φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ภาษา python เบื้องต้น บทที่ ๙: การทำซ้ำด้วย for
เขียนเมื่อ 2016/03/05 10:49
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 11:01
 

ในบทที่ ๗ ได้แนะนำวิธีการทำซ้ำด้วย while ไปแล้ว ในบทนี้จะพูดถึงอีกวิธีหนึ่ง ก็คือใช้ for



โครงสร้าง for

ในขณะที่ while จะทำซ้ำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตอนต้น for นั้นมีกลไกในการทำซ้ำที่ต่างกันออกไป

for เป็นคำสั่งสำหรับให้ทำซ้ำตามจำนวนของข้อมูลซึ่งใช้เป็นฐานในการวนซ้ำ

นั่นคือการจะใช้ for ได้ต้องใช้คู่กับข้อมูลจำพวกลำดับของข้อมูล เช่น ลิสต์, ทูเพิล, เรนจ์, ฯลฯ

โครงสร้างเป็นดังนี้
for ตัวแปรที่รับค่า in รายการข้อมูลที่เป็นฐาน:
    คำสั่งที่ต้องการให้ทำซ้ำ

ตัวอย่าง
for i in [5,6,4]:
    print(i)

ผลที่ได้คือ
5
6
4

จะเห็นว่าในตัวอย่างนี้ข้อมูลที่ใช้เป็นฐานนั้นคือลิสต์ที่มีสมาชิก ๓ ตัว ดังนั้นจึงมีการทำซ้ำ ๓ ครั้ง โดยที่ในแต่ละครั้ง i จะรับค่าของสมาชิกทีละตัวซึ่งต่างกันไปในแต่ละรอบ จึงแสดงผลค่าที่ต่างไปตามลำดับ

โดยทั่วไปที่เจอบ่อยที่สุด for มักใช้คู่กับ range
for i in range(1,11):
    print(i,end=' ')

ได้ผลเป็น
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

บางครั้งก็อาจใช้คู่กับสายอักขระได้อีกด้วย โดยจะวนทำซ้ำโดยใช้ตัวอักษรในสายอักขระนั้นทีละตัวตามลำดับ
for i in 'αβγδεζ':
    print(i,end='|')

ได้
α|β|γ|δ|ε|ζ|



ความหมายของ in

in นอกจากจะใช้คู่กับ for แล้วโดยปกติยังใช้เพื่อหาว่าข้อมูลตัวหนึ่งเป็นสมาชิกในลำดับข้อมูลหรือไม่ เช่น
1 in [1,2,3] # ได้ True
10 in range(2,9) # ได้ False

ต้องระวังว่า in มี ๒ ความหมายซึ่งแตกต่างกันระหว่างใช้กับ for และใชักับ if
  • if a in x หมายถึงตรวจเงื่อนไขว่า a อยู่ใน x หรือเปล่า ถ้ามีก็ทำ ถ้าไม่มีก็ไม่ทำ
  • for a in x หมายถึงทำซ้ำสำหรับ a ที่มีค่าเป็นแต่ละตัวใน x


for ซ้อน for

for ก็เช่นเดียวกับ while หรือ if สามารถซ้อนกันหลายๆชั้นได้

ตัวอย่าง
for i in range(1,7):
    for j in range(i-1):
        print(i-j,end=' ')
    print(1)

ผลลัพธ์
1
2 1
3 2 1
4 3 2 1
5 4 3 2 1
6 5 4 3 2 1

ลองดูตัวอย่างการประยุกต์ใช้อีกอันที่ซับซ้อนขึ้นหน่อย ลองสร้างสามเปลี่ยมปัสกาล
pascal = [[1]]
for i in range(1,8):
    p = [1]
    for j in range(1,i):
        p += [pascal[i-1][j]+pascal[i-1][j-1]]
    p += [1]
    pascal += [p]
print(pascal) 

ผลที่ได้
[[1],
 [1, 1],
 [1, 2, 1],
 [1, 3, 3, 1],
 [1, 4, 6, 4, 1],
 [1, 5, 10, 10, 5, 1],
 [1, 6, 15, 20, 15, 6, 1],
 [1, 7, 21, 35, 35, 21, 7, 1]] 
 
