φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาพม่า
เขียนเมื่อ 2019/12/27 23:10
แก้ไขล่าสุด 2023/03/20 18:24
ในบทความนี้จะอธิบายหลักการเขียนทับศัพท์ภาษาพม่าเป็นภาษาไทย โดยระบบการเขียนมีพื้นฐานมาจากหลักของราชบัณฑิต https://th.wikipedia.org/wiki/การทับศัพท์ภาษาพม่า

แต่ในที่นี้นำมาเรียบเรียงพร้อมอธิบายใหม่ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และมีการแก้หลักเพียงข้อเดียว คือใช้ "ธ" แทนเสียง သ‌ (เหมือน th ในภาษาอังกฤษ)

การทับศัพท์ในนี้ยึดตามอักษรพม่าเป็นหลัก แต่ก็มีการใช้อักษรโรมันประกอบไปด้วย

แต่หลักการถอดเสียงเป็นอักษรโรมันมีอยู่หลากหลาย ไม่ได้มีเกณฑ์ที่แน่ชัด สำหรับระบบที่จะใช้ในนี้เป็นระบบที่เรียบเรียงโดยยึดตามวิธีสะกดที่มักใช้ทั่วไป ซึ่งยึดตามเสียงอ่านมากกว่าที่จะยึดติดกับตัวสะกด



พยัญชนะ



อักษรพม่าโดยพื้นฐานแล้วมี ๓๓ ตัวซึ่งมาจากภาษาบาลีเช่นเดียวกับภาษาไทย คือแบ่งเป็น ๕ แถว ๕ วรรค รวมเป็น ๒๕ ตัว และเศษวรรคอีก ๘ ตัว แต่ละตัวสามารถเทียบเคียงกับอักษรในภาษาไทยได้เป็นตัวๆตามนี้

  เสียงไม่ปล่อยลม เสียงปล่อยลม เสียงก้อง เสียงออกจมูก
วรรคกะ က

ข (ค)

ค (/g/≈ก)

ฆ (/g/≈ก)

วรรคจะ
จ (ซ)

ฉ (/sʰ/≈ซ)

ช (/z/≈ซ)

ฌ (/z/≈ซ)

ญ (/ɲ/=ญ)
วรรคฏะ
ฏ (ต)

ฐ (ท)

ฑ (ด)

ฒ (ด)

ณ (น)
วรรคตะ

ถ (ท)

ท (ด)

ธ (ด)

วรรคปะ

ผ (พ)

พ (บ)

ภ (บ)

เศษวรรค


ร/ย *

ဝ‌
သ‌
ส (/θ/≈ธ)


ฬ (ล)


ตัวที่ใส่พื้นสีเขียวคือที่เสียงอ่านเหมือนกับในภาษาไทยเลย จึงอาจจำเป็นคู่ตามนี้ได้ง่าย

เพียงแต่อักษร ရ ซึ่งตรงกับ "ร" ในภาษาไทยนั้น ในคำส่วนใหญ่จะออกเสียงกลายเป็น "ย" แต่จะออกเสียง "ร" เหมือนในภาษาไทยเฉพาะในคำส่วนน้อยซึ่งมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น
 
ส่วนที่เป็นสีฟ้าคืออักษรที่มีเสียงไม่ตรงกับตัวที่เป็นรากเดียวกันในภาษาไทย แต่ไปตรงกับเสียงอื่นที่มีในภาษาไทยแทน คือเสียงที่อยู่ในวงเล็บด้านขวา

ส่วนช่องสีส้มคืออักษรที่ไม่สามารถแทนเสียงอ่านเป็นภาษาไทยได้ตรง ได้แต่ใช้อักษรพอจะเทียบเคียงแทนได้ ซึ่งอาจมีไปซ้ำกับเสียงอื่น

ဂ และ ဃ เป็นเสียงเหมือน g ในภาษาอังกฤษ จึงให้ทับศัพท์แทนด้วย "ก"

ဆ เป็นเสียง "ซ" แบบปล่อยลม จึงให้ทับศัพท์แทนด้วย "ซ"

ဇ และ ဈ เป็นเสียงเหมือน z ในภาษาอังกฤษ จึงให้ทับศัพท์แทนด้วย "ซ"

ည เป็นเสียงเหมือน "ญ" ในภาษาลาวหรืออีสาน ซึ่งจริงๆแล้วออกเสียงต่างจาก "ย" ในที่นี้ให้เขียนแทนด้วย "ญ" ไป

อักษร ည จะถูกเขียนเป็น ဉ เมื่อใช้กับสระอา ( ာ) กลายเป็น ဉာ หรือใช้เป็นตัวสะกด เขียนเป็น ဉ်

