อยๆยาว แตว่าเราไม่ได้เดินต่อไปแล้ว พอแค่นี้ เพราะอากาศก็ร้อน ไม่ได้อยู่ในอารมณ์ที่จะไปต่อสักเท่าไหร่ ได้มาเห็นแค่นี้ก็รู้สึกว่าพอแล้ว



ภายในอาคารนี้มีส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเล็กๆอยู่ด้วย ก่อนกลับก็เดินชมตรงนี้อยู่สักพัก





จากนั้นก็เดินย้อนมายังหน้าอาคารเซนเตอร์ 3 ซึ่งมีป้ายรถเมล์อยู่



ตอนที่มาถึงป้ายรถเมล์เป็นจังหวะที่รถเมล์สาย K เพิ่งออกไป ถ้าจะรอก็ต้องตอเกือบครึ่งชั่วโมงเพื่อขึ้นคันถัดไป ดังนั้นขากลับเลยตัดสินใจไปด้วยสายอื่นแทน



ก็ได้มานั่งสายรถเมล์ที่เชื่อมระหว่างมหาวิทยาลัยนี้กับสถานีคิวไดงักเกงโทชิ (九大学研都市駅きゅうだいがっけんとしえき) ซึ่งมีเที่ยวรถเยอะกว่า สามารถขึ้นรถเมล์จากตรงนี้เพื่อไปนั่งรถไฟกลับได้



รถเมล์ใช้เวลาไม่นานก็มาถึงสถานี ที่สถานีนี้จริงๆแล้วเราเคยแวะมาแล้วหลายครั้ง ถ้าลองนับดูก็เป็นครั้งที่ ๔ แล้ว เป็นสถานีสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์




แล้วเราก็นั่งรถไฟกลับจากสถานีนี้ การเที่ยวมหาวิทยาลัยคิวชูวิทยาเขตอิโตะจึงจบลงเท่านี้



แต่ว่าหลังจากที่ช่วงตอนเที่ยงกลับมาจากวิทยาเขตอิโตะแล้ว ก็กลับมาพักสักครู่แล้วตอนเย็นได้นัดเจอเพื่อนที่อยู่ที่วิทยาเขตมาอิดาชิ (馬出まいだしキャンパス) ก็เลยขอหยิบมาเล่ารวมไปด้วยเป็นตอนเดียวในนี้เลย

วิทยาเขตมาอิดาชิตั้งอยู่ในย่านมาอิดาชิในเขตฮิงาชิค่อนไปทางตะวันออกของเมืองฟุกุโอกะ ย่านนี้ถือว่าไม่ไกลจากศูนย์กลางเมืองมาก เดินทางมาได้สะดวกด้วยรถไฟใต้ดิน

วิทยาเขตนี้ประกอบไปด้วยคณะแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์ และภายในยังมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคิวชู (九州大学病院きゅうしゅうだいがくびょういん) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในคิวชูด้วย ส่วนเพื่อนมาทำงานเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์

การมาที่นี่มาได้ง่ายโดยรถไฟใต้ดินมาที่สถานีมาอิดาชิคิวไดเบียวอิงมาเอะ (馬出九大病院前駅まいだしきゅうだいびょういんまええき) แต่ว่าเรามาด้วยรถเมล์ ก็มาลงที่ป้ายหน้าสถานีนี้เหมือนกัน



ทางลงสถานีตรงหน้าทางเข้ามหาวิทยาลัย



เดินเข้าไปภายในวิทยาเขต



ส่วนตรงนี้เป็นอาคารคณะเภสัชศาสตร์ที่เพื่อนมาทำงานอยู่ ก็นัดเจอกันตรงนี้แล้วก็ไปหาอะไรกินกัน



ระหว่างทางผ่านประตูใหญ่ทางตะวันออกของวิทยาเขต มองเข้าไปเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นโรงพยาบาล



เดินต่อไปทางใต้เลียบริมรั้วมหาวิทยาลัย



ระหว่างทางผ่านวัดโซวฟุกุ (崇福寺そうふくじ) ซึ่งก็เป็นวัดเล็กๆในบริเวณนี้ เดี๋ยวก็จะแวะมาที่นี่อีกทีหลังกินเสร็จด้วย



