φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



การสร้างภาพพาโนรามาทรงกลม ๓๖๐​ องศาโดยใช้ comfyui
เขียนเมื่อ 2024/08/10 12:49
 

บทความนี้จะแนะนำการสร้างภาพพาโนรามาทรงกลม ๓๖๐ องศาด้วยสเตเบิลดิฟฟิวชัน (stable diffusion) โดยใช้ comfyui

พาโนรามาทรงกลมคือภาพที่เหมือนเอาผิวทรงกลมมาทาบลงบนผิวสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อแสดงเป็นรูปภาพ ในการสร้างภาพสามมิตินิยมใช้ภาพแบบนี้ในการทำฉากหลังโดยการเอาไปแปะบนผิวทรงกลม แสดงทิวทัศน์รอบตัว ๓๖๐ องศา และบนล่างตั้งแต่เหนือหัวจนถึงใต้เท้า (บวกลบ ๙๐ องศา)

ตัวอย่างภาพ (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่ได้)



การสร้างภาพแบบนี้ขึ้นมาได้ในสเตเบิลดิฟฟิวชันสามารถทำได้โดยใช้ lora ที่ชื่อว่า latentlabs360

อนึ่ง เรื่องของการใช้งาน comfyui พื้นฐานและการใช้ lora นั้นในที่นี้จะขอละไว้ไม่อธิบาย สามารถค้นหาบทความอ่านเพิ่มเติมกันได้




latentlabs360

latentlabs360 เป็น lora ตัวหนึ่งที่เอาไว้ใช้ปรับแก้ตัวแบบในสเตเบิลดิฟฟิวชันให้สามารถสร้างภาพออกมาเป็นพาโนรามาทรงกลมได้

การใช้งานใน comfyui ก็ให้เข้าไปในหน้าที่แจกไฟล์เพื่อทำการโหลดไฟล์ LatentLabs360.safetensors มาแล้ววางไว้ในโฟลเดอร์ model/loras จากนั้นก็เรียกใช้ด้วยวิธีการเหมือนกับ lora ทั่วไป

https://civitai.com/models/10753/latentlabs360

lora ตัวนี้ใช้กับตัวแบบทั่วไปได้ ได้ทั้งภาพสมจริงและภาพอนิเมะ แต่ว่าน่าเสียดายที่ใช้กับ SDXL ไม่ได้เพราะถูกสร้างขึ้นมาสำหรับใช้กับตัวแบบดั้งเดิม

ขนาดภาพที่สร้างได้ดีที่สุดคือ 1024×512 ดังนั้นในที่นี้ก็จะใช้แต่ขนาดนี้เป็นหลัก

คำที่ใช้เป็นตัวกระตุ้น (trigger word) สำหรับทำให้ lora ตัวนี้ทำงานก็คือ "a 360 equirectangular panorama" ดังนั้นจำเป็นต้องใส่ไว้เสมอ ไม่งั้นก็จะได้เป็นภาพธรรมดา

เพียงแต่ว่าแค่นี้ยังไม่สามารถสร้างภาพพาโนรามาทรงกลมที่ใช้งานจริงได้ เพราะว่าภาพที่สร้างได้นั้นริมซ้ายกับขวาจะยังไม่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้นไม่สามารถนำมาหมุน ๓๖๐ องศาให้ได้ภาพที่ต่อเนื่องไร้รอยต่อ

เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้จำเป็นต้องติดตั้งปลักอินเสริมเพื่อจะใช้โหนดสำหรับจัดการตรงนี้โดยเฉพาะด้วย




ปลักอินที่ใช้

การแก้ปัญหาขอบภาพซ้ายขวาไม่ต่อเนื่องทำได้โดยการไปปรับแก้ตัว ksampler และ VAE ซึ่งก็มีปลักอันอยู่ ๒ ชนิดที่สามารถใช้งานได้ ได้แก่

ทั้ง ๒ ตัวนี้มีวิธีการเชื่อมโหนดที่ต่างกันเล็กน้อย แต่กลไกการทำงานภายไหนเหมือนกัน สามารถให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน ดังนั้นจะใช้ตัวไหนก็ได้แล้วแต่สะดวก

อย่างไรก็ตาม tiled_ksampler จะใช้ง่ายกว่าหน่อย ดังนั้นในที่นี้จะขอแนะนำการเชื่อมโหนดโดยใช้ตัวนี้เป็นหลัก