သ‌ เป็นเสียงเหมือน th ในภาษาอังกฤษ (IPA แทนด้วย /θ/ หรือ /ð/ แล้วแต่คำ) จึงให้ทับศัพท์แทนด้วย "ธ" เหมือนอย่างในภาษาอังกฤษ แม้ว่าจริงๆ "ธ" ในภาษาไทยจะแสดงเสียงเหมือนกับ "ท" ก็จริง แต่ในที่นี้ให้ใช้ "ธ" แทนเสียงที่ต่างไป

นอกจากนี้ยังมีข้อยกเว้นอีกอย่างคืออักษร က หรือ ခ ในบางคำอาจถูกอ่านเป็น /g/ ได้
 
อักษร ဋ, ဌ, တ, ထ อาจถูกอ่านเป็น "ด" ได้

อักษร ပ หรือ ဖ อาจถูกอ่านเป็น "บ" ได้

ข้อยกเว้นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่แน่นอน จึงต้องจำเป็นคำๆ หรืออาจดูการทับศัพท์เป็นอักษรโรมันประกอบ โดยทั่วไปจะถูกแทนด้วย g d b ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษค่อนข้างตรงตัว จำได้ง่าย



และเช่นเดียวกับในภาษาไทย อักษรจำนวนมากเสียงซ้ำกัน และมีหลายตัวที่ถูกใช้แค่ในคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤตเท่านั้น คือพวก ฆ ฌ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ฬ จึงถือว่าหายาก เจอไม่บ่อย

อักษรเหล่านั้นทำเป็นพื้นสีเทาไว้ในตารางนี้ ได้แก่ ဃ, ဈ, ဋ, ဌ, ဍ, ဎ, ဏ, ဓ, ဠ

က = ก ခ = ข ဂ = ค ဃ = ฆ င = ง
စ = จ ဆ = ฉ ဇ = ช ဈ = ฌ ည = ญ
ဋ = ฏ ဌ = ฐ ဍ = ฑ ဎ = ฒ ဏ = ณ
တ = ต ထ = ถ ဒ = ท ဓ = ธ န = น
ပ = ป ဖ = ผ ဗ = พ ဘ = ภ မ = ม
ယ = ย ရ = ร လ = ล ဝ‌ = ว
သ‌ = ส ဟ = ห ဠ = ฬ အ = อ

เมื่อตัดตัวที่เสียงซ้ำและใช้น้อยไป ๙ ตัวดังนี้ก็จะเหลือแค่ ๒๔ ตัว คือ က, ခ, ဂ, င, စ, ဆ, ဇ, ည, တ, ထ, ဒ, န, ပ, ဖ, ဗ, ဘ, မ, ယ, ရ, လ, ဝ‌, သ‌, ဟ, အ ซึ่งแทนเสียงต่างกันทั้งหมด ยกเว้น ဗ กับ ဘ เท่านั้นที่แทนเสียง "ด" เหมือนกัน ทั้งหมดจึงแทนเสียงพยัญชนะต่างกัน ๒๓​ เสียง

นอกจากนี้ยังมีเสียงที่ได้จากการเอาอักษรมาประกอบกับสัญลักษณ์เพิ่มเติม คือ  ျ , ြ   ,  ှ

ปกติ  ှ เมื่อใส่ไปแล้วจะทำให้อักษรนั้นกลายเป็นเสียงปล่อยลม ยกเว้นเวลาเติมให้ ရ กลายเป็น ရှ จะกลายเป็นเสียง sh ไป

ส่วน  ျ และ ြ   นั้นปกติจะทำให้เกิดเสียงควบ ย แต่ในกรณีที่ใช้กับ က, ခ, ဂ จะทำให้เกิดเสียงพยัญชนะใหม่แทน

อักษร ส่วนประกอบ เสียงอ่าน ทับศัพท์เป็น
ကျ က + ျ
ကြ က + ြ
ချ ခ + ျ
ခြ ခ + ြ
ဂျ ဂ + ျ /d͡ʑ/ คล้าย j ในภาษาญี่ปุ่น
ဂြ ဂ + ြ
ရှ ရ + ှ /ʃ/ คล้าย sh ในภาษาอังกฤษ
ယှ ယ + ှ
လျှ လ + ျ + ှ
မှ မ + ှ "ม"​ แบบปล่อยลม
နှ န + ှ "น" แบบปล่อยลม
ညှ ည + ှ "ญ" แบบปล่อยลม
ငှ င + ှ "ง" แบบปล่อยลม
ဝှ ဝ + ှ "ว" แบบปล่อยลม
လှ လ + ှ "ล" แบบปล่อยลม
ငြ င + ြ "ญ" แบบภาษาลาว

