อักษรไทยที่เราใช้เขียนหนังสือกันอยู่ทุกวันนี้เป็นอักษรชนิดหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก
อักษรพราหมี (𑀩𑁆𑀭𑀸𑀳𑁆𑀫𑀻 𑀮𑀺𑀧𑀺) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรอีกหลายชนิดที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ
บทความนี้จะแนะนำถึงที่มาของอักษรไทยแต่ละตัวโดยสืบรากลงไปถึงอักษรพราหมี และเปรียบเทียบกับอักษรอื่นที่พัฒนามาจากรากเดียวกันด้วย
บทความนี้จะแสดงอักษรพราหมีด้วย แต่หากไม่มีฟอนต์อยู่ในเครื่องก็จะแสดงผลไม่ได้แล้วเห็นเป็นสี่เหลี่ยมไป ดังนั้นเพื่อให้เห็นอักษรได้ ขอแนะนำให้
โหลดฟอนต์ Segoe UI Historic ได้ที่ลิงก์นี้ อักษรตระกูลพราหมีมีอะไรบ้าง "ตระกูลอักษรพราหมี" นั้นเป็นชื่อเรียกรวมๆของอักษรที่พัฒนามาจาก
อักษรพราหมี อักษรพราหมีนั้นคาดว่ามีต้นกำเนิดในช่วงประมาณ 600 ปีก่อน ค.ศ. โดยเดิมทีใช้เขียน
ภาษาสันสกฤตและอีกหลายภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้ในสมัยก่อน แล้วจึงพัฒนาแตกแขนงออกมาเป็นอักษรต่างๆอีกมากมายซึ่งถูกใช้แพร่หลายทั้งในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงในจีนด้วย
ต่อไปจะขอแสดงตารางแสดงตัวอย่างอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมีว่ามีอะไรบ้าง พร้อมแสดงตัวอย่างอักษรที่ใช้เขียนชื่ออักษรนั้นเอง
อนึ่ง การจะเห็นอักษรได้จำเป็นต้องมีฟอนต์ของอักษรชนิดนั้นลงไว้อยู่ในเครื่อง จึงอาจทำให้ไม่เห็นบางส่วน หากต้องการเห็นอักษรที่ขาดไปให้ไป
โหลดฟอนต์จากหน้านี้ที่รวมฟอนต์อักษรตระกูลพราหมีไว้ได้ ในที่นี้จะไม่อธิบายรายละเอียดของภาษาต่างที่ยกมา แต่ทำเป็นลิงก์หน้าวิกิพีเดียไว้ที่ชื่ออักษรชนิดนั้นให้คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมได้
แม้ว่าอักษรพราหมีนั้นปัจจุบันจะไม่ได้ถูกใช้แล้ว แต่ก็ได้พัฒนาแตกย่อยไปเป็นอักษรต่างๆมากมายซึ่งมีความสำคัญและถูกใช้อย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบันดังที่เห็น
อักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมีนั้นอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายกลุ่มมากมาย ซึ่งแบ่งหลักๆได้เป็นฝั่งเหนือซึ่งพัฒนาต่อมาจาก
อักษรคุปตะ และฝั่งใต้ซึ่งพัฒนามาจาก
อักษรกทัมพะและ
อักษรปัลลวะ อักษรของภาษาที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงอักษรของภาษาในศรีลังกาและตอนใต้ของอินเดียนั้น ล้วนพัฒนามาจาก
อักษรปัลลวะ ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นมาในประมาณช่วงศตวรรษที่ 4 ที่อินเดียตอนใต้ แล้วจึงแพร่ขยายเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วพัฒนาต่อไปเป็นอักษรอื่นๆเช่น
อักษรเขมร,
อักษรมอญ,
อักษรกวิ เป็นต้น ก่อนพัฒนาต่อๆไปอีก
อักษรไทยและ
อักษรลาวก็พัฒนามาจาก
อักษรเขมร หรือถ้าจะเขียนอธิบายให้ละเอียดจริงๆก็คือ
อักษรไทยปัจจุบันนั้นพัฒนามาจากอักษรไทยสมัยสุโขทัย ซึ่งก็พัฒนามาจาก
อักษรเขมรอีกที แต่เป็นอักษรเขมรสมัยยุคนั้น ซึ่งก็ต่างจากอักษรเขมรปัจจุบันเล็กน้อย
อักษรปัลลวะ
↓
อักษรเขมรโบราณ → อักษรเขมรปัจจุบัน
↓
อักษรไทยสุโขทัย → อักษรไทยปัจจุบัน
อักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะนั้นได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สำคัญเป็นพิเศษก็คือ
อักษรไทย,
อักษรลาว,
อักษรเขมร,
อักษรพม่า ทั้ง ๔ อักษรนีมีสถานะที่ถือว่าค่อนข้างพิเศษ คือเป็นอักษรที่ใช้อยู่ในภาษาราชการในประเทศของประเทศนั้นๆที่เดียว จึงเรียกได้ว่าแต่ละอักษรนั้นเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเทศที่มีแบบนี้ จึงถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจอย่างหนึ่ง
นอกจากนี้แล้ว
ภาษาจามที่ใช้ในหมู่ชาวจามซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในเวียดนามก็มีการใช้
อักษรจาม แต่ปัจจุบันชาวจามมีจำนวนน้อยและยิ่งน้อยคนที่จะรู้อักษรนี้
ส่วนในฟิลิปปินส์ก็มีการใช้
อักษรไบบายินใน
ภาษาตากาล็อก ซึ่งเป็นภาษาราชการของฟิลิปปินส์ แต่ปัจจุบันทางฟิลิปปินต์เลิกใช้อักษรไบบายินแล้ว หันมาใช้อักษรโรมันแทน
ส่วนทางอินโดนีเซียก็มีหลายภาษา เช่น
ภาษาชวา,
ภาษาซุนดา,
ภาษาบาหลี ซึ่งก็ล้วนเคยมีอักษรใช้เป็นของตัวเองโดยพัฒนามาจาก
อักษรกวิทั้งสิ้น แต่ก็ได้เลิกใช้ไป หันไปใช้อักษรโรมันแทนทั้งหมด เนื่องจากอิทธิพลของชาติตะวันตก ดังนั้นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังใช้อักษรเป็นของตัวเองจนถึงทุกวันนี้จึงมีเพียง ๔ ประเทศ ๔ ภาษา ๔ อักษร ดังที่กล่าวมา
อักษรเรอจัง ซึ่งเป็นอักษรอีกชนิดที่พัฒนามาจาก
อักษรกวินั้นก็เคยถูกใช้ในหลายภาษาแถวอินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมถึง
