φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[maya] การใช้วัสดุ mia เพื่อจำลองวัสดุที่สมจริง
เขียนเมื่อ 2017/03/24 01:09
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เวลาเลือกวัสดุที่จะใส่ให้ผิววัตถุในมายาบางทีก็เป็นเรื่องที่ต้องกินเวลาเหมือนกันหากต้องการทำให้สมจริง

หากลองใช้วัสดุ mia ช่วย อาจช่วยให้การเลือกวัสดุดูง่ายลงไปได้มาก

วัสดุ mia (mia material) เป็นวัสดุชนิดพิเศษที่ใช้คู่กับเมนทัลเรย์เท่านั้น ถ้าใช้แล้วจะสามารถสร้างวัตถุที่ดูแล้วมีความสมจริงมาก

การสร้างวัสดุ mia ให้ไปที่เมนูสร้างวัสดุของเมนทัลเรย์



เลือกที่ mia_material_x หรือ mia_material_x_passes ก็ได้ ข้อแตกต่างคืออันที่มี _passes จะมีความสามารถเพิ่มเติมเข้ามา

หรือถ้าสร้างด้วยโค้ดไพธอนก็พิมพ์
mc.shadingNode('mia_material_x',asShader=1)

พอสร้างแล้วมาดูที่แอตทริบิวต์อีดิเตอร์จะเห็นมีปุ่มที่เขียนว่า Preset* (プリセット*)



พอกดเลือกก็มีวัสดุต่างๆให้เลือกมากมาย ลองเลือกวัสดุชนิดที่ต้องการได้ จากนั้นค่าต่างๆก็จะถูกปรับให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่สมกับเป็นวัสดุชนิดนั้น



สามารถเลือกว่าจะเขียนทับค่าต่างๆไปเลย หรือว่าจะผสมกับที่มีอยู่เดิม กี่ % ก็ว่าไป

ลองเลือกทองแดง ค่าจะออกมาแบบนี้



ค่าต่างๆนี้มีรายละเอียดเยอะมาก ปรับแต่งได้เยอะกว่ามากถ้าเทียบกับวัสดุพื้นฐาน ในที่นี้คงไม่ได้พูดถึง จะใช้ค่าตามใน preset นี้เลย



ต่อมามีสิ่งที่อาจจะต้องทำก่อนจะเรนเดอร์ ก็คือ เมื่อใช้วัสดุ mia หากเปิดความสามารถที่เรียกว่าไฟนัลแกเธอริง จะทำให้ออกมาดียิ่งขึ้น

ให้เลือกตัวเรนเดอร์เป็นเมนทัลเรย์แล้วไปที่ตัวปรับแต่งตามในภาพ ไปที่ Legacy Options (旧式オプション) แล้วไปที่ Final Gathering (ファイナル ギャザリング) แล้วติ๊กถูกเพื่อเปิดใช้งาน



หรือแค่พิมพ์โค้ด
mc.setAttr('miDefaultOptions.finalGather',1)

อย่างไรก็ตาม ไฟนัลแกเธอริงทำให้เวลาในการเรนเดอร์นานขึ้นมาก ควรใช้หรือไม่ก็ลองเทียบภาพตอนใช้กับไม่ใช้ดู



คราวนี้มาลองทดสอบวัสดุชนิดต่างๆที่มีอยู่ใน preset กันดูเลย

ครั้งนี้เราจะใช้เทพธิดาอควาจากเรื่อง konosuba มาเป็นนางแบบสำหรับทดสอบ ฉากหลังเป็นมุมห้องที่มีพื้นสีเหลืองและผนังสีม่วงกับสีฟ้า โดยวัสดุที่ใช้เป็น blinn ที่ค่าความสะท้อนสูง



โมเดลที่ใช้เป็นอันเดิมที่ใช้ไปในงานครั้งก่อน https://phyblas.hinaboshi.com/20170207

สมมุติว่ามีสาวกผู้ศรัทธาทำการสร้างรูปหล่อให้กับเทพธิดาอควาโดยใช้วัสดุต่างๆ วัสดุที่ใช้มีทั้งหมด ๑๘ ชนิด ตามนี้


Chrome = วัสดุเคลือบโครเมียม




Copper = ทองแดง




FrostedGlass = กระจกฝ้า




GlassPhysical = แก้วกายภาพ




GlassSolid = แก้วแข็งเกร็ง




GlassThick = แก้วหนา




GlassThin = แก้วบาง




GlazedCeramic = เซรามิกเคลือบเงา




GlossyFinish = วัสดุชักเงามันวาว




GlossyPlastic = พลาสติกมันวาว




MatteFinish = วัสดุชักเงาผิวด้าน




MattePlastic = พลาสติกผิวด้าน




PearlFinish = วัสดุชักเงาไข่มุก




Rubber = ยาง




SatinedMetal = โลหะปัดเงา




TranslucentPlasticFilmLightBlur = ฟิล์มพลาสติกโปร่งแสงบางเบลอ




TranslucentPlasticFilmOpalecent = ฟิล์มพลาสติกโปร่งแสงเหลือบมัว




Water = น้ำ





อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文