ทั้งหมดนี้ได้เสียงพยัญชนะต้นต่างกันเพิ่มอีก ๑๐ เสียง ยกเว้นแค่ ငြ = င + ြ ซึ่งประสมแล้วได้เสียง "ญ" ซึ่งซ้ำกับ ည

รวมทั้งหมดแล้วภาษาพม่ามีเสียงพยัญชนะต้น ๓๓ เสียง ถ้านับเสียงของ သ‌ (/θ/ และ /ð/) แยกเป็น ๒ เสียงก็จะถือว่ามี ๓๔ เสียง


ต่อไปเป็นตารางสรุปโดยแบ่งตามเสียง พร้อมยกตัวอย่าง

อักษร IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
ตัวอย่าง
က /k/ k ကို = ko = โก
/kʰ/ kh ခွန် = khun = คูน


က บางส่วน
ခ บางส่วน
/g/ g ဂီတ = gita = กีตะ
ဃကြီ = gagyi = กะจี
/ŋ/ ng ငါး = ngar = งา
/s/ s စိတ် = seit = เซะ
/sʰ/ hs ဆိုင် = hsaing = ไซง์


စ บางส่วน
ဆ บางส่วน
/z/ z ဇနီ = zani = ซะนี
ဈာပန = zarpana = ซาปะนะ
စေတီ = zedi = เซดี


ငြ
/ɲ/ ny ညီမ = nyima = ญีมะ
ဉာဏ် = nyan = ญาน
ငြာ = nyar = ญา

/t/ t ဋ = ta = ตะ
တူ = tu = ตู

/tʰ/ ht ဌေး = hte = เท
ထိုင် = htaing = ไทง์




ဋ บางส่วน
တ บางส่วน
ဌ บางส่วน
ထ บางส่วน
/d/ d ဍ = da = ดะ
ဎ = da = ดะ
ဒီ = di = ดี
ဓား = dar = ดา
စေတီ = zedi = เซดี

/n/ n ခဏ = khana = คะนะ
နှစ် = nit = นิ
/p/ p ပူ = pu = ปู

ဘ บางส่วน
/pʰ/ hp ဖင် = hpin = พีน
ဘုရား = hpayar = พะยา


ပ บางส่วน
ဖ บางส่วน
/b/ b ဗီဇ = biza = บีซา
ဘား = bar = บา
/m/ m မတ် = mat = มะ

/j/ y ယို = yo = โย
ရက် = yaet = แยะ
ရ บางส่วน /r/ r ရသ = ratha = ระธะ

/l/ l လင် = lin = ลีน
ဠ = la = ละ
ဝ‌ /w/ w ဝါ = wa = วา
သ‌ /θ/
/ð/
th သန်း = than = ธาน
/h/ h ဟုတ် = houk = โฮะ
/ʔ/ - အင်း = in = อีน
ကျ
ကြ
/t͡ɕ/ ky ကျဲ = kyae = แจ
ကြက် = kyaet = แจะ
ချ
ခြ
/t͡ɕʰ/ ch ချေ = che = เช
ခြင် = chin = ชีน
ဂျ
ဂြ
/d͡ʑ/ gy ဂျူး = gyu = จู
ဂြိုဟ် = gyo = โจ
ရှ
လျှ
/ʃ/ sh ရှင် = shin = ชีน
လျှာ = shar = ชา
ငှ /ŋ̊/ hng ငှက် = hnget = แงะ
ညှ
ငြှ
/ɲ̥/ hny ညှပ် = hnyat = ญะ
ငှက် = hnyaet = แญะ
နှ /n̥/ hn နှမ်း = hnan = นาน
မှ /m̥/ hm မှန် = hman = มาน
လှ /l̥/ hl လှေ = hle = เล
ဝှ /ʍ/ hw ဝှက် = hwaet = แวะ

นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะเสียงควบที่ควบกับ ว หรือ ย

เสียงควบ ย เกิดจากการเติม  ျ หรือ ြ   ส่วนเสียงควบ ว เกิดจากการเติม   ွ

เพียงแต่มีข้อยกเว้นคืออักษร က, ခ, ဂ เมื่อเติม  ျ หรือ ြ   จะไม่ได้กลายเป็นเสียงควบ แต่กลายเป็นเสียงพยัญชนะอีกเสียงไปแทน ดังที่อธิบายไปก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ င เมื่อเติม ြ   ก็ไม่ได้กลายเป็นเสียงควบเช่นกัน แต่กลายเป็นเสียงเหมือน ည (ญ)

