φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



เหตุผลอะไรที่ต้องใช้ภาษาวิบัติ?
เขียนเมื่อ 2010/11/06 00:32
แก้ไขล่าสุด 2022/01/30 13:27

ตั้งใจที่จะเขียนเรื่องนี้มานานแล้วเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่มีโอกาสเขียน ในที่สุดก็มีโอกาสได้เขียน 

ทุกวันนี้เราจะเห็นว่ามีการใช้ภาษาวิบัติอยู่เป็นจำนวนมาก และก็มักจะเจอประเด็นถกเถียงกันตลอดว่าภาษาวิบัตินั้นสมควรใช้ได้จริงหรือ แล้วใช้ได้ในขอบเขตแค่ไหน บางคนเกลียดไม่ชอบใช้เลย บางคนใช้แหลกไม่สนใจ บางคนรับได้กับคำวิบัติบางคำ แต่กลับไม่ใช้บางคำ บางคนจะไม่ใช้ภาษาวิบัติตอนทำงาน แต่ตอนคุยเล่นกลับใช้ แบบนี้ก็มี 

ต่อไปอยากขอแสดงความเห็นและจุดยืนของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อย 

เนื่องจากเคยคุยกับคนหลากหลายกลุ่ม ทำให้รู้ว่าแต่ละคนที่ใช้ภาษาวิบัติกันเขาก็มีเหตุผลของตัวเอง ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายว่าทำไมถึงได้คิดที่จะใช้ 

ต่อไปนี้เป็นการสรุปรวมเหตุผลหรือข้ออ้างที่มักเจอจากคนอื่นเวลาเขาใช้ภาษาวิบัติ พร้อมกับข้อโต้แย้งของเราเอง

 

ทำไมถึงต้องใช้ภาษาวิบัติ?

1. เพราะภาษาเป็นเรื่องที่ต้องวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา 

ก็คือเป็นธรรมชาติของภาษาที่จะต้องเปลี่ยนแปลง หากเราเอาภาษาตอนนี้ไปคุยกับคนสมัยพ่อขุนรามคำแหง ก็คงจะมีหลายคำที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้เลย

ดังนั้นจะทำให้ภาษาวิบัติเปลี่ยนไปตามเวลาก็ไม่เห็นเป็นไร ยังไงมันก็ต้องเปลี่ยนอยู่แล้ว

 

ข้อโต้แย้ง 

จริงอยู่ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้น คงหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน แต่ถึงอย่างนั้นคงต้องถามกลับว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้ผลดีจริงหรือ?

ไม่น่าเป็นอย่างนั้น ภาษาเป็นสิ่งที่ยิ่งวิวัฒนาการก็ยิ่งวุ่นวาย ตั้งแต่โบราณมาภาษามีไม่ได้หลากหลายขนาดนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปคนกลุ่มต่างๆที่แยกกันอยู่คนละส่วนของโลกก็มีการพัฒนาทางภาษาที่แตกต่างกัน จึงเกิดแยกเป็นกลุ่ม แตกแยกสายกันไป กลับมาเจอกันอีกทีก็สื่อสารกันไม่รู้เรื่องเสียแล้ว ทั้งที่หากว่าระหว่างที่แยกจากกันไปนั้นไม่มีการวิวัฒนาการทางภาษาเลย เมื่อกลับมาเจอกันสองกลุ่มก็ควรจะยังคุยกันได้อยู่ปกติ

ยิ่งมีความหลากหลายมากก็ยิ่งทำให้สื่อสารกันข้ามกลุ่มเป็นไปได้จำกัดขึ้นเรื่อยๆ เวลาเดินทางไปต่างแดนจึงเจอสิ่งที่วุ่นวายเพิ่มขึ้นนั่นก็คือกำแพงภาษา

