φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ชมศาลเจ้าชิโองามะแห่งเมืองชิโองามะแล้วขึ้นรถไฟกลับจากสถานีชิโองามะ
เขียนเมื่อ 2022/09/20 00:05
# เสาร์ 17 ก.ย. 2022

ต่อจากตอนที่แล้วที่เดินทางมาถึงสถานีฮนชิโองามะ (本塩釜駅ほんしおがまえき) ในเมืองชิโองามะ (塩竈市しおがまし) แล้วกินข้าวเที่ยง https://phyblas.hinaboshi.com/20220919

ก่อนจะเดินทางกลับก็ตั้งใจจะถือโอกาสแวะไปเที่ยวสถานที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้ นั่นคือศาลเจ้าชิโองามะ (鹽竈神社しおがまじんじゃ)

ชื่อเมืองชิโองามะและชื่อศาลเจ้าชิโองามะนั้นอาจเขียนด้วยอักษรได้หลายแบบ ได้แก่

鹽竈, 鹽竃, 塩竈, 塩釜

ซึ่งไม่ว่าจะเขียนแบบไหนก็อ่านว่า "ชิโองามะ" (しおがま) เหมือนกัน

อักษร และ นั้นต่างก็อ่านว่า "ชิโอะ" (しお) และมีความหมายว่า "เกลือ" เหมือนกันเพียงแต่ว่า เป็นการเขียนแบบคันจิแบบเก่า (อักษรจีนตัวเต็ม) ในขณะที่ เป็นการเขียนด้วยอักษรแบบปรับปรุงใหม่ซึ่งนิยมใช้ในปัจจุบัน

ส่วน (หรืออาจเขียนย่อเป็น แต่ไม่นิยมใช้) นั้นหมายถึง "เตาอิฐ" ปกติจะอ่านว่า "คามาโดะ" (かまど)

ในขณะที่ นั้นหมายถึง "หม้อ" อ่านว่า "คามะ" (かま) ถือเป็นคันจิคนละตัวและต่างความหมายกับ (หรือ )

ปกติแล้วจะใช้อักษรตัวไหนเขียนก็ได้ ไม่ถือว่าผิด แล้วแต่ว่าเขาจะใช้แบบไหน แต่ว่าชื่ออย่างเป็นทางการนั้นสำหรับชื่อศาลเจ้าจะเขียนเป็น 鹽竈 ในขณะที่ชื่อเมืองจะเขียนเป็น 塩竈 ส่วนชื่อสถานีรถไฟจะเขียนเป็น 塩釜 เป็นต้น

สรุปแล้วก็คือ เราอาจเห็นการเขียนชื่อต่างไปหลายแบบ แต่ไม่ว่าจะเขียนแบบไหนก็หมายถึงชื่อเมืองและชื่อศาลเจ้าแห่งเดียวกันนี้



สำหรับการเดินทางไปศาลเจ้าชิโองามะนั้น โดยทั่วไปแล้วอาจนั่งรถไฟมาลงสถานีฮนชิโองามะ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟที่อยู่ใกล้ที่สุด แล้วเดินไปได้

ครั้งนี้เราอยู่ที่สถานีฮนชิโองามะอยู่แล้ว จากตรงนี้ก็แค่เดินไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางประมาณครึ่งกิโลเมตร

ภาพถ่ายระหว่างเดินจากสถานีฮนชิโองามะไป





ระหว่างทางผ่านศาลเจ้าเล็กๆแห่งหนึ่ง ศาลเจ้าโอกามะ (御釜神社おかまじんじゃ)




ภายในบริเวณศาลเจ้า ที่นี่มีขนาดเล็กนิดเดียว เดินแวะแค่แป๊บเดียวก็เสร็จ




จากนั้นก็เดินต่อไปอีกนิด




แล้วก็มาถึงปากทางที่จะเข้าไปยังศาลเจ้าชิโองามะ




ต้องปีนขึ้นไปตามทางนี้





ในที่สุดก็ขึ้นมาถึงด้านบน



เมื่อขึ้นมาถึงก็เจอพิพิธภัณฑ์ศาลเจ้าชิโองามะ (鹽竈神社博物館しおがまじんじゃはくぶつかん)



แต่ว่าการเข้าชมนั้นต้องเสีย ๒๐๐ เยน แล้วข้างในก็ห้ามถ่ายรูปด้วย ดังนั้นจึงตัดสินใจไม่เข้าไป