ภาษามลายูด้วย แม้จะไม่เป็นที่แพร่หลายแล้วก็ถูกแทนที่ด้วยอักษรโรมันทั้งหมด
ในขณะเดียวกันอักษรส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศในเอเชียใต้ในปัจจุบันนี้ รวมถึงอักษรทิเบตนั้นก็พัฒนาผ่านมาจากทาง
อักษรคุปตะและ
อักษรกทัมพะ ซึ่งก็พัฒนามาจากอักษรพราหมีไปอีกทาง ในจำนวนนั้นที่สำคัญและใช้กว้างขวางที่สุดคือ
อักษรเทวนาครี (देवनागरी) นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ซึ่งจะขอละไว้ ในที่นี้จะเน้นไปที่ความเกี่ยวข้องกับอักษรไทยเป็นหลัก
อักษรต่างๆในกลุ่มตระกูลอักษรพราหมีนั้นหากสืบรากย้อนไปแล้วจะมีที่มาที่เทียบเคียงเป็นอักษรตัวเดียวกันได้ อย่างไรก็ตาม แต่ละภาษานั้นต่างก็มีทั้งเสียงอ่านหรือไวยากรณ์ในแบบของตัวเองซึ่งไม่ได้เกี่ยวพันกับภาษาในกลุ่มอินเดีย ดังนั้นเมื่อสร้างเป็นอักษรของตัวเองขึ้นมา ก็มีการเพิ่มอักษรขึ้นมาใหม่ หรือตัดบางตัวที่ไม่ใช้ออก
อักษรไทยก็เป็นอักษรหนึ่งในกลุ่มนี้ ซึ่งมีทั้งอักษรที่เทียบเคียงได้กับอักษรอื่นๆในกลุ่มอักษรพราหมีได้โดยตรง และมีส่วนหนึ่งที่เพิ่มเข้ามา
โดยพื้นฐานอักษรพราหมีที่กลายมาเป็นอักษรพยัญชนะของอักษรต่างๆในกลุ่มนี้นั้นมีทั้งหมด ๓๕ ตัว ซึ่งภาษาไทยก็รับมาใช้ทั้งหมด และยังสร้างเพิ่มอีก ๙ ตัว จึงเป็น ๔๔ ตัวดังที่รู้จักในปัจจุบัน
อักษรไทย ๓๕ ตัวที่มีรากจากอักษรพราหมีโดยตรง อักษรไทยที่สืบทอดมาจากอักษรพราหมี ๓๕ ตัวนั้นอาจจัดเป็นกลุ่มแล้วแสดงเป็นตารางได้ดังนี้
|
อักษรกลาง |
อักษรสูง |
อักษรต่ำคู่ |
อักษรต่ำคู่ อีกตัว |
อักษรต่ำเดี่ยว |
วรรค กะ |
ก |
ข |
ค |
ฆ |
ง |
วรรค จะ |
จ |
ฉ |
ช |
ฌ |
ญ |
วรรค ฏะ |
ฏ |
ฐ |
ฑ |
ฒ |
ณ |
วรรค ตะ |
ต |
ถ |
ท |
ธ |
น |
วรรค ปะ |
ป |
ผ |
พ |
ภ |
ม |
เศษวรรค |
อักษรต่ำเดี่ยว |
ย |
ร |
ล |
ว |
อักษรสูง |
ศ |
ษ |
ส |
ห |
ที่เหลือ |
ฬ |
อ |
|
อีก ๙ ตัวที่ไม่ได้อยู่ในนี้คือ
ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฮ นั้นถูกเสริมเข้ามาภายหลัง ซึ่งรายละเอียดตรงนี้เดี๋ยวจะค่อยกล่าวถึงอีกที ก่อนอื่นมาเริ่มทำความเข้าใจจากอักษร ๓๕ ตัวนี้กันก่อน
อักษร ๓๕ ตัวนี้จะแบ่งเป็น ๒๕ ตัวที่อยู่ใน ๕
วรรคหลัก วรรคละ ๕ ตัว มี ๕ วรรค จึงรวมเป็น ๒๕ ตัว และนอกจากนั้นอีก ๑๐ ตัวเรียกว่า
"เศษวรรค" อักษรใน ๕ วรรคหลักนั้นถูกจัดเรียงแบ่งอย่างเป็นระบบดังที่เห็น ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอักษรแต่ละตัวกันอย่างดี การแบ่งกลุ่มอักษรในภาษาไทยนั้นก็มีที่มาจากการเรียงวรรคแบบนี้นั่นเอง โดยใน ๕ ตัวของแต่ละวรรคนั้นจะแบ่งได้เป็น
- อักษรกลาง
- อักษรสูง
- อักษรต่ำคู่
- อักษรต่ำคู่ (อีกตัว)
- อักษรต่ำเดี่ยว
ส่วนของเศษวรรคนั้นมี ๑๐ ตัว ซึ่งไม่ได้มีความเป็นระบบเท่า ๒๕ ตัวใน ๕ วรรคหลัก แต่ก็จะเห็นได้ชัดว่าแบ่งได้เป็น ๓ กลุ่ม คือมีอักษรต่ำเดี่ยวอีก ๔ ตัวคือ
ยรลว และอักษรสูง ๔ ตัวคือ
ศษสห ส่วนที่เหลืออีก ๒ ตัวคือ
ฬ อ นั้นเป็นส่วนที่ถูกใส่เพิ่มเติมมา
โดย
ฬ นั้นไม่มีในภาษาสันสกฤต แต่ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อใช้เขียนในบางภาษาเช่นภาษาบาลี
ส่วน
อ นั้นจริงๆแล้วในภาษาพราหมีเดิมถือเป็นสระ ไม่ใช่พยัญชนะ แต่ในอักษรไทยและอีกหลายภาษาเช่น ลาว, เขมร, พม่า, ทิเบต ได้รวม
อ เป็นพยัญชนะด้วย โดยวางไว้ในลำดับท้ายสุด ดังนั้นในที่นี้จะถือว่า
อ ในอักษรพราหมีเป็นพยัญชนะไปด้วย
เทียบกับอักษรพราหมี ๓๕ ตัว หลังจากที่รู้จักว่าอักษรไทย ๓๕ ตัวที่มีรากมาจากอักษรพราหมีนั้นมีอะไรบ้าง ต่อไปก็มาดูกันว่าที่มาของแต่ละอักษรนั้นเป็นอักษรแบบไหน
ตารางแสดงพยัญชนะในอักษรพราหมีนั้นเขียนได้ดังนี้ (
หากใครไม่มีฟอนต์ให้ดูเป็นภาพได้ที่ลิงก์นี้)
|
เสียงกัก ไม่ก้อง ไม่ปล่อยลม |
เสียงกัก ไม่ก้อง ปล่อยลม |
เสียงกัก ก้อง ไม่ปล่อยลม |
เสียงกัก ก้อง ปล่อยลม |
เสียงออกจมูก |
เพดานอ่อน |
𑀓
ก
|
𑀔
ข
|
𑀕
ค
|
𑀖
ฆ
|
𑀗
ง
|
เพดานแข็ง |
𑀘
จ
|
𑀙
ฉ
|
𑀚
ช
|
𑀛
ฌ
|
𑀜
ญ
|
ปลายลิ้นม้วน |
𑀝
ฏ
|
𑀞
ฐ
|
𑀟
ฑ
|
𑀠
ฒ
|
𑀡
ณ
|
ปุ่มเหงือก |
𑀢
ต
|
𑀣
ถ
|
𑀤
ท
|
𑀥
ธ
|
𑀦
น
|
ริมฝีปาก |
𑀧
ป
|
𑀨
ผ
|
𑀩
พ
|
𑀪
ภ
|
𑀫
ม
|
เศษวรรค |
เสียงเปิด |
𑀬
ย
|
𑀭
ร
|
𑀮
ล
|
𑀯
ว
|
เสียงกัก เสียดแทรก |
𑀰
ศ
|
𑀱
ษ
|
𑀲
ส
|
𑀳
ห
|
ที่เหลือ |
𑀴
ฬ
|
𑀅
อ
|
|
ในที่นี้ด้านล่างได้ใส่อักษรไทยที่เทียบเท่าไว้ด้วยเพื่อเปรียบเทียบด้วย โดยอักษรที่เขียนเป็น
สีเขียวนั้นคืออักษรที่ไทยนำมาใช้แล้วเสียงอ่านต่างไปจากเดิม
อักษรพราหมีนั้นเดิมถูกใช้เขียนภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี ซึ่งเป็นที่มาของคำศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทยมากมาย ดังนั้นอักษรไทยจึงถูกสร้างขึ้นโดยยืนพื้นจากอักษรพราหมี แต่ก็ไม่ได้รักษาเสียงอ่านเดิมไว้ได้ทั้งหมด