การเชื่อมโหนด tiled_ksampler

การใช้งาน tiled_ksampler นั้นทำได้ง่ายโดยแค่แทนที่โหนด KSampler ที่ใช้อยู่ปกติด้วย Asymmetric Tiled KSampler แล้วก็แทนที่ VAEDecode ด้วย Circular VAEDecode

สำหรับค่าภายในโหนดให้ปรับ tileX เป็น 1 ซึ่งหมายถึงว่าให้วนซ้ำในแนวแกน x (แนวนอน) และ tileY เป็น 0 เพื่อไม่ให้วนซ้ำแนวแกน y (แนวตั้ง) ไปด้วย นอกนั้นค่าที่ปรับอื่นๆก็เหมือนกับ ksampler ทั่วไป

เมื่อเชื่อมเสร็จก็ได้จะได้ออกมาประมาณนี้



ตัวแบบที่ใช้ในครั้งนี้คือ absolutereality_v181 สำหรับสร้างภาพแบบสมจริง

อนึ่ง ในที่นี้มีการใช้โหนด DeepTranslatorCLIPTextEncodeNode เพื่อทำการแปลอัตโนมัติซึ่งได้อธิบายไปในบทความก่อนหน้านี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20240702

และก็ยังได้ใช้โหนด SaveImagePlus ซึ่งอธิบายไปในอีกบทความนึงด้วย https://phyblas.hinaboshi.com/20240706

ซึ่งถ้าใครไม่ต้องการก็ใช้โหนด CLIPTextEncode ที่ไม่ต้องแปลหรือ SaveImage ที่บันทึกภาพเป็น .png แบบเดิมก็ได้เช่นกัน ส่วนที่สำคัญจริงๆสำหรับครั้งนี้คือ Asymmetric Tiled KSampler และ Circular VAEDecode เพื่อจะให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ

ส่วนภาพที่ได้ออกมาก็เป็นแบบนี้ จะเห็นว่าซ้ายกับความต่อเนื่องกันดี เป็นไปตามที่ควรจะเป็น



สามารถเอาภาพนี้ไปลากเข้าหน้าจอ comfyui เพื่อโหลดผังโหนดขึ้นมาได้ เพียงแต่ว่าภาพนี้เป็น jpg ดังนั้นจะต้องติดตั้งปลักอิน Save Image Extended for ComfyUI หรือ Save Image Plus for ComfyUI ดังที่ได้อธิบายไปในบทความที่แล้วด้วยจึงจะอ่านได้ ไม่เช่นนั้นจะอ่านได้แต่ png



ไฟล์ .json กระแสงาน

สำหรับตัวไฟล์กระแสงานแบบฉบับย่อขอแปะไว้ในนี้ด้วย สามารถคัดลอกไปใช้กันดูได้
{
  "1": {
    "inputs": {
      "ckpt_name": "absolutereality_v181.safetensors"
    },
    "class_type": "CheckpointLoaderSimple"
  },
  "2": {
    "inputs": {
      "width": 1024,
      "height": 512,
      "batch_size": 1
    },
    "class_type": "EmptyLatentImage"
  },
  "3": {
    "inputs": {
      "lora_name": "LatentLabs360.safetensors",
      "strength_model": 1,
      "strength_clip": 1,
      "model": ["1", 0],
      "clip": ["1", 1]
    },
    "class_type": "LoraLoader"
  },
  "4": {
    "inputs": {
      "from_translate": "thai",
      "to_translate": "english",
      "add_proxies": false,
      "proxies": "",
      "auth_data": "",
      "service": "GoogleTranslator [free]",
      "text": "a 360 equirectangular panorama, สวนหลังวัด",
      "Show proxy": "proxy_hide",
      "Show authorization": "authorization_hide",
      "clip": ["3", 1]
    },
    "class_type": "DeepTranslatorCLIPTextEncodeNode"
  },
  "5": {
    "inputs": {
      "from_translate": "thai",
      "to_translate": "english",
      "add_proxies": false,
      "proxies": "",
      "auth_data": "",
      "service": "GoogleTranslator [free]",
      "text": "คุณภาพต่ำ",
      "Show proxy": "proxy_hide",
      "Show authorization": "authorization_hide",
      "clip": ["3", 1]
    },
    "class_type": "DeepTranslatorCLIPTextEncodeNode"
  },
  "6": {
    "inputs": {
      "seed": 1060003804082621,
      "tileX": 1,
      "tileY": 0,
      "steps": 20,
      "cfg": 7,
      "sampler_name": "ddim",
      "scheduler": "ddim_uniform",
      "denoise": 1,
      "model": ["3", 0],
      "positive": ["4", 0],
      "negative": ["5", 0],
      "latent_image": ["2", 0]
    },
    "class_type": "Asymmetric Tiled KSampler"
  },
  "7": {
    "inputs": {
      "samples": ["6", 0],
      "vae": ["1", 2]
    },
    "class_type": "Circular VAEDecode"
  },
  "8": {
    "inputs": {
      "filename_prefix": "latentlabs360",
      "file_type": "JPEG",
      "remove_metadata": false,
      "images": ["7", 0]
    },
    "class_type": "SaveImagePlus"
  }
}




