φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนฮกเกี้ยน (หมิ่นหนาน)
เขียนเมื่อ 2019/11/25 00:56
แก้ไขล่าสุด 2022/03/23 20:05
สำหรับบทความนี้จะขอเสนอหลักการทับศัพท์ภาษาจีนฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นหนาน) เป็นภาษาไทย

ฮกเกี้ยนมีแบ่งย่อยเป็นหลายสำเนียง สำเนียงที่มักยึดเป็นมาตรฐานกันมากคือสำเนียงเซี่ยเหมิน และสำเนียงมาตรฐานไต้หวันก็ใช้มาตรฐานใกล้เคียงกับสำเนียงเซี่ยเหมิน แม้จะแตกต่างกันเล็กน้อย

ในที่นี้ข้อมูลอ้างอิงตามพจนานุกรมของทางไต้หวันเป็นหลัก ซึ่งใช้สำเนียงไทเปเป็นมาตรฐาน
https://www.moedict.tw/'閩
https://twblg.dict.edu.tw/holodict_new/default.jsp

ภาษาฮกเกี้ยนมีระบบการเขียนบอกเสียงอ่านอยู่หลากหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือเป่อ่วยยี (白话字/白話字) และ ไถหลัวพินอิน (台罗拼音、台羅拼音) หรือเรียกย่อๆว่า "ไถหลัว"

เป่อ่วยยีเป็นระบบที่ใช้มานานโดยเริ่มมีที่มาจากทางจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนไถหลัวเป็นระบบที่คิดขึ้นใหม่โดยทางไต้หวัน ใช้เป็นมาตรฐานในพจนานุกรมของทางไต้หวัน แต่โดยภาพรวมยังใช้ไม่แพร่หลายเท่า

ใน wikipedia มีหน้าภาษาจีนฮกเกี้ยน เขียนด้วยเป่อ่วยยี https://zh-min-nan.wikipedia.org

ใน wiktionary ก็มีแสดงเสียงอ่านจีนฮกเกี้ยน โดยจะใช้เป่อ่วยยีเป็นหลัก

เป่อ่วยยีกับไถหลัวมีความใกล้เคียงกันมาก ไม่ค่อยต่างกันนัก ในที่นี้จะแสดงทั้ง ๒ แบบควบคู่กันไปโดยถ้าคำไหนต่างจะคั่นด้วย / ส่วนที่เขียนแบบเดียวคือทั้งสองแบบเขียนไม่ต่างกัน



วรรณยุกต์

ภาษาฮกเกี้ยนเดิมทีมีวรรณยุกต์ทั้งหมด ๘ เสียง แต่ในฮกเกี้ยนมาตรฐานปัจจุบันเหลือเพียง ๗ เสียง

คำในภาษาจีนฮกเกี้ยนจะมีการแปรเสียงวรรณยุกต์ (变调/變調) เกิดขึ้นเมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม ดังนั้นคำเดิมหากอยู่คนละตำแหน่งของคำอาจออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน

ทั้งในเป่อ่วยยีและไถหลัวจะใช้สัญลักษณ์วางบนตัวสระแทนเสียงวรรณยุกต์ ทั้ง ๒ ระบบนี้ใช้สัญลักษณ์แบบเดียวกันจึงไม่ชวนสับสน นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้ตัวเลขเพื่อแทนเสียงวรรณยุกต์ด้วย ซึ่งจะสะดวกใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถพิมพ์สัญลักษณ์บนวรรณยุกต์ได้

ตัวเลขที่ใช้แทนวรรณยุกต์จะตรงกับ ๘ เสียงที่ใช้ในเพ็งอิมของภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยของฮกเกี้ยนจะไม่มีเสียงวรรณยุกต์ที่ 6 แต่ตัวเลขก็ไม่ได้เลื่อนขึ้น ปล่อยเลข 6 ว่างไว้

ไม่ว่าจะแสดงด้วยตัวเลขหรือสัญลักษณ์ เสียงวรรณยุกต์ที่แสดงในเป่อ่วยยีล้วนเป็นเสียงวรรณยุกต์ก่อนแปรเสียง แต่ในการเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยจะเขียนตามเสียงที่ออกจริง คือเป็นเสียงที่แปรแล้วทั้งหมด

ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงวรรณยุกต์ต่างๆ พร้อมทั้งแสดงเสียงที่จะแปรไปเมื่อนำหน้าคำอื่น และตัวอย่าง