จากตารางจะเห็นได้ว่า ๕ วรรคหลักนั้นเรียกชื่อตามฐานเวลาออกเสียงอักษรกลุ่มนั้น ได้แก่
- เพดานอ่อน → วรรคกะ ก ข ค ฆ ง
- เพดานแข็ง → วรรคจะ จ ฉ ช ฌ ญ
- ปลายลิ้นม้วน → วรรคฏะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
- ปุ่มเหงือก → วรรคตะ ต ถ ท ธ น
- ริมฝีปาก → วรรคปะ ป ผ พ ภ ม
เพียงแต่ว่าวรรคฏะ ซึ่งเป็นเสียงที่มาจากฐานปลายลิ้นม้วนนั้นไม่มีในภาษาไทย จึงไปออกเสียงตรงกับตัวที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันในวรรคตะ ซึ่งเป็นเสียงจากฐานปุ่มเหงือก ซึ่งมีในภาษาไทยและภาษาอื่นๆส่วนใหญ่ในโลก
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภาษาไทยมีอักษรที่ออกเสียงซ้ำกันเป็นคู่ๆเกิดขึ้นตามนี้
ฏ → ต
ฐ → ถ
ฑ → ท
ฒ → ธ (ซึ่งยังไปซ้ำกับ
ท อีกที)
ณ → น ส่วนการแบ่งเป็น ๕ กลุ่มตามแนวนอนจะได้ว่า
- เสียงกักไม่ก้องไม่ปล่อยลม → อักษรกลาง ก จ ฏ ต ป
- เสียงกักไม่ก้องปล่อยลม → อักษรสูง ข ฉ ฐ ถ ผ
- เสียงกักก้องไม่ปล่อยลม → อักษรต่ำคู่ ค ช ฑ ท พ
- เสียงกักก้องปล่อยลม → อักษรต่ำคู่ (อีกตัว) ฆ ฌ ฒ ธ ภ
- เสียงออกจมูก → อักษรต่ำเดี่ยว ง ญ ณ น ม
โดยกลุ่มที่ ๑, ๒, ๕ คือ
เสียงกักไม่ก้องไม่ปล่อยลม,
เสียงกักไม่ก้องปล่อยลม,
เสียงออกจมูกนั้นนำมาใช้ในภาษาไทยแล้วก็ออกเสียงตามนั้นเลยโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก จึงง่ายในการทำความเข้าใจรากศัพท์
แต่ที่จะมีปัญหาก็คือกลุ่ม
เสียงกักก้อง (ทั้งปล่อยลมและไม่ปล่อยลม) ซึ่งเดิมทีไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย พอนำมาใช้ในอักษรไทยจึงกลายเป็น
อักษรต่ำคู่ ซึ่งเสียงจะไปซ้ำซ้อนกับ
ข ฉ ฐ ถ ผ ซึ่งเป็นเสียงกักไม่ก้องปล่อยลม แต่ไปต่างกันที่การผันวรรณยุกต์เท่านั้น ตามหลักของภาษาไทย
และนี่จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอักษรเสียงซ้ำขึ้นมา
ส่วน
𑀬 (ย) 𑀭 (ร) 𑀮 (ล) 𑀯 (ว) นั้นถูกนำมาใช้อ่านตามเสียงอ่านที่ใกล้เคียงเสียงเดิมโดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงเข้าใจได้ง่ายๆ
𑀲 (ส) กับ
𑀳 (ห) ก็เช่นกัน อ่านออกเสียงตรงกับในภาษาไทย
แต่
𑀰 (ศ) กับ
𑀱 (ษ) นั้นแทน
เสียงเสียดแทรกหลังปุ่มเหงือกไม่ก้อง /ʃ/ และ
เสียงเสียดแทรกลิ้นม้วนไม่ก้อง /ʂ/ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย แต่ใกล้เคียงกับ
ส ดังนั้นแม้ในภาษาไทยจะถูกนำมาเขียนแยกเป็นอักษร
ศ กับ
ษ แต่ก็จะถูกอ่านเหมือนกับ กับ
ส ส่วน
𑀴 (ฬ) นั้นถูกใช้ในภาษาบาลี โดยจะออกเสียงใกล้เคียงกับ
𑀮 (ล) แต่จะเป็น
เสียงกระดกม้วนลิ้น ซึ่งถือเป็นคนละหน่วยเสียงกัน แต่พอนำมาใช้ในภาษาไทยก็ไม่สามารถแยกแยะเสียงนั้นได้ จึงถูกอ่านเป็น
ล ไปด้วย
นอกจากนี้
𑀜 (ญ) นั้นเดิมทีออกเสียงเป็น
เสียงนาสิกเพดานแข็ง /ɲ/ ต่างจาก
ย แต่ในภาษาไทยกลางปัจจุบันเสียง
ญ กลายเป็น
ย ไปแล้ว จึงเป็นที่มาของอักษรเสียงซ้ำอีกคู่
จะเห็นว่าการเข้าใจรากที่มาของอักษรทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมในภาษาไทยถึงต้องมีอักษรเสียงซ้ำกันเยอะ
นั่นก็เพราะจริงๆแล้วพวกนี้เป็นคนละเสียงกันในภาษาที่ถูกเขียนด้วยอักษรพราหมีมาก่อนเช่นภาษาสันสกฤตและบาลีนั่นเอง และจะเห็นได้ว่าอักษรเสียงซ้ำเหล่านี้ ได้แก่
ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ ก็ถูกใช้เพื่อเขียนคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤตและบาลีเป็นหลัก
ส่วน
ค ช ท พ นั้นเป็นอักษรต่ำคู่ ซึ่งเสียงไปซ้ำกับอักษรสูง
ข ฉ ถ ผ แต่ก็ต้องใช้ร่วมกันไปเพื่อการผันวรรณยุกต์
หากนับเฉพาะอักษรที่ถูกนำมาอ่านตามเสียงเดิม (ซึ่งเขียนเป็นอักษรสีดำในตารางด้านบน) ได้แก่
ก ข ง จ ฉ ต ถ น ป ผ ม ย ร ล ว ส ห อ จะเห็นว่าทุกตัวเป็นคนละหน่วยเสียงกันทั้งหมด และล้วนถูกใช้บ่อยทั้งในคำที่มาจากภาษาสันสกฤตและบาลีหรือคำไทยแท้ด้วย
เทียบโยงไปถึงอักษรฟินิเชีย ๒๑ ตัว อักษรพราหมีนั้นเชื่อว่ามีรากฐานซึ่งอาจโยงไปได้ถึง
อักษรฟินิเชีย (Phoenicia) ซึ่งเป็นอักษรโบราณที่เป็นรากของภาษาเกือบทั้งหมดบนโลกนี้ รวมถึง
อักษรกรีกและ
อักษรโรมันที่ใช้ในยุโรปด้วย
อักษรฟินิเชียมีทั้งหมด ๒๒ ตัว และในจำนวนนั้น ๒๑ ตัวคาดว่าเป็นที่มาของอักษรพราหมี โดยพัฒนาผ่านมาจากทาง
อักษรอารามอีกที
ภาพแสดงวิวัฒนาการของตัวอักษร ตั้งแต่
อักษรฟินิเชียมาเป็นอักษร
อักษรอารามแล้วจึงมาเป็น
อักษรพราหมี ซึ่งถูกพัฒนาต่อมาเป็น
อักษรปัลลวะ แล้วมาเป็น
อักษรเขมร จนในที่สุดกลายมาเป็น
อักษรไทย อักษรไทยที่มีรากโยงไปถึงอักษรฟินิเชียได้แก่
ก ข ค ฆ ช ต ถ ธ น ป พ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห อ อย่างไรก็ตาม อักษรพราหมีนั้นมีจำนวนมากกว่าอักษรฟินิเชียมาก และยังมีการแยกพยัญชนะและสระด้วย จึงมีอักษรหลายตัวที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอักษรฟินิเชียโดยตรง
ดังนั้นอักษร
ง จ ฉ ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ท ผ ภ ฬ นั้นแม้จะมีรากมาจากอักษรพราหมีแต่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงไปถึงอักษรฟินิเชีย
เทียบกับอักษรเทวนาครี ๓๕ ตัว อักษรพราหมีนั้นในปัจจุบันไม่ได้ถูกใช้แล้ว แต่ภาษาที่เคยถูกเขียนด้วยอักษรพราหมี เช่น
ภาษาสันสกฤตและ
ภาษาบาลีนั้นปัจจุบันนิยมเขียนด้วย
อักษรเทวนาครี ซึ่งอักษรเทวนาครีนี้ยังได้ถูกนำมาใช้เขียนอีกหลายภาษาในเอเชียใต้ เช่น
ภาษาฮินดี,
ภาษาเนปาล,
ภาษามราฐี,
ภาษากัศมีร์ เป็นต้น
ดังนั้นปัจจุบันนี้ให้จำอักษรเทวนาครีจะใช้งานได้กว้างขวางกว่าอักษรพราหมีที่เลิกใช้ไปแล้ว ซึ่งอักษรเทวนาครีเองก็เทียบเคียงกับอักษรพราหมีได้โดยตรงทั้งหมดทุกตัว
หากเขียนตารางเดิมโดยเปลี่ยนจากอักษรพราหมีเป็นอักษาเทวนาครีจะได้เป็นแบบนี้
|
เสียงกัก ไม่ก้อง ไม่ปล่อยลม |
เสียงกัก ไม่ก้อง ปล่อยลม |
เสียงกัก ก้อง ไม่ปล่อยลม |
เสียงกัก ก้อง ปล่อยลม |
เสียงออกจมูก |
เพดานอ่อน |
क
ก
|
ख
ข
|
ग
ค
|
घ
ฆ
|
ङ
ง
|
เพดานแข็ง |
च
จ
|
छ
ฉ
|
ज
ช
|
झ
ฌ
|
ञ
ญ
|
ปลายลิ้นม้วน |
ट
ฏ
|
ठ
ฐ
|
ड
ฑ
|
ढ
ฒ
|
ण
ณ
|
ปุ่มเหงือก |
त
ต
|
थ
ถ
|
द
ท
|
ध
ธ
|
न
น
|
ริมฝีปาก |
प
ป
|
फ
ผ
|
ब
พ
|
भ
ภ
|
म
ม
|
เศษวรรค |
เสียงเปิด |
य
ย
|
र
ร
|
ल
ล
|
व
ว
|
เสียงกัก เสียดแทรก |
श
ศ
|
ष
ษ
|
स
ส
|
ह
ห
|
ที่เหลือ |
ळ
ฬ
|
अ
อ
|
|
อักษรเทวนาครีเองก็มีการสร้างเพิ่มเติมเพื่อใช้กับภาษาต่างๆด้วย ซึ่งในที่นี้จะไม่พูดถึง แต่โดยรวมแล้วมี ๓๕ ตัวนี้ที่มีรากมาจากอักษรพราหมีโดยตรงเช่นเดียวกับภาษาไทย
หากอ่านอักษรเทวนาครีได้ก็จะทำให้เราสามารถอ่านภาษาสันสกฤตและบาลี และยังรวมไปถึงภาษาฮินดีซึ่งเป็นภาษากลางที่ใช้กว้างขวางที่สุดในอินเดีย รวมถึงภาษาเนปาลที่ใช้ในประเทศเนปาล ดังนั้นในที่นี้จึงได้ถือโอกาสแนะนำอักษรเทวนาครี โดยให้จำแทนอักษรพราหมีได้เลย
อักษรเพิ่มเติมในภาษาไทย หลังจากที่แนะนำอักษรไทย ๓๕ ตัวที่มีที่มาจากอักษรพราหมีโดยตรงแล้ว ต่อไปก็ได้เวลามารู้จักกับอักษรอีก ๙ ตัวที่ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อใช้ในภาษาไทยโดยเฉพาะ นั่นคือ
ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฮ อักษร ๙ ตัวนั้นถูกแทรกเข้ามาในตำแหน่งต่างๆกันไป โดยหากนำตารางที่เดิมเขียน ๓๕ อักษรนั้นมาเขียนใหม่โดยเติม ๙ อักษรใหม่เข้าไปจะได้แบบนี้
|
เสริม อักษร กลาง |
อักษร กลาง |
อักษร สูง |
เสริม อักษร สูง |
อักษร ต่ำคู่ |
เสริม อักษร ต่ำคู่ |
อักษร ต่ำคู่ อีกตัว |
อักษร ต่ำเดี่ยว |
วรรค กะ |
|
ก |
ข |
ฃ |
ค |
ฅ |
ฆ |
ง |
วรรค จะ |
|
จ |
ฉ |
|
ช |
ซ |
ฌ |
ญ |
วรรค ฏะ |
ฎ |
ฏ |
ฐ |
|
ฑ |
|
ฒ |
ณ |
วรรค ตะ |
ด |
ต |
ถ |
|
ท |
|
ธ |
น |
วรรค ปะ |
บ |
ป |
ผ |
ฝ |
พ |
ฟ |
ภ |
ม |
เศษวรรค |
อักษรต่ำเดี่ยว |
ย |
ร |
ล |
ว |
อักษรสูง |
ศ |
ษ |
ส |
ห |
ที่เหลือ |
ฬ |
อ |
ฮ |
|
ในที่นี้อักษรที่เพิ่มเข้ามาถูกเขียนด้วยสีชมพูเข้ม ซึ่งพอจะแบ่งเป็น ๓ กลุ่มได้ดังที่เห็นนี้
- เสริมอักษรกลาง: ฎ ด บ
- เสริมอักษรสูง: ฃ ฝ
- เสริมอักษรต่ำคู่: ฅ ซ ฟ ฮ
แต่ละตัวที่ถูกเพิ่มเข้ามานั้นล้วนแล้วแต่หน้าตาใกล้เคียงอักษรที่มีอยู่เดิมทั้งนั้น แถมยังวางอยู่ในตำแหน่งข้างๆกัน จึงน่าจะช่วยให้จำได้ไม่ยาก
ฎ ด บ (ไม่มีหยัก, หางสั้น) นั้นแยกร่างมาจาก
ฏ ต ป (มีหยัก, หางยาว) อีกที เนื่องจากคำที่มาจากในภาษาสันสกฤตและบาลีนั้นพอมาเป็นภาษาไทย ส่วนหนึ่งได้ออกเสียงเพี้ยนไป
เช่น เสียงที่เดิมควรจะเป็น
ต นั้นถูกออกเสียงเป็น
ด ในภาษาไทย ดังนั้นจึงแยกอักษร
ด ออกมาจากอักษร
ต เพื่อแสดงเสียงที่ต่างกัน
ส่วน
ฎ ก็เช่นกัน แยกออกมาจาก
ฏ โดยคำที่เดิมควรเขียนเป็น
ฏ นั้นคำไหนออกเสียง
ต ก็เขียน
ฏ ตามเดิม แต่ถ้าออกเสียงเป็น
ด ก็เขียนเป็น
ฎ แทน
และ
บ ก็มีที่มาในลักษณะเดียวกัน คือบางคำที่เดิมทีเป็นเสียง
ป กลับออกเสียงเป็น
บ ก็เลขเขียนแยกตามเสียงให้ชัด
ส่วน
ฝ และ
ฟ นั้นถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อแสดงเสียงใหม่ที่มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาสันสกฤตและบาลีเดิม โดยแตกออกมาจากอักษร
ผ และ
พ ซึ่งก็วางไว้ข้างๆกันนั่นเอง
ฃ กับ
ฅ ก็เช่นเดียวกัน ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อแสดงเสียงใหม่ซึ่งต่างจาก
ข และ
ค คือเป็นเสียงที่เรียกว่า
เสียงเสียดแทรกเพดานอ่อน ซึ่งใกล้เคียงกับ
ข และ
ค แต่ออกเสียงเสียดแทรกออกจากลำคอ เพียงแต่ว่าในภาษาไทยปัจจุบันเสียงนี้ได้หายไปแล้ว เสียงของ
ฃ และ
ฅ ก็ได้ถูกควบรวมกับ
ข และ
