φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาไอนุ
เขียนเมื่อ 2023/08/25 11:37
แก้ไขล่าสุด 2023/09/08 11:07
 

ในบทความนี้จะอธิบายหลักการทับศัพท์ภาษาไอนุเขียนด้วยอักษรไทย โดยจะอธิบายแยกเป็นส่วนๆอย่างละเอียด และมีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดด้วย เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาภาษาไอนุ หรือต้องการนำระบบทับศัพท์ไปใช้เพื่อเขียนพวกชื่อต่างๆ



ที่มาที่ไป

ภาษาไอนุนั้นเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในเกาะฮกไกโดของญี่ปุ่น รวมถึงเกาะซาฮาลิน และหมู่เกาะคูริลของรัสเซีย

แม้ว่าจะมีประชากรผู้พูดน้อยและเป็นภาษาใกล้ตายแล้ว แต่ก็มีความสำคัญในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีผู้สนใจศึกษาภาษาไอนุในญี่ปุ่นไม่น้อย

พวกชื่อสถานที่ต่างๆในฮกไกโดหลายแห่งใช้ชื่อภาษาไอนุ เนื่องจากชาวไอนุอาศัยอยู่มานานก่อนที่ชาวญี่ปุ่นจะเข้ามาอยู่ ดังนั้นการรู้ภาษาไอนุจึงทำให้เราเข้าใจที่มาของชื่อสถานที่ต่างๆ

ภาษาไอนุมีความหลากหลายมาก โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น ๓ กลุ่มคือ ไอนุฮกไกโด, ไอนุซาฮาลิน และไอนุคูริล ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ต่างกันมากจนอาจถือว่าเป็นคนละภาษากัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันที่เหลืออยู่มีแค่ไอนุฮกไกโดเท่านั้น ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงภาษาไอนุก็มักจะหมายถึงภาษาไอนุฮกไกโดเป็นหลัก

สำหรับภาษาไอนุฮกไกโดนั้นก็ยังมีการแบ่งย่อยเป็นหลายสำเนียง และไม่ได้มีสำเนียงไหนที่ถูกกำหนดเป็นสำเนียงมาตรฐานแน่นอน แต่ในการเขียนอธิบายเสียงอ่านและวิธีการทับศัพท์ที่จะอธิบายถึงต่อไปนี้โดยหลักๆแล้วจะยึดตามหนังสือ ニューエクスプレスプラス アイヌ語 ซึ่งใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหลัก โดยหนังสือเล่มนี้ยืนพื้นจากสำเนียงซารุ (沙流方言) ซึ่งใช้ในแถบแม่น้ำซารุทางตอนกลางของฮกไกโด



ระบบการเขียน

ภาษาไอนุนั้นไม่มีระบบเขียนเป็นของตัวเอง แต่โดยทั่วไปที่ญี่ปุ่นจะเขียนภาษาไอนุโดยใช้อักษรคาตากานะเขียนตามเสียงอ่าน โดยมีการเพิ่มอักษรบางส่วนที่นอกเหนือจากที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นเข้ามาด้วย ได้แก่พวกอักษรตัวเล็กที่ไว้แทนตัวสะกด เช่น ㇰ ㇱ ㇲ ㇳ ㇴ ㇵ ㇶ ㇷ ㇸ ㇹ ㇷ゚ ㇺ ㇻ ㇼ ㇽ ㇾ ㇿ

ส่วนในต่างประเทศจะนิยมเขียนด้วยอักษรโรมัน ซึ่งจะต่างไปจากโรมาจิในภาษาญี่ปุ่น ระบบนี้ค่อนข้างเขียนได้ง่ายกว่าอักษรคาตากานะ และเหมาะสำหรับใช้ในการศึกษามากกว่า เพราะสามารถแยกหน่วยเสียงสระกับพยัญชนะได้อย่างดี

นอกจากนี้แล้วยังมีการเขียนเป็นอักษรซีริลลิกด้วย สำหรับใช้ในรัสเซียเป็นหลัก

ตัวอย่างการเขียนคำว่า "ภาษาไอนุ" ด้วยอักษรต่างๆ

คาตากานะ アイヌイタㇰ
โรมัน Aynu itak
ซีริลลิก Айну итак
IPA /ʔajnu itak̚/
ทับศัพท์ไทย ไอนูอีตัก