เลข สัญลักษณ์ ระดับเสียง เทียบ
วรรณยุกต์ไทย
แปรเสียงเป็น ตัวอย่าง
1 a สูงเรียบ ˦ (4) ตรี  7 东/東 = tong = ต๊อง 番 = huan = ฮ้วน
2 á สูงไปกลาง ˥˧ (53) โท 董 = tóng = ต้อง 反 = huán = ฮ่วน
3 à ต่ำเรียบ ˩ (1) เอก 2 冻/凍 = tòng = ต่อง 贩/販 = huàn = ห่วน
4 ah ต่ำกัก ˨̚ (2) เอก 8 (p,t,k) ,2 (h) 督 = tok = ต็อก 法 = huat = หวด
5 â ต่ำไปสูง  ˨˦ (24) จัตวา  7 同 = tông = ต๋อง 烦/煩 = huân = หวน
6 ǎ -
7 ā กลางเรียบ ˧ (3) สามัญ 2 洞 = tōng = ต็อง 范/範 = huān = ฮวน
8 a̍h สูงกัก ˦̚ (4) ตรี 4 (p,t,k) ,3 (h) 毒 = to̍k = ต๊อก 罰 = hua̍t = ฮ้วด

ในจำนวนนั้นแยกเป็นวรรณยุกต์เสียงเปิด (คำเป็น) ๕ คือ 1,2,3,5,7 และเสียงกัก (คำตาย) ๒ เสียง คือ 4 และ 8

เสียงกักในภาษาฮกเกี้ยนหมายถึงคำที่สะกดด้วยแม่กก แม่กด แม่กบ หรือเสียงกักเส้นเสียง ซึ่งในเป่อ่วยยีและไถหลัวจะแทนด้วย h ตรงกับคำตายไร้ตัวสะกดในภาษาไทย

หลักการแปรสำหรับคำที่เป็นเสียงกักเส้นเสียงจะต่างจากที่เป็นแม่กด กก กด กบ ดังที่แสดงในตาราง จึงต้องแยกกรณี

สรุปหลักการแปรเสียงโดยรวมได้ดังนี้



กรณีเสียงกักเส้นเสียงนั้นเมื่อแปรเสียงแล้วจะกลายเป็นเสียงเปิด โดยถ้าดูที่เป่อ่วยยีหรือไถหลัวก็คือ h หายไป ส่วนในภาษาไทยคือเปลี่ยนจากสระเสียงสั้นเป็นเสียงยาว

ตัวอย่าง 白話字 pe̍h-ōe-jī เมื่ออ่านแยกคำก็คือ pe̍h "เป๊ะ" + ōe "อวย" + jī "ยี" แต่เมื่อรวมกันจะกลายเป็น pè-òe-jī "เป่อ่วยยี" โดยที่เสียง pe̍h กลายเป็น pè

肉粽 bah-chàng "บะ"+"จั่ง" ในที่นี้ bah เป็นเสียง 4 แปรเป็นเสียง 2 คือเสียงโท อ่านเป็น bá-chàng "บ้าจั่ง"

เรื่องวรรณยุกต์มีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องวรรณยุกต์อ่านได้ในบทความนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20170825



พยัญชนะต้น

ในภาษาจีนฮกเกี้ยนมีเสียงพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๗ ตัว ดังนี้

เปะอ่วยยี/ไถหลัว IPA ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
- - 丫 = a = อ๊า
p /p/ 巴 = pa = ป๊า
ph /pʰ/ พ, ผ 怕 = phà = ผ่า
b /b/ 麻 = bâ = บ๋า
m /m/ 马/馬 = má = ม่า
t /t/ 打 = tá = ต้า
th /tʰ/ ท, ถ 剃 = thì = ถี่
n /n/ 但 = nā = นา
l /l/ 拉 = la = ล้า
k /k/ 嘉 = ka = ก๊า
kh /kʰ/ ค, ข 尻 = kha = ค้า
g /g/ ง ('ง) 牙 = gâ = หงา ('หงา)
ng /ŋ/ 雅 = ngá = ง่า
h /h/ ฮ, ห 夏 = hā = ฮา
ch/ts /ʦ/
/ʨ/
早 = chá/tsá = จ้า
之 = chi/tsi = จี๊
chh/tsh /ʦʰ/
/ʨʰ/
ช, ฉ 查 = chhâ/tshâ = ฉา
刺 = chhì/tshì = ฉี่
j /ʣ/
/ʥ/
如 = jû = หยู
字 = jī = ยี
s /s/
/ɕ/
ซ, ส 捎 = sa = ซ้า
示 = sī = ซี

ที่เป่อ่วยยีและไถหลัวเขียนต่างกันมีแค่ ๒ ตัว คือ ch/ts กับ chh/tsh ที่เหลือเหมือนกันทั้งหมด

