φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



แวะกินข้าวย่านกินซะ ดูหนังสือที่ศูนย์หนังสือยาเอสึ ชมสถานีโตเกียวยามค่ำคืน แวะร้านกาแฟย่านคิจิโจวจิ
เขียนเมื่อ 2019/03/20 00:11
แก้ไขล่าสุด 2023/03/30 05:40
# ศุกร์ 1 มี.ค. 2019

หลังจากที่ค่ายอบรมดาราศาสตร์จบสิ้นลงไปในตอนที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20190319

เหลือเวลาตอนช่วงเย็นก่อนที่วันรุ่งขึ้นจะเดินทางนั่งเครื่องบินกลับ

เราตัดสินใจเข้าไปเที่ยวในย่านใจกลางเมืองโตเกียวกับเพื่อน

แผนคราวนี้คือไปกินข้าวเย็นแล้วก็ไปเดินร้านหนังสือใหญ่ๆอีกร้าน คือศูนย์หนังสือยาเอสึ (八重洲やえすブックセンター)

ร้านตั้งอยู่ในย่านยาเอสึ (八重洲やえす) ในเขตจูโอว (中央区ちゅうおうく) คำว่าจูโอวแปลว่าใจกลาง เพราะเขตนี้อยู่ค่อนข้างจะใจกลางโตเกียว แต่ว่าที่จริงก็ไม่ได้อยู่ตรงกลางพอดี แต่เขตจิโยดะ (千代田区ちよだく) ซึ่งอยู่ข้างๆถือว่าเป็นใจกลางมากกว่า เพราะเป็นที่ตั้งของพระราชวัง และอยู่ตรงใจกลางของรถไฟสายวงแหวนยามาโนเตะ



การเดินทางไปโดยนั่งรถเมล์ไปที่สถานีมิตากะ แล้วขึ้นรถไฟ JR สายจูโอวไปลงที่สถานีโตเกียว จากสถานีโตเกียวเดินไปใกล้สุด
 

เริ่มจากขึ้นรถเมล์จากหน้าหอดูดาวแห่งชาติมาที่สถานีมิตากะ



ถึงสถานีมิตากะ



ไปขึ้นสายจูโอว



เวลานั้นคนแน่นเต็ม ไม่ต้องหวังที่จะนั่งเลย



แล้วก็มาถึงสถานีโตเกียว แต่ในจังหวะนั้นก็เห็นว่าเย็นแล้ว หิวแล้ว ก็เลยเปลี่ยนแผน ไปหาอะไรกินก่อนค่อยมาแวะร้านหนังสือดีกว่า ก็เลยตัดสินใจนั่งไปตามสายยามาโนเตะต่อไปอีกสถานี ไปลงที่สถานียูรากุโจว (有楽町駅ゆうらくちょうえき) ซึ่งอยู่ติดกับสถานีโตเกียว ถัดลงไปทางใต้เพียงสถานีเดียว




ถึงสถานียูรากุโจว



บรรยากาศแถวๆสถานี




เดินไปทางตะวันออกนิดหน่อยก็เข้าสู่ย่านกินซะ (銀座ぎんざ) หรือ กินซ่า เห็นชื่อแล้วชวนให้นึกถึงของกิน



ที่มาที่นี่เพราะตั้งใจจะมากินอาหารนั่นเอง ครั้งนี้กะจะไปกินร้านไซเซริยะ (サイゼリヤ) อาหารอิตาลี ร้านอยู่ที่ตึกชื่อกินซะอินซ์ (銀座ぎんざインズ)




ภายในตึก



แต่ว่าพอเข้าไปถึงหาร้านไซเซริยะเจอก็พบว่าร้านต้องรอคิวนาน เลยเปลี่ยนใจ เลือกกินร้านกัสโต (カスト) ที่อยู่ข้างๆแทน



ร้านนี้มีอาหารหลายประเภทมาก อาหารอิตาลีก็มี เลยสั่งพิซซามากิน ไม่ได้กินของไซเซริยะก็มากินร้านนี้แทน อันนี้พิซซาหน้ากุ้ง