ในบทความนี้จะเขียนทับศัพท์จากอักษรโรมันเป็นหลัก แต่ก็จะเขียนอักษรคาตากานะกำกับไว้ด้วย




การทับศัพท์สระ

ภาษาไอนุมีเสียงสระ ๕ เสียง ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ในภาษาไทยจึงทับศัพท์ได้โดยง่าย เสียงสระไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาว แต่ในการทับศัพท์เป็นภาษาไทยจะให้เขียนในรูปสระเสียงยาวเมื่อไม่มีตัวสะกด และเขียนในรูปสระเสียงสั้นเมื่อมีตัวสะกด

เพียงแต่ว่าหากตัวสะกดเป็น "ร" ปกติในภาษาไทยมักจะไม่ถือเป็นตัวสะกด แต่จะเขียนในรูป "ร์" ดังนั้นก็ให้เขียนในรูปเหมือนไม่มีตัวสะกด

ตารางต่อไปนี้แสดงเสียงสระทั้ง ๕ และการทับศัพท์ โดยแยกเป็นกรณีไม่มีตัวสะกด (หรือสะกด ร) และไม่มีตัวสะกด

อักษรโรมัน คาตากานะ IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
a /a/ อา kaparパㇻ = กาปาร์
อั- takneㇰネ = ตักเน
i /i/ อี asir = อาซีร์
อิ- siwnin = ซินิ
u /u/ อู nupurプㇽ = นูปูร์
อุ- huskoㇱコ = ฮุสโก
e /e/ เอ ruweウェ = รูเว
เอ็- topen = โตเป็
o /o/ โอ poro = โปโร
อ- kosneㇱネ = สเน

นอกจากนี้ยังมีข้อยกเว้นเพิ่มเติมเนื่องจากข้อจำกัดหรือความนิยมของรูปแบบการเขียนในภาษาไทย คือกรณีที่ตัวสะกดเป็น "ย" หรือ "ว" ในบางสระ

อักษรโรมัน คาตากานะ IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
ay アイ /aj/ ไอ komayマイ = โกไม
aw アウ /aw/ เอา ohawハウ = โอเฮา
ey エイ /ej/ เอย์ niseyセイ = นีเซย์
oy オイ /oj/ โอย noyneノイ = โนยเน
ow オウ /ow/ โอว nipowポウ = นีโปว

ภาษาไอนุไม่มีสระประสม ดังนั้นถ้าเห็นสระ ๒ ตัวติดกันเวลาเขียนเป็นอักษรโรมันก็ถือเป็นคนละพยางค์กัน ให้แยกชัด

uariウアリ = อูอารี
eikarエイカㇻ = เออีการ์
oikaオイカ = โออีกา

แต่อย่าสับสนกรณีสระอีกับกรณีที่เป็นตัวสะกดซึ่งมักเขียนด้วย y ไม่ใช่ i ถือว่าไม่เหมือนกัน

oyraオイラ = โอยรา

ดังนั้นแล้ว ๒ คำนี้ถือว่าอ่านต่างกัน และเป็นคนละความหมาย ต้องแยกให้ดี

yayraykeヤイライケ = ไยไรเก (ฆ่าตัวตาย)
yairaykeヤイライケ = ยาอีไรเก (ขอบคุณ)

เพียงแต่ว่าเวลาเขียนด้วยอักษรคาตากานะมักจะเขียนด้วย イ ทั้งคู่ จึงไม่สามารถแยกได้ ให้ดูอักษรโรมันเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ในการเขียนด้วยอักษรโรมันเองบางครั้งก็มีการเขียนด้วย i ทั้งที่ควรเขียนเป็น y ดังนั้นก็ชวนสับสนได้ เช่นคำว่า "ไอนู" (ไอนุ) จริงๆควรเขียนเป็น aynu แต่มักถูกเขียนเป็น ainu มากกว่า ต้องระวังด้วย

บางครั้งสระเดียวกันก็อยู่ติดกัน กรณีนี้ก็ถือว่าแยกเป็นคนละพยางค์เช่นกัน

oaatオアアッ = โออาอัต
piitakピイタㇰ = ปีอีตัก



การทับศัพท์พยัญชนะ

ภาษาไอนุมีเสียงพยัญชนะอยู่ทั้งหมด ๑๒ เสียง ซึ่งส่วนใหญ่ตรงหรือใกล้เคียงกับที่มีในภาษาไทย และไม่มีพยัญชนะประสมหรือเสียงควบอยู่เลย จึงสามารถเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยได้โดยง่าย