เวลาเขียนให้เขียนพยัญชนะ ๒ ตัวต่อกัน แต่กรณีที่ใช้กับสระที่วางด้านหน้า เช่น สระเอ สระแอ สระโอ ให้เอาอักษรตัวแรกแยกไว้ฝั่งซ้าย

สำหรับกรณีที่คำควบ ย ประสมกับสระอาให้เขียนเป็นสระเอียแทน เช่น ဖျံ (hpyan) เป็น "เพียน" ไม่ใช่ "พยาน" นอกนั้นให้เขียนควบ ย ตามปกติ

ตารางแสดงเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นเสียงควบ

อักษร IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
ตัวอย่าง
ပျ = ပ + ျ
ပြ = ပ + ြ
/pj/ py ปย ပျပျ = pyapya = เปียะเปียะ
ပြီ = pyi = ปยี
ဖျ = ဖ + ျ
ဖြ = ဖ + ြ
/pʰj/ hpy พย ဖျံ = hpyan = เพียน
ဖြေ = hpyi = พยี
ဗျ = ဗ + ျ
ဗြ = ဗ + ြ
ဗြိ = ဗ + ြ + ိ
/bj/ by บย ဗျစ် = byit = บยิ
ဗြဟ္မာ = byama = เบียมา
ဗြိစ္ဆာ = byeit-hsa = บเยะซา
မျ = မ + ျ
မြ = မ + ြ
/mj/ my มย မျိုး = myo = มโย
မြင် = myin = มยีน
လျ =လ + ျ /lj/ ly ลย လျက် = lyaet = ลแยะ
လျောင်း = lyaung = ลยอง
မျှ = မ + ျ + ှ
မြှ = မ + ြ + ှ
/m̥j/ hmy มย မျှင် = hmyin = มยีน
မြှား = hmya = มยา
ကွ = က + ွ /kw/ kw กว ကွင်း = kwin = กวีน
ခွ = ခ + ွ /kʰw/ khw คว ခွေး = khwe = คเว
ဂွ = ဂ + ွ /gw/ gw กว ဂွေး = gwe = กเว
ငွ = င + ွ /ŋw/ ngw งว ငွေ = ngwe = งเว
စွ = + ွ /sw/ sw ซว စွင့် = swin = ซวีน
ဆွ = + ွ /sʰw/ hsw ซว ဆွဲ = hswae = ซแว
တွ = တ + ွ /tw/ tw ตว တွင် = twin = ตวีน
ထွ = ထ + ွ /tʰh/ htw ทว ထွေ = htwe = ทเว
ဒွ = ဒ + ွ /dw/ dw ดว ဒွိလိင် = dwilein = ดวีเลน
နွ = န + ွ /nw/ nw นว နွား = nwar = นวา
ပွ = ပ + ွ /pw/ pw ปว ပွေး = pwe = ปเว
ဖွ = ဖ + ွ /pʰw/ hpw พว ဖွင့် = pwint = พวิน
ဗွ = ဗ + ွ
ဘွ = ဘ + ွ
/bw/ bw บว ဘွဲ့ = bwae = บแว
မွ = မွ + ွ /mw/ mw มว မွေး = mwe = มเว
ယွ = ယ + ွ
ရွ = ရ + ွ
/jw/ yw ยว ရွေး = ywe = ยเว
လွ = လ /lw/ lw ลว လွယ် = lyae = ลแว
သွ = သွ /θw/ thw ธว သွာ = thwa = ธวา
ကျွ = က + ျ + ွ
ကြွ =က + ြ + ွ
/t͡ɕw/ kyw จว ကျွဲ = kywe = จเว
ကြွက် = kywaet = จแวะ
ချွ = ခ + ျ + ွ
ခြွ =ခ + ြ + ွ
/t͡ɕʰw/ chw ชว ခြွင်း = shwin = ชวีน
ချွေးမ = shwema = ชเวมะ
ရွှ = ရ + ွ + ှ /ʃw/ shw ชว ရွှဲ = shwae = ชแว
နွှ = န + ွ + ှ /n̥jw/ hnw นว နွှေး = hnwe = นเว
မွှ = မ + ွ + ှ /m̥jw/ hmw มว မွှေး = hmwe = มเว
လွှ = လ + ွ + ှ /l̥w/ hlw ลว လွှ = hlwa = ลวา



สระและตัวสะกด

พยัญชนะต้นเมื่ออยู่โดดๆจะออกเสียงเป็นสระอะ (ə) แต่เมื่อมีสระมาต่อก็จะออกเสียงตามสระนั้น

สระในภาษาพม่าอาจแบ่งได้เป็น ๓​ กลุ่มใหญ่คือ
- สระเดี่ยว
- สระ + ตัวสะกด
- สระ + เสียงกักเส้นเสียง (คำตาย)