ยิ่งสมัยก่อนไม่มีการบัญญัติกฎทางภาษาอย่างแน่นอน ทำให้การใช้ภาษาเป็นอะไรที่หลายมาตรฐานมาก คนต่างชาติที่มาเรียนรู้เขาก็คงลำบากมาก ปัจจุบันนี้ดีหน่อยที่มีตำราที่เป็นมาตรฐาน ใครมาเริ่มเรียนก็ฝึกตามนั้นได้เลย

หากใครที่เรียนภาษาต่างประเทศก็คงจะรู้ว่า สิ่งหนึ่งที่มึนที่สุดจะเกิดขึ้นก็เมื่อเราเจอคำแสลง หรือคำอะไรที่ใหม่มากจนไม่อาจหาเจอในพจนานุกรมปัจจุบัน

นั่นคือข้อเสียของการที่ภาษาเปลี่ยนแปลงไป มีคำใหม่เพิ่มขึ้นมาอย่างเกินความจำเป็น นั่นคือทำให้ต้องมาเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมมากเกิน ทั้งที่แค่ศัพท์ปกติก็จำไม่หมดอยู่แล้ว

(ทั้งนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับคำใหม่ที่เกิดจากการมีสิ่งประดิษฐ์หรือเทคโนโลยีใหม่ตามยุคสมัย เพราะเราจำเป็นต้องมีศัพท์ใหม่เพื่อเรียกสิ่งใหม่ๆอยู่แล้ว)

ในขณะที่คำศัพท์บนโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่มันไม่มีลดลง แม้จะมีบางคำอาจล้าสมัยถูกเลิกใช้ไป แต่มันก็จะยังถูกบันทึกอยู่ในหนังสือที่ถูกเขียนในสมัยนั้นๆตราบนานเท่านานอยู่ดี

ถ้าวิวัฒนาการแล้วง่ายขึ้นก็อาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ภาษายิ่งวิวัฒนาการมักมีแนวโน้มจะยากขึ้น

ด้วยเหตุนี้จึงมีความเห็นว่าภาษาไม่ควรจะวิวัฒนาการไปเร็วเกินไป แม้เราไม่สามารถทำให้มันอยู่นิ่งได้ แต่เราก็พยายามหน่วงได้ ซึ่งปัจจุบันมันก็ค่อนข้างถูกหน่วงได้ค่อนข้างน่าพอใจดีแล้ว

มนุษย์เราพยายามฝืนธรรมชาติมาหลายอย่างเพราะอะไร เพราะว่าเพื่อให้วิถีชีวิตสุขสบายขึ้น ดังนั้นเรื่องภาษานี้เอง เราก็ควรมีการฝืนธรรมชาติบ้าง เพื่อให้ระบบภาษาบนโลกนี้ง่าย และเราจะสื่อสารกันได้สะดวกขึ้น

 

2. เพราะบางครั้งภาษาวิบัติก็ทำให้ได้อารมณ์ 

เหตุผลหนึ่งที่คนใช้กันมากที่สุดก็คือ ใช้ภาษาวิบัติเพื่อช่วยเพิ่มอารมณ์ ตรงนี้ใช้คำธรรมดาไม่ได้ อารมณ์มันไม่ใช่ ไม่ได้บรรยากาศพอ ไม่น่ารักพอ ไม่เท่พอ

 

ข้อโต้แย้ง 

อันนี้บอกตามตรงว่าไม่ค่อยเข้าใจบางคำเลยว่ามันให้อารมณ์ยังไง บางทีอาจจะรู้สึกว่าได้อารมณ์กันไปเองเฉพาะกลุ่มก็ได้ แต่สำหรับคนทั่วๆไปมามองแล้วจะรู้สึกว่ามันอ่านยาก เพราะไม่คุ้น และไม่รู้ว่าจะใช้ไปทำไม