๔ เสียงด้านล่างสุดของตาราง ได้แก่ ch, chh, j, s ล้วนมีเสียงอ่าน ๒ แบบ ซึ่งแทนด้วย IPA ต่างกัน โดยด้านล่างเป็นเสียงอ่านเมื่อตามด้วยสระ i แต่เป็นความแตกต่างเล็กน้อยไม่มีผลต่อการทับศัพท์ด้วยภาษาไทย

ความเปลี่ยนแปลงแตกต่างของเสียงในส่วนนี้เทียบเคียงได้กับเสียง z/j, c/q, s/x ในจีนกลาง แต่ในระบบเป่อวยยีและไถหลัวจะไม่มีการเปลี่ยนอักษรที่ใช้เหมือนอย่างในพินอินของจีนกลาง

เสียง g ไม่มีในภาษาไทย แต่ใกล้เคียง "ง" จึงแทนด้วย "ง" ซึ่งจะซ้ำกับ ng ไม่อาจแยกแยะได้เมื่อเขียน แต่กรณีที่ต้องการแยกแยะอาจเติม ' นำหน้าเพื่อบอกความต่าง



สระและตัวสะกด

ภาษาฮกเกี้ยนมีสระและตัวสะกดหลากหลาย ตัวสะกดมีทั้งแม่กก กง กด กน กบ กม เหมือนกับในภาษาไทย และยังมีเสียงกักเส้นเสียง นอกจากนี้ยังมีเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก แทนด้วย ⁿ ในเป่อ่วยยีหรือ nn ในไถหลัว)

ตารางแจกแจงสระและตัวสะกดทั้งหมด (ไม่รวมเสียงนาสิก)

สระ ตัวสะกด
- แม่กม
[m]
แม่กบ
[p̚]
แม่กน
[n]
แม่กด
[t̚]
แม่กง
[ŋ]
แม่กก
[k̚]
กักเส้นเสียง
[ʔ]
อา
[a]
a
อา
am
อัม
ap
อับ
an
อัน
at
อัด
ang
อัง
ak
อัก
ah
อะ
เอ
[e]
e
เอ
            eh
เอะ
อี
[i]
i
อี
im
อิม
ip
อิบ
in
อิน
it
อิด
eng/ing
อิง
ek/ik
อิก
ih
อิ
เออ
[ə]
o
เออ
            oh
เออะ
ออ
[ɔ]
o͘/oo
ออ
om
อ็อม
op
อ็อบ
    ong
อ็อง
ok
อ็อก
o͘h/ooh
เอาะ
อู
[u]
u
อู
    un
อุน
ut
อุด
    uh
อุ
ไอ
[aɪ]
ai
ไอ
             
เอา
[aʊ]
au
เอา
            auh
เอา (เอา^)
เอีย
[ɪa]
ia
เอีย
iam
เอียม
iap
เอียบ
ian
เอียน
iat
เอียด
iang
เอียง
iak
เอียก
iah
เอียะ
เอีย (อี^เออ)
[ɪə]
io
เอีย (อี^เออ)
            ioh
เอียะ (อี^เออะ)
ยอ (อี^ออ)
[ɪɔ]
          iong
อย็อง
iok
อย็อก
 
อิว
[iu]
iu
อิว
            iuh
อยุ
อัว
[ua]
oa/ua
อัว
    oan/uan
อวน
oat/uat
อวด
    oah/uah
อัวะ
อวย (อู^เอ)
[ue]
oe/ue
อวย
            oeh/ueh
เอวะ
อุย
[ui]
ui
อุย
             
เอียว
[ɪaʊ]
iau
เอียว
            iauh
เอียว (เอียว^)
ไอว (อู^ไอ)
[uai]
oai/uai
ไอว
             
ไร้สระ   m
อึม
      ng
อึง
   

อันที่มีขีด / คั่นคือในเป่อ่วยยีกับไถหลัวเขียนต่างกัน โดยทางซ้ายคือเป่อ่วยยี ทางขวาคือไถหลัว

เสียงนาสิกคือเสียงออกจมูก ซึ่งไม่มีในภาษาไทย และคนไทยทั่วไปจะแยกเสียงนี้ไม่ได้ จึงมักไม่มีผลต่อการเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทย จึงไม่ได้แสดงในตารางนี้ การเขียนจะเหมือนกับแบบไม่มีนาสิก เช่น aⁿ/ann จะเขียน "อา" เหมือนกับ a

แต่หากต้องการเขียนให้แยกความแตกต่างอาจเขียนเป็น "อา*" โดยใช้ * ต่อท้ายแทนการออกเสียงนาสิก



