φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



numpy & matplotlib เบื้องต้น บทที่ ๘: การใส่ข้อความบนกราฟ
เขียนเมื่อ 2016/06/11 15:16
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 20:09
สิ่งที่เรียกว่ากราฟนั้นไม่ควรจะมีแค่เส้นหรือตัวเลขเท่านั้น เพื่อที่จะให้มองแล้วเข้าใจอะไรมากขึ้นจำเป็นต้องมีข้อความด้วย ดังนั้นเราจะมาพูดถึงการใส่ข้อความลงกราฟ



การใส่ชื่อหัวข้อและชื่อแกน
ก่อนอื่นมาเริ่มจากการใส่ข้อความที่หัวข้อและชื่อแกน x และ y ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆด้วยการเพิ่มคีย์เวิร์ดในฟังก์ชัน plt.axes นั่นคือ title, xlabel และ ylabel หรือเพิ่มทีหลังโดยใช้ฟังก์ชันหรือเมธอดได้
คีย์เวิร์ด ฟังก์ชัน เมธอด ความหมาย
title plt.title set_title หัวข้อกราฟ
xlabel plt.xlabel set_xlabel ชื่อแกน x
ylabel plt.ylabel set_ylabel ชื่อแกน y

ตัวอย่าง
import matplotlib.pyplot as plt
import numpy as np
x = np.linspace(0,150,1500)
y = np.sin(x)+np.sin(x*1.1)
plt.axes(title='y = sin(x) + sin(1.1x)',xlabel='x',ylabel='y')
plt.plot(x,y)
plt.show()

จะเห็นว่ามีตัวหนังสือโผล่มา ๓ จุดคือแกน x แกน y และด้านบน



อีกวิธีหนึ่งในการใส่ก็คือใช้เมธอดที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย set_ ดังนี้
ax = plt.gca()
ax.set_title('y = sin(x) + sin(1.1x)')
ax.set_xlabel('x')
ax.set_ylabel('y')
ax.plot(x,y)
plt.show()

หรือย่อกว่านั้นอาจเขียนโดยใช้ฟังก์ชัน plt.title, plt.xlabel และ plt.ylabel โดยไม่จำเป็นต้องใช้ plt.gca หรือ plt.axes เลย
plt.title('y = sin(x) + sin(1.1x)')
plt.xlabel('x')
plt.ylabel('y')
plt.plot(x,y)
plt.show()



การปรับขนาดอักษร
ถ้ารู้สึกว่าตัวอักษรเล็กไปก็สามารถปรับให้ขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยเพิ่มคีย์เวิร์ด fontsize ใน plt.title, plt.xlabel และ plt.ylabel หรือตอนที่ตั้งค่าด้วย set_title, set_xlabel และ set_ylabel

ตัวอย่าง
x = np.linspace(0,100,500)
y = np.cos(x)+np.cos(x*1.2)
plt.title('y = cos(x) + cos(1.2x)',fontsize=26)
plt.xlabel('x',fontsize=20)
plt.ylabel('y',fontsize=20)
plt.plot(x,y,'m')
plt.show()





การใส่สมการและสัญลักษณ์พิเศษ
อาจมีบ่อยครั้งที่เราจะต้องใส่สมการลงบนกราฟ ซึ่งจะประกอบด้วยอักษรตัวห้อยตัวยกและเศษส่วนเต็มไปหมด ซึ่งไม่สามารถจะเขียนแบบธรรมดาได้

matplotlib ใช้วิธีเดียวกับภาษา latex ในการเขียนอักษรแบบพิเศษต่างๆ วิธีการเขียนสามารถอ้างอิงได้จากเว็บ https://en.wikibooks.org/wiki/LaTeX/Special_Characters

เช่น เลขยกกำลังเขียนเป็น ^{} เศษส่วนเขียนเป็น \frac{ตัวเศษ}{ตัวส่วน} และอีกมากมาย สามารถดูในเว็บได้ ในที่นี้จะไม่พูดถึงละเอียด