หรือบางคนก็ว่าใช้ไปเดี๋ยวก็ใช้กันทั่วไปเอง สุดท้ายอาจได้บัญญัติอยู่ในพจนานุกรมด้วยซ้ำ ดังที่เกิดมาแล้วบ่อยๆ อังนั้นคงต้องบอกว่า ไว้รอให้ถึงตอนนั้นก่อนก็แล้วกันค่อยมาใช้อย่างภาคภูมิใจ แต่ตัวอย่างเช่นนั้นมีไม่มาก ส่วนใหญ่คำวิบัติมาเร็วตามสมัยแล้วก็จากไปเร็วเหมือนกัน

โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าแค่ภาษาปกติธรรมดานี่ก็สื่อสารอารมณ์ได้ครบถ้วนดีแล้วล่ะ พวกคำแสดงอารมณ์ทั่วไปที่เป็นสากลก็มีอยู่เยอะแยะ ไม่เห็นต้องใช้คำวิบัติมาช่วยให้ดูแปลกขึ้นเลย

 

3. เพราะเขียนแบบนี้มันให้เสียงใหม่ 

เช่นบางคนเลือกที่จะใช้คำว่า "ว๊าก" แทนคำว่า "ว้าก" เพราะบอกว่าเสียงมันต่างกัน คือ "ว้าก" เฉยๆ ก็ออกเสียงตรีอยู่แล้ว แต่พอเป็น "ว๊าก" จะทำให้รู้สึกว่าเป็นเสียงที่สูงขึ้นไปอีก

 

ข้อโต้แย้ง

นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด หากไม่เกิดจากการที่ความเข้าใจในหลักภาษาของคนนั้นคลาดเคลื่อน ก็เกิดจากการที่คนนั้นพยายามสร้างกฎใหม่แปลกๆขึ้นมาเองแม้จะรู้ว่าผิดก็ตาม

อย่างที่รู้กันว่า "ว๊าก" นั้นเป็นคำอ่านที่ผิดของ "ว้าก" ที่จริงสองคำนี้ควรอ่านเสียงเหมือนกัน เพียงแต่ "ว๊าก" นั้นผิดไวยากรณ์ทางภาษาเท่านั้น ก็ถือเป็นภาษาวิบัติอย่างหนึ่ง

เพราะปกติไม้่โทใส่กับอักษรต่ำก็เป็นเสียงตรีอยู่แล้ว ไม้ตรีใช้กับอักษรต่ำไม่ได้ และถึงจะใส่ได้ มันก็ไม่ทำให้เกิดเสียงที่พิเศษขึ้นมาแต่อย่างใด หากจะมีก็คือคนเขียนรู้สึกไปเอง เข้าใจผิดไปเอง ว่ามันให้ความแตกต่างกันในเรื่องอารมณ์ ซึ่งคนอ่านอาจไม่รู้สึกเช่นนั้นก็ได้

หากต้องการให้รู้สึกว่าเสียงมีอารมณ์สูงหรือต่ำขึ้นมาเป็นพิเศษตามสถานการณ์ สามารถใช้เครื่องหมายอย่าง "!" หรือ "?" ได้อยู่แล้ว ภาษาต่างชาติอื่นๆเขาไม่มีรูปวรรณยุกต์ชัดเจนแบบเราเขาก็ต้องใช้แบบนี้เหมือนกัน

ตัวอย่างอื่นๆเช่น "หา" เขียนเป็น "ห๋า", "ฮะ" เขียนเป็น "ฮ๊ะ", "คลิก" เขียนเป็น "คลิ๊ก", "หนู" เขียนเป็น "นู๋"

คำเหล่านี้นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดเสียงต่างแล้ว ยังผิดไวยากรณ์ทางภาษาด้วย

 

4. ก็มันไม่รู้นี่ว่าผิด 

บางคนที่ไม่ตั้งใจใช้ เผลอใช้โดยไม่่รู้ว่าเป็นคำวิบัติก็มีอยู่เยอะ

 