สระที่ตามด้วยตัวสะกดหรือเสียงกักเส้นเสียงอาจเป็นสระเดี่ยวหรือสระควบสองเสียงก็ได้ แต่ไม่มีสระควบสองเสียงอยู่โดดๆ

โดยพื้นฐานแล้วภาษาพม่ามีสระเดี่ยวทั้งหมด ๗ สระ โดยแต่ละสระยังแบ่งเป็น ๓ วรรณยุกต์ซึ่งเขียนต่างกัน เพียงแต่ในระบบทับศัพท์นี้จะไม่สนใจวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นคำที่สระเหมือนกันแต่วรรณยุกต์ต่างกันก็อาจทับศัพท์เหมือนกัน

เพียงแต่เมื่อต้องการเขียนให้แยกความแตกต่าง อาจทำได้โดยใส่เครื่องหมาย ~ ˋ ˊ ลงไปด้านขวา เพื่อแสดงเสียง แทนที่จะใช้วรรณยุกต์ในภาษาไทย เนื่องจากวรรณยุกต์ในภาษาพม่านี้เทียบเคียงกับในภาษาไทยได้ยาก

ตารางแสดงสระเดี่ยวและวรรณยุกต์ทั้งหมด

อักษร ส่วนประกอบ รวมกับพยัญชนะ IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
-   /a̰/, /ə/ a อะ~
ာ / ါ   အာ /à/ ar อาˋ
ား / ါး ာ / ါ + း အား /á/ ar อาˊ
  အိ /ḭ/ i อี~
  အီ /ì/ i อีˋ
ီး ီ + း အီး /í/ i อีˊ
  အု /ṵ/ u อู~
  အူ /ù/ u อูˋ
ူး ူ + း အူး /ú/ u อูˊ
ေ့ ေ + ့ အေ့ /ḛ/ e เอ~
  အေ /è/ e เอˋ
ေး ေ + း အေး /é/ e เอˊ
ဲ့ ဲ + ့ အဲ့ /ɛ̰/ ae แอ~
ယ် ယ + ် အယ် /ɛ̀/ ae แอˋ
  အဲ /ɛ́/ ae แอˊ
ို့ ိ + ု + ့ အို့ /o̰/ o โอ~
ို ိ + ု အို /ò/ o โอˋ
ိုး ိ + ု + း အိုး /ó/ o โอˊ
ော့ / ေါ့ ေ + ာ / ါ + ့ အော့ /ɔ̰/ aw ออ~
ော် / ေါ် ေ + ာ / ါ + ် အော် /ɔ̀/ aw ออˋ
ော / ေါ ေ + ာ / ါ အော /ɔ́/ aw ออˊ

สำหรับอักษรสระ  ါ นั้นมีไว้สำหรับใช้แทน ာ ในกรณีที่ใช้กับพยัญชนะ ဂ, ဝ, ခ, ပ, ဒ เพื่อไม่ให้สับสนกับอักษร က, တ, ဘ, ဟ, အ

นอกจากนี้แล้ว มีเสียง ည် ซึ่งเกิดจากการประกอบระหว่าง ည และ   ၲ ซึ่งอาจกลายเป็นได้ทั้งเสียง อี เอ แอ ไม่แน่นอน แล้วแต่คำ

อักษร ส่วนประกอบ IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
ည့် ည + ့ + ် /ḭ/ i อิ~
/ḛ/ e เอ~
/ɛ̰/ ae แอ~
ည် ည + ် /ì/ i อีˋ
/è/ e เอˋ
/ɛ̀/ ae แอˋ
ည်း ည + ် + း /í/ i อีˊ
/é/ e เอˊ
/ɛ́/ ae แอˊ

และยังมีอักษรส่วนหนึ่งที่เป็นพยัญชนะ "อ" + สระ ในตัว คือเป็นสระที่ไม่ต้องใช้ร่วมกับพยัญชนะต้น

อักษร ส่วน
ประกอบ
IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
  /ḭ/ i อี~
  /ì/ i อีˋ
  /ṵ/ u อู~
  /ù/ u อูˋ
ဦး ဦ + း /ú/ u อูˊ
  /ɛ̀/ ae แอˋ
ဧး ဧ + း /ɛ́/ ae แอˊ
  /ɔ̀/ au ออˋ
  /ɔ́/ au ออˊ


เมื่ออักษร င, န, မ, ဉ ไปประกอบกับ ် กลายเป็น င်, န်, မ်, ဉ် จะทำให้เกิดเสียงตัวสะกดที่เป็นเสียงกึ่ง "ง" กึ่ง "น" คล้ายในภาษาญี่ปุ่น ในการทับศัพท์อาจใช้ "ง" หรือ "น" แล้วแต่คำ แม้ว่าเสียงจะไม่ต่างกันก็ตาม

