φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
เขียนเมื่อ 2012/10/10 16:14
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
หลายวันก่อนมีกระแสออกมาอย่างแรง เรื่องการเปลี่ยนมาตรฐานในการเขียนทับศัพท์ของราชบัณฑิต http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000121006


ซึ่งในนี้ประกาศว่าจะเปลี่ยนหลักการเขียนทับศัพท์ให้ต้องใส่รูปวรณยุกต์ให้ตรงกับที่อ่านออกเสียงจริง เช่น คอมพิวเตอร์ ให้เปลี่ยนเป็น ค็อมพิ้วเต้อร์ กอล์ฟ ให้เปลี่ยนเป็น ก๊อล์ฟ

การประกาศครั้งนี้ทำให้มีผู้คนมากมายออกมาต่อต้าน และเราก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงแบบนี้ด้วยแน่นอน

นั่นเพราะในปัจจุบันหลักการทับศัพท์เดิมซึ่งกำหนดโดยราชบัณฑิตไว้ชัดเจนว่าไม่ให้ใส่วรรณยุกต์ถ้าไม่จำเป็น

อ่านหลักเกณฑ์กันได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/คำทับศัพท์



หากจะมากลับคำเปลี่ยนเป็นว่าให้มาใส่รูปวรรณยุกต์กันเอาตอนนี้ แน่นอนว่าต้องเกิดความสับสนอลหม่าน คนก็จะไม่รู้ว่าจะยึดตามหลักเก่าหรือใหม่ดี

และที่สำคัญคือการที่เราไม่ควรจะใส่รูปวรรณยุกต์ให้กับคำที่ทับศัพท์นั้นมันก็มีเหตุผลที่สมควรแล้ว

เหตุผลง่ายๆก็คือ

1. เสียงวรรณยุกต์ที่คนไทยออกเสียงกันในคำเหล่านั้นไม่ใช่เสียงที่แท้จริง
เสียงที่เราออกกันนั้นส่วนใหญ่ตามความเคยชินของคนไทย มันไม่ใช่เสียงที่เจ้าของภาษาเขาออกกันจริงๆ เช่น คอมพิวเตอร์ คนไทยออกเสียงว่า ค็อมพิ้วเต้อร์ แต่เสียงมาตรฐานจริงๆฟังดูแล้วน่าจะเป็น ค็อมพิ้วเต่อร์ มากกว่า
การไปใส่วรรณยุกต์มันก็เหมือนเป็นการเน้นว่าเราต้องอ่านตามแบบเดิมที่ผิดๆมาจนชินนั้น

2. คำในภาษาต่างประเทศดั้งเดิมนั้นไม่มีเสียงวรรณยุกต์แน่นอน และเปลี่ยนไปตามรูปประโยค
ถึงแม้ว่าจะพยายามเขียนวรรณยุกต์เพื่อเลียสเสียงภาษานั้นๆให้ใกล้ที่สุดก็ตาม ก็ยังไม่สามารถทำให้ตรงได้หมดอยู่ดี เพราะภาษาส่วนใหญ่ในโลกนั้นไม่มีเสียงวรรณยุกต์ ปกติแล้วเสียงจะต่างไปตามแต่ว่าอยู่ส่วนไหนของประโยค จึงอยากจะกำหนดวรรณยุกต์ที่แน่นอนให้คำนั้นๆ
แต่ก็ยกเว้นภาษาที่มีวรรณยุกต์ เช่น จีน พม่า เวียดนาม เวลาทับศัพท์ภาษาเหล่านี้ควรใส่วรรณยุกต์ให้ตรง นอกนั้นแล้วก็ไม่ควรใส่