ในการเขียนสัญลักษณ์พวกนี้จะต้องคร่อมด้วยสัญลักษณ์ $ สองข้าง นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างก็คือ เนื่องจากภาษา latex มีการใช้แบ็กสแลช \ เป็นจำนวนมาก และแบ็กสแลชนี้ก็ยังใช้เป็นเอสเคปคาแร็กเตอร์ในภาษาไพธอนด้วย ดังนั้นหากจะเขียนภาษา latex ในนี้ทางที่ดีควรจะใส่ r นำหน้าเครื่องหมายคำพูด เพื่อเป็นการบอกว่าจะไม่สนเอสเคปคาแร็กเตอร์

ดังนั้นรูปแบบการเขียนก็คือ r'$ข้อความ$'

ตัวอย่าง
x = np.linspace(0,150,1500)
y = (np.sin(x)+np.sin(x*1.1))*np.exp(-x/100)
plt.axes(xlabel='x',ylabel='y')
plt.title(r'$y = (sin(x) + sin(1.1x))e^{\frac{-x}{100}}$',fontsize=18)
plt.plot(x,y,'c')
plt.show()





การปรับมุมการเอียงของตัวหนังสือ
ค่าตั้งต้นมาเราจะเห็นว่าหัวข้อแกน x วางนอนตามปกติ แต่ของแกน y จะตะแคงอยู่ในแนวตั้ง แต่หากต้องการให้ y วางนอนหรือให้เอียงก็สามารถปรับได้ โดยเพิ่มคีย์เวิร์ด rotation ไปใน set_ylabel

โดยปกติเริ่มต้น rotation ของ xlabel จะเป็น 0 และ ylabel จะเป็น 90 เราสามารถปรับให้ต่างไปได้

ตัวอย่าง
x = np.linspace(0,150,1500)
y = (np.sin(x)+np.sin(x*1.1))*np.exp(-x/100)
ax = plt.gca()
ax.set_title(r'$y = (sin(x) + sin(1.1x))e^{\frac{-x}{100}}$',fontsize=18,rotation=5)
ax.set_xlabel('x',fontsize=14,rotation=25)
ax.set_ylabel('y',fontsize=14,rotation=0)
ax.plot(x,y,'m')
plt.show()



นอกจากนี้แล้วหากต้องการปรับความเอียงของตัวเลขบอกค่าก็ทำได้เช่นกัน โดยปรับได้ที่ set_yticklabels และ set_yticklabels โดยเพิ่มคีย์เวิร์ด rotation ลงไปเช่นกัน



การปรับตำแหน่งข้อความ
ปกติแล้วชื่อแกน y จะอยู่ทางซ้ายตรงกลาง และชื่อแกน x อยู่ตรงกลางด้านล่าง ส่วนหัวข้ออยู่ด้านบน แต่เราสามารถปรับตำแหน่งได้

ตำแหน่งแกน x สามารถปรับซ้ายขวาโดยใส่คีย์เวิร์ด x และปรับขึ้นลงโดยใส่คีย์เวิร์ด labelpad ใน xlabel

ตำแหน่งแกน y สามารถปรับบนล่างโดยใส่คีย์เวิร์ด y และปรับซ้ายขวาโดยใส่คีย์เวิร์ด labelpad ใน ylabel

ส่วนตำแหน่งหัวข้อสามารถปรับซ้ายขวาบนล่างโดยใส่คีย์เวิร์ด x และ y และ loc ใน title

คีย์เวิร์ด labelpad ที่ใส่ลงใน xlabel และ ylabel เป็นตัวกำหนดว่าจะให้อยู่ห่างจากแกนเท่าไหร่ ยิ่งค่ามากก็ยิ่งอยู่ห่าง ถ้าใส่ค่าติดลบก็จะเข้าด้านในแกน