นอกจากนี้ก็มีเครื่องหมาย  ံ ซึ่งก็ทำให้เกิดเสียงตัวสะกดได้เช่นเดียวกัน

เมื่อสระกับตัวสะกดมาผสมกันจะทำให้เกิดเสียงสระที่ตามด้วยตัวสะกด ซึ่งจะต่างไปจากสระเดิม แล้วแต่ว่าจับคู่กับตัวไหน

นอกจากนี้  ွ เมื่อไปประกอบกับตัวสะกดจะเกิดเป็นสระใหม่ แทนที่จะกลายเป็นเสียงควบ "ว" เหมือนกรณีไร้ตัวสะกด

โดยรวมแล้วรูปแบบของเสียงสระที่ตามด้วยตัวสะกดมีดังนี้

อักษร ส่วนประกอบ เมื่อใส่
พยัญชนะต้น
IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
န့် န + ့ + ် အန့် /a̰ɴ/ ant อัน~
မ့် မ + ့ + ် အမ့်
ံ့ ံ + ့ အံ့
န် န + ် အန် /àɴ/ an อานˋ
မ် မ + ် အမ်
  အံ
န်း န + ် + း အန်း /áɴ/ an อานˊ
မ်း မ + ် + း အမ်း
ံး ံ + း အံး
င့် င + ့ + ် အင့် /ɪ̰ɴ/ int อิน~
ဉ့် ဉ + ့ + ် အဉ့်
င် င + ် အင် /ɪ̀ɴ/ in อีนˋ
ဉ် ဉ + ် အဉ်
င်း င + ် + း အင်း /ɪ́ɴ/ in อีนˊ
ဉ်း ဉ + ် + း အဉ်း
ိန့် ိ + န + ့ + ် အိန့် /ḛɪɴ/ ein เอน~
ိမ့် ိ + မ + ့ + ် အိမ့်
ိန် ိ + န + ် အိန် /èɪɴ/ ein เอนˋ
ိမ် ိ + မ + ် အိမ်
ိန်း ိ + န + ် + း အိန်း /éɪɴ/ ein เอนˊ
ိမ်း ိ + မ + ် + း အိမ်း
ုန့် ု + န + ့ + ် အုန့် /o̰ʊɴ/ ount  โอะน์~
ုမ့် ု + မ + ့ + ် အုမ့်
ုံ့ ု + ံ + ့ အုံ့
ုန် ု + န + ် အုန် /òʊɴ/ oun โอนˋ
ုမ် ု + မ + ် အုမ်
ုံ ု + ံ အုံ
ုန်း ု + န + ် + း အုန်း /óʊɴ/ oun โอนˊ
ုမ်း ု + မ + ် + း အုမ်း
ုံး ု + ံ + း အုံး
ိုင့် ိ + ု + င + ့ + ် အိုင့် /a̰ɪɴ/ aing ไอง์~
ိုင် ိ + ု + င + ် အိုင် /àɪɴ/ aing ไอง์ˋ
ိုင်း ိ + ု + င + ် + း အိုင်း /áɪɴ/ aing ไอง์ˊ
ောင့် ေ + ာ + င + ့ + ် အောင့် /àʊɴ/ aung ออง~
ောင် ေ + ာ + င + ် အောင် /a̰ʊɴ/ aung อองˋ
ောင်း ေ + ာ + င + ် + း အောင်း /áʊɴ/ aung อองˊ
ွန့် ွ + န + ့ + ် အွန့် /ʊ̰ɴ/ unt อุน~
ွမ့် ွ + မ + ့ + ် အွမ့်
ွန် ွ + န + ် အွန် /ʊ̀ɴ/ un อูนˋ
ွမ် ွ + မ+ ် အွမ်
ွန်း ွ + န + ် + း အွန်း /ʊ́ɴ/ un อูนˊ
ွမ်း ွ + မ + ် + း အွမ်း

อนึ่ง ဉ် ในที่นี้ไม่ใช่อักษร ဥ (อุ) แต่เป็น ဉ (ญ) ที่ประกอบกับ ် แล้วหางหดสั้นลง แม้จะคล้ายกันแต่ถือเป็นอักษรคนละตัว

เมื่ออักษร က, စ, တ, ပ ไปประกอบกับ ် กลายเป็น က်, စ်, တ်, ပ် จะทำให้เกิดเสียงกักเส้นเสียงขึ้นที่ท้ายพยางค์ โดยกรณีนี้จะไม่มีการแบ่งวรรณยุกต์ มีเพียงวรรณยุกต์เดียว ซึ่งแยกต่างหากจาก ๓​ วรรณยุกต์ในกรณีเสียงเปิด