ข้อโต้แย้ง

ไม่รู้ว่าผิดไม่เป็นไร คนไม่รู้ไม่ผิดอยู่แล้ว ใครก็ผิดกันได้ เพียงแต่พอรู้ตัวแล้วก็แก้ซะใหม่ ใช้ให้ถูกเท่านี้ก็พอ

และเนื่องจากคนส่วนมากมักจะผิดจากการไม่รู้ ดังนั้นหากรู้แล้วคอยช่วยเตือนคนอื่นด้วยก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีมาก

คำส่วนใหญ่ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีบัญญัติในเว็บราชบัณฑิตยถานอยู่แล้ว ก็สามารถเข้าเว็บ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ไปตรวจสอบการใช้คำได้เสมอ (แม้บางครั้งมันจะล่ม)

 

5. เพราะคนอื่นเขาใช้กันก็เลยใช้ตาม 

ก็คือเพื่อนเขาใช้กันหมด ไม่ใช้ตามก็โดนหาว่าไม่ทันสมัยหรือไม่เข้ากลุ่ม

 

ข้อโต้แย้ง

ที่จริงถ้าเราใช้ถูกอยู่แล้วก็ไม่เห็นจะต้องไปเกรงกลัวใครเลย เขาจะใช้ก็ปล่อยเขาไป ถ้าเตือนให้เขาใช้ให้ถูกได้ก็ดี แต่ถ้าไม่สำเร็จก็ไม่ต้องคิดมาก ตัวเองใช้ให้ถูกไว้ก็พอ

 

6. เพราะพิมพ์ง่ายกว่า 

บางคนบอกว่าก็แค่พิมพ์ในคอมแล้วต้องการประหยัดเวลา คำวิบัติบางคำมันพิมพ์ง่ายกว่าก็เลยใช้

 

ข้อโต้แย้ง

อ่านในข้อ 7.

 

7. ก็แค่คุยเล่นๆจะซีเรียสทำไม 

จากเหตุผลข้อข้างบนมารวมๆกัน บางคนยอมรับเวลาพิมพ์งานหรือคุยทางการไม่ควรใช้ภาษาวิบัติ แต่เวลาคุยเล่นกลับขอใช้

 

ข้อโต้แย้ง

แม้จะแค่คุยกันเล่นๆ แต่ใช้ไปมากๆมันก็ติดได้อยู่ดี สุดท้ายก็เผลอใช้ตอนทำงานเข้าจนได้

และบางทีคุยกันธรรมดา แต่เป็นการคุยในเว็บบอร์ด ซึ่งคนทั่วไปก็อ่านได้ เมื่อคนมาอ่านกันเยอะ คำพูดที่ผิดๆก็จะติดตาคน กลายเป็นคนนั้นสนับสนุนภาษาวิบัติโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้นใช้ให้ถูกทุกที่ทุกเวลาดีแล้ว ถ้าอดไม่ได้จริงๆก็ขอให้คุยกันแค่ msn หรือห้องส่วนตัวก็พอ ไม่ควรเอาออกมาเผยแพร่

 

 

อันที่จริงการใช้ให้ถูกไว้ก่อนมันไม่มีอะไรเสียหายเลย จะทำให้ไม่มีใครมาติติง ไม่มีใครมาไม่พอใจเรา และถ้าเราทำงานเขียนก็จะมีแต่คนอยากสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ อยากตามอ่านผลงาน ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่ใช้ภาษาให้ถูกต้อง

ทั้งหมดนี้ก็คงได้เพียงแค่ช่วยกันเตือน ช่วยกันรณรงค์ ใครจะทำตามหรือเปล่าคงอยู่ที่ความคิดว่าใครอยากที่จะอนุรักษ์ภาษามากแค่ไหน ห่วงเรื่องภาษาวิบัติมากแค่ไหน

สุดท้ายนี้กล่าวอีกครั้งว่าเป็นแค่ความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ใครมีความเห็นอย่างไร รบกวนแสดงกันอย่างเต็มที่

ทำไมจึงต้องใช้ภาษาวิบัติ?