 
 
การสร้างลิสต์จาก for

for นอกจากจะใช้เพื่อสร้างวงจรทำซ้ำแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อสร้างลิสต์ได้ด้วย
h = [9-x for x in range(9)]
print(h)

ลิสต์ h ในที่นี้หากให้เปรียบเทียบเป็นเซ็ตทางคณิตศาสตร์ก็อาจถูกเขียนเป็น หรือ

ซึ่งเราสามารถทำลิสต์ในลักษณะนี้ได้ง่ายๆด้วยการใช้ for อย่างที่เห็น

หากไม่ใช้ for ในลักษณะนี้ จะใช้ for เพื่อวนซ้ำเพิ่มสมาชิกก็ได้
h = []
for x in range(9):
    h.append(9-x)
print(h) 

จะเห็นว่าทำแบบนี้ยาวกว่า ดังนั้นการใช้ for ภายในลิสต์จึงเหมือนเป็นการเขียนย่อให้สั้นลง และนอกจากนี้แล้วยังสร้างได้เร็วขึ้นด้วย



การใช้ if ร่วมกับ for ในการสร้างลิสต์

การสร้างลิสต์ด้วย for อาจใช้ร่วมกับ if เพื่อคัดกรองเฉพาะบางส่วนที่ต้องการ เช่น
k = [x for x in range(8,33,2) if(x%10!=0)]
print(k) # ได้ [8, 12, 14, 16, 18, 22, 24, 26, 28, 32]

จะเห็นว่า if ทำการคัดกรององค์ประกอบที่หาร 10 ลงตัวออกไป

อาจใช้เพื่อคัดกรององค์ประกอบที่มีอยู่ใน ๒ ลิสต์พร้อมกัน เช่น
x = [i**2 for i in range(1,21)]
y = [i for i in range(1,401,3)]
z = [i for i in x if(i in y)]
print(z) # ได้ [1, 4, 16, 25, 49, 64, 100, 121, 169, 196, 256, 289, 361, 400]

ตัวอย่างนี้ทำการสร้างลิสต์ x และ y มาก่อน โดยลิสต์ x มีค่าเลขจำนวนเต็มยกกำลังสองตั้งแต่ 1 ไปถึง 20 ส่วน y มีจำนวนที่หาร 3 แล้วได้เศษ 1 ตั้งแต่ 1 จนถึง 400

จะได้ว่า z ได้สมาชิกเป็นจำนวนที่มีอยู่ในทั้งลิสต์ x และ y คือเป็นเลขยกกำลังสองที่หาร 3 แล้วได้เศษ 1

ลักษณะการเขียนอาจดูแล้วเข้าใจยากสักหน่อย แต่เมื่อใช้คล่องแล้วจะทำให้การสร้างลิสต์ยืดหยุ่นเรียบง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก

for อาจใช้เพื่อสร้างสิ่งที่คล้ายๆกับคู่อันดับหรือฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น
z = [[i,i**2] for i in range(5)]
print(z) # ได้ [[0, 0], [1, 1], [2, 4], [3, 9], [4, 16]]



for ซ้อน for ในการสร้างลิสต์

ในการสร้างลิสต์อาจใช้ for มากกว่าหนึ่งด้วย ซึ่งในกรณีนั้นจะเกิดผลลัพธ์เป็นสมาชิกในลิสต์จำนวนมากมายเท่ากับจำนวนของ สมาชิกในลิสต์ที่นำมาใช้เป็นฐานคูณกัน เช่น

ลองใช้ for สร้างลิสต์ของคู่อันดับที่จับเอาสมาชิกจาก ๒ ลิสต์มาไขว้กันให้หมด
x = range(5)
y = [4-i for i in range(5)]
z = [(i,j) for i in x for j in y] # ได้ [(0, 4), (0, 3), (0, 2), (0, 1), (0, 0), (1, 4), (1, 3), (1, 2), (1, 1), (1, 0), (2, 4), (2, 3), (2, 2), (2, 1), (2, 0), (3, 4), (3, 3), (3, 2), (3, 1), (3, 0), (4, 4), (4, 3), (4, 2), (4, 1), (4, 0)] 