เสาโทริอิขนาดใหญ่หน้าทางเดินไปยังตัวศาลเจ้า



เดินขึ้นมาตามทาง



เมื่อขึ้นมาก็เจอกลุ่มคนที่ดูเหมือนว่าจะมาทำการจัดพิธีแต่งงานกันในนี้




ตรงนี้เป็นศาลเจ้าชิวาฮิโกะ (志波彦神社しわひこじんじゃ) เป็นศาลเจ้าเล็กๆอีกแห่งที่ถูกสร้างขึ้นด้านในบริเวณของศาลเจ้าชิโองามะ แต่ถือเป็นคนละศาลเจ้ากัน



เริ่มจากเข้าไปชมในศาลเจ้าชิวาฮิโกะก่อน







ตรงนี้มีแผนที่อยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นกลุ่มอาคารหลักของศาลเจ้าชิโองามะที่อยู่ทางมุมบนซ้าย ส่วนบริเวณเล็กๆที่อยู่ทางขวาคือศาลเจ้าชิวาฮิโกะที่เพิ่งแวะเข้าไปชมมา



ตรงนี้มีภาพเสือน่ารักดี



ต่อไปก็เดินขึั้นไปชมส่วนกลุ่มอาคารหลักของศาลเจ้าชิโองามะ



ภายในบริเวณนี้กว้างใหญ่และสวยงามมากทีเดียว







ร้านขายเครื่องรางปัดเป่าโรคร้าย



ต้นไม้ต้นใหญ่ตั้งเด่นสง่า




วัวที่ให้ลูบเพื่อนำโชค




อาคารตรงนี้ใช้เป็นที่จัดงานแต่งงาน



ระหว่างที่กำลังเดินชมอยู่ก็พบว่ากลุ่มจัดพิธีแต่งงานเดินมาตรงนี้พอดี และได้เห็นเดินเข้าไปข้างในนั้น




การชมภายในบริเวณด้านบนกลุ่มอาคารหลักของศาลเจ้าก็จบลงแค่นี้ แต่ในบริเวณรอบๆศาลเจ้านี้ยังเป็นสวนสวยๆให้เดินชมได้

ลองมองลงไปก็เห็นตัวเมืองที่อยู่ด้านล่างและชายฝั่งทะเลด้วย



ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของนกต่างๆมากมาย



ตรงนี้เป็นกลุ่มอาคารสำนักงาน ไม่ได้เปิดให้เข้าชม แต่เดินดูรอบๆแล้วสวยงามมาก





ตรงนี้มีที่จอดรถสำหรับผู้เข้าชมศาลเจ้า แต่ทางขึ้นของรถนั้นอยู่คนละฝั่งกับที่เราเดินขึ้นมา



จากนั้นก็เดินลงไปออกจากบริเวณศาลเจ้า โดยผ่านคนละเส้นทางกับที่เดินขึ้นมา





จากก็เดินลงมาทางใต้ ขึ้นมาทางนี้



ก็เจอหอศิลป์สึงิมุระ จุงเมืองชิโองามะ (塩竈市杉村惇美術館しおがましすぎむらじゅんびじゅつかん) เห็นว่าอยู่ใกล้ๆกันก็เลยลองแวะมาชมดูนิดหน่อย



ภายในนี้ไม่มีอะไรมาก ส่วนจัดแสดงหลักมีค่าเข้าชม จึงไม่ได้แวะเข้าไป เลยเดินชมเฉพาะส่วนนอกจากตรงนั้น







หลังจากนั้นก็ได้เวลาเดินทางกลับ โดยขากลับนั้นไม่ได้กลับจากสถานีฮนชิโองามะที่เรามาถึงตอนแรก แต่เดินไปขึ้นที่สถานีชิโองามะ (塩釜駅しおがまえき) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ และอยู่บนสายหลักโทวโฮกุ (東北本線とうほくほんせん) คนละสายกับสถานีฮนชิโองามะที่อยู่บนสายเซนเซกิ (仙石線せんせきせん) ซึ่งเราใช้เดินทางตอนขามา สายนี้มีสถานีถี่น้อยกว่าสายเซนเซกิ จึงเดินทางได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับตอนขามา

ระหว่างทางเดินไปสถานี ผ่านสุสาน




เส้นทางเป็นย่านชุมชนบนทางลาด






แล้วในที่สุดก็เดินทางมาถึงสถานีชิโองามะ




ตอนที่มาถึงนั้นได้เวลารถไฟรอบ 14:34 พอดี จึงรึบขึ้นรถไฟเพื่อกลับ ค่ารถไฟจากสถานีนี้ไปยังสถานีเซนไดเป็น ๒๔๒ เยน



จากนั้นก็นั่งรถไฟกลับถึงเซนได การเที่ยวครั้งนี้ก็จบลงเท่านี้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文