 

ตั้งใจที่จะเขียนเรื่องนี้มานานแล้วเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่มีโอกาสเขียน ในที่สุดก็มีโอกาสได้เขียน

 

ทุกวันนี้เราจะเห็นว่ามีการใช้ภาษาวิบัติอยู่เป็นจำนวนมาก และก็มักจะเจอประเด็นถกเถียงกันตลอดว่าภาษาวิบัตินั้นสมควรใช้ได้จริงหรือ แล้วใช้ได้ในขอบเขตแค่ไหน บางคนเกลียดไม่ชอบใช้เลย บางคนใช้แหลกไม่สนใจ บางคนรับได้กับคำวิบัติบางคำ แต่กลับไม่ใช้บางคำ บางคนจะไม่ใช้ภาษาวิบัติตอนทำงาน แต่ตอนคุยเล่นกลับใช้ แบบนี้ก็มี

 

ต่อไปอยากขอแสดงความเห็นและจุดยืนของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อย

 

เนื่องจากเคยคุยกับคนหลากหลายกลุ่ม ทำให้รู้ว่าแต่ละคนที่ใช้ภาษาวิบัติกันเขาก็มีเหตุผลของตัวเอง ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายว่าทำไมถึงได้คิดที่จะใช้

ต่อไปนี้เป็นการสรุปรวมเหตุผลหรือข้ออ้างที่มักเจอจากคนอื่นเวลาเขาใช้ภาษาวิบัติ พร้อมกับข้อโต้แย้งของเราเอง

 

ทำไมถึงต้องใช้ภาษาวิบัติ?

 

1. เพราะภาษาเป็นเรื่องที่ต้องวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา 

ก็คือเป็นธรรมชาติของภาษาที่จะต้องเปลี่ยนแปลง หากเราเอาภาษาตอนนี้ไปคุยกับคนสมัยพ่อขุนรามคำแหง ก็คงจะมีหลายคำที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้เลย

ดังนั้นจะทำให้ภาษาวิบัติเปลี่ยนไปตามเวลาก็ไม่เป็นเป็นไร ยังไงมันก็ต้องเปลี่ยนอยู่แล้ว

 

ข้อโต้แย้ง

จริงอยู่ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้น คงหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน แต่ถึงอย่างนั้นคงต้องถามกลับว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้ผลดีจริงหรือ?

 

ไม่เลย ภาษาเป็นสิ่งที่ยิ่งวิวัฒนาการก็ยิ่งวุ่นวาย ตั้งแต่โบราณมาภาษามีไม่ได้หลากหลายขนาดนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปคนกลุ่มต่างๆที่แยกกันอยู่คนละส่วนของโลกก็มีการพัฒนาทางภาษาที่แตกต่างกัน จึงเกิดแยกเป็นกลุ่ม แตกแยกสายกันไป กลับมาเจอกันอีกทีก็สื่อสารกันไม่รู้เรื่องเสียแล้ว ทั้งที่หากว่าระหว่างที่แยกจากกันไปนั้นไม่มีการวิวัฒนาการทางภาษาเลย เมื่อกลับมาเจอกันสองกลุ่มก็ควรจะยังคุยกันได้อยู่ปกติ

 

ยิ่งมีความหลากหลายมากก็ยิ่งทำให้สื่อสารกันข้ามกลุ่มเป็นไปได้จำกัดขึ้นเรื่อยๆ เวลาเดินทางไปต่างแดนจึงเจอสิ่งที่วุ่นวายเพิ่มขึ้นนั่นก็คือกำแพงภาษา

 