ราคารวมภาษีแล้วเป็น ๘๖๓ เยน



จากนั้นก็เดินไปที่ศูนย์หนังสือยาเอสึ ที่หมายที่ตั้งใจจะมาตั้งแต่แรก



ตึกระหว่างทางในย่านกินซะ ที่จริงแถวๆนี้เรียกว่าเป็นขอบทางตะวันตกสุดของกินซะ เราไม่ได้เข้าไปเดินตรงใจกลางของย่าน



ระหว่างทางผ่านสถานีรถไฟใต้ดิน สถานีกินซะอิจโจวเมะ (銀座一丁目駅ぎんざいっちょうめえき)



แล้วก็มาถึงศูนย์หนังสือ ที่นี่กว่้างใหญ่พอๆกับร้านหนังสือจุงกุโดวที่อิเกบุกุโระที่ไปมาวันก่อน



ภายในร้าน



ขึ้นมาดูตรงหมวดหนังสือดาราศาสตร์ มีเยอะมาก เสียดายค่อนข้างดึกแล้วเลยได้แต่ดูผ่านๆ ไม่ได้ใช้เวลามาก



จากนั้นมาดูตรงแถวหมวดหนังสือเรียนภาษา



ที่นี่ก็มีหนังสือเรียนภาษาทิเบตเล่มเดียวกับที่ซื้อในร้านจุงกุโดววันก่อน แต่นอกจากนั้นแล้วยังเจอหนังสือเรียนภาษาอุยกูร์ (ئۇيغۇر تىلى) ด้วย เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยในเขตปกครองตัวเองซินเจียง



อันนี้หนังสือเรียนภาษาลาว เป็นหนังสือในชุดนิวเอ็กซ์เพรส เช่นเดียวกับหนังสือเรียนภาษาทิเบตที่ซื้อมาวันก่อน



ทางมุมหนังสือภาษาเกาหลีก็มีหนังสือมากมาย เพราะเป็นภาษาที่นิยมเรียนมากที่สุดภาษานึงในญี่ปุ่น เจอเล่มน่าสนใจเล่มนึงคือหนังสือสอนการออกเสียงอักษรฮันกึล เพราะอักษรเกาหลีมีกฎการอ่านที่ดูเผินๆเหมือนจะง่ายแต่จริงๆซับซ้อนมาก เต็มไปด้วยข้อยกเว้นมากมายกว่าที่คิด ต้องสรุปเป็นเล่มแบบนี้เลยทีเดียว



ส่วนทางมุมนี้เป็นพวกหนังสือการ์ตูนให้ความรู้



หนังสือสอนประวัติศาสตร์เต็มไปหมดทั้งชั้น



จากนั้นเดินไปต่อ

ไม่นานก็ถึงฝั่งตะวันออกของสถานีโตเกียว



สถานีโตเกียวตั้งอยู่เขตจิโยดะใจกลางเมืองโตเกียว เป็นสถานีที่เก่าแก่ ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกอย่างสวยงาม

แต่ว่าตัวอาคารที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ที่คนรู้จักกันนั้นอยู่ทางฝั่งตะวันตก แต่ตอนนี้เราเดินจากทางฝั่งตะวันออก จึงต้องเดินต่อไปอีกหน่อย

ตอนแรกคิดว่าถ้าเข้าไปในตัวอาคารจะหาทางข้ามทะลุไปยังฝั่งตรงข้ามได้ แต่ก็หาทางผ่านไปไม่เจอ มีแต่ต้องแตะบัตรเข้าไปด้านในสถานี



สุดท้ายก็เลยต้องหาทางเดินอ้อมไปทางเหนือ



ข้ามมาทางตะวันตก ระหว่างทางยังผ่านสถานีโอเตะมาจิ (大手町駅おおてまちえき) เป็นสถานีรถไฟใต้ดิน



แล้วก็มาถึงหน้าสถานีโตเกียว



จากด้านหน้าตัวอาคาร ดูแล้วเป็นอาคารที่สวยงามโดดเด่น




จากนั้นเข้ามาในสถานีเพื่อขึ้นรถไฟที่นี่



ด้านในโดมอาคารสถานีสวยดี



เนื่องจากเห็นว่ายังพอเหลือเวลา ยังไม่ดึกเกินไป จึงตัดสินใจตามเพื่อนไปนั่งเล่นคุยกันแถวห้องเช่าที่เขาพักอยู่