ต่อไปจะแจกแจงแต่ละเสียงและยกตัวอย่าง

สระเดี่ยว

มีอยู่ ๖ เสียง โดยใช้อักษร a (อา), e (เอ) i (อี) o (เออ/โอ) u (อู) และมีอีกเสียงซึ่งแทนสระออ ซึ่งในเป่อ่วยยีใช้ o͘ คือเป็นตัว o แล้วเติมจุดด้านบน ส่วนในไถหลัวจะใช้ oo

เสียง o อาจออกเสียง "เออ" หรือ "โอ" ก็ได้ แต่ในไต้หวันจะใช้ "เออ" เป็นมาตรฐานเป็นหลัก ในที่นี้ก็จะยึด "เออ" เป็นหลัก

a อา 仔 = á = อ้า
马/馬 = ma = ม้า
麻 = bâ = บ๋า
e เอ 鞋 = ê = เอ๋
计/計 = kè = เก่
奶 = ne = เน้
i อี 以 = í = อี้
米 = bí = บี้
饥/飢 = ki = คี้
o เออ 蚵 = ô = เอ๋อ
保 = pó = เป้อ
岛/島 = tó = เต้อ
o͘/oo ออ 湖 = ô͘/ôo = อ๋อ
晡 = po͘/poo = ป๊อ
毛 = môo/mô͘ = หมอ
u อู 与/與 = ú = อู้
舞 = bú = บู้
需 = su = ซู้


สระประสม

สระประสมเกิดจากสระ ๒ ตัวหรือ ๓ ตัวมารวมกัน ในภาษาจีนฮกเกี้ยนมีสระประสมอยู่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่มีในภาษาไทยจึงเทียบเคียงได้ง่าย

เสียงที่ไม่มีในภาษาไทยคือเสียง io คือสระอีตามด้วยสระเออ (หรือโอ) ในที่นี้จะเขียนแทนด้วยสระเอียเพื่อความง่าย แต่หากต้องการเขียนให้แยกชัดอาจเขียนเป็น "อี^เออ"

ai ไอ 哀 = ai = ไอ๊
敗 = pāi = ไป
皆 = kai = ไก๊
ao เอา 拗 = áu = เอ้า
吼 = háu = เฮ่า
豆 = tāu = เตา
ia เอีย (อี^อา) 野 = iá = เอี้ย
靴 = hia = เฮี้ย
邪 = siâ = เสีย
io เอีย (อี^เออ) 窑/窯 = iô = เอี๋ย (อี^เอ๋อ)
庙/廟 = biō = เบีย (บี^เออ)
尿 = jiō = เยีย (ยี^เออ)
iu อิว 由 = iû = อิ๋ว
休 = hiu = ฮิ้ว
收 = siu = ซิ้ว
oa/ua อัว 娃 = oa/ua = อั๊ว
撋 = nóa/núa = นั่ว
赖/賴 = lōa/lūa = ลัว
oe/ue อวย 穢 = òe/ùe = อ่วย
粿 = kóe/kúe = ก้วย
挼 = jôe/jûe = หยวย
ui อุย 畏 = ùi = อุ่ย
肥 = pûi = ปุ๋ย
腿 = thúi = ทุ่ย
iau เอียว 姚 = iâu = เอี๋ยว
了 = liáu = เลี่ยว
翘/翹 = khiàu = เขี่ยว
oai/uai ไอว 歪 = oai/uai = ไอว๊
乖 = koai/kuai = ไกว๊


สระเดี่ยว+นาสิก

เมื่อตามด้วยเสียงนาสิกก็เขียนเหมือนกับแบบที่ไม่มีเสียงนาสิกอยู่ คือตัด ⁿ หรือ nn ทิ้งไป แต่หากต้องการเขียนให้แยกก็เติม *


aⁿ/ann อา (อา*) 衫 = saⁿ/sann = ซ้า (ซ้า*)
eⁿ/enn เอ (เอ*) 更 = keⁿ/kenn = เก๊ (เก๊*)
iⁿ/inn อี (อี*) 扇 = sìⁿ/sìnn = สี่ (สี่*)
oⁿ/onn เออ (เออ*) 否 = hóⁿ/hónn = เฮ่อ (เฮ่อ*)