ยิ่งสมัยก่อนไม่มีการบัญญัติกฎทางภาษาอย่างแน่นอน ทำให้การใช้ภาษาเป็นอะไรที่หลายมาตรฐานมาก คนต่างชาติที่มาเรียนรู้เขาก็คงลำบากมาก ปัจจุบันนี้ดีหน่อยที่มีตำราที่เป็นมาตรฐาน ใครมาเริ่มเรียนก็ฝึกตามนั้นได้เลย

 

หากใครที่เรียนภาษาต่างประเทศก็คงจะรู้ว่า สิ่งหนึ่งที่มึนที่สุดจะเกิดขึ้นก็เมื่อเราเจอคำแสลง หรือคำอะไรที่ใหม่มากจนไม่อาจหาเจอในพจนานุกรมปัจจุบัน

นั่นคือข้อเสียของการที่ภาษาเปลี่ยนแปลงไป มีคำใหม่เพิ่มขึ้นมาอย่างเกินความจำเป็น นั่นคือทำให้ต้องมาเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมมากเกิน ทั้งที่แค่ศัพท์ปกติก็จำไม่หมดอยู่แล้ว

(ทั้งนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับคำใหม่ที่เกิดจากการมีสิ่งประดิษฐ์หรือเทคโนโลยีใหม่ตามยุคสมัย เพราะเราจำเป็นต้องมีศัพท์ใหม่เพื่อเรียกสิ่งใหม่ๆอยู่แล้ว)

 

ในขณะที่คำศัพท์บนโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่มันไม่มีลดลง แม้จะมีบางคำอาจล้าสมัยถูกเลิกใช้ไป แต่มันก็จะยังถูกบันทึกอยู่ในหนังสือที่ถูกเขียนในสมัยนั้นๆตราบนานเท่านานอยู่ดี

 

ด้วยเหตุนี้จึงมีความเห็นว่าภาษาไม่ควรจะวิวัฒนาการไปเร็วเกินไป แม้เราไม่สามารถทำให้มันอยู่นิ่งได้ แต่เราก็พยายามหน่วงได้ ซึ่งปัจจุบันมันก็ค่อนข้างถูกหน่วงได้ค่อนข้างน่าพอใจดีแล้ว

มนุษย์เราพยายามฝืนธรรมชาติมาหลายอย่างเพราะอะไร เพราะว่าเพื่อให้วิถีชีวิตสุขสบายขึ้น ดังนั้นเรื่องภาษานี้เอง เราก็ควรมีการฝืนธรรมชาติบ้าง เพื่อให้ระบบภาษาบนโลกนี้ง่าย และเราจะสื่อสารกันได้สะดวกขึ้น

 

 

2. เพราะบางครั้งภาษาวิบัติก็ทำให้ได้อารมณ์ 

เหตุผลหนึ่งที่คนใช้กันมากที่สุดก็คือ ใช้ภาษาวิบัติเพื่อช่วยเพิ่มอารมณ์ ตรงนี้ใช้คำธรรมดาไม่ได้ อารมณ์มันไม่ใช่ ไม่ได้บรรยากาศพอ ไม่น่ารักพอ ไม่เท่พอ

 

ข้อโต้แย้ง

อันนี้บอกตามตรงว่าไม่ค่อยเข้าใจบางคำเลยว่ามันให้อารมณ์ยังไง บางทีอาจจะรู้สึกว่าได้อารมณ์กันไปเองเฉพาะกลุ่มก็ได้ แต่สำหรับคนทั่วๆไปมามองแล้วจะรู้สึกว่ามันอ่านยาก เพราะไม่คุ้น และไม่รู้ว่าจะใช้ไปทำไม

 

หรือบางคนก็ว่าใช้ไปเดี๋ยวก็ใช้กันทั่วไปเอง สุดท้ายอาจได้บัญญัติอยู่ในพจนานุกรมด้วยซ้ำ ดังที่เกิดมาแล้วบ่อยๆ อังนั้นคงต้องบอกว่า ไว้รอให้ถึงตอนนั้นก่อนก็แล้วกันค่อยมาใช้อย่างภาคภูมิใจ แต่ตัวอย่างเช่นนั้นมีไม่มาก ส่วนใหญ่คำวิบัติมาเร็วตามสมัยแล้วก็จากไปเร็วเหมือนกัน

