φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



javascript เบื้องต้น บทที่ ๓๕: ซิมโบล
เขียนเมื่อ 2020/02/03 13:32
แก้ไขล่าสุด 2024/01/24 22:22


ในบทที่ ๓ ได้เขียนถึงข้อมูลชนิดต่างๆที่มีตั้งแต่ ES3 ไปแล้วว่ามี ๕ ชนิด ตัวเลข (number), สายอักขระ (string), บูล (boolean), ออบเจ็กต์ (object), ฟังก์ชัน (function)

ใน ES6 มีชนิดข้อมูลเพิ่มมาอีกอย่างคือชนิดที่เรียกว่าซิมโบล (symbol)

นี่เป็นข้อมูลที่มีความเข้าใจยากหน่อย และอาจไม่ได้ใช้งานมากเท่าชนิดอื่น แต่ก็มีประโยชน์ในการใช้งานในบางกรณีจึงได้ถูกเพิ่มเข้ามา

ในบทนี้จะพูดถึงการสร้างและการใช้งานซิมโบล



การสร้างซิมโบล

ข้อมูลชนิดซิมโบลสามารถสร้างขึ้นได้โดยฟังก์ชัน Symbol
let sol = Symbol();
alert(typeof sol); // ได้ symbol

ซิมโบลจะไม่เปลี่ยนเป็นสายอักขระโดยอัตโนมัติ ดังนั้นถ้าใช้กับ alert หรือนำไปคำนวณกับข้อมูลชนิดอื่นจะเกิดข้อผิดพลาด แต่สามารถใช้เมธอด .toString เพื่อเปลี่ยนเป็นสายอักขระโดยตรงได้
alert(sol.toString()); // ได้ Symbol()
alert(sol); // ได้ TypeError: can't convert symbol to string
sol+1; // ได้ TypeError: can't convert symbol to number

Symbol ใช้เป็นฟังก์ชันสร้างข้อมูลโดยตรงเท่านั้น ใช้ new แบบคอนสตรักเตอร์ไม่ได้ ต่างจากพวก Number, String, Object ที่สามารถใช้ได้
let sol = new Symbol() // ได้ TypeError: Symbol is not a constructor

สามารถใส่คำอธิบายลงไปในวงเล็บตอนสร้างซิมโบลได้ คำที่ใส่ไปจะปรากฏตอนใช้ toString()
let sol = Symbol("ซิม")
alert(sol.toString()) // ได้ Symbol(ซิม)




คุณสมบัติของซิมโบล

คุณสมบัติที่สำคัญของซิมโบลก็คือไม่ว่าจะไปเปรียบเทียบด้วย == หรือ === กับอะไรก็จะได้ false หมด แม้แต่ซิมโบลที่ถูกสร้างให้เหมือนกันก็ตาม

แต่จะได้ true เมื่อเทียบกับตัวมันเองเท่านั้น หรือเป็นตัวแปรที่รับค่าจากซิมโบลตัวนั้นโดยตรง
let sol1 = Symbol("ซิม");
let sol2 = Symbol("ซิม");
alert(sol1==sol2); // ได้ false
alert(sol1===sol2); // ได้ false
alert(sol1=="sol1"); // ได้ false
alert(sol1==sol1); // ได้ true
alert(sol1===sol1); // ได้ true

let sol3 = sol1;
alert(sol1==sol3); // ได้ true
alert(sol1===sol3); // ได้ true

ในตัวอย่างนี้ sol1 และ sol2 ต่างก็คือ Symbol("ซิม") เหมือนกัน แต่พอมาเปรียบเทียบกันกลับได้ false นั่นเพราะซิมโบลแต่ละตัวจะถือว่าไม่ซ้ำกับใครนอกจากตัวมันเอง

แต่ sol3 ในที่นี้คือแทน sol1 โดยตรง ดังนั้นจึงถือเป็นซิมโบลตัวเดียวกัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบจึงถือว่าเท่ากัน

คุณสมบัติตรงนี้คือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของซิมโบล ซึ่งจะถูกนำไปใช้ประโยชน์




การใช้ซิมโบลแทนค่าคงที่

สมมุติว่าเราต้องการค่าคงที่ที่แทนอะไรบางอย่างเพื่อแยกว่าเป็นของคนละชนิดกัน เพื่อใช้แยกกรณี หรือเป็นตัวเลือกอะไรบางอย่าง

โดยทั่วไปตัวอย่างที่เห็นมากก็คือใช้ตัวเลขแทนเพื่อแบ่งแยก เช่น
const MISAKA = 0;
const SHIRAI = 1;
const UIHARU = 2;
const SATEN = 3;

function f(k) {
  if (k === MISAKA) {
    // คำสั่งอะไรบางอย่าง
  }
  else if (k === SHIRAI) {
    // คำสั่งอะไรบางอย่าง
  }
  else {
    // คำสั่งอะไรบางอย่าง
  }
}

let u = UIHARU, m = MISAKA;
f(m); // เข้าเงื่อนไข if แรก
f(SHIRAI); // เข้าเงื่อนไขที่ ๒
f(u); // เข้าเงื่อนไข else สุดท้าย