อักษร ส่วนประกอบ เมื่อใส่
พยัญชนะต้น
IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
တ် တ + ် အတ် /aʔ/ at อะ
ပ် ပ + ် အပ်
က် က + ် အက် /ɛʔ/ aet แอะ
စ် စ + ် အစ် /ɪʔ/ it อิ
ိတ် ိ + တ + ် အိတ် /eɪʔ/ eit เอะ
ိပ် ိ + ပ + ် အိပ်
ုတ် ု + တ + ် အုတ် /oʊʔ/ out โอะ
ုပ် ု + ပ + ် အုပ်
ိုက် ိ + ု + က + ် အိုက် /aɪʔ/ aik ไอ
ောက် ေ + ာ + က + ် အောက် /aʊʔ/ auk เอาะ
ွတ် ွ + တ + ် အွတ် /ʊʔ/ ut อุ
ွပ် ွ + ပ + ် အွပ်


ต่อไปสรุปรูปสระและตัวสะกดทั้งหมดโดยแบ่งตามเสียงอ่าน พร้อมยกตัวอย่าง

อักษร IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
ตัวอย่าง
- /a̰/, /ə/ a อะ~ က = ka = กะ~
ာ / ါ /à/ ar อาˋ ကာ = kar = กาˋ
ခါ = khar = คาˋ
ား / ါး /á/ ar อาˊ ကြား = kyar = จาˊ
ခါး = khar = คาˊ
န့် /a̰ɴ/ ant อัน~ လန့် = lant = ลัน~
န် /àɴ/ an อานˋ ကန် = kan = กานˋ
န်း
မ်း
/áɴ/ an อานˊ ပန်း = pan = ปานˊ
တ်‌
ပ်
/aʔ/ at อะ နတ်‌ = nat = นะ
စပ် = sat = ซะ
ဲ့ /ɛ̰/ ae แอ~ မှဲ့ = mae = แม~
/ɛ́/ ae แอˊ ခဲ = khae = แคˊ
ယ် /ɛ̀/ ae แอˋ ဝယ် = wae = แวˋ
က် /ɛʔ/ aet แอะ လက် = laet = และ
ိုင် /àɪɴ/ aing ไอง์ˋ ကြိုင် = kyaing = ไจง์ˋ
ိုက် /aɪʔ/ aik ไอ ကျိုက်ထို = kyaikhto = ไจโทˋ
ော် / ေါ်  /ɔ̀/ aw ออˋ ကျော် = kyaw = จอˋ
ခေါ် = khaw = คอˋ
ောင် / ေါင် /àʊɴ/ aung อองˋ မောင် = maung = มองˋ
ပေါင် = paung = ปองˋ
ောက် /aʊʔ/ auk เอาะ ကျောက် = kyauk = เจาะ
ေ့ /ḛ/ e เอ~ စနေနေ့ = senene = ซะ~เนˋเน~

/è/ e เอˋ ကေ = ke = เกˋ
ဧပြီ = ebyi = เอˋบยีˋ
ေး /é/ e เอˊ ကြေး = ke = เจˊ
ိန့်
ိမ့်
/ḛɪɴ/ ein เอน~ အမိန့် = amein = อะ~เมน~
အငြိမ့် = anyein = อะ~เญน~
ိန်
ိမ်
/èɪɴ/ ein เอนˋ စိန် = sein = เซนˋ
အိမ်သူ = einthu = เอนˋธู
ိန်
ိမ်း
/éɪɴ/ ein เอนˊ သိန်း = thein = เธนˊ
စိမ်း = sein = เซนˊ
ိတ်
ိပ်
/eɪʔ/ eit เอะ အိတ် = eit = เอะ
အိပ် = eit = เอะ
/ḭ/ i อิ~ သိ = thi = ธิ~
/ì/ i อีˋ နာရီ = naryi = นายีˋ
ီး /í/ i อีˊ သီးပင် = thibin = ธีˊบีนˊ
င့် /ɪ̰ɴ/ int อิน~ မြင့် = myint = มยิน~
င် /ɪ̀ɴ/ in อีนˋ ခင် = khin = คีนˋ
င်း /ɪ́ɴ/ in อีนˊ ဟင်းခါး = hingar = ฮีนˊกาˊ
စ် /ɪʔ/ it อิ ချစ် =chit = ชิ
ို /ò/ o โอˋ စို = so = โซˋ
ိုး /ó/ o โอˊ ကိုး = ko = โกˊ
ုန့်
ုံ့
/o̰ʊɴ/ ount โอะน์~ မုန့် = mount = โมะน์
ချုံ့ = chount = โชะน์
ုန်
ုံ
/òʊɴ/ oun โอนˋ ကုန် = koun = โกนˋ
ခုံရှည် = khounshe = โคนˋเชˋ
ုန်း
ုံး
/óʊɴ/ oun โอนˊ စုန်း = soun = โซนˊ
ုတ်
ုပ်
ဥက်
ဥစ်
/oʊʔ/ out โอะ ခုတ် = khout = โคะ
သုပ်‌ = thout = โธะ
ဦးဥတ္တမ = u out-ta-ma = อูˊโอะตะ~มะ~
ဥစ္စာ = outsa = โอะซาˋ
/ṵ/ u อุ~ စု = su = ซุ~
ူး
ဦး
/ú/ u อูˊ ကူး = ku = กูˊ
ဦး = u = อูˊ
ွန့်
ွံ့
/ʊ̰ɴ/ unt อุน~ စွန့် = sunt = ซุน~
ွန်
ွံ
/ʊ̀ɴ/ un อูนˋ စွန် = sun = ซูนˋ
ခွံ = khun = คูนˋ
ွန်း /ʊ́ɴ/ un อูนˊ ဇွန်း = zun = ซูนˊ
ွတ် /ʊʔ/ ut อุ လွတ်လပ် = lutlat = ลุละ