ค จึงเลิกใช้ไปแล้วยุบกลับไปอยู่กับ
ข และ
ค อีก ทั้งที่เพิ่งจะแยกออกมา
สำหรับ
ซ นั้นถูกใส่เข้ามาเป็นอักษรต่ำคู่ที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง
ส เพียงแต่แทนที่จะเพิ่มเข้ามาข้างๆ
ส กลับเพิ่มขึ้นข้างๆ
ช แทน
และ
ฮ นั้นได้เพิ่มเข้ามาในท้ายที่สุดเพื่อใช้เป็นอักษรต่ำคู่ที่เป็นคู่กับอักษรสูง
ห จะเห็นได้ว่าอักษร ๖ ตัวที่เพิ่มเข้ามาเพื่อเสริมเสียงที่ขาดไป ได้แก่
ฃ ฅ ซ ฝ ฟ ฮ นั้นมีการใช้ค่อนข้างน้อย และไม่ใช้กับคำที่มาจากภาษาสันสกฤตและบาลี
และนี่คือที่มาของพยัญชนะทั้ง ๔๔ ตัวในภาษาไทย และเหตุผลที่มันถูกจัดเรียงแบบนี้ ทั้งหมดมีที่มาที่ไปและมีหลักเกณฑ์ที่สามารถสังเกตและจดจำได้ ดีกว่าท่องไล่ไปโดยไม่รู้หลัก
จริงๆแล้วมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายสำหรับที่มาของแต่ละตัว แต่กล่าวโดยสรุปก็คืออักษร ๙ ตัวถูกเพิ่มเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆกันดังที่กล่าวมาเพื่อใช้ในภาษาไทยโดยเฉพาะ
การเพิ่มเติมและตัดอักษรออกในแต่ละภาษา ไหนๆก็ได้เขียนถึงที่มาของอักษรไทยแล้ว เพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมเลยจะขอแนะนำอักษรในกลุ่มเดียวกันซึ่งมีที่มาใกล้กันด้วย
ในที่นี้จะยกตัวอย่างอักษรที่สำคัญอีก ๔ ชนิดมาเทียบ นั่นคือ
อักษรลาว,
อักษรเขมร,
อักษรพม่า,
อักษรทิเบต อักษรเหล่านี้ก็ล้วนมีรากมาจากอักษรพราหมีเช่นเดียวกับภาษาไทย และก็มีการเพิ่มอักษรบางส่วนเข้าไป และบางส่วนก็ยังตัดออกด้วย
หากนับจำนวนอักษรที่เพิ่มเข้ามาจาก ๓๕ ตัวเดิม แล้วหักลบตัวที่ตัดออกทิ้งไป ก็จะได้จำนวนอักษรที่เหลืออยู่ในภาษานั้นทั้งหมดขณะนี้ ซึ่งสรุปได้ดังตารางนี้
|
เพิ่มเติม |
ตัดออก |
จำนวนอักษร |
ไทย |
9 |
0 |
35 +9 = |
44 |
ลาว |
5 |
13 |
35 +3 -11 = |
27 |
เขมร |
0 |
0 |
35 = |
35 |
พม่า |
0 |
2 |
35 -2 = |
33 |
ทิเบต |
6 |
11 |
35 +6 -11 = |
30 |
จะเห็นว่าอักษรแต่ละชนิดมีการเพิ่มเข้าและตัดออกต่างกันออกไปเพื่อปรับใช้กับภาษาของตัวเอง
ในจำนวนนั้นภาษาไทยเพิ่มเข้ามาเยอะที่สุดคือ ๙ ตัว และไม่ได้ตัดออกสักตัว เลยเยอะที่สุด มีมากถึง ๔๔ ตัว
ส่วนอักษรเขมรนั้นใช้ ๓๕ ตัวที่มีรากมาจากอักษรพราหมีโดยตรงโดยไม่ได้เพิ่มเข้าหรือตัดออกเลย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี ๒ ตัวที่เลิกใช้ไปแล้ว คือ
ឝ และ
ឞ ซึ่งเทียบได้กับ
ศ และ
ษ ในภาษาไทย โดยเสียงของ ๒ ตัวนี้ซ้ำกับ
ស ซึ่งเทียบได้กับ
ส ในภาษาไทยนั่นเอง
ส่วนในภาษาพม่านั้นก็ได้ตัดอักษรที่เทียบเท่ากับ
ศ และ
ษ ไปก่อนเลยแล้วยุบรวมเป็น
ศ ษ ส เป็น
သ ตัวเดียว จึงเหลือแค่ ๓๓ อักษร
ส่วนภาษาลาวและทิเบตนั้นมีทั้งเพิ่มเติมเข้ามาและตัดออกเป็นจำนวนมาก ทำให้ต่างไปจากอักษรพราหมีเดิมมากพอสมควร
เทียบกับอักษรลาว ๒๗ ตัว เนื่องจากอักษรลาวนั้นมีความใกล้เคียงกับอักษรไทยมาก ดังนั้นจึงขออธิบายรายละเอียดในที่นี้ไปด้วย
อักษรลาวนั้นแบ่งเป็นอักษรสูง กลาง ต่ำ เช่นเดียวกับภาษาไทย และเดิมทียังมีการใส่อักษรเข้าไปเช่นเดียวกับอักษรไทย
อย่างไรก็ตาม ภาษาลาวได้ทำการตัดอักษรที่เสียงซ้ำกันทิ้งไปหมด ซึ่งต่างจากภาษาไทยที่ยังเก็บเสียงซ้ำไว้ทั้งหมด จึงทำให้อักษรเหลือน้อยลงมาก
หากนำตารางจัดเรียงอักษรไทยมาเขียนใหม่โดยใส่อักษรลาวลงไปแทนจะได้ดังนี้
|
เสริม อักษร กลาง |
อักษร กลาง |
อักษร สูง |
เสริม อักษร สูง |
อักษร ต่ำคู่ |
เสริม อักษร ต่ำคู่ |
|
อักษร ต่ำเดี่ยว |
วรรค กะ |
|
ກ
ก
|
ຂ
ข
|
|
ຄ
ค
|
|
(ฆ)
|
ງ
ง
|
วรรค จะ |
|
ຈ
จ
|
(ฉ)
|
|
ຊ
ช
|
|
(ฌ)
|
ຍ
ญ
|
|
|
(ฏ)
|
(ฐ)
|
|
(ฑ)
|
|
(ฒ)
|
(ณ)
|
วรรค ตะ |
ດ
ด
|
ຕ
ต
|
ຖ
ถ
|
|
ທ
ท
|
|
(ธ)
|
ນ
น
|
วรรค ปะ |
ບ
บ
|
ປ
ป
|
ຜ
ผ
|
ຝ
ฝ
|
ພ
พ
|
ຟ
ฟ
|
(ภ)
|
ມ
ม
|
เศษวรรค |
อักษร ต่ำเดี่ยว |
ຢ
ย
|
ຣ
ร
|
ລ
ล
|
ວ
ว
|
อักษร สูง |
(ศ)
|
(ษ)
|
ສ
ส
|
ຫ
ห
|
ที่เหลือ |
(ฬ)
|
ອ
อ
|
ຮ
ฮ
|
|
ที่ใส่เป็นวงเล็บอักษรภาษาไทยไว้นั่นคืออักษรที่ถูกตัดออกในภาษาลาว เนื่องจากเสียงซ้ำ นับดูแล้วจะเห็นว่ามีมากถึง ๑๓ ตัว และแต่ละตัวนี้ส่วนใหญ่ในภาษาไทยเองก็เสียงซ้ำเช่นกัน
เพียงแต่ว่าอักษร
ฉ สาเหตุที่หายไปจากภาษาลาวเป็นเพราะเสียงมันไปซ้ำกับ
ส ซึ่งตรงนี้ต่างจากในภาษาไทยซึ่งเสียง
ฉ กับ
ส ต่างกันชัดเจน
นอกจากนี้เสียง
ช ในภาษาลาวก็กลายเป็นเสียง
ซ ดังนั้น อักษร
ຊ นั้นแม้จะเป็น
ช ช้าง แต่ในภาษาลาวกลายเป็นเสียง
ซ ซ้าง ไป ดังนั้นในภาษาลาวจึงไม่ต้องมีการเพิ่มอักษร
ซ เข้ามาอย่างในภาษาไทย เพราะ
ช ออกเสียงเป็น
ซ อยู่แล้วนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีอีกตัวที่เสียงอ่านต่างจากภาษาไทย นั่นคือตัว
ຍ ซึ่งเทียบได้กับ
ญ ในภาษาไทย แต่ในภาษาไทยเสียง
ญ กลายเป็น
ย ไป ในขณะที่ในภาษาลาว เสียง