ส่วนคีย์เวิร์ด x และ y นั้นมีหน่วยเป็นจำนวนเท่าของขนาดกรอบกราฟ
x=0 อยู่ที่กรอบกราฟด้านซ้าย
x=1 อยู่ทีกรอบกราฟด้านขวา
y=0 อยู่ที่กรอบกราฟด้านล่าง
y=1 อยู่ที่กรอบกราฟด้านบน

คีย์เวิร์ด loc ใน title นั้นเป็นตัวกำหนดว่าจะจัดตัวหนังสืออยู่ทางซ้ายหรือกลางหรือขวา ค่าที่ใส่ได้คือ left, center และ right

ตัวอย่าง
x = np.linspace(0,40,2000)
y = (np.sin(x*20)+np.sin(x*21))*np.exp(-x/10)
plt.title(r'$y = (sin(20x) + sin(21x))e^{\frac{-x}{10}}$',fontsize=18,x=0.99,y=0.9,loc='right')
plt.xlabel('x',fontsize=14,x=0.95,labelpad=-40)
plt.ylabel('y',fontsize=14,y=1.02,rotation=0,labelpad=-50)
plt.plot(x,y,'#7755CC')
plt.show()




การเปลี่ยนฟอนต์ และการใส่อักษรไทย
ฟอนต์มาตรฐานของ matplotlib ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ดังนั้นหากเขียนกราฟแล้วใส่ภาษาไทยลงไปก็จะออกมาเป็นตัวแปลกๆทันที

ตัวอย่าง จำนวนประชากรเมืองคุมาโมโตะในช่วง ๔๐ ปี ข้อมูลจาก https://ja.wikipedia.org/wiki/熊本市
x = range(1970,2011,5)
kuma = [534228,574299,619236,654348,680765,708097,720816,727978,734294]
plt.axes(title=u'ประชากรเมืองคุมาโมโตะในช่วง ๔๐ ปี',xlabel=u'ปี',ylabel=u'จำนวน (คน)')
plt.plot(x,kuma)
plt.show()

***u ที่ใส่นำหน้าสายอักขระใส่เพื่อให้ใช้ได้ทั้งในไพธอน 2 และ 3 แต่ที่จริงในไพธอน 3 ไม่จำเป็นต้องมี u ก็ได้



จะเห็นว่าอักษรไทยไม่สามารถแสดงผลได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนฟอนต์เป็นอันที่รองรับภาษาไทย เช่น Tahoma

การเปลี่ยนฟอนต์ทำได้หลายวิธี แต่ที่ง่ายที่สุดก็คือใส่คีย์เวิร์ด fontname เพิ่มลงไปใน set_title หรือ plt.title เช่นเดียวกับตอนเปลี่ยนขนาด

ตัวอย่าง
x = range(1970,2011,5)
kuma = [534228,574299,619236,654348,680765,708097,720816,727978,734294]
ax = plt.gca()
ax.set_title(u'ประชากรเมืองคุมาโมโตะในช่วง ๔๐ ปี',fontname='Tahoma',fontsize='13')
ax.set_xlabel(u'ปี',fontname='Tahoma',fontsize='13')
ax.set_ylabel(u'จำนวน (คน)',labelpad=-4,fontname='Tahoma',fontsize='13')
ax.plot(x,kuma,'-og')
plt.show()



จะได้กราฟที่แสดงภาษาไทยตามที่ต้องการ

ในที่นี้จะใช้ Tahoma ถ้าหากใครไม่มีในเครื่องก็อาจต้องเอามาลงถึงจะแสดงผลได้



การใช้ FontProperties
อีกวิธีหนึ่งในการเปลี่ยนขนาดและฟอนต์ตัวอักษรแต่อาจเข้าใจยากกว่าหน่อยก็คือการใช้คีย์เวิร์ด fontproperties ลงใน title, xlabel, ylabel

การใส่ค่าในคีย์เวิร์ดนี้จะยุ่งยากหน่อยตรงที่ต้องใส่เป็นออบเจ็กต์ชนิด FontProperties

