φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
ชมดอกบ๊วยบานที่สวนสาธารณะซากกำแพงเมืองสมัยราชวงศ์หมิง
เขียนเมื่อ 2012/04/06 14:59
แก้ไขล่าสุด 2023/04/02 17:32
#พฤหัส 5 เม.ษ. 2012
ช่วงนี้ฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้กำลังเริ่มบาน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวชมดอกไม้
คราวนี้เราได้ไปชมดอกบ๊วยบาน สำหรับในปักกิ่งแล้วถ้าจะชมดอกซากุระก็ต้องไป
สวนสาธารณะยวี่ยวนถาน (玉渊潭公园)
อย่างที่เคยเขียนถึงไป
https://phyblas.hinaboshi.com/20120401
ส่วนถ้าจะชมดอกบ๊วยละก็ต้องไปที่
สวนสาธารณะซากกำแพงเมืองสมัยราชวงศ์หมิง (明城墙遗址公园)
ที่นี่เป็นสวนสาธารณะที่อยู่รอบๆบริเวณซากกำแพงเมืองเก่าที่สร้างสมัยราชวงศ์หมิง โดยส่วนนี้อยู่ใกล้กับป้อมประตูเมืองเก่า
ตงเปี้ยนเหมิน (东便门)
ซึ่งเป็นป้อมประตูแห่งหนึ่งของกำแพงเมืองส่วนนอกซึ่งถูกรื้อทิ้งไปแล้ว
กำแพงที่เหลืออยู่ให้เห็นนี้ทั้งหมดเป็นส่วนของกำแพงส่วนใน ส่วนกำแพงส่วนนอกได้ถูกรื้อทิ้งออกไปหมดแล้ว พร้อมกับป้อมประตูตงเปี้ยนเหมินเองก็ถูกรื้อออกไปด้วย ที่เหลือไว้อยู่ในตอนนี้มีแค่หอซึ่งอยู่บนกำแพงส่วนในซึ่งเรียกว่า
หอมุมตะวันออกเฉียงใต้กำแพงเมืองปักกิ่ง (北京城东南角楼)
ดอกบ๊วยนั้นบางทีคนไทยก็เรียกว่าดอกเหมย ส่วนจีนกลางเรียกว่า
เหมย์ฮวา (梅花)
ถือเป็นดอกไม้ประจำชาติจีน ในปักกิ่งมีดอกบ๊วยไม่มาก โดยทั่วไปจะบานช่วงปลายมีนาคมถึงต้นเมษา
บ๊วยกับซากุระนั้นเป็นดอกไม้วงศ์เดียวกัน คือวงศ์
prunus
ดังนั้นจึงคล้ายกันมาก เห็นแล้วไม่สามารถแยกออกเหมือนกันว่าไหนดอกบ๊วยไหนซากุระ ต้องถามเอา
คำว่าบ๊วยที่เรียกกันในภาษาไทยนั้นมาจากภาษาแต้จิ๋วซึ่งอักษร
梅
อ่านว่า
บ๊วย
ซึ่งคล้ายกับอักษร
尾
ซึ่งอ่านว่า
บ้วย
ซึ่งคนไทยก็อ่านออกเสียงเป็น
บ๊วย
เหมือนกัน คำนี้แปลว่าหาง แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่าที่โหล่ ความจริงแล้วไม่ได้เกี่ยวอะไรกับบ๊วยที่เป็นชื่อดอกไม้เลยเพราะเขียนด้วยคนละอักษร และภาษาแต้จิ๋วก็ไม่ได้ออกเสียงเหมือนกัน แค่ใกล้เคียง
การเดินทางเริ่มจากนั่งรถไฟฟ้าสาย ๒ ไปลงที่
สถานีรถไฟฟ้าสถานีรถไฟปักกิ่ง (地铁北京站)
ภาพ
สถานีรถไฟปักกิ่ง (北京站)
มองจากสะพานลอยคนข้าม
สถานีนี้เป็นสถานีเก่าแก่ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1901 แล้ว ปัจจุบันสถานีนี้ความสำคัญลดลงไปมากเนื่องจากมีสถานีอื่นๆเช่น