การใช้ร่วมกับ controlnet inpaint

ตัวอย่างการเชื่อมโหนดที่ยกมาข้างต้นซึ่งใช้ tiled_ksampler นั้นดูเรียบง่าย แต่ก็พบว่ามีปัญหาอยู่อย่างคือภาพที่ได้ดูจะซ้ำๆเดิมและไม่ค่อยเป็นไปตามข้อความที่เขียนสั่งมากเท่าที่ควร

ที่จริงถ้าหากลองไม่ใช่ tiled_ksampler ก็จะได้ภาพหลากหลากและเป็นไปตามที่ต้องการมากขึ้น แต่ปัญหาคือภาพที่ได้จะไม่มีความต่อเนื่องระหว่างขอบซ้ายขวา ซึ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้เหมือนกัน

เพื่อที่จะสร้างภาพที่วนซ้ำโดยไม่ใช่ tiled_ksampler เราจึงได้คิดวิธีการแก้ปัญหาขึ้นมาโดยใช้ controlnet inpaint เข้าช่วย

วิธีการก็คือสร้างภาพออกมาทีนึงก่อน จากนั้นจึงแบ่งครึ่งซ้ายขวา เอามาวางสลับกัน เท่านี้ขอบซ้ายขวาก็จะต่อเนื่องกันแล้ว แต่จะกลายเป็นตรงกลางจะไม่ต่อเนื่องกันแทน เราก็ทำการสร้างตรงกลางขึ้นใหม่โดยใช้ controlnet inpaint วาดส่วนนี้ซ้ำอีก

โดยรวมแล้วภาพที่ออกมาดูจะสวยกว่า แต่บางทีตรงรอยต่อก็ดูไม่เนียน ขนาดความสมจริงไปบ้าง ถ้าบางครั้งก็ไม่เป็น ลองสุ่มใหม่ดูหลายครั้งได้ ผลที่ได้มีความหลากหลายเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปตามการสุ่มมากกว่ากรณีที่ใช้ tiled_ksampler

ผังงานที่ได้นั้นเนื่องจากต้องตัดต่อปรับแต่งมากจึงออกมาซับซ้อน กลายเป็นแบบนี้



สำหรับปลักอินและโหนดที่ต้องลงเพิ่มเพื่อที่จะใช้ผังอันนี้มีอีก ๓ อย่างคือ

ส่วนภาพที่สร้างได้จะออกมาเป็นแบบนี้ สามารถเอาภาพนี้ไปวางเพื่อดูแผนผังเชื่อมโหนดได้ ครั้งนี้โหนดค่อนข้างยาวเลยไม่ขอเอามาลงในนี้โดยตรง



นอกจากนี้แล้วเราก็ได้เอาไฟล์ .json กระแสงานนี้ไปลงไว้ใน github ด้วย ถ้าใครสนใจผังกระแสงานนี้หรือแบบอื่นๆอีกสามารถเข้าไปดูกันได้

https://github.com/phyblas/stadif_comfyui_workflow

ต่อจากนี้ทำอะไรใน comfyui ก็กะว่าจะเอามาลงในนี้เรื่อยๆ ถ้าใครถูกใจก็ฝากกดดาว ☆ กันด้วย


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> สเตเบิลดิฟฟิวชัน >> comfyui

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文