 

โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าแค่ภาษาปกติธรรมดานี่ก็สื่อสารอารมณ์ได้ครบถ้วนดีแล้วล่ะ พวกคำแสดงอารมณ์ทั่วไปที่เป็นสากลก็มีอยู่เยอะแยะ ไม่เห็นต้องใช้คำวิบัติมาช่วยให้ดูแปลกขึ้นเลย

 

 

3. เพราะเขียนแบบนี้มันให้เสียงใหม่ 

เช่นบางคนเลือกที่จะใช้คำว่า "ว๊าก" แทนคำว่า "ว้าก" เพราะบอกว่าเสียงมันต่างกัน คือ "ว้าก" เฉยๆ ก็ออกเสียงตรีอยู่แล้ว แต่พอเป็น "ว๊าก" จะทำให้รู้สึกว่าเป็นเสียงที่สูงขึ้นไปอีก

 

ข้อโต้แย้ง

นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด หากไม่เกิดจากการที่ความเข้าใจในหลักภาษาของคนนั้นคลาดเคลื่อน ก็เกิดจากการที่คนนั้นพยายามสร้างกฎใหม่แปลกๆขึ้นมาเองแม้จะรู้ว่าผิดก็ตาม

 

อย่างที่รู้กันว่า "ว๊าก" นั้นเป็นคำอ่านที่ผิดของ "ว้าก" ที่จริงสองคำนี้ควรอ่านเสียงเหมือนกัน เพียงแต่ "ว๊าก" นั้นผิดไวยากรณ์ทางภาษาเท่านั้น ก็ถือเป็นภาษาวิบัติอย่างหนึ่ง

 

เพราะปกติไม้่โทใส่กับอักษรต่ำก็เป็นเสียงตรีอยู่แล้ว ไม้ตรีใช้กับอักษรต่ำไม่ได้ และถึงจะใส่ได้ มันก็ไม่ทำให้เกิดเสียงที่พิเศษขึ้นมาแต่อย่างใด หากจะมีก็คือคนเขียนรู้สึกไปเอง เข้าใจผิดไปเอง ซึ่งคนอ่านอาจไม่รู้สึกเช่นนั้นก็ได้

 

หากต้องการให้รู้สึกว่าเสียงมีอารมณ์สูงหรือต่ำขึ้นมาเป็นพิเศษตามสถานการณ์ สามารถใช้เครื่องหมายอย่าง "!" หรือ "?" ได้อยู่แล้ว ภาษาต่างชาติอื่นๆเขาไม่มีรูปวรรณยุกต์ชัดเจนแบบเราเขาก็ต้องใช้แบบนี้เหมือนกัน

 

ตัวอย่างอื่นๆเช่น "หา" เขียนเป็น "ห๋า", "ฮะ" เขียนเป็น "ฮ๊ะ", "คลิก" เขียนเป็น "คลิ๊ก", "หนู" เขียนเป็น "นู๋"

คำเหล่านี้นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดเสียงต่างแล้ว ยังผิดไวยากรณ์ทางภาษาด้วย

 

 

4. ก็มันไม่รู้นี่ว่าผิด 

บางคนที่ไม่ตั้งใจใช้ เผลอใช้โดยไม่่รู้ว่าเป็นคำวิบัติก็มีอยู่เยอะ

 

ข้อโต้แย้ง

ไม่รู้ว่าผิดไม่เป็นไร คนไม่รู้ไม่ผิดอยู่แล้ว ใครก็ผิดกันได้ เพียงแต่พอรู้ตัวแล้วก็แก้ซะใหม่ ใช้ให้ถูกเท่านี้ก็พอ

 

