φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ระบบสุริยะของสวีเดนภายในสตอกโฮล์ม
เขียนเมื่อ 2014/06/25 00:08
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พฤหัส 8 พ.ค. 2014

หลังจากที่ได้ไปตามหาโลกและดวงจันทร์ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสวีเดนมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20140623

การเที่ยวในตอนนี้จะเป็นสถานที่เที่ยวในแบบของผู้ที่ชื่นชอบดาราศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องระบบสุริยะ

เพราะต่อจากตรงนี้เราจะไปเก็บสถานที่ที่เหลือเพื่อตามล่าหาระบบสุริยะในสวีเดน ดังที่หนุ่มแทนจ็อนเขียนไว้ใน http://daejeonastronomy.wordpress.com/2013/10/15/the-astronomical-place-01-sweden-solar-system

จากตอนที่แล้วได้ไปเห็นโลกกับดวงจันทร์มาแล้ว สถานที่ที่เหลือที่จะไปก็ได้แก่
ดาวอังคาร ที่เมอร์บือเซนทรุม (Mörby centrum)
ดาวพุธ ที่พิพิธภัณฑ์เมืองสตอกโฮล์ม (Stockholm Stadmuseum)
ดวงอาทิตย์ ที่อีริคสันโกลบ (Ericsson Globe) หรือ โกลเบิน (Globen)



เริ่มจากเมอร์บือเซนทรุม ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเมืองดานเดรืด (Danderyd) ซึ่งอยู่ในเขตปริมณฑลของสตอกโฮล์ม เป็นสถานที่ปลายสุดทางเหนือที่มีรถไฟฟ้าจากใจกลางสตอกโฮล์มไปถึง

เมอร์บือเซนทรุมเป็นสุดทางของสถานีรถไฟฟ้าสาย T14 โดยอยู่ห่างจากสถานีอูนิเวอร์ซีเตเต็ตซึ่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสวีเดนไป ๓ สถานี และห่างจากสถานีใจกลางไป ๑๐ สถานี



ตอนที่เสร็จจากเที่ยวพิพิธภัณฑ์แล้วเดินกลับไปถึงสถานีก็พบว่ารถเพิ่งออกพอดี เลยต้องรอสิบนาที รถไฟฟ้าสายนี้ค่อนข้างจะมีน้อย แต่ละรอบออกห่างกันพอสมควร ถ้าพลาดทีต้องรอนาน

แล้วก็มาถึงสถานีเมอร์บือเซนทรุม



สถานีนี้อยู่ด้านใต้ศูนย์การค้าเลย พอขึ้นบันไดไปก็จะไปโผล่ที่ตัวห้าง



เดินออกมายืนผ่านด้านหน้าตึกสักหน่อย



บรรยากาศภายในนี้ ก็เป็นศูนย์การค้าธรรมดา ไม่มีอะไรมาก



ดาวอังคารอยู่ที่ด้านหน้าห้างโอเลนส์ (Åhléns)



ถ่ายใกล้ๆ



ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓๕ ซม. อยู่ห่างจากอีริคสันโกลบซึ่งเป็นดวงอาทิตย์ไป ๑๑.๖ กม.



ที่ผิวของดาวอังคารอันนี้มีรอยรูปที่เหมือนเป็นมนุษย์ต่างดาวอยู่ด้วย





หลังจากถ่ายดาวอังคารเสร็จแล้ว เป้าหมายต่อไปก็คือดาวพุธ ซึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองสตอกโฮล์ม การเดินทางไปนั้นไปได้โดยนั่งรถไฟฟ้าสายเดิมย้อนกลับไปยังใจกลางเมือง

ลงที่สถานีสลุสเซิน (Slussen) ซึ่งอยู่บนเกาะเซอเดอร์มาล์ม สถานีนี้อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกลางสตอกโฮล์มไปสองสถานี และเป็นสถานีหลักสำคัญที่รถไฟฟ้าเกือบทุกสายต้องวิ่งผ่าน



เมื่อออกมาจากสถานีตัวพิพิธภัณฑ์ก็อยู่ข้างหน้านี้เลย




ประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ แต่ว่าตอนที่ไปมันปิดเรียบร้อย แต่ไม่เป็นไรเพราะเป้าหมายเราอยู่ด้านนอก



ลานกว้างบริเวณหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์



แบบจำลองดาวพุธซึ่งเป็นเป้าหมายนั้นตั้งอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้า



ดาวพุธนี้เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒๕ ซม. อยู่ห่างจากอีริคสันโกลบซึ่งเป็นดวงอาทิตย์ไป ๒.๙ กม.