ญ ยังรักษาเสียงเดิมไว้ จึงไม่ได้ทิ้งอักษรตัวนี้ไป
เพียงแต่จริงๆแล้วอักษร
ຍ เองก็ไม่ได้เทียบเท่ากับ
ญ ซะทีเดียว เพราะมันถูกเพิ่มมาจาก
ຢ (หางยาวกว่า) ซึ่งเทียบเท่ากับ
ย ในภาษาไทย เพียงแต่
ຍ (หางสั้น) ถูกนำไปวางในตำแหน่งของอักษร
ญ เพราะเสียงเหมือนกัน
นอกจากนี้แล้ว อักษร
ສ ในภาษาลาว ซึ่งเทียบเท่ากับอักษร
ส นั้นก็จริงๆแล้วไม่ได้อยู่ในตำแหน่งระหว่าง
ວ และ
ຫ ดังในตารางนี้ แต่ถูกย้ายไปแทนที่ตำแหน่งของ
ฉ นั่นคือข้างหน้า
ช ซึ่งออกเสียงเป็น
ซ ไปแทน
ถ้าภาษาไทยก็ตัดอักษรออกแบบภาษาลาว จะเห็นว่าอักษรลาวนั้นใกล้เคียงกับอักษรไทยมาก อาจเรียกได้ว่าอักษรลาวก็เหมือนเป็นอักษรไทยที่ตัดตัวที่เสียงซ้ำกันทิ้งไปจนทำให้เรียบง่ายขึ้น
ดังนั้นก็เลยน่ามาลองคิดดูสักหน่อยว่าหากอักษรไทยตัดตัวที่เสียงซ้ำออกไปแบบภาษาลาวบ้าง จะกลายเป็นอย่างไร
ผลที่ได้ก็จะเป็นดังตารางนี้
|
เสริม อักษร กลาง |
อักษร กลาง |
อักษร สูง |
เสริม อักษร สูง |
อักษร ต่ำคู่ |
เสริม อักษร ต่ำคู่ |
|
อักษร ต่ำเดี่ยว |
วรรค กะ |
|
ก |
ข |
|
ค |
|
|
ง |
วรรค จะ |
|
จ |
ฉ |
|
ช |
ซ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วรรค ตะ |
ด |
ต |
ถ |
|
ท |
|
|
น |
วรรค ปะ |
บ |
ป |
ผ |
ฝ |
พ |
ฟ |
|
ม |
เศษวรรค |
อักษร ต่ำเดี่ยว |
ย |
ร |
ล |
ว |
อักษร สูง |
|
|
ส |
ห |
ที่เหลือ |
|
อ |
ฮ |
|
โดยรวมแล้วแทบจะเหมือนกับอักษรลาว เพียงแต่อักษรไทยมีเสียง
ฉ/ช แยกกับ
ส/ซ ชัดเจน ดังนั้นจึงไม่มีการตัด
ฉ ทิ้ง และยังต้องมีการเพิ่ม
ซ เข้ามาด้วย
อย่างไรก็ตาม เสียง
ญ ในภาษาไทยเสียงเหมือนกับ
ย จึงอาจถูกตัดทิ้งไปเช่นกัน
ดังนั้นโดยรวมแล้วแม้ภาษาไทยจะตัดอักษรที่เสียงซ้ำไปก็ยังคงจะเหลืออักษรมากกว่าอักษรลาวอยู่ ๑ ตัว คือเป็น ๒๘ ตัว
อันที่จริงเคยมีความเคลื่อนไหวเพื่อจะยุบอักษรไทยที่เสียงซ้ำกันทั้ง ซึ่งเกิดขึ้นในยุคจอมพล แปลก พิบูลสงคราม (ปี 1938-1944) แต่ก็ทำไม่สำเร็จ สุดท้ายก็เลยยังใช้อักษร ๔๒ ตัวมาจนถึงปัจจุบัน
เทียบกับอักษรเขมร ๓๕ ตัว อักษรไทย ๓๕ ตัวนั้นพัฒนาจากอักษรพราหมีโดยผ่านทางอักษรเขมรมาอีกที และอักษรเขมรก็ใช้อยู่แค่ ๓๕ ตัวโดยที่ไม่มีการเพิ่มเข้ามาเลย ดังนั้นทั้ง ๓๕ ตัวในอักษรเขมรจึงเทียบได้กับอักษรพราหมีโดยตรง
หากเขียนตารางแสดงอักษรเหมือนที่เขียนกับอักษรเทวนาครีแต่เปลี่ยนเป็นอักษรเขมรจะเขียนได้ดังนี้
|
เสียงกัก ไม่ก้อง ไม่ปล่อยลม |
เสียงกัก ไม่ก้อง ปล่อยลม |
เสียงกัก ก้อง ไม่ปล่อยลม |
เสียงกัก ก้อง ปล่อยลม |
เสียงออกจมูก |
เพดานอ่อน |
ក
ก
|
ខ
ข
|
គ
ค
|
ឃ
ฆ
|
ង
ง
|
เพดานแข็ง |
ច
จ
|
ឆ
ฉ
|
ជ
ช
|
ឈ
ฌ
|
ញ
ญ
|
ปลายลิ้นม้วน |
ដ
ฏ
|
ឋ
ฐ
|
ឌ
ฑ
|
ឍ
ฒ
|
ណ
ณ
|
ปุ่มเหงือก |
ត
ต
|
ថ
ถ
|
ទ
ท
|
ធ
ธ
|
ន
น
|
ริมฝีปาก |
ប
ป
|
ផ
ผ
|
ព
พ
|
ភ
ภ
|
ម
ม
|
เศษวรรค |
เสียงเปิด |
យ
ย
|
រ
ร
|
ល
ล
|
វ
ว
|
เสียงกัก เสียดแทรก |
ឝ
ศ
|
ឞ
ษ
|
ស
ส
|
ហ
ห
|
ที่เหลือ |
ឡ
ฬ
|
អ
อ
|
|
ในตารางนี้อักษรที่รับมาใช้แล้วต่างไปจากเสียงเดิมในภาษาสันสกฤตจะเขียนแทนด้วยตัวสีเขียว ซึ่งจะเห็นว่าเกือบจะเหมือนกับภาษาไทยทั้งหมด (ยกเว้นเสียง
ញ (ญ) ไม่ได้หายไปแบบภาษาไทย) คือไม่มีเสียงในวรรค
ปลายลิ้นม้วนกับกลุ่ม
เสียงกักก้อง จึงทำให้เกิดเสียงซ้ำกันขึ้น ยุบไปรวมกับ
เสียงกักไม่ก้องแทน
แต่ที่น่าสนใจก็คือ อักษร
ត (ต) กับ
ប (บ) นั้นจริงๆแล้วออกเสียงได้ ๒ แบบ คล้ายกับปัญหาที่เจอในอักษร
ฑ ในภาษาไทย
โดย
ត อาจออกเสียงเป็น
ด หรือ
ต ก็ได้แล้วแต่คำ ส่วน
ប อาจออกเสียงเป็น
บ หรือ
ป หมายความว่าเสียง
ต กับ
ป ในภาษาเขมรก็ถูกแตกออกมาเป็นเสียง
ด ต กับ
บ ป เช่นเดียวกับในภาษาไทย แต่อักษรเขมรไม่ได้ทำการสร้างอักษรใหม่ขึ้นมาทำให้เกิดเป็นตัวที่อ่านได้ ๒ เสียง ต้องมาจำแยกว่าคำไหนออกเสียงอย่างไรกันเอาเอง ดังนั้นการที่ภาษาไทยสร้างอักษรเพิ่มจึงดูจะเป็นเรื่องที่สมควรแล้ว แต่ถ้าหากแก้ปัญหาเรื่องตัว
ฑ ด้วยก็คงจะดีกว่านี้
เทียบกับอักษรพม่าและอักษรทิเบต สำหรับอักษรพม่าและอักษรทิเบตนั้นก็มีความน่าสนใจเช่นกัน เพราะวิวัฒนาการไปในลักษณะที่ต่างไปจากอักษรไทย ลาว เขมร อีกคนละแบบ เป็นเอกลักษณ์ต่างกันออกไป
เรื่องเกี่ยวกับอักษรพม่านั้นได้เคยเขียนถึงไปในบทความเรื่อง
หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาพม่า ส่วนเรื่องของอักษรทิเบตนั้นได้เคยเขียนถึงไปในบทความเรื่อง
หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาทิเบต ดังนั้นสำหรับในที่นี้จะขอละรายละเอียดไว้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถตามไปอ่านได้ที่บทความเหล่านี้
เปรียบเทียบตัวอักษรพยัญชนะ ๗ ชนิด ต่อไปนี้ลองเอาพยัญชนะของอักษรชนิดต่างๆในกลุ่มนี้มาสรุปจัดเรียงเทียบเป็นตารางดู โดยในที่นี้จะแสดงแค่ ๗ ชนิด ซึ่งได้พูดถึงเป็นหลักมาในบทความนี้