สถานีใต้ (北京南站)
ซึ่งเพิ่งถูกสร้างเมื่อปี 2008
บรรยากาศแถวๆสถานีรถไฟปักกิ่ง ถ่ายขณะที่เดินไปยังสถานที่ชมดอกบ๊วยอันเป็นเป้าหมาย ระยะทางไม่ไกลมาก แถวๆนั้นเต็มไปด้วยตึกหรูๆมากมาย
แล้วเราก็มาถึงบริเวณที่เริ่มเห็นซากกำแพงเมืองแล้ว
ภาพแรกที่เห็นนั้นยังไม่พบดอกบ๊วยสักดอก เราจึงได้แต่เดินต่อไปก่อน
เดินไปสักพักในที่สุดก็ได้เห็นดอกบ๊วยกระจุกแรก
แต่ว่าแค่นี้ยังน้อยไป ยังไม่ใช่บริเวณหลัก ดังนั้นเราจึงเดินต่อไป
ระหว่างทางผ่านจุดที่เป็นสี่แยกหลักใหญ่ มีถนนสูงต่ำพันกันเต็มไปหมด มองเห็นรางรถไฟที่มุ่งออกจากสถานีรถไฟปักกิ่งด้วย
แล้วก็เดินมาถึงหอมุมกำแพงเมือง
มองจากอีกมุม
ที่บริเวณข้างๆนี้เองเราก็ได้เห็นดอกบ๊วยอีกเป็นจำนวนมาก มีทั้งสีชมพูและสีขาวปนกันสวยงาม
ไม่ได้เห็นแต่ดอกบ๊วย แต่ยังมีดอก
เหลี่ยงเคี้ยว (连翘)
สีเหลืองอร่อมอยู่ด้วย แต่มีแค่เล็กน้อย
ตรงนี้เป็นทางเข้าชมตัวป้อม แต่ว่าต้องเสียเงิน ๑๐ หยวนค่าเข้า เราสนใจแค่มาชมดอกไม้อยู่แล้วก็เลยไม่ได้เข้าไป
เดินต่อไปตามแนวกำแพงเรื่อยๆก็เจอดอกบ๊วยบานอยู่ข้างกำแพงอย่างไม่ขาดสาย
ระหว่างทางก็มีพวกป้ายที่ให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับบ๊วย เช่นว่ามีความสำคัญยังไง เอาไปใช้ทำอะไรได้
สังเกตดีๆที่พื้นตรงนี้มีสลักเป็นรูปอะไรอยู่ ดูเหมือนจะเป็นสัญลักษณ์ดอกไม้
ต้นที่อยู่ติดกำแพงนี้ดูสูงมาก สูงเหนือซากกำแพงขึ้นไปเยอะเลย
นอกจากนี้ก็ยังเจอดอกอื่นที่ไม่ใช่ดอกบ๊วย อย่างอันนี้คือดอก
มู่หลาน (木兰)
ดอกชมพูตูมๆสวยงาม
ตรงนี้เขารดน้ำต้นไม้อยู่ เดินผ่านทีนี่ตัวเปียกชุ่มเลย
เมื่อมองไปยังสายน้ำที่ฉีดอยู่โดยหันหลังให้ดวงอาทิตย์ก็จะเห็นสายรุ้งที่สวยงามได้ ถ่ายติดด้วย สวยทีเดียว
และแล้วหลังจากที่เดินชมดอกไม้มาเรื่อยๆตามแนวกำแพงตลอดทาง ในที่สุดแนวกำแพงก็หมดลงแค่ตรงนี้ รวมทั้งพื้นหญ้าและหมู่ดอกบ๊วยเองก็จบแค่ตรงนี้ เป็นอันจบการเดินชมดอกไม้ที่ระยะทางไม่ไกลมากแต่เพลิดเพลินได้ตลอดทาง
สุดทางมีสถานีรถไฟฟ้าอีกแห่งคือ
สถานีฉงเหวินเหมิน (地铁崇文门站)
ดอกไม้ยามนี้สวยดี น่าเสียดายอีกไม่นานมันก็ต้องร่วงโรยไปตามฤดูกาล คนเราเองชีวิตก็มีทั้งขึ้นและลงจะคงอยู่ได้นานแค่ไหนกันนะ
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文