หรืออาจสร้างจำนวนที่เป็นผลคูณของสองตัว
z = [i*j for i in x for j in y]
print(z) # ได้ [0, 0, 0, 0, 0, 4, 3, 2, 1, 0, 8, 6, 4, 2, 0, 12, 9, 6, 3, 0, 16, 12, 8, 4, 0]

ผลลัพธ์จะเห็นว่าเป็นการแจกแจงผลคูณของสมาชิกในลิสต์ x และ y ทั้งหมด ทำให้ได้สมาชิกออกมา 25 ตัว

จะเห็นว่าการไล่ซ้ำจะเริ่มจาก for ที่อยู่ทางขวา แล้วค่อยตามด้วย for ตัวซ้าย

หากลองตัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ไล่ค่าในลิสต์ตัวขวาออก จะได้ค่าเท่ากันซ้ำๆ
z = [i for i in x for j in y]
print(z) # ได้ [0, 0, 0, 0, 0, 1, 1, 1, 1, 1, 2, 2, 2, 2, 2, 3, 3, 3, 3, 3, 4, 4, 4, 4, 4] 

กรณีนี้แม้ลิสต์ y จะไม่ได้ส่งผลต่อค่าของสมาชิกในลิสต์ แต่จำนวนสมาชิกของ y ก็มีผลต่อจำนวนที่จะได้ซ้ำ

ดังนั้นวิธีนี้อาจใช้เพื่อทวีคูณจำนวนสมาชิกในลิสต์
f = ['ก','ข','ค','ง']
g = [i for i in f for j in [0,0,0]]
print(g) # ได้ ['ก', 'ก', 'ก', 'ข', 'ข', 'ข', 'ค', 'ค', 'ค', 'ง', 'ง', 'ง']



ตัวแปรระหว่างนอกและใน for

ขณะที่สร้างลิสต์ขึ้นด้วย for นั้น ต้องมีตัวแปรหนึ่งมาทำหน้าที่เป็นตัวช่วยไล่เพื่อป้อนค่าให้กับลิสต์ ตัวแปรนั้นจะใช้ชื่อว่าอะไรก็ได้ แม้ว่าจะซ้ำกับชื่อที่มีอยู่แล้วก็ไม่มีผลอะไร
i = 100
x = [i for i in range(10)]
print(i) # ได้ 100 เท่าเดิม 

จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า i ที่ถูกใช้วิ่งในลิสต์ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ i ที่ถูกประกาศก่อนหน้า ดังนันพอหาค่า i หลังจากสร้างลิสต์จบ ค่าของ i ก็ยังคงได้ 100 เท่าเดิม

***สำหรับไพธอน 2 ค่า i จะเปลี่ยนไปด้วย
>>> รายละเอียด

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ใช้ for เพื่อสร้างวงจรทำซ้ำ ตัวแปรที่ถูกใช้จะเปลี่ยนค่าไปด้วย ต่างกับกรณีใช้ for สร้างลิสต์
i = 100
x = []
for i in range(10):
    x.append(i)
print(i) # ได้ 9

จะเห็นว่ากรณีนี้ i กลายเป็น 9 ซึ่งเป็นค่าสุดท้ายของเรนจ์ที่ถูกไล่ในวงจร for แทนที่จะเป็นค่าเดิมคือ 100



สรุปเนื้อหา

for สามารถใช้เพื่อทำการวนซ้ำได้ โดยมีกลไกและข้อดีและข้อเสียต่างไปจาก while หากแยกแยะใช้ ๒ วิธีนี้สลับกันไปตามสถานการณ์น่าจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ for ยังสามารถใช้สร้างลิสต์ได้ด้วย ซึ่งเป็นวิธีการที่สะดวก ช่วยให้การสร้างลิสต์เขียนสั้นลงดูง่ายขึ้นมาก



อ้างอิง




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

รวมร้านราเมงและบะหมี่ในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

各月日志

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

找更早以前的日志