สำหรับอักษรที่ถูกตัดทิ้งไปในภาษานั้นๆจะเว้นว่างไว้แล้วระบายเป็นช่องสีเทา
อักษร พราหมี |
อักษร เทวนาครี |
อักษร ไทย |
อักษร ลาว |
อักษร เขมร |
อักษร พม่า |
อักษร ทิเบต |
𑀓 |
क |
ก |
ກ |
ក |
က |
ཀ |
𑀔 |
ख |
ข |
ຂ |
ខ |
ခ |
ཁ |
𑀕 |
ग |
ค |
ຄ |
គ |
ဂ |
ག |
𑀖 |
घ |
ฆ |
|
ឃ |
ဃ |
|
𑀗 |
ङ |
ง |
ງ |
ង |
င |
ང |
𑀘 |
च |
จ |
ຈ |
ច |
စ |
ཅ |
𑀙 |
छ |
ฉ |
|
ឆ |
ဆ |
ཆ |
𑀚 |
ज |
ช |
ຊ |
ជ |
ဇ |
ཇ |
𑀛 |
झ |
ฌ |
|
ឈ |
ဈ |
|
𑀜 |
ञ |
ญ |
ຍ |
ញ |
ည |
ཉ |
𑀝 |
ट |
ฏ |
|
ដ |
ဋ |
|
𑀞 |
ठ |
ฐ |
|
ឋ |
ဌ |
|
𑀟 |
ड |
ฑ |
|
ឌ |
ဍ |
|
𑀠 |
ढ |
ฒ |
|
ឍ |
ဎ |
|
𑀡 |
ण |
ณ |
|
ណ |
ဏ |
|
𑀢 |
त |
ต |
ຕ |
ត |
တ |
ཏ |
𑀣 |
थ |
ถ |
ຖ |
ថ |
ထ |
ཐ |
𑀤 |
द |
ท |
ທ |
ទ |
ဒ |
ད |
𑀥 |
ध |
ธ |
|
ធ |
ဓ |
|
𑀦 |
न |
น |
ນ |
ន |
န |
ན |
𑀧 |
प |
ป |
ປ |
ប |
ပ |
པ |
𑀨 |
फ |
ผ |
ຜ |
ផ |
ဖ |
ཕ |
𑀩 |
ब |
พ |
ພ |
ព |
ဗ |
བ |
𑀪 |
भ |
ภ |
|
ភ |
ဘ |
|
𑀫 |
म |
ม |
ມ |
ម |
မ |
མ |
𑀬 |
य |
ย |
ຢ |
យ |
ယ |
ཡ |
𑀭 |
र |
ร |
ຣ |
រ |
ရ |
ར |
𑀮 |
ल |
ล |
ລ |
ល |
လ |
ལ |
𑀯 |
व |
ว |
ວ |
វ |
ဝ |
ཝ |
𑀰 |
श |
ศ |
|
ឝ |
|
ཤ |
𑀱 |
ष |
ษ |
|
ឞ |
|
|
𑀲 |
स |
ส |
ສ |
ស |
သ |
ས |
𑀳 |
ह |
ห |
ຫ |
ហ |
ဟ |
ཧ |
𑀴 |
ळ |
ฬ |
|
ឡ |
ဠ |
|
𑀅 |
अ |
อ |
ອ |
អ |
အ |
ཨ |
ที่เหลือ |
ฃ ฅ ซ ฏ ด บ ฝ ฟ ฮ |
ດ ບ ຝ ຟ ຮ |
|
|
ཙ ཚ ཛ ཞ ཟ འ |
ช่องสุดท้ายนั้นแสดงอักษรที่เพิ่มเข้ามาจาก ๓๕ ตัวแรก โดยอักษรไทยมี ๙ ตัว อักษรลาว ๕ ตัว อักษรทิเบต ๖ ตัว ส่วนอักษรเทวนาครีนั้นจริงๆก็มีเพิ่มมาหลายตัวโดยการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้ในภาษาอะไร ซึ่งในที่นี้จะไม่ขอพูดถึง
สระในอักษรไทยที่มีรากมาจากอักษรพราหมี ที่ผ่านมาเขียนถึงแต่เรื่องของพยัญชนะ แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าอักษรไทยนั้นนอกจากมีพยัญชนะแล้วก็ยังต้องประกอบด้วยสระที่มาเกาะอยู่กับพยัญชนะด้วยเพื่อที่จะกลายเป็นหน่วยเสียงขึ้นมา ซึ่งนี่ก็เป็นลักษณะร่วมกันของอักษรตระกูลพราหมี
สระในอักษรไทยก็ยืนพื้นมาจากสระในอักษรพราหมี เพียงแต่ว่าในภาษาไทยมีสระเยอะกว่านั้นมาก จึงได้มีการใส่เพิ่มเข้ามาใหม่ด้วย
ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงเสียงสระทั้งหมดในภาษาไทยและที่มาจากอักษรพราหมี และใส่อักษรเทวนาครีเปรียบเทียบไว้ด้วย
โดยสระนั้นต้องมีพยัญชนะเป็นตัวเกาะ ดังนั้นในที่นี้จะใช้พยัญชนะ
𑀓 = क = ก เป็นหลัก ส่วนที่ไม่มีในอักษรพราหมีเดิมคือที่เพิ่มเข้ามาในภาษาไทยเองนั้นจะเขียนเป็นสีชมพูเข้ม ส่วนที่มีในอักษรพราหมีจะเขียนเป็นสีดำ
สระเสียงสั้น |
|
สระเสียงยาว |
อักษร พราหมี |
อักษร เทวนาครี |
อักษร ไทย |
อักษร พราหมี |
อักษร เทวนาครี |
อักษร ไทย |
𑀓 |
क |
กะ |
𑀓𑀸 |
का |
กา |
𑀓𑀺 |
कि |
กิ |
𑀓𑀻 |
की |
กี |
|
|
กึ |
|
|
กือ |
𑀓𑀼 |
कु |
กุ |
𑀓𑀽 |
कू |
กู |
|
कॆ |
เกะ |
𑀓𑁂 |
के |
เก |
|
कॅ |
แกะ |
|
|
แก |
|
कॊ |
โกะ |
𑀓𑁄 |
को |
โก |
|
|
เกาะ |
|
|
กอ |
|
|
เกอะ |
|
|
เกอ |
|
|
กัวะ |
|
|
กัว |
|
|
เกียะ |
|
|
เกีย |
|
|
เกือะ |
|
|
เกือ |
สระเกิน |
|
|
กำ |
|
|
|
|
ใก |
𑀓𑁃 |
कै |
ไก |
𑀓𑁅 |
कौ |
เกา |
𑀓𑀾 |
कृ |
กฤ |
𑀓𑀿 |
कॄ |
กฤๅ |
𑀓𑁀 |
कॢ |
กฦ |
𑀓𑁁 |
कॣ |
กฦๅ |
สระที่มาจากอักษรพราหมีนั้นทั้งหมดมีสระเดี่ยว ๘ ตัวคือ
อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ โดยที่อักษรพราหมีและเทวนาครีนั้นพยัญชนะที่ไม่ได้เติมรูปสระจะถือว่ามีเสียงสระอะอยู่ในตัวอยู่แล้วดังนั้นในที่นี้จึงแสดงเป็นพยัญชนะ
𑀓 = क = ก นอกจากนี้มีสระเกิน ๖ ตัวคือ
ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ รวมทั้งหมดแล้วเป็น ๑๔ สระ
ในที่นี้สระ
เอะ แอะ โอะ แม้ว่าจะไม่มีในอักษรพราหมีแต่มีในอักษรเทวนาครี จึงใส่ของอักษรเทวนาครีมาด้วย แต่ก็นับว่าเป็นอักษรที่เพิ่มเข้ามาในภาษาไทยเอง
ในขณะที่ในภาษาไทยจะเติม
ะ เข้าไปชัดเจน
สระที่เพิ่มเติมเข้ามาในภาษาไทยนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น ได้แก่
อึ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ ซึ่งอาจจำง่ายๆว่าส่วนใหญ่เป็นสระที่มี
ะ เป็นตัวประกอบ
นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสระเดี่ยวเสียงยาวได้แก่
อือ แอ เออ ออ ส่วนสระประสมได้แก่
เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว นั้นล้วนเพิ่มขึ้นมาใหม่เองในภาษาไทย โดยไม่ได้สร้างอักษรเพิ่มแต่อย่างใด แค่เอารูปสระหรือพยัญชนะที่มีอยู่แล้วมาประกอบกัน
นอกจากนี้ในภาษาไทยยังมีไม้ม้วน
ใ ซึ่งถูกเพิ่มเข้ามาเพราะเดิมทีออกเสียงต่างจาก
ไ โดยเสียง
ไ นั้นคือเสียงประสมจาก