ห้องเช่านั้นอยู่ที่สถานีคิจิโจวจิ (吉祥寺駅きちじょうじえき) อยู่ในเมืองมุซาชิโนะ (武蔵野市むさしのし)

เป็นที่น่าสนใจว่าสถานีที่อยู่ถัดจากสถานีคิจิโจวจิไปก็คือสถานีมิตากะ และถัดไปอีกเป็นสถานีมุซาชิซาไก แต่สถานีมุซาชิซาไกและสถานีคิจิโจวจินั้นอยู่ในเมืองมุซาชิโนะ ในขณะที่สถานีมิตากะซึ่งอยู่ตรงกลางนั้นอยู่ในเมืองมิตากะ นี่เป็นเพราะการแบ่งเขตสองเมืองนี้มีเส้นแบ่งที่หยึกหยักไปมา



แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองมุซาชิโนะ สีชมพูเข้ม ทางใต้เป็นเมืองมิตากะ สถานีมิตากะอยู่ตรงรอยต่อระหว่างเมืองมิตากะกับเมืองมุซาชิโนะ แต่ค่อนไปทางเมืองมิตากะ





การเดินทางจากสถานีโตเกียวไปยังคิจิโจวจินั้นก็แค่ไปตามทางรถไฟสายจูโอว รถไฟที่ขึ้นมาเที่ยวนี้มีปลายทางอยู่ที่สถานีโอวเมะ (青梅駅おうめえき) ในเมืองโอวเมะ (青梅市おうめし) ซึ่งอยู่ไกลทางตะวันตกของโตเกียว




เดินทางมาถึงสถานีคิจิโจวจิ



ทางฝั่งเหนือของสถานีเป็นย่านร้านค้าจิจิโจวจิซันโรด (吉祥寺きちじょうじサンロード商店街しょうてんがい) มีร้านค้ามากมาย แต่ว่ามาดึกไปหน่อย ตอนนั้นสี่ทุ่มกว่าแล้ว ร้านจำนวนมากปิดไปแล้ว




เราแวะร้านกาแฟนี้ ซึ่งปิดห้าทุ่ม นั่งกันอยู่จนถึงห้าทุ่ม



ตอนอยู่ในร้านสั่งโกโก้มาดื่ม พอหมดก็ขอเติมน้ำเปล่าได้



ราคา ๓๖๐ เยน รวมภาษีแล้ว



หลังออกมาจากร้านแล้วก็เดินไปที่ห้องเช่าของเพื่อน ซึ่งอยู่ทางใต้ของสถานี

ระหว่างทาง



เจอร้านอาหารไทยด้วย



แวะดูแป๊บเดียวแล้วก็กลับมาที่สถานีเพื่อขึ้นรถกลับโรงแรม



การเดินทางกลับโรงแรมจากที่นี่มีหลายวิธี แต่ที่ราคาถูกที่สุดคือนั่งรถไฟของเคย์โอว โดยนั่งสายอิโนะคาชิระ (かしらせん) ไปถึงสถานีเมย์ไดมาเอะ (明大前駅めいだいまええき) แล้วต่อสายเคย์โอวไปลงสถานีฟุจู เนื่องจากใช้รถไฟของเคย์โอวทั้งหมด เวลาต่อรถจึงไม่ต้องแตะบัตรแล้วออก จ่ายค่ารถต่อเดียว จึงถูกกว่าวิธีอื่น แม้ว่าเส้นทางจะดูค่อนข้างอ้อมก็ตาม



รถไฟที่ขึ้นนี้เป็นรถไฟแบบด่วน จอดเฉพาะสถานีที่สำคัญ จึงไปถึงสถานีเมย์ไดมาเอะที่เป็นเป้าหมายได้ในเวลารวดเร็ว



รถไฟออกจากสถานีคิจิโจวจิ




ถึงสถานีเมย์ไดมาเอะ มาเปลี่ยนรถไฟไปยังสายเคย์โอว เพื่อกลับไปถึงสถานีฟุจู แล้วก็เข้าโรงแรม ตอนที่ถึงก็เกือบเที่ยงคืนแล้ว





เล่าเรื่องจบไปอีกวัน ตอนต่อไปจะเป็นตอนสุดท้าย วันเดินทางกลับ https://phyblas.hinaboshi.com/20190321



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文