φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



มัสยิดหนิวเจีย สถาปัตยกรรมแบบจีนผสมผสานกับอิสลาม
เขียนเมื่อ 2015/05/17 00:16
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 26 เม.ษ. 2015

ในปักกิ่งมีวัดเก่าแก่อยู่หลายแห่งมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวัดพุทธ วัดขงจื๊อ หรือวัดเต๋า

แต่นอกจากนี้แล้วก็ยังมีวัดอยู่แห่งหนึ่งที่เป็นวัดอิสลาม หรือก็คือมัสยิดนั่นเอง แต่หากพูดถึงมัสยิดแล้วคนทั่วไปคงจะนึกถึงสิ่งก่อสร้างที่ออกแนวอินเดียหรือตะวันออกกลาง

แต่มีมัสยิดอยู่แห่งหนึ่งหน้าตาดูไม่ต่างจากวัดพุทธที่พบทั่วไปในจีนเลย นั่นคือมัสยิดหนิวเจีย (牛街礼拜寺, หนิวเจียหลี่ไป้ซื่อ) ซึ่งอยู่ใกล้ใจกลางเมืองปักกิ่ง

มัสยิดหนิวเจียถูกสร้างขึ้นในปี 996 ยุคราชวงศ์เหลียว (辽朝, ปี 916 - 1125) เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมผสานกับอิสลาม โครงสร้างของบริเวณมัสยิดเป็นลักษณะสมมาตรเหนือใต้



มัสยิดหนิวเจียตั้งอยู่บนถนนหนิวเจีย (牛街) สามารถเดินทางมาได้โดยนั่งรถไฟฟ้าลงสถานีกว่างอานเหมินเน่ย์ (广安门内站) ซึ่งอยู่บนสาย 7 แต่ก็ยังต้องเดินไกล ถ้าอยากจะให้ใกล้กว่าก็สามารถนั่งรถเมล์มาลงที่ป้ายมัสยิดหนิวเจีย มีหลายสายสามารถมาได้

ความจริงแล้วที่นี่อยู่ใกล้กับวัดฝ่าหยวน (法源寺) ซึ่งได้แวะมาเที่ยวก่อนหน้านี้ แต่ตอนนั้นไม่ได้เตรียมแผนมาดี ไม่รู้ว่ามันอยู่ใกล้ๆกันก็เลยไม่ได้แวะมาถึงที่นี่ด้วย

เมื่อลงจากรถเมล์มาก็พบว่าบริเวณนี้มีอาคารหลายหลังที่มีอักษรอาหรับเขียนอยู่ นั่นเพราะบริเวณถนนหนิวเจียนี้เป็นย่านชุมชนอิสลามแห่งหนึ่งของปักกิ่ง





ประตูด้านหน้ามัสยิด ดูแล้วก็เหมือนว่าไม่ต่างอะไร หอที่เป็นประตูหน้าโบสถ์นี้เรียกว่าว่างเยวี่ยโหลว (望月楼) แปลว่าหอชมจันทร์ ถูกสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิคางซี (康熙, ปี 1662 - 1722)



แต่ว่าทางเข้านี้ถูกปิด ไม่ใช่ทางเข้าที่ให้เข้าได้จริงๆ ทางเข้าจริงๆอยู่ทางขวา



เขาติดป้ายไว้ชัดว่าถ้าหากสวมกางเกนขาสั้นหรือหรือกระโปรงไม่อนุญาตให้เข้า



แผนที่ในบริเวณนี้ จะเห็นว่าส่วนใจกลางมีลักษณะสมมาตร



ตารางเวลาละหมาดต่างๆ



เดินเข้ามา มีป้ายบอกทางเข้า



อาคารนี้คือที่ชำระล้าง (涤虑处) และเป็นห้องน้ำด้วย



ตรงนี้เป็นทางเข้าไปยังลานตรงกลาง



ข้างในมีศาลาแผ่นหินอยู่ ๒ หลัง สร้างในปี 1496 นี่เป็นศาลาฝั่งใต้



นี่เป็นศาลาฝั่งเหนือ



แผ่นหินด้านใน



ตรงกลางระหว่างศาลาแผ่นหินทั้ง ๒ มีอาครปางเค่อโหลว (邦克楼) เป็นหอคอยสุเหร่า ไว้สำหรับให้อิหม่ามขึ้นไปตะโกนเรียกก่อนทำการละหมาด



ภายใน



ที่นี่มีสองชั้น แต่ชั้นบนเขาไม่ได้เปิดให้ขึ้นไปได้



แผ่นหินอธิบายประวัติคร่าวๆของที่นี่



หม้อทำจากทองแดงผสมดีบุก ใช้สำหรับเตรียมข้าวต้มเนื้อในเทศการสำคัญต่างๆ



ส่วนี่คือหอสวดหลัก เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของที่นี่



แต่เขาไม่ให้คนที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าไป ดังนั้นเราก็ได้แต่มองจากด้านนอก



มองเข้าไปด้านใน แม้เขาจะไม่ให้เข้า แต่ก็ไม่ได้ห้ามถ่ายภาพจากด้านนอก



ออกจากลานตรงกลางแล้วไปทางตะวันออก



ถัดไปมีอาคารจัดแสดง แต่ปิดอยู่ไม่ได้เปิด



ที่ฝังศพของหมอสอนศาสนาจากต่างแดน ๒ คนซึ่งเสียชีวิตในปี 1280 และ 1283



ทางตรงนี้เชื่อมไปบริเวณส่วนด้านตะวันตก



นี่เป็นด้านหลังของหอสวดหลัก



ดูเงียบๆดี



ตรงนี้จะเห็นว่างเยวี่ยโหลว อาคารที่เป็นประตูหน้าซึ่งเห็นที่หน้าทางเข้า



ที่นี่ไม่กว้างมากนัก เท่าที่ดูก็ไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้ว จากนั้นก็เดินกลับออกมาทางเดิม



กำแพงฝั่งตรงข้ามมัสยิดมีรูปคนที่แต่งกายชนเผ่าต่างๆมากมาย



เดินไปตามถนนหนิวเจียต่อ ก็พอจะเห็นอาคารที่มีอักษรอาหรับหรือเกี่ยวข้องกับอิสลามอยู่ประปราย



ร้านอาหารอิสลาม



สุดเขตถนนหนิวเจียแค่ตรงนี้



จากตรงนี้ถ้าเดินไปต่อก็จะเป็นถนนฉางชุน (长椿街) ซึ่งที่นั่นมีสถานที่เที่ยวอีกแห่ง จึงถือโอกาสแวะมาชมด้วยต่อจากที่นี่ นั่นคือพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเซวียนหนานปักกิ่ง (北京宣南文化博物馆) ซึ่งเขียนถึงในตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20150519




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> มัสยิด

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