ออบเจ็กต์ชนิดนี้อยู่ในมอดูลย่อยของ matplotlib ที่ชื่อ font_manager ต้องทำการ import เข้ามาก่อน จากนั้นก็จะสามารถสร้างออบเจ็กต์ชนิดนี้ โดยใส่คีย์เวิร์ดเป็นฟอนต์และขนาดของอักษร
import matplotlib as mpl
fp = mpl.font_manager.FontProperties(family='Tahoma',size=13)

ในที่นี้ family แทน fontname และ size แทน fontsize

จากนั้นก็นำออบเจ็กต์ FontProperties ที่ได้มานี้มาใช้ตอน set_title แทน โดยใส่เป็นคีย์เวิร์ด fontproperties แทนที่จะใส่ fontname และ fontsize
x = range(1970,2011,5)
kuma = [534228,574299,619236,654348,680765,708097,720816,727978,734294]
plt.figure()
ax = plt.gca()
ax.set_title(u'ประชากรเมืองคุมาโมโตะในช่วง 40 ปี',fontproperties=fp)
ax.set_xlabel(u'ปี',fontproperties=fp)
ax.set_ylabel(u'จำนวน (คน)',labelpad=-4,fontproperties=fp)
ax.plot(x,kuma,'-og')
plt.show()

ผลที่ได้จะเหมือนตัวอย่างก่อนหน้า

ข้อดีคือสร้างออบเจ็กต์ที่เก็บคุณสมบัติของตัวอักษรมาแค่ครั้งเดียวแล้วก็นำไป ใช้ได้กับหลายๆส่วนได้โดยไม่ต้องมาใส่ทั้งขนาดอักษรและรูปแบบฟอนต์ใหม่

ด้วยการทำแบบนี้ก็จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนตัวหนังสือที่ต่างๆได้ตามที่ต้องการ จะเปลี่ยนขนาดของตัวอักษรบนกราฟก็ทำได้

ลองอ่านได้ในเนื้อหาเสริม >> การเปลี่ยนตัวเลขบอกค่าในกราฟเป็นเลขไทย

ในตัวอย่างมีการตั้งแค่ชนิดฟอนต์และขนาด แต่ยังมีอย่างอื่นที่สามารถตั้งได้อีก ค่าที่ใส่ได้มีดังนี้
ชื่อ ความหมาย ค่าที่ใส่ได้
family ชนิดฟอนต์ ชื่อฟอนต์หรือลิสต์ของชื่อฟอนต์ โดยเรียงตามลำดับความสำคัญ
style ความเอียง 'normal', 'italic' หรือ 'oblique'
variant   'normal' หรือ 'small-caps'
stretch ความยืดหยุ่น ตัวเลข 0-1000 หรือ 'ultra-condensed', 'extra-condensed', 'condensed', 'semi-condensed', 'normal', 'semi-expanded', 'expanded', 'extra-expanded', 'ultra-expanded'
weight ความหนา ตัวเลข 0-1000 หรือ 'ultralight', 'light', 'normal', 'regular', 'book', 'medium', 'roman', 'semibold', 'demibold', 'demi', 'bold', 'heavy', 'extra bold', 'black'
size ขนาดอักษร ตัวเลข หรือ 'xx-small', 'x-small', 'small', 'medium', 'large', 'x-large', 'xx-large'



การใส่ข้อความอธิบายเส้นกราฟ
เวลาที่มีกราฟอยู่หลายเส้นเราจำเป็นจะต้องมีคำอธิบายว่ากราฟเส้นไหนคืออะไร

การจะเพิ่มคำอธิบายแต่ละเส้นกราฟลงไปทำได้โดยใช้เมธอด legend

เช่น ลองดูกราฟที่หาจำนวนประชากรเหมือนอย่างเมื่อครู่ แต่คราวนี้มี ๓ เมืองอยู่ด้วยกัน