และเนื่องจากคนส่วนมากมักจะผิดจากการไม่รู้ ดังนั้นหากรู้แล้วคอยช่วยเตือนคนอื่นด้วยก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีมาก

คำส่วนใหญ่ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีบัญญัติในเว็บราชบัณฑิตยถานอยู่แล้ว ก็สามารถเข้าเว็บ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ไปตรวจสอบการใช้คำได้เสมอ (แม้บางครั้งมันจะล่ม)

 

 

5. เพราะคนอื่นเขาใช้กันก็เลยใช้ตาม 

ก็คือเพื่อนเขาใช้กันหมด ไม่ใช้ตามก็โดนหาว่าไม่ทันสมัยหรือไม่เข้ากลุ่ม

 

ข้อโต้แย้ง

ที่จริงถ้าเราใช้ถูกอยู่แล้วก็ไม่เห็นจะต้องไปเกรงกลัวใครเลย เขาจะใช้ก็ปล่อยเขาไป ถ้าเตือนให้เขาใช้ให้ถูกได้ก็ดี แต่ถ้าไม่สำเร็จก็ไม่ต้องคิดมาก ตัวเองใช้ให้ถูกไว้ก็พอ

 

 

6. เพราะพิมพ์ง่ายกว่า 

บางคนบอกว่าก็แค่พิมพ์ในคอมแล้วต้องการประหยัดเวลา คำวิบัติบางคำมันพิมพ์ง่ายกว่าก็เลยใช้

 

ข้อโต้แย้ง

อ่านในข้อ 7.

 

 

7. ก็แค่คุยเล่นๆจะซีเรียสทำไม 

จากเหตุผลข้อข้างบนมารวมๆกัน บางคนยอมรับเวลาพิมพ์งานหรือคุยทางการไม่ควรใช้ภาษาวิบัติ แต่เวลาคุยเล่นกลับขอใช้

 

ข้อโต้แย้ง

แม้จะแค่คุยกันเล่นๆ แต่ใช้ไปมากๆมันก็ติดได้อยู่ดี สุดท้ายก็เผลอใช้ตอนทำงานเข้าจนได้

และบางทีคุยกันธรรมดา แต่เป็นการคุยในเว็บบอร์ด ซึ่งคนทั่วไปก็อ่านได้ เมื่อคนมาอ่านกันเยอะ คำพูดที่ผิดๆก็จะติดตาคน กลายเป็นคนนั้นสนับสนุนภาษาวิบัติโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้นใช้ให้ถูกทุกที่ทุกเวลาดีแล้ว ถ้าอดไม่ได้จริงๆก็ขอให้คุยกันแค่ msn หรือห้องส่วนตัวก็พอ ไม่ควรเอาออกมาเผยแพร่

 

 

อันที่จริงการใช้ให้ถูกไว้ก่อนมันไม่มีอะไรเสียหายเลย จะทำให้ไม่มีใครมาติติง ไม่มีใครมาไม่พอใจเรา และถ้าเราทำงานเขียนก็จะมีแต่คนอยากสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ อยากตามอ่านผลงาน ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่ใช้ภาษาให้ถูกต้อง

 

ทั้งหมดนี้ก็คงได้เพียงแค่ช่วยกันเตือน ช่วยกันรณรงค์ ใครจะทำตามหรือเปล่าคงอยู่ที่ความคิดว่าใครอยากที่จะอนุรักษ์ภาษามากแค่ไหน ห่วงเรื่องภาษาวิบัติมากแค่ไหน

 

สุดท้ายนี้กล่าวอีกครั้งว่าเป็นแค่ความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ใครมีความเห็นอย่างไร รบกวนแสดงกันอย่างเต็มที่ หากใครเห็นด้วยอยากรบกวนขอดาวขาวในบอลแดง เนื่องจากอยากให้มีคนได้อ่านและแลกเปลี่ยนความเห็นกันมากขึ้น



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文