เดินมาถึงตรงแยกนี้ที่ร้านที่ตั้งใจมากินตั้งอยู่




แล้วก็มาถึงร้านจัมปงฟุรุยะ (ちゃんぽんふる) ซึ่งตั้งใจชวนเพื่อนมากินจัมปงสักหน่อย แต่ว่าก็พบว่าร้านยังไม่เปิดเพราะยังมาเร็วไป ที่จริงตามเวลาที่เขียนในกูเกิลแล้วร้านนี้เปิด 17:00 ดังนั้นเราเลยมาตอน 17:40 คิดว่าไม่มีอะไร แต่ว่าที่จริงแล้วร้านได้เปลี่ยนเป็นเปิด 18:00 แล้ว ก็เลยยังไม่เปิด ตอนที่มาถึงยังเห็นเจ้าของร้านกำลังฉีดน้ำทำความสะอาดหน้าร้านอยู่เลย ลองถามดูเขาก็คุยด้วยดี ยังถามว่าเรามาจากไหน พอบอกว่าเป็นคนไทยเขาก็บอกว่าพนักงานร้านเขาที่มาทำงานตอนกลางวันก็เป็นคนไทย แต่ว่าตอนเย็นเป็นพนักงานชาวพม่าแทน ดูแล้วที่นี่ใช้พนักงานต่างชาติเป็นหลัก และก็ดูต้อนรับชาวต่างชาติดี แถวนี้คงมีคนต่างชาติแวะมาเยอะอยู่ด้วย



เนื่องจากมาเร็วไปนิดก็เลยต้องไปเดินเล่นแถวนั้นรอเวลา ข้างๆนั้นเป็นสวนสาธารณะจิโยะฮิงาชิ (千代東公園ちよひがしこうえん)



มีบ่อน้ำเก่าตั้งอยู่ด้วย



แล้วพอถึงเวลาร้านเปิดก็กลับมาอีก เข้าไปกิน



ร้านนี้มีขนาดเล็ก ที่นั่งทั้งหมดเป็นเคาน์เตอร์ รวมแล้วมีแค่ ๗ ที่นั่ง ภายในคนที่ทำงานอยู่คือเจ้าของร้านกับพนักงานชาวพม่า



ที่นี่มีเมนูภาษาไทยให้ด้วย น่าจะเป็นเพราะว่าเขามีพนักงานเป็นคนไทยเลยให้ช่วยเขียนให้ซะสวย แถมในเมนูนี้ยังอธิบายละเอียดว่าอะไรเป็นอะไรด้วย เพียงแต่ว่าราคาที่เขียนในนี้เป็นของเก่า ที่จริงตอนนี้ราคาขึ้นมา ๑๐๐​ เยนแล้ว จัมปงราคา ๗๐๐ เยน



เราสั่งจัมปงแบบแห้งดู ส่วนเพื่อนก็สั่งแบบน้ำ ลองกินดูก็อร่อยดี แต่ก็ธรรมดาเมื่อเทียบกับร้านจัมปงที่เคยไปกินมาหลายที่ทั่วฟุกุโอกะแล้วก็ไม่ได้ถือว่าอร่อยเด่นเป็นพิเศษ ปัญหาคือปริมาณเยอะไปหน่อย เกือบจะกินไม่หมด แต่ก็ยังพอไหว



ระหว่างกิน เจ้าของร้านก็ชวนคุยโน่นนี่อยู่เรื่อยๆ ดูแล้วเป็นคนใจดี ทำให้เราก็ได้สนุกไประหว่างที่อยู่ในร้านนี้ นอกจากนี้แล้วเขายังหยิบเครื่องทำน้ำแข็งไสมาตั้งหน้าร้านให้มาปั่นกินเล่นฟรีด้วย



พวกอุปกรณ์ต่างๆนั้นเขาหยิบออกมาจากห้องเล็กๆข้างๆร้าน ซึ่งดูจะเป็นที่เก็บของของร้านนี้



จากนั้นก็กินเสร็จ ได้เวลาเดินออกจากร้านไป



เสร็จแล้วก็มาเดินเล่นในวัดโซวฟุกุที่อยู่ใกล้ๆ



ภายในวัดก็ดูน่าเดินดี ดูไปเพลินๆ






จากนั้นก็เข้ามาเดินดูในอาคารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคิวชูสักหน่อย ดูแล้วมีขนาดใหญ่โตมากจริงๆ



เข้ามาดูภายในนิดหน่อย



เดินดูนิดหน่อยเสร็จก็ออกมาจากอาคาร



ข้างๆเป็นอาคารหอสมุดแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยคิวชู (九州大学医学図書館きゅうしゅうだいがくいがくとしょかん) มีจะลองเข้าไปดูนิดหน่อย แต่ว่าไม่มีบัตรของที่นี่ก็เข้าไม่ได้



เสร็จแล้วก็กลับมาขึ้นรถเมล์กลับ แยกจากเพื่อนไปตรงนี้ การเดินเที่ยวมหาวิทยาลัยคิวชูทั้ง ๒ วิทยาเขตในวันนี้ก็สิ้นสุดลงเท่านี้




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุโอกะ
-- ท่องเที่ยว >> อาหารญี่ปุ่น >> ราเมง
-- ท่องเที่ยว >> มหาวิทยาลัย
-- ท่องเที่ยว >> อาหารญี่ปุ่น >> จัมปง
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

รวมร้านราเมงและบะหมี่ในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น ปี 2013
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