ข้อมูลจาก
https://ja.wikipedia.org/wiki/竹原市
https://ja.wikipedia.org/wiki/尾道市
https://ja.wikipedia.org/wiki/福山市
fp = mpl.font_manager.FontProperties(family='Tahoma',size=13)
x = range(1970,2011,5)
take = [35017,36273,36895,36286,34771,33451,31935,30657,28655]
ono = [183325,185503,180901,177532,166930,159890,155200,150225,145217]
fuku = [355264,405677,425675,441502,445403,453791,456908,459087,459087]
ax = plt.gca()
ax.set_title(u'ประชากรในช่วง 40 ปี',fontname='Tahoma',fontsize=13)
ax.set_xlabel(u'ปี (ค.ศ.)',fontname='Tahoma',fontsize=13)
ax.plot(x,take,'-om')
ax.plot(x,ono,'-oc')
ax.plot(x,fuku,'-oy')
ax.legend([u'ทาเกฮาระ',u'โอโนมิจิ',u'ฟุกุยามะ'],prop=fp,loc=7,fancybox=1,shadow=1)
plt.show()



ผลคือจะได้กรอบข้อความที่ระบุว่ากราฟเส้นไหนมีความหมายยังไง

ภายในเมธอด legend นั้นประกอบไปด้วยอาร์กิวเมนต์ตัวแรกคือข้อความที่จะมาคู่กับกราฟ โดยใส่เป็นลิสต์หรือทูเพิลของสายอักขระ

นอกจากนั้นยังมีตัวคีย์เวิร์ดมากมาย ในตัวอย่างนี้ได้มีการใส่ ๔ ตัวคือ

prop คือรูปแบบของตัวอักษรที่จะใช้ ต้องใช้ออบเจ็กต์ชนิด FontProperties ซึ่งในนี้ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ตรงส่วนหัวแล้ว ใส่ในตัวแปร fp

prop ในที่นี้จริงๆแล้วอาจไม่ต้องใช้ออบเจ็กต์ชนิด FontProperties แต่ใส่เป็นดิกชันนารีแทนได้ เช่นลองแก้บรรทัด ax.legend เป็น
ax.legend([u'ทาเกฮาระ',u'โอโนมิจิ',u'ฟุกุยามะ'],prop={'family':'Tahoma','size':13},loc=7,fancybox=1,shadow=1)

ผลที่ได้จะเหมือนเดิม

แต่การใส่รูปแบบอักษรเป็นดิกชันนารีแบบนี้ทำได้แค่กับคีย์เวิร์ด prop ของ legend เท่านั้น ไม่สามารถใช้กับคีย์เวิร์ด fontproperties ใน xlabel, ylabel และ title ได้ สำหรับคีย์เวิร์ด fontproperties ยังคงต้องใช้ออบเจ็กต์ FontProperties

fancybox คือตัวกำหนดว่าจะให้ขอบโค้งมนหรือเปล่า ถ้า fancybox=1 ขอบจะโค้ง ถ้าไม่ใส่หรือใส่ fancybox=0 ขอบจะเหลี่ยม

shadow คือตัวกำหนดว่าจะมีเงาหรือไม่ ถ้า shadow=1 จะมีเงา ถ้าไม่ใส่หรือใส่ shadow=0 จะไม่มีเงา

loc คือตำแหน่ง

ค่าของคีย์เวิร์ด loc ที่ใส่ได้มีตามนี้ จะใส่เป็นตัวเลขหรือสายอักขระก็ได้ โดยมีอยู่ 10 แบบ
0 best หาตำแหน่งดีที่สุดโดยอัตโนมัติ
1 upper right ขวาบน
2 upper left ซ้ายบน
3 lower left ซ้ายล่าง
4 lower right ขวาล่าง
5 right ขวา
6 center left ซ้ายกลาง
7 center right ขวากลาง
8 lower center กลางล่าง
9 upper center กลางบน
10 center กลาง

