φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



วิธีพิมพ์ตัวอักษรพินอิน (pīn yīn) และอักษรพิเศษอื่นๆใน mac
เขียนเมื่อ 2019/01/11 19:27
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
สำหรับคนที่เรียนหรือสอนภาษาจีน คิดว่าคงมีบ่อยครั้งที่จำเป็นต้องใช้อักษรพินอิน

แต่ตัวอักษรพวกที่มีขีดวรรณยุกต์อยู่ข้างบน เช่น ā é ǎ à พวกนี้ไม่สามารถพิมพ์ได้ด้วยแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษธรรมดาได้

สำหรับใน mac มีแป้นพิมพ์ที่สามารถพิมพ์อักษรพวกนี้ได้โดยง่ายอยู่ ปกติจะอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว แต่ต้องตั้งค่า เพราะแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษที่ mac ให้มาเป็นค่าเริ่มต้นนั้นเป็นแบบสหรัฐฯ ไม่มีอักษรพิเศษพวกนั้นให้

วิธีการตั้งให้ไปกด Launchpad เพื่อเปิด "การตั้งค่าระบบ" (系统偏好设置) จากนั้นเลือก "แป้นพิมพ์" (键盘)



ที่แถบด้านบนเลือก "แหล่งป้อนข้อความ" (输入法)



กดปุ่ม + เพื่อเพิ่มภาษา ไปที่ภาษาอังกฤษแล้วเลือก "ABC - แบบขยาย" (ABC(扩展))



ส่วนแป้นพิมพ์แบบสหรัฐฯ ถ้าไม่ต้องการแล่้วก็สามารถลบทิ้งได้ ใช้อันนี้แทนได้เลย

แป้นพิมพ์อันนี้เวลาใช้โดยทั่วไปแล้วจะเหมือนกับภาษาอังกฤษธรรมดา แต่ถ้าหากกดปุ่ม (option หรือก็คือ alt) ในแป้นพิมพ์ค้างไว้แล้วกดพิมพ์จะได้ผลต่างออกไป

นี่คืออักษรที่จะได้เมื่อกด ⌥ ค้าง



เช่น ⌥+s จะได้อักษร ß ที่ใช้ในภาษาเยอรมัน

⌥+q ได้อักษร œ ที่ใช้ในภาษาฝรั่งเศส

⌥+o ได้อักษร ø ที่ใช้ในภาษาเดนมาร์กและนอร์เวย์

จะเห็นว่าเมื่อใช้แป้นพิมพ์นี้สามารถพิมพ์พวกอักษรที่ใช้ในภาษาทางยุโรปได้หลายภาษา

พวกสีส้มคือพวกสัญลักษณ์พิเศษที่จะไปซ้อนบนอักษรอื่นอีกที

เช่น
⌥+a คือ   ̄
⌥+e คือ   ́
⌥+v คือ   ̌
⌥+` คือ   ̀

การพิมพ์ให้พิมพ์ขีดพวกนี้ก่อน จากนั้นตามด้วยอักษรที่ต้องการใส่ขีดพวกนี้ลงไป

เช่น เวลาที่จะพิมพ์อักษรสระเสียงวรรณยุกต์ 1 เช่น āēīōū ให้พิมพ์ ⌥+a ตามด้วยอักษรที่ต้องการ เช่น ⌥+a ตามด้วย e ได้ ē

วิธีการนี้ไม่ได้ใช้ได้เพียงแค่กับพวกสระ แต่ยังใช้กับอักษรหลายตัวเช่น ḡ ȳ z̄ ได้ แต่จะใช้กับอักษรบางตัวเช่น b c d ขีดจะไม่ขึ้นไปอยู่บนตัวอักษร

ส่วนอักษรสระเสียง 2 เช่น áéíóú ให้ใช้ ⌥+e

อักษรสระเสียง 3 เช่น ǎěǐǒǔ ให้ใช้ ⌥+v

อักษรสระเสียง 4 เช่น àèìòù ให้ใช้ ⌥+`
 
สำหรับอักษรจุดคู่ (umlaut) นั้นจะสร้างได้โดยใช้ ⌥+u ดังนั้น ⌥+u ตามด้วย u จะได้ ü

แต่ถ้าต้องการอักษรที่เป็นสระ ü แล้วมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เช่น ǖǘǚǜ กรณีนี้จะใช้ ⌥+[a e v `] ตามด้วย v

เขียนสรุปได้ว่า
(⌥+a) + a = ā
(⌥+a) + e = ē
(⌥+a) + i = ī
(⌥+a) + o = ō
(⌥+a) + u = ū
(⌥+a) + v = ǖ

(⌥+e) + a = à
(⌥+e) + e = é
(⌥+e) + i = í
(⌥+e) + o = ó
(⌥+e) + u = ú
(⌥+e) + v = ǘ

(⌥+v) + a = ǎ
(⌥+v) + e = ě
(⌥+v) + i = ǐ
(⌥+v) + o = ǒ
(⌥+v) + u = ǔ
(⌥+v) + v = ǚ

(⌥+`) + a = à
(⌥+`) + e = è
(⌥+`) + i = ì
(⌥+`) + o = ò
(⌥+`) + u = ù
(⌥+`) + v = ǜ

(⌥+u) + u = ü



นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งใช้ในภาษาจีนแล้ว ยังมีอักษรอื่นๆเช่น

⌥+n = ̃ เช่น ñ ในภาษาสเปน หรือ ã õ ในภาษาโปรตุเกส
⌥+c =  ̧ เช่น ç ในภาษาฝรั่งเศษและโปรตุเกส หรือ ş ในภาษาตุรกี
⌥+k = ̊ เช่น å ในภาษาสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก
⌥+j = ̋ เช่น ő ű ในภาษาฮังการี

ฯลฯ

hǎo le, xiàn zài nǐ yě kě yǐ dǎ pīn yīn le!
rú guǒ jué de hěn yǒu yòng kě yǐ fēn xiǎng!


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- คอมพิวเตอร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