3. จะทำให้ระบบการเขียนปั่นป่วน เพราะแต่ละคนเขียนไม่เหมือนกัน
ถ้าเป็นคำที่ใช้กันมาจนคุ้นเคยคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเจอคำใหม่ที่ไม่คุ้นเคยจะทำยังไง เนื่องจากการที่ภาษาดั้งเดิมนั้นมีวรรณยุกต์ไม่แน่นอน ทำให้ถ้าหากเวลาจะเขียนทับศัพท์เป็นไทยแล้วต้องพยายามมาใส่รูปวรรณยุกต์ตลอดละก็ แต่ละคนอาจจะเขียนไม่เหมือนกันเลยก็เป็นได้ จะแน่ใจได้แค่ไหนว่าคนที่เขียนเขารู้สำเนียงถูกต้องทุกคำ หรือต่อให้รู้สำเนียงถูกต้อง เสียงบางคำมันก็ก้ำกึ่งระหว่างวรรณยุกต์สองตัว ก็ทำให้เขียนได้หลายแบบอยู่ดี และไม่อาจตัดสินได้ง่ายๆว่าแบบไหนถูก จึงทำให้เกิดอะไรที่เป็นหลายมาตรฐาน
ปัจจุบันนี้แค่การเขียนพยัญชนะกับสระให้ถูกต้องโดยไม่สนใจวรรณยุกต์คนยังเขียนกันไม่ค่อยจะถูกเลย ถ้ายิ่งต้องมาจู้จี้เรื่องวรรณยุกต์ด้วยก็จะยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีก

4. เสียงในคำไทยดั้งเดิมเองก็มีคำที่เขียนไม่ตรงเสียงวรรณยุกต์
เช่นคำว่า ตำรวจ กำราบ สำเร็จ ฯลฯ คำพวกนี้ก็ต้องมาคอยจำเสียงอ่านให้ถูกเหมือนกัน ถ้าคิดจะเปลี่ยนการออกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาต่างประเทศละก็ เปลี่ยนคำไทยพวกนี้ก่อนน่าจะดีกว่า



ต่อไปจะพูดถึงเหตุผลที่ผู้ที่บอกว่าสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงตามที่ราชบัณฑิตเสนอมานี้ พร้อมทั้งหักล้าง

- ไอ้ที่เขียนกันมามันผิดมาตลอด เราควรจะแก้ไขเพื่อให้ถูกต้อง
>>> ผิดถูกนั้นดูจากอะไร? ถ้าจะบอกว่าสิ่งที่ราชบัณฑิตกำหนดนั้นถูกต้อง งั้นก่อนหน้านี้ที่เราเขียนตามมาตรฐานเดิมของราชบัณฑิตอยู่แล้วก็ต้องถือว่าถูกไม่ใช่หรือ การเปลี่ยนครั้งนี้เลยดูเหมือนการแก้สิ่งที่ผิดให้เป็นถูก สิ่งที่ถูกให้เป็นผิดมากกว่า

- การแก้ไขนี้ก็เพื่อให้เด็กที่เพิ่งหัดภาษาไทยออกเสียงให้ถูกง่ายขึ้น
>>> มันก็แค่ถูกตามที่คนไทยทั่วไปออกเสียง แต่ไม่ได้ถูกตามสำเนียงภาษาดั้งเดิม (ไปอ่านข้อ 1. ด้านบน)

- ต่อให้ที่ออกเสียงกันตอนนี้จะไม่ใกล้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาพอดี แต่ก็ยังใกล้เคียงมากกว่าการอ่านตามที่เขียนตรงๆแบบไม่ใส่รูปวรรณยุกต์
>>> ถึงจะออกเสียงใกล้เคียงขึ้นแต่ก็คงแค่นิดเดียว ไม่ได้สำคัญขนาดจะต้องมาจู้จี้ตรงนี้

- เขียนรูปวรรณยุกต์ให้แน่นอนไปเลยจะได้ไม่ต้องมานั่งจำกันเอาเองว่าคำโน้นคำนี้อ่านออกเสียงวรรณยุกต์แบบนี้
>>> การจำว่าอ่านยังไงมันไม่ใช่เรื่องยากขนาดนั้น ส่วนใหญ่ก็ตามความเคยชิน ตรงนี้อาจต้องยอมลำบากนิดหน่อยเพื่อไม่ให้ระบบภาษาปั่นป่วน (ไปอ่านข้อ 3. ด้านบน) ภาษาต่างประเทศซึ่งไม่มีวรรณยุกต์ถึงอ่านวรรณยุกต์ผิดก็ไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยน

