φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



การใส่ความสามารถเพิ่มเติมให้สายอักขระใน javascript สามารถใช้ sprintf ได้
เขียนเมื่อ 2019/07/07 14:45
แก้ไขล่าสุด 2024/02/16 20:53
ใครที่เคยใช้ภาษาซี หรือไพธอน รูบี หรือ php มาก่อน คงจะชินกับการแปลงข้อมูลตัวเลขเป็นสายอักขระโดยใช้ %d %f %x พวกนี้

แต่พอมาใช้จาวาสคริปต์ก็จะต้องพบความจริงที่โหดร้ายที่ว่าจาวาสคริปต์ไม่มีเตรียมฟังก์ชันทำหรับที่จะทำแบบนั้นเอาไว้เลย

ฟังก์ชันนี้แรกเริ่มเดิมทีมาจากภาษาซี โดยที่เวลาใช้ฟังก์ชัน printf จะกำหนดรูปแบบแล้วก็ตัวแปรที่จะแทนค่าเข้าไปได้อิสระ เช่น printf("%02d__%.3f",1,2) จะแสดงค่า 01__2.000 ออกมา

แต่ถ้าแค่ต้องการแปลงเป็นสายอักขระเฉยๆเก็บไว้ในตัวแปรปกติจะใช้ฟังก์ชันชื่อ sprintf แทน

ฟังก์ชัน sprintf ได้ถูกนำมาใส่ใน php เช่นกัน วิธีใช้ก็เหมือนในภาษาซี http://www.w3school.com.cn/php/func_string_sprintf.asp

ไพธอนและรูบีก็ได้นำความสามารถของฟังก์ชันนี้มาใช้ แต่ปรับให้ใช้กับตัวดำเนินการ % แทน

เช่น ถ้าเป็นในไพธอน ปกติเขียนสายอักขระแล้วต่อด้วย % แล้วตามด้วยทูเพิลของค่าที่ต้องการป้อนเข้า เช่น แบบนี้ '%06d %.5f'%(112,129.3) จะได้ '000112 129.30000'

ส่วนในรูบีจะเขียนเป็น '%06d %.5f'%[112,129.3] ผลที่ได้ก็เหมือนกัน

ในจาวาสคริปต์ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังดีที่ในจาวาสคริปต์เราสามารถเพิ่มเมธอดใหม่เข้าไปให้กับออบเจ็กต์ที่มีอยู่แล้วได้อย่างง่ายดาย

ใช่แล้ว เมื่อไม่มีอยู่ก็สร้างขึ้นมาใหม่ซะเองเลยสิ

ว่าแล้วก็ลองเขียนขึ้นเองดูโดยใช้เรกูลาร์เอ็กซ์เพรชชัน (regex)

เราสามารถใส่เมธอดใหม่ให้คล้ายกับเวลาที่ไพธอนหรือรูบีใช้ % โดยในที่นี้จะให้เขียนเป็น '%06d %.5f'.$(112,129.3) ที่จริงอยากให้ใช้ % ได้เหมือนกัน แต่ไม่มีวิธีที่จะทำได้ เลยใช้ $ แทน

หากใส่ฟังก์ชันลงไปให้ String.prototype.$ ก็จะสามารถเรียกใช้ได้จากสายอักขระทุกตัว

ต่อไปนี้เป็นโค้ดที่ใช้
String.prototype.$ = function (...a) {
  i = -1
  return this.replace(
    /(%+)(#+)?(\+)?(0)?(\d+|\*)?(\.(\d+))?([bBcdeEfFgGiosuxX])/g,
    function (...m) {
      /* คำอธิบายตัวแปร
      m[1]: กลุ่มเครื่องหมาย % ด้านหน้า
      m[2]: กลุ่มเครื่องหมาย # ด้านหน้า ถ้ามี (มีผลกับ b, o, x, X)
      m[3]: เครื่องหมาย + ถ้ามี
      m[4]: ถ้ามีเลข 0 ให้เติมด้วย 0 ถ้าไม่มีให้เติมด้วยช่องว่าง
      m[5]: ส่วนที่บอกว่าจะเติมสายอักขระให้ยาวอย่างต่ำกี่ตัว
      m[6]: ส่วนที่บอกว่าจะเอาเลขทศนิยมกี่ตำแหน่ง
      m[7]: จำนวนตำแหน่งทศนิยม
      m[8]: ตัวกำหนดรูปแบบการเขียน
      */

      // เริ่มจากจัดการกับเครื่องหมาย % ด้านหน้า
      if (m[1].length % 2 == 0) {
        // ถ้าจำนวนของ % เป็นเลขคู่ แค่ลดจำนวน % เหลือครึ่ง
        return m[0].replace(/%%/g, "%")
      }
      // ถ้าจำนวนของ % เป็นเลขคี่ จึงดำเนินการแทนค่า
      i++

      // ขึ้นต้นด้วย % ที่นำหน้า ถ้ามี แต่เหลือครึ่งเดียว
      s = m[1].slice(0, m[1].length / 2)

      k = ""
      // ใส่เรื่องหมาย + ถ้าระบุ + และค่าเป็นจำนวนบวกและไม่ใช่สายอักขระ
      if (m[3] && !"cs".includes(m[8]) && a[i] > 0) {
        k = "+"
      }
      