อักษรโรมัน คาตากานะ IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
- /ʔ/ osorソㇿ = โอโซร์
k /k/ kewreウレ = เก็วเร
s (sh) /s/~/ʃ/ suwopウォㇷ゚ = ซูวป
t   トゥ /t/ teetaエタ = เตเอตา
c チャ チュ チェ チョ /ʧ/~/ʦ/ cikapカㇷ゚ = จีกัป
n /n/ nukarカㇻ = นูการ์
h /h/ hunakナㇰ = ฮูนัก
p /p/ paskurㇱクㇽ = ปัสกูร์
m /m/ mukarカㇻ = มูการ์
y   イェ /j/ yayanヤン = ยายัน
r /ɾ/ ruskaㇱカ = รุสกา
w ウィ   ウェ ウォ /w/ wanpeンペ = วันเป

ในนี้ที่ไม่ตรงกับภาษาไทยเสียทีเดียวก็คือเสียง r ซึ่งจะเหมือนเสียง r ในภาษาญี่ปุ่น ต่างจาก "ร" ในภาษาไทยเล็กน้อย

สำหรับเสียง s นั้นส่วนใหญ่จะออกเป็นเหมือน "ซ" ในภาษาไทย แต่บางครั้งก็อาจออกเสียงเป็นเหมือนเสียง sh ในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะเวลาอยู่กับสระอี ซึ่งในการเขียนด้วยอักษรโรมันบางครั้งก็อาจถูกเขียนเป็น sh ด้วย แต่ไม่ว่าจะ s หรือ sh ก็ถือเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน ในที่นี้จะให้ทับศัพท์เป็น "ซ" ทั้งหมด

ภาษาไอนุไม่มีการแยกเสียงพ่นลม (ค, ท, พ) กับไม่พ่นลม (ก, ต, ป) จึงอาจมีการออกเสียงได้ทั้ง ๒ แบบ แต่ส่วนใหญ่จะออกเป็นแบบไม่พ่นลมมากกว่า จึงให้เขียนทับเป็น "ก, ต, ป"

นอกจากนี้ยังไม่มีการแยกระหว่างเสียงก้อง (g, ด, บ) กับเสียงไม่ก้อง (ก, ต, ป) ด้วย โดยอาจขึ้นอยู่กับผู้พูดหรือตำแหน่งในคำ ดังนั้นแล้ว k, t, p บางครั้งก็ถูกเขียนเป็น g, d, b แต่ก็ถือเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน ไม่มีการแยกความแตกต่าง

เวลาเจอภาษาไอนุที่เขียนด้วยอักษรโรมันนั้นนานๆทีอาจเจอการเขียนด้วย g, d, b กรณีแบบนี้ให้รู้ว่าจริงๆก็คือเสียง k, t, p ดังนั้นก็ให้ทับศัพท์เป็น "ก, ต, ป" ไป



การทับศัพท์ตัวสะกด

ภาษาไอนุมีเสียงตัวสะกด โดยเสียงพยัญชนะเกือบทั้งหมดที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นนั้นสามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ ยกเว้น c เท่านั้น และตัวสะกด h จะไม่มีในสำเนียงฮกไกโดแต่จะมีในสำเนียงซาฮาลิน

อักษรโรมัน คาตากานะ IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
k // kimatekキマテ = กีมาเต็
s ㇱ, ㇲ /s/~/ɕ/ roski = รกี
t ッ, ㇳ // satke = ซัเก
n ㇴ, ン /n/ ninkariカリ = นิการี
h ㇵ, ㇶ,ㇷ, ㇸ, ㇹ /x/ ฮ์ pahkayカイ = ปาฮ์ไก
p ㇷ゚ // yupkeㇷ゚ = ยุเก
m /m/ nihamニハ = นีฮั
y /j/ atuyアトゥ = อาตุ
r ㇻ, ㇼ, ㇽ, ㇾ, ㇿ /ɾ/ ร์ pirka = ปีร์กา
w /w/ aciwアチ = อาจิ