- ภาษาเรามีวรรณยุกต์นั้นถือเป็นข้อดี ก็ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์สิ
>>> ถ้าจะใช้ประโยชน์ก็ควรใช้โดยการเขียนให้ออกเสียงตรงภาษาเดิมที่สุดมากกว่า เช่นในตำราสอนภาษาอังกฤษบางเล่ม มีการใช้วรรณยุกต์เพื่อการกำกับ accent ซึ่งนั่นเป็นเสียงที่น่าจะใกล้เคียงเสียงอ่านจริงๆมากที่สุด แต่ก็พบว่าคำส่วนใหญ่แทบไม่เหมือนกับที่คนไทยออกเสียงหรือที่ราชบัณฑิตต้องการให้เปลี่ยนมาเขียนตามนั้นเลย ดังนั้นถ้าจะใส่วรรณยุกต์จริงๆก็ควรทำให้ได้แบบนี้ แล้วก็สอนเด็กไทยใหม่ไปเลย

- คนที่ไม่อยากเปลี่ยนก็แค่ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง
>>> เรายอมรับความเปลี่ยนแปลงได้เสมอนะ ถ้าเปลี่ยนแล้วมันดีขึ้น แต่เปลี่ยนแล้วไม่ได้ประโยชน์แถมยังดูจะยิ่งแย่ลงใครจะอยาก (ทำไมเปลี่ยนแล้วถึงไม่ดี? ย้อนไปดูข้อก่อนๆ)

- เปลี่ยนแล้วไม่ได้บังคับว่าจะต้องเขียนตามสักหน่อย ใครไม่ชอบจะเขียนแบบเดิมก็ไม่มีใครว่า
>>> แล้วจะมากำหนดให้เปลี่ยนไปเพื่ออะไรถ้าไม่คิดจะบังคับเด็ดขาด จะยิ่งทำให้กลายเป็นแต่ละคนเขียนไม่เหมือนกัน บางคนยึดตามแบบเก่า บางคนยึดตามแบบใหม่ วุ่นวายแย่



จากที่เจอมา คนส่วนหนึ่งที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพราะเขาเข้าใจว่าเสียงที่คนไทยออกกันปกติอยู่นี้ก็ตรงกับเจ้าของภาษามากอยู่แล้ว ซึ่งเราก็ต้องพยายามอธิบายให้เข้าใจว่ายังไงมันก็ไม่ได้ใกล้เลย

แต่เราไม่ได้บอกว่าคนไทยควรจะเลิกอ่านสำเนียงภาษาต่างประเทศแบบที่เคยชินกันอยู่ตอนนี้แล้วเปลี่ยนให้อ่านสำเนียงตรงกับเจ้าของภาษาเป๊ะๆ เพราะมันเป็นไปไม่ได้และไม่จำเป็นด้วย เราอ่านตามที่ชินอยู่อย่างนี้ก็ดีอยู่แล้วเวลาพูดภาษาไทย
เพียงแต่มันไม่ใช่สิ่งที่จะต้องมาเน้นหรือกำหนดมาตรฐานให้แน่ชัดว่าเราต้องอ่านแบบนี้ให้ได้ทุกคน ยังไงถ้าเกิดและโตในไทยก็อ่านแบบนี้ไปได้เองตามธรรมชาติอยู่ดี
พวกฝรั่งที่มาเรียนภาษาไทย พูดไทยได้ชัด แต่พอพูดคำทับศัพท์เขาก็พูดตามสำเนียงเขาเองโดยไม่พูดตามสำเนียงไทยก็มีมากมาย ซึ่งก็ไปว่าเขาไม่ได้

เขียนมาซะยาว สรุปง่ายๆว่าทำไมไม่ควรเปลี่ยน นั่นคือมันไม่มีประโยชน์ มีข้อเสียมากกว่าข้อดี

สิ่งที่ควรทำมากมากกว่าในตอนนี้คือการรณรงค์เพื่อให้เขียนภาษาไทยให้ถูกกันมากขึ้น และพยายามแก้ปัญหาการใช้ภาษาวิบัติมากกว่า
 


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文