ในที่นี้ใส่เป็น loc=7 จึงอยู่ตำแหน่งขวากลาง

กรณีที่ไม่ใส่จะถูกตั้งให้เป็นแบบ 0 best คือจะถูกเลือกตำแหน่งให้เองตามความเหมาะสม ซึ่งบางทีก็ไม่ใช่ตำแหน่งที่ดีที่สุด ดังนั้นเลือกเองอาจจะดีกว่า

นอกจากนี้อาจกำหนดค่าเองได้โดยใส่เป็นคู่อันดับ (ทูเพิลหรือลิสต์) โดยตำแหน่งซ้ายล่างเป็น (0,0) ขวาบนเป็น (1,1) ตำแหน่งนับโดยอ้างอิงมุมซ้ายล่าง

อาร์กิวเมนต์ที่ใส่ในตัวแรกของ legend นั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องเขียน ถ้าหากในกราฟแต่ละกราฟมีการใส่คีย์เวิร์ด label ในคำสั่ง plot ตอนวาดกราฟ

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใส่อาร์กิวเมนต์ตัวแรกลงไปใน legend ก็จะยึดชื่อเอาตามตรงนี้โดยไม่สน คีย์เวิร์ด label ใน plot

ลองเขียนตัวอย่างเดิมใหม่โดยแก้ไขเล็กน้อยแค่ตรง ๕ บรรทัดล่างสุด (ที่เหลือเหมือนเดิม) โดยเพิ่มคีย์เวิร์ด label ลงใน plot แต่ละอัน และแก้คีย์เวิร์ดใน legend
ax.plot(x,take,'-om',label=u'ทาเกฮาระ')
ax.plot(x,ono,'-oc',label=u'โอโนมิจิ')
ax.plot(x,fuku,'-oy',label=u'ฟุกุยามะ')
ax.legend(prop=fp,loc=(0.02,1.01),mode='expand',ncol=3,fancybox=1)
plt.show()



ในที่นี้ได้เปลี่ยน loc ให้เป็นตัวเลขคู่อันดับ โดยพิกัดแกน y เป็น 1.01 ซึ่งมากกว่า 1 หมายความว่าอยู่สูงเลยขอบบนของกราฟขึ้นไป จึงออกมาอย่างที่เห็น

และที่เห็นเรียงกันเป็นแนวนอนก็เพราะใส่คีย์เวิร์ด ncol เพิ่มเข้าไป

ncol คือจำนวนที่จะเรียงสูงสุดในแนวนอน ถ้าไม่กำหนดจะเรียงตัวในแนวตั้งทั้งหมด ในที่นี้ใส่ 3 ก็คือให้วางเรียงต่อกันได้ ๓ ตัว

ส่วนคีย์เวิร์ดอีกตัวที่เพิ่มเข้ามาคือ mode ถ้าใส่เป็น mode='expand' ขอบเขตจะขยายกว้างขึ้น

นอกจากนี้หากต้องการลบกรอบล้อมข้อความออกก็สามารถทำได้โดยใส่คีย์เวิร์ด frameon เขียน frameon=0

สรุปคีย์เวิร์ดที่ใส่ได้ใน legend
prop รูปแบบของอักษร ใส่เป็นดิกชันนารีหรือออบเจ็กต์ FontProperties
loc ตำแหน่งที่วาง
ncol จำนวนสูงสุดที่เรียงในแนวนอน ค่าตั้งต้น 1
frameon ตั้งว่าจะให้มีกรอบหรือไม่: 1 มี 0 ไม่มี ค่าตั้งต้น 1
mode โหมด ถ้าใส่เป็น expand จะขยายกว้าง
fancybox ขอบมีโค้งมนหรือไม่: 1 มี 0 ไม่มี ค่าตั้งต้นคือ 0
shadow มีเงาหรือไม่ :1 มี 0 ไม่มี ค่าตั้งต้นคือ 0




อ้างอิง


<< บทที่แล้ว     บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

各月日志

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

找更早以前的日志