ตัวอย่าง

ตัวเลข

เลขฮินดู-
อารบิก
เลขพม่า สะกด IPA ทับศัพท์
โรมัน
ทับศัพท์
ไทย
0 သုည /θòʊɴɲa̰/ thounnya โธนˋญะ~
1 တစ် /tɪʔ/ tit ติ
2 နှစ် /n̥ɪʔ/ hnit นิ
3 သုံး /θóʊɴ/ thoun โธนˊ
4 လေး /lé/ le เลˊ
5 ငါး /ŋá/ nyar ญาˊ
6 ခြောက် /t͡ɕʰaʊʔ/ chauk เชาะ
7 ခုနစ် /kʰʊ̀ɴ n̥ɪʔ/ khun hnit คูนˋนิ
8 ရှစ် /ʃɪʔ/ shit ชิ
9 ကိုး /kó/ ko โกˊ
10 ၁၀ ဆယ် /sʰɛ̀/ hsae แซˋ
100 ၁၀၀ ရာ /jà/ yar ยาˋ
1,000 ၁၀၀၀ ထောင်   /tʰàʊɴ/ htaung ทองˋ
10,000 ၁၀၀၀၀ သောင်း /θáʊɴ/ thaung ธองˊ
100,000 ၁၀၀၀၀၀ သိန်း /θéɪɴ/ thein เธนˊ
1,000,000 ၁၀၀၀၀၀၀ သန်း /θáɴ/ than ธานˊ
10,000,000 ၁၀၀၀၀၀၀၀ ကုဋေ /ɡədè/ gade กะ~เดˋ


ชื่อเขตการปกครองในพม่า

(ชื่อภาษาไทยในที่นี้หมายถึงชื่อที่เรียกกันมาแต่ก่อนจนคุ้นเคยแล้วจึงไม่ได้เรียกตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์)

อักษรพม่า IPA ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ
ကချင /kət͡ɕʰɪ̀ɴ/ kachin กะชีน Kachin
ကယား /kəjá/ kayar กะยา Kayah
ကရင် /kəjɪ̀ɴ/ kajin กะยีน กะเหรี่ยง Kayin
ချင်း /t͡ɕʰɪ́ɴ/ chin ชีน Chin
စစ်ကိုင်း /zəɡáɪɴ/ zagaing ซะไกง์ Sagaing
တနင်္သာရီ /tənɪ́ɴθàjì/ taninthayi ตะนีนธายี ตะนาวศรี Tanintharyi
နေပြည်တော် /nèpjìdɔ̀/ nepyidaw เนปยีดอ Naypyidaw
ပဲခူး /bəɡó/ bago บะโก พะโค Bago
မကွေး /məɡwé/ magwe มะกเว Magway
မန္တလေး /màɴdəlé/ mandale มานดะเล มัณฑะเลย์ Mandalay
မွန် /mʊ̀ɴ/ mun มูน มอญ Mon
ရခိုင /ɹəkʰàɪɴ/ rakhaing ระไคง์ ยะไข่ Rakhine
ရန်ကုန် /jàɴɡòʊɴ/ yangoun ยานโกน ย่างกุ้ง Yangon
ရှမ်း /ʃáɴ/ shan ชาน Shan
ဧရာဝတီ /ʔèjàwədì/ eyarwadi เอยาวะดี อิรวดี Ayeyarwady



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ตัวอักษร

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文