อะ+อิ แต่ไม้ม้วนนั้นเดิมทีจะเป็นเสียงประสมจาก
อะ+อึ แต่ในปัจจุบันเสียงนี้ได้หายไป ทำให้ไม้ม้วนกลับมาออกเสียง
อะ+อิ เหมือน
ไ แต่รูปไม้ม้วนก็ยังถูกเก็บไว้ใช้ในคำ ๒๐ คำ ที่อยู่ในกลอน ๒๐ ม้วน
เทียบสระของอักษร ๗ ชนิด ต่อไปจะขอแสดงการเขียนสระใน ๗ อักษรเปรียบเทียบกัน โดยใช้พยัญชนะ
𑀓 क ก ກ ក က ཀ (ทั้งหมดเทียบเท่าตัว
ก) เป็นพื้น
อักษร พราหมี |
อักษร เทวนาครี |
อักษร ไทย |
อักษร ลาว |
อักษร เขมร |
อักษร พม่า |
อักษร ทิเบต |
𑀓𑀸 |
का |
กา |
ກາ |
កា |
ကာ |
ཀཱ |
𑀓𑀺 |
कि |
กิ |
ກິ |
កិ |
ကိ |
ཀི |
𑀓𑀻 |
की |
กี |
ກີ |
កី |
ကီ |
ཀཱི |
𑀓𑀼 |
कु |
กุ |
ກຸ |
កុ |
ကု |
ཀུ |
𑀓𑀽 |
कू |
กู |
ກູ |
កូ |
ကူ |
ཀཱུ |
𑀓𑁂 |
के |
เก |
ເກ |
កេ |
ကေ |
ཀེ |
𑀓𑁃 |
कै |
ไก |
ໄກ |
កៃ |
|
|
𑀓𑁄 |
को |
โก |
ໂກ |
កោ |
|
ཀོ |
𑀓𑁅 |
कौ |
เกา |
ເກົາ |
កៅ |
ကော် |
|
𑀓𑀾 |
कृ |
กฤ |
|
ក្ឫ |
ကၖ |
ཀྲྀ |
𑀓𑀿 |
कॄ |
กฤๅ |
|
ក្ឬ |
ကၗ |
ཀཷ |
𑀓𑁀 |
कॢ |
กฦ |
|
ក្ឭ |
ကၘ |
ཀླྀ |
𑀓𑁁 |
कॣ |
กฦๅ |
|
ក្ឮ |
ကၙ |
ཀླཱྀ |
จะเห็นว่าไม่ว่าจะในภาษาไหนก็ตาม สระถูกเติมเข้ามาด้านบนล่างหน้าหลังเพื่อประกอบกับพยัญชนะ โดยอาจมีตำแหน่งวางต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วจะเห็นว่าคล้ายกัน
สำหรับในภาษาลาวกับทิเบตนั้นก็ได้ยกเลิก
ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไปหมด ใช้
ຣ (ລ) ར กับ
ລ ལ ตามเสียงอ่านแทน
สระลอยในอักษรต่างๆในตระกูลพราหมี สระที่เราคุ้นเคยกันในอักษรไทยนั้นมีที่มาจาก "สระจม" ในอักษรพราหมี โดยสระจมนั้นหมายถึงสระที่จะอยู่เดี่ยวๆไม่ได้ (ยกเว้น
ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ) ต้องเกาะติดกับพยัญชนะเพื่อจะเกิดเป็นหน่วยเสียงขึ้นมา
แต่เดิมทีในอักษรพราหมี รวมถึงอักษรเทวนาครีนั้นมีสระที่เรียกว่า "สระลอย" ซึ่งเอาไว้ใช้อ่านเสียงพยัญชนะ
อ ซึ่งต้องจำแยกต่างหากอีกที และในอักษรพม่ากับเขมรก็ยังมีการใช้สระลอยเหล่านี้อยู่ด้วย แต่ในอักษรไทย ลาว ทิเบต ได้ยุบรวมเป็นสระจมทั้งหมด เพราะจริงๆแล้วสระลอยก็คือสระจมที่มีเสียงพยัญชนะเป็น
อ นั่นเอง จึงสามารถเขียนแทนด้วยพยัญชนะ
อ + สระจม
ดังนั้นหากดูในแง่นี้แล้วอักษรไทยถือว่าดูเรียบง่ายลงมาหน่อยเมื่อเทียบกับอักษรเขมรและพม่า เพราะไม่ต้องมาจำสระลอย
ต่อไปนี้เป็นตารางสระลอย
อักษร พราหมี |
อักษร เทวนาครี |
อักษร ไทย |
อักษร ลาว |
อักษร เขมร |
อักษร พม่า |
อักษร ทิเบต |
𑀆 |
आ |
อา |
ອາ |
ឤ |
အာ |
ཨཱ |
𑀇 |
इ |
อิ |
ອິ |
ឥ |
ဣ |
ཨི |
𑀈 |
ई |
อี |
ອີ |
ឦ |
ဤ |
ཨཱི |
𑀉 |
उ |
อุ |
ອຸ |
ឧ |
ဥ |
ཨུ |
𑀊 |
ऊ |
อู |
ອູ |
ឩ |
ဦ |
ཨཱུ |
𑀏 |
ए |
เอ |
ເອ |
ឯ |
ဧ |
ཨེ |
𑀐 |
ऐ |
ไอ |
ໄອ |
ឰ |
|
|
𑀑 |
ओ |
โอ |
ໂອ |
ឱ |
|
ཨོ |
𑀒 |
औ |
เอา |
ເອົາ |
ឳ |
ဪ |
|
𑀋 |
ऋ |
ฤ |
|
ឫ |
ၒ |
རྀ |
𑀌 |
ॠ |
ฤๅ |
|
ឬ |
ၓ |
རཱྀ |
𑀍 |
ऌ |
ฦ |
|
ឭ |
ၔ |
ལྀ |
𑀎 |
ॡ |
ฦๅ |
|
ឮ |
ၕ |
ལཱྀ |
ในที่นี้ของภาษาไทย ลาว ทิเบต จะใส่เป็น
อ, ອ, ཨ + สระจม ส่วนภาษาพม่านั้นบางตัวไม่มีสระลอย ก็ใช้เป็น
အ + สระจม เหมือนกัน
อนึ่ง
ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ นั้นในภาษาไทยไม่มีการแยกรูปสระจมกับสระลอย แต่ดูจากลักษณะการเขียนแล้วจะใกล้เคียงกับสระลอยมากกว่า เพราะอยู่เดี่ยวๆโดยไม่มีพยัญชนะก็ได้
ตัวเลข สุดท้ายนี้ขอแถมเรื่องของตัวเลขสักหน่อย เพราะอักษรในตระกูลพราหมีนั้นล้วนมีตัวเลขเป็นของตัวเอง ซึ่งก็มีหน้าตาคล้ายๆกันเพราะพัฒนามาจากรากเดียวกัน รวมถึงเลขอารบิกที่ใช้เป็นสากลทั่วโลกในตอนนี้เองก็เช่นกัน
เลข อารบิก |
เลข พราหมี |
เลข เทวนาครี |
เลข ไทย |
เลข ลาว |
เลข เขมร |
เลข พม่า |
เลข ทิเบต |
0 |
𑁦 |
० |
๐ |
໐ |
០ |
၀ |
༠ |
1 |
𑁧 |
१ |
๑ |
໑ |
១ |
၁ |
༡ |
2 |
𑁨 |
२ |
๒ |
໒ |
២ |
၂ |
༢ |
3 |
𑁩 |
३ |
๓ |
໓ |
៣ |
၃ |
༣ |
4 |
𑁪 |
४ |
๔ |
໔ |
៤ |
၃ |
༤ |
5 |
𑁫 |
५ |
๕ |
໕ |
៥ |
၅ |
༥ |
6 |
𑁬 |
६ |
๖ |
໖ |
៦ |
၆ |
༦ |
7 |
𑁭 |
७ |
๗ |
໗ |
៧ |
၇ |
༧ |
8 |
𑁮 |
८ |
๘ |
໘ |
៨ |
၈ |
༨ |
9 |
𑁯 |
९ |
๙ |
໙ |
៩ |
၉ |
༩ |
สรุปส่งท้าย จะเห็นได้ว่าอักษรไทยนั้นมีที่มาจากอักษรพราหมี ๓๕ ตัว และเพิ่มมาอีก ๙ ตัว โดยที่อักษรชนิดอื่นๆในตระกูลพราหมีก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน และมีการเพิ่มอักษรเข้าไปเพื่อให้เข้ากับภาษาของตัวเอง
การศึกษาที่มาของอักษรจะช่วยให้เราเข้าใจว่าทำไมอักษรไทยจึงจัดเรียงและแบ่งกลุ่มเป็นแบบนี้ รวมถึงสะดวกเวลาที่ศึกษาภาษาเพื่อนบ้านด้วย เพราะอักษรเหล่านี้สามารถเทียบเคียงกันได้เป็นส่วนใหญ่
สำหรับเนื้อหาในบทความนี้ขอจบลงแต่เพียงเท่านี้ แต่หากใครสนใจอยากรู้เรื่องอักษรไหนในรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถหาอ่านได้ตามวิกิพีเดียและเว็บต่างๆ