กรณีที่สะกดด้วย "ร", "ย" หรือ "ว" นั้นจะมีข้อยกเว้นในการเขียน ดังที่ได้เขียนถึงไปแล้วในส่วนที่อธิบายสระ

ในการเขียนด้วยอักษรคาตากานะนั้นตัวสะกดจะถูกเขียนแทนด้วยอักษรตัวเล็ก ㇰ, ㇷ゚, ㇺ แทนตัวสะกด "ก, ป, ม" ส่วนตัวสะกด "ต" อาจใช้ ッ หรือ ㇳ แต่โดยทั่วไปนิยมใช้ ッ มากกว่า ส่วนตัวสะกด "น" ซึ่งมีอยู่แล้วในภาษาญี่ปุ่นก็มักใช้ ン แต่ก็อาจเจอการใช้ ㇴ แทนด้วย

ส่วนกรณีที่ตัวสะกดเป็น "ร์" จะค่อนข้างพิเศษ โดยจะเขียนเป็น ㇻ, ㇼ, ㇽ, ㇾ, ㇿ ซึ่งเป็นอักษรตัวเล็กของ ラ, リ, ル, レ, ロ โดยจะขึ้นอยู่กับเสียงสระของพยางค์นั้น เพราะจริงๆแล้วตัวสะกด "ร" ในภาษาไอนุจะเหมือนเป็นการลากเสียงสระต่อเบาๆมากกว่าที่จะเป็นเสียงตัวสะกดจริงๆ แต่ในการเขียนด้วยอักษรโรมันจะใช้ r เฉยๆ ดังนั้นแล้วในการทับศัพท์เป็นภาษาไทยก็จะขอเขียนเป็น "ร์" เฉยๆ

เช่น kerケㇾ (แปลว่า รองเท้า) เสียงจะใกล้เคียงกับ "เกเระ" แต่ให้เขียนทับศัพท์เป็น "เกร์"

สำหรับตัวสะกด s (บางครั้งก็เขียนเป็น sh) นั้นมักจะเป็นเสียงคล้าย sh ในภาษาญี่ปุ่น ระบบการเขียนคาตากานะเองก็มีเขียนทั้ง ㇱ และ ㇲ แต่มักใช้ ㇱ มากกว่า อย่างไรก็ตามในการทับศัพท์ให้แทนด้วย "ส"

ในภารเขียนด้วยอักษรโรมัน บางครั้งการแบ่งพยางค์ก็ชวนสับสน เพราะอักษรอาจเป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นหรือตัวสะกด ต้องดูให้ดี ในบางครั้งจึงมีการเขียน ' คั่นเพื่อแยกให้ชัด แต่ก็ไม่เสมอไป จึงมักต้องแยกเอาเอง

เช่น hioyoy = hioy'oy ที่แปลว่า "ขอบคุณ" อ่านว่า "ฮีโอยโอย" ไม่ใช่ "ฮีโอโยย"




ตัวอย่างการใช้

การนับเลขในภาษาไอนุ

เลข อักษรโรมัน คาตากานะ ทับศัพท์
1 sine シネ ซีเน
2 tu トゥ ตู
3 re เร
4 ine イネ อีเน
5 asikne アシㇰネ อาซิกเน
6 iwan イワン อีวัน
7 arwan アㇻワン อาร์วัน
8 tupesan トゥペサン ตูเปซัน
9 sinepesan シネペサン ซีเนเปซัน
10 wan ワン วัน
11 sine ikasma wan シネ イカㇱマ ワン ซีเนอีกัสมาวัน
20 hotne ホッネ ฮตเน
30 wan etuhotne ワン エトゥホッネ วันเอตูฮตเน
40 tuhotne トゥホッネ ตูฮตเน
50 wan erehotne ワン エレホッネ วันเอเรฮตเน
60 rehotne レホッネ เรฮตเน
80 inehotne イネホッネ อีเนฮตเน
100 asikhotne アシㇰネホッネ อาซิกฮตเน
1000 wanhotne ereatuyta ワンホッネ エレアトゥイタ วันฮตเนเอเรอาตุยตา