      // จำนวนที่จะเติม 0 หรือช่องว่าง
      p = 0
      // ถ้าใส่เป็น * มาให้ดึงตัวเลขข้างหน้ามาใช้แล้วแปลงค่าตัวถัดไปแทน
      if (m[5] == "*") {
        p = a[i]
        i++ // เลื่อนไปอีกตำแหน่ง
      } // ถ้ามีโดยใส่มาเป็นตัวเลขให้ใช้ตัวเลขนั้น
      else if (m[5]) {
        p = parseInt(m[5])
      }

      // แปลงข้อมูลตามชนิดที่ใส่มา
      // เลขฐาน 2
      if ("bB".includes(m[8])) {
        // ถ้ามี #
        if (m[2]) {
          if (m[8] == "B") k += "0B"
          else k += "0b"
        }
        k += a[i].toString(2)
      } // โค้ดตัวหนังสือ
      else if (m[8] == "c") {
        k += String.fromCharCode(a[i])
      } // เลขจำนวนเต็ม
      else if ("diu".includes(m[8])) {
        if (typeof (a[i]) != "number")
          throw TypeError // ถ้าไม่ใช่ตัวเลขก็ให้เกิดข้อยกเว้นขึ้น
        k += parseInt(a[i])
      } // เลขทศนิยมในรูป E
      else if ("eE".includes(m[8])) {
        if // ถ้าระบุจำนวนตำแหน่งทศนิยม
          (m[6]) e = a[i].toExponential(m[7])
        else // ถ้าไม่ระบุจำนวนตำแหน่งทศนิยมก็ให้เป็น 6
          e = a[i].toExponential(6)
        // กรณีที่เลขหลัง +- มีหลักเดียว เติม 0 อีกตัว
        if ("+-".includes(e[e.length - 2]))
          e = e.replace("e+", "e+0").replace("e-", "e-0")
        if (m[8] == "E") // กรณี E เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
          e = e.replace("e", "E")
        k += e
      } // เลขทศนิยม
      else if ("fF".includes(m[8])) {
        if (m[6]) // ถ้าระบุจำนวนตำแหน่งทศนิยม
          k += a[i].toFixed(m[7])
        else // ถ้าไม่ระบุจำนวนตำแหน่งทศนิยมก็ให้เป็น 6
          k += a[i].toFixed(6)
      } // เลขที่ปรับรูปตามสมควร
      else if ("gG".includes(m[8])) {
        if (typeof (a[i]) != "number")
          throw TypeError // ถ้าไม่ใช่ตัวเลขก็ให้เกิดข้อยกเว้นขึ้น
        if (a[i] >= 0.0001 && a[i] < 1000000) // กรณีเลขไม่มากหรือน้อยเกินไป
          k += a[i]
        else { // กรณีเลขมากหรือน้อยจนถึงระดับหนึ่ง
          e = a[i].toExponential()
          // กรณีที่เลขหลัง +- มีหลักเดียว เติม 0 อีกตัว
          if ("+-".includes(e[e.length - 2]))
            e = e.replace("e+", "e+0").replace("e-", "e-0")
          if (m[8] == "G") // กรณี G เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
            e = e.replace("e", "E")
          k += e
        }
      } // เลขฐาน 8
      else if (m[8] == "o") {
        if (m[2]) k += '0o' // ถ้ามี #
        k += a[i].toString(8)
      } // เลขฐาน 16 โดยใช้ตัวพิมพ์เล็ก
      else if (m[8] == "x") {
        if (m[2]) k += '0x' // ถ้ามี #
        k += a[i].toString(16)
      } // เลขฐาน 16 โดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่
      else if (m[8] == "X") {
        if (m[2]) k += '0X' // ถ้ามี #
        k += a[i].toString(16).toUpperCase()
      } // สายอักขระธรรมดา
      else {
        k += a[i]
      }

      // ใส่ 0 หรือช่องว่าง
      _0 = ""
      if (p) {
        n0 = p - k.length
        while (n0 > 0) {
          n0--
          // ใส่ 0 ถ้าระบุ 0 และไม่ใช่สายอักขระ
          if (!"cs".includes(m[8]) && m[4] == "0")
            _0 += "0"
          // ใส่ช่องว่าง
          else
            _0 += " "
        }
      }

      // ถ้าเลือกเติม 0 และมีเครื่องหมาย +- อยู่ให้แทรกไว้หลัง +-
      if ("+-".includes(k[0]) && _0[0] == "0")
        s += k[0] + _0 + k.slice(1)
      else // ถ้าไม่มี +- ก็เติม 0 หรือช่องว่างไปเลย
        s += _0 + k
      return s
    }
  )
}

// ทดลองใช้
ss = `%+04d
%+4d
%+3d
%%d
%%%%02d
%%%d
%8.3f
%9.3E
%#03o
%#05x
%+07X
%#b
%c
%+7s
%7G
%g
%0*d
%0*.2f`
console.log(ss.$(1, 1.1, -2, 3.1, 4.2, 0.0053, 9, 1965, 1965, 61, 100, "ห", 0.02, 2e-5, 5, 1, 7, 1.11))
ผลที่ได้
+001
  +1
 -2
%d
%%02d
%3
   4.200
5.300E-03
0o11
0x7ad
+0007AD
0b111101
d
      ห
   0.02
2e-05
00001
0001.11

ที่จริงผลบางส่วนอาจไม่ได้เหมือนกับ sprintf ของจริงทั้งหมด แต่ก็ถือว่าใช้แทนได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

ข้างล่างนี้คือพื้นที่ทดสอบ sprintf โดยใช้โค้ดข้างต้นนี้ในการแปลงอักษร ลองทดสอบใช้กันดูได้

sprintf

ข้อมูล
สายอักขระ
ผลลัพธ์



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> javascript

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文