การใช้ตัวเลขแบบนี้ก็ใช้ได้ก็จริง แต่ว่าถ้าแบบนี้หมายความว่าไม่ต้องแทนด้วยตัวแปรค่าคงที่นั้น แต่ใส่ตัวเลข 0, 1, 2, ... ไปธรรมดาก็ใช้งานได้เหมือนกัน เพราะเนื้อในค่าในนี้จริงๆก็เป็นตัวเลข
let x = 0;
if (x === MISAKA) {
  // คำสั่งอะไรบางอย่าง
}

แบบนี้ผลที่ได้ก็จะเป็นจริงแล้วเข้าเงื่อนไขได้เหมือนกัน

แม้ที่จริงตรงนี้ใช้ตัวเลขแทนไปเลยก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรหนัก แต่เพื่อความอ่านง่ายจึงเก็บไว้ในข้อมูลที่เป็นตัวแปร จะง่ายกว่าต้องมาจำว่าเลขอะไรแทนอะไร อีกทั้งถ้าเผลอใช้เลขซ้ำกันขึ้นมาก็จะเกิดบั๊กได้ง่าย

อีกทั้งยังต้องกำหนดเป็นตัวเลขทั้งๆที่จริงๆเราแค่ต้องการตัวแปรที่แค่แยกแยะให้เห็นว่าเป็นข้อมูลคนละตัวกันเท่านั้นเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเลข ขอแค่เป็นสิ่งที่ต่างกัน

ดังนั้นตรงนี้เราสามารถใช้ซิมโบลแทนได้ เพราะซิมโบลมีคุณสมบัติที่จะไม่ซ้ำกับตัวใดๆที่นอกเหนือจากมันเอง
const MISAKA = Symbol();
const SHIRAI = Symbol();
const UIHARU = Symbol();
const SATEN = Symbol();

let x = SATEN;
alert(x == SATEN); // ได้ true
alert(x == MISAKA); // ได้ false

แบบนี้จะแน่นอนได้ว่าค่าคงที่แต่ละตัวไม่มีใครมาซ้ำกับตัวนั้นเองหรือตัวแปรที่ใช้เท่ากับ = ป้อนให้ตัวนั้นโดยตรงเท่านั้น

ซิมโบลทุกตัวจะสร้างเป็น Symbol() เฉยๆโดยไม่ต้องใส่คำอธิบายในวงเล็บเลยเหมือนกันหมดเลยก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะยังไงก็ถือเป็นคนละตัวกันถ้าสร้างใหม่แยกกัน หรืออาจใส่คำอธิบายไปในวงเล็บด้วยก็ได้ เช่น Symbol("นี่คือซิม") แต่ก็ไม่ได้มีผลอะไร




การใช้ซิมโบลแทนคีย์ของออบเจ็กต์

ซิมโบลสามารถใช้เป็นคีย์ของออบเจ็กต์ได้ด้วย

ตัวอย่าง สร้างซิมโบลขึ้นมาแล้วใช้เป็นคีย์ในออบเจ็กต์โดยการใส่วงเล็บเหลี่ยม [ ] คร่อมชื่อตัวแปร
const INDEX = Symbol();
const TOUMA = Symbol();
let toaru = {
    [INDEX]: 10000,
    [TOUMA]: 100
};

alert(toaru.INDEX); // ได้ undefined
alert(toaru[INDEX]); // ได้ 10000
alert(toaru["INDEX"]); // ได้ undefined
alert(toaru[TOUMA]); // ได้ 100
alert(toaru[Symbol()]); // ได้ undefined
let i2 = INDEX;
alert(toaru[i2]); // ได้ 10000

จะเห็นว่าออบเจ็กต์นี้ใช้คีย์เป็นซิมโบลเหมือนกัน แต่ถือเป็นคีย์คนละตัวกัน และถึงสร้างซิมโบลใหม่ก็ไม่อาจมาใช้แทนได้ ที่จะใช้แทนได้ก็มีแต่ตัวแปรที่ตั้งค่าให้เป็นซิมโบลตัวนั้นเองเท่านั้น

ประโยชน์จากการใช้ซิมโบลเป็นชื่อพรอเพอร์ตีก็คือสามารถสร้างสิ่งที่เรียกว่าพรอเพอร์ตีส่วนตัว (private property) และเมธอดส่วนตัว (private method) ให้กับออบเจ็กต์ได้

แต่วิธีนี้มักจะใช้เมื่อสร้างคลาสขึ้นมาในมอดูล ดังนั้นก็จะยกไปเขียนถึงในบทถัดไปซึ่งว่าด้วยเรื่องของการสร้างมอดูล






-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> javascript

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文