ในฮกไกโดเต็มไปด้วยชื่อสถานที่ที่มีที่มาจากภาษาไอนุ ปัจจุบันกลายเป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นไปแล้ว แต่ถ้าสืบรากลงไปก็จะพบว่ามีความหมายในภาษาไอนุ ชื่ออาจถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับภาษาญี่ปุ่นจนดูเผินๆไม่รู้ที่มาเดิม บางชื่อก็ได้แค่ตั้งข้อสันนิษฐาน ไม่อาจยืนยันว่าที่มานี้ถูกต้องจริงหรือเปล่า

ตารางต่อไปนี้แสดงตัวอย่างชื่อสถานที่ในฮกไกโดที่มาจากภาษาไอนุ โดยเปรียบเทียบชื่อภาษาญี่ปุ่นและชื่อภาษาไอนุ แล้วเขียนทับศัพท์ตามหลักที่อธิบายมาข้างต้น

สำหรับชื่อที่เป็นคำประสมนั้นในการเขียนจะมีการคั่นด้วยขีด - เพื่อแยกส่วนประกอบของคำ แต่เวลาออกเสียงอาจจะอ่านรวบต่อเนื่องกันไป โดยถ้าหน้าขีดเป็นตัวสะกดและหลังขีดเป็นสระ เสียงตัวสะกดนั้นก็จะกลายเป็นเสียงพยัญชนะต้นไป แต่ก็ไม่เสมอไป อาจต้องดูรูปเขียนคาตากานะประกอบด้วยเพื่อตัดสินว่าควรอ่านรวบหรือไม่

ชื่อญี่ปุ่น ชื่อไอนุ ทับศัพท์
赤平あかびら อากาบิระ wakka-piraワッカピラ วักกาปีรา
厚岸あっけし อักเกชิ at-ke-us-iアッケウシ อัตเกอูซี
磯谷いそや อิโซยะ iso-yaイソヤ อีโซยา
歌志内うたしない อุตาชิไน ota-us-nayオタウㇱナイ โอตาอุสไน
歌棄うたすつ อุตาซึตสึ ota-sutオタスッ โอตาซุต
恵庭えにわ เอนิวะ e-en-iwaエエンイワ เอเอ็นอีวา
襟裳えりも เอริโมะ enrumエンルㇺ เอ็นรุม
遠軽えんがる เองงารุ inkar-us-iインカルシ เอ็นการูซี
長万部おしゃまんべ โอชามัมเบะ o-samampeオサマㇺペ โอซามัมเป
小樽おたる โอตารุ ota-orオタオㇽ โอตาโอร์
黒松内くろまつない คุโรมัตสึไน kurmat-nayクㇽマッナイ กูร์มัตไน
札幌さっぽろ ซัปโปโระ sat-poroサッポロ ซัตโปโร
白老しらおい ชิราโออิ siraw-o-iシラウオイ ซีเราโออี
知床しれとこ ชิเรโตโกะ siretokシレトㇰ ซีเรตก
壮瞥そうべつ โซวเบตสึ so-petソペッ โซเป็ต
洞爺とうや โทวยะ to-yaトヤ โตยา
苫小牧とまこまい โทมาโกไม to-mak-oma-iトマコマイ โตมาโกมาอี
豊平とよひら โทโยฮิระ tuye-piraトウィエピラ ตูเยปีรา
登別のぼりべつ โนโบริเบตสึ nupur-petヌプㇽペッ นูปูร์เป็ต
美唄びばい บิไบ pipa-iピパイ ปีปาอี
美瑛びえい บิเอย์ piyeピイェ ปีเย
平取びらとり บิราโตริ pira-uturピラウトゥㇽ ปีราอูตูร์
富良野ふらの ฟุราโนะ hura-nu-iフラヌイ ฮูรานูอี
古平ふるびら ฟุรุบิระ hure-piraフレピラ ฮูเรปีรา
幌加内ほろかない โฮโรกาไน horka-nayホㇿカナイ โฮร์กาไน
幕別まくべつ มากุเบตสึ mak-un-petマクンペッ มากุนเป็ต
室蘭むろらん มุโรรัง mo-ruranモルラン โมรูรัน
藻岩もいわ โมอิวะ mo-iwaモイワ โมอีวา
紋別もんべつ มมเบตสึ mo-petモペッ โมเป็ต
門別もんべつ
留寿都るすつ รุซึตสึ ru-sutルスッ รูซุต
稚内わっかない วักกาไน wakka-nayワッカナイ วักกาไน




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