จากตรงนี้ถ้าย้อนกลับไปทางเหนือและข้ามสะพานก็จะไปถึงบริเวณย่านเมืองเก่า กัมลาสตอน (Gamla stan)



ถ้าตรงต่อไปทางใต้ก็จะไปยังแถวๆโรงแรมที่เราพักอยู่ และเป้าหมายต่อไปก็อยู่ทางนี้



เมื่อถ่ายดาวพุธเสร็จเราก็กลับมาขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อไปยังเป้าหมายต่อไปคืออีริคสันโกลบ ซึ่งอยู่ที่สถานีโกลเบิน (Globen) โดยจากตรงนี้ต้องขึ้นรถไฟฟ้าสาย T19 ซึ่งมีปลายทางอยู่ที่สถานีฮอกแซตรา (Hagsätra)





นั่งมา ๔ สถานีก็ถึงที่หมาย



ตอนไปถึงเหมือนฟ้าจะเริ่มเปิดสดใสขึ้นมาแล้ว



ออกมาจากสถานีแล้วไม่ได้ถึงที่หมายทันที ต้องเดินไปอีกพอสมควรจึงจะถึง เส้นทางก็ยากอยู่นิดหน่อย เพราะว่าไม่ได้เป็นเส้นตรงนัก ต้องเลี้ยวตัดซอย




จากตรงนี้เริ่มเห็นอาคารอีริคสันแล้ว



ถึงแล้ว อาคารอีริคสันโกลบ เป็นอาคารทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๑๐ ม. ซึ่งถ้าเทียบสัดส่วนในแบบจำลองนี้ตามที่ควรจะเป็นแล้วถือว่าใหญ่กว่าขนาดของดวงอาทิตย์จริงซึ่งควรจะมีขนาดแค่ ๗๑ แต่ที่ใหญ่ขนาดนี้เพราะรวมขนาดของชั้นโคโรนาไปด้วย



มีรถกระเช้าสำหรับขึ้นไปชมทิวทัศน์ด้านบนได้ โดยวิ่งไปตามรางที่เห็นนี้ มันจะพาขึ้นไปถึงยอดแล้วก็กลับลงมา ดูแล้วน่าสนุก จากบนนั้นก็น่าจะเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่ดี แต่ว่าตอนที่ไปถึงนั้นคือหนึ่งทุ่มซึ่งมันเย็นเกินไปแล้ว เขากำลังปิดพอดี

ถ่ายจากอีกด้าน



ข้างๆเป็นศูนย์การค้า



อาคารอื่นๆใกล้ๆแถวนั้น




ขากลับเราเดินอีกเส้นทางหนึ่งไปขึ้นอีกสถานีซึ่งก็ไม่ได้ไกลไปกว่ากันมากนักจากที่นี่ แต่ใกล้กว่า



นั่นคือสถานีกูลมาร์สพลอน (Gullmarsplan) ที่นี่เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของสายรถไฟฟ้าทางใต้ของสตอกโฮล์ม โดยเชื่อมสาย T17 T18 T19



จากนั้นเราต้องเดินทางกลับไปยังสถานีรถไฟสตอกโฮล์มเพื่อนัดเจอกับคนอื่นที่เหลือ ระหว่างทางผ่านย่านเมืองเก่ากัมลาสตอน ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่ใครมาสตอกโฮล์มต้องแวะ แต่ว่าวันนี้เวลาไม่พอแล้วจึงต้องเก็บไว้เที่ยววันรุ่งขึ้นแทน

กลับมาถึงก็หาร้านอาหารอะไรไม่ค่อยเจออีกจึงไปทานที่ศูนย์อาหารที่เดียวกับเมื่อตอนเที่ยง แต่ก็สั่งอะไรต่างไป ก็เป็นมื้อที่อร่อยอีกมื้อ หลังทานเสร็จก็กลับไปยังโรงแรม



จบการเที่ยวของวันนี้ลงเท่านี้ สำหรับวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันสุดท้ายในสตอกโฮล์มแล้ว และเป็นวันที่เที่ยวลุยหนักที่สุดอีกวัน https://phyblas.hinaboshi.com/20140627


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ต่างแดน >> ยุโรป >> สวีเดน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