สระประสมสองเสียง+นาสิก

aiⁿ/ainn ไอ (ไอ*) 歹 = pháiⁿ/pháinn = ไพ่ (ไพ่*)
iaⁿ/iann เอีย (เอีย*) 兄 = hiaⁿ/hiann = เฮี้ย (เฮี้ย*)
iuⁿ/iunn อิว (อิว*) 香 = hiuⁿ/hiunn = ฮิ้ว (ฮิ้ว*)
oaⁿ/uann อัว (อัว*) 晃 = hoáⁿ/huánn = ฮั่ว (ฮั่ว*)
oaiⁿ/uainn ไอว (ไอว*) 拐/枴 = koáiⁿ/kuáinn = ไกว้ (ไกว้*)


สระเดี่ยว+ตัวสะกด

เมื่อมีตัวสะกดต่อท้ายโดยส่วนใหญ่แล้วจะออกเสียงเหมือนตอนไม่มีตัวสะกด แค่เพิ่มเสียงตัวสะกดเข้ามาตอนท้าย แต่ก็มีบางเสียงที่รูปแบบการเขียนต่างออกไปเมื่อมีตัวสะกดตามมา

ที่ควรระวังคือเสียงที่สะกดด้วยตัว o ได้แก่ om, op, ong, ok ทั้งหมดนี้เป็นสระออเหมือนกับ o͘/oo ไม่ใช่เสียงสระเออ (หรือโอ) เหมือนอย่าง o เฉยๆ

โดยพื้นฐานแล้วเสียง o ในกรณีนี้จะเป็นเสียงสั้น จึงควรใส่ไม้ไต่คู้ด้วย แต่กรณีที่ต้องเขียนรูปวรรณยุกต์ก็ค่อยตัดไม้ไต่คู้เพื่อใส่รูปวรรณยุกต์แทน

นอกจากนี้มีที่ค่อนข้างพิเศษคือเสียง eng/ing และ ek/ik ซึ่งเสียงนี้จริงๆแล้วเป็นสระประสม เสียง อี^เออะ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ไม่ใช่ทั้งสระอิหรือสระเอะ แต่เพื่อความง่ายจะเขียนเป็นสระอิเฉยๆ และขอใส่รวมอยู่ในส่วนของสระเดี่ยว แม้ว่าในทางปฏิบัติจะเป็นสระประสมก็ตาม

am อัม 暗 = àm = อั่ม
函 = hâm = หัม
糁/糝 = sám = ซั่ม
ap อับ 纳/納 = la̍p = ลับ
霎 = sap = สับ
an อัน 案 = àn = อั่น
版 = pán = ปั้น
籣 = lân = หลัน
at อัด 遏 = at = อัด
乏 = ha̍t = ฮัด
虱 = sat = สัด
ang อัง 翁 = ang = อั๊ง
桶 = tháng = ทั่ง
航 = hâng = หัง
ak อัก 握 = ak = อัก
慄 = la̍k = ลัก
角 = kak = กัก
im อิม 音 = im = อิ๊ม
襟 = khim = คิ้ม
枕 = chím/tsím = จิ้ม
ip อิบ 邑 = ip = อิบ
入 = ji̍p = ยิบ
给/給 = kip = กิบ
in อิน 引 = ín = อิ้น
信 = sìn = สิ่น
眩 = hîn = หิน
it อิด 逸 = i̍t = อิ๊ด
失 = sit = สิด
日 = ji̍t = ยิด
eng/ing อิง 闲/閒 = êng/îng = อิ๋ง
冰 = peng/ping = ปิ๊ง
顶/頂 = tíng/téng = ติ้ง
ek/ik อิก 亦 = e̍k/i̍k = อิ๊ก
激 = kek/kik กิก
惑 = hi̍k/he̍k = หิก
om อ็อม 茂 = ōm = อ็อม
丼 = tôm = ต๋อม
op อ็อบ 橐 = lop = หล็อบ
ong อ็อง 王 = ông = อ๋อง
碰 = pōng = ป็อง
方 = hong = ฮ้อง
ok อ็อก 屋 = ok = อ็อก
毒 = to̍k = ต๊อก
硞 = kho̍k = ค็อก
un อุน 婚 = hun = ฮุ้น
轮/輪 = lûn = หลุน
闰/閏 = jūn = ยุน
ut อุด 遹 = u̍t = อุ๊ด
物 = bu̍t = บุ๊ด
忽 = hut = หุด


สระประสมสองเสียง+ตัวสะกด

สระประสมสองเสียงที่ตามด้วยตัวสะกดนั้นส่วนใหญ่ก็มีในภาษาไทยจึงไม่ยากที่จะเขียน แต่ก็มีเสียงที่ไม่มี คือ iong และ iok ซึ่งเป็นเสียง "อี^อ็อง" และ "อี^อ็อก" ในที่นี้จะเขียนแทนด้วย "อย็อง" และ "อย็อก"

iam เอียม 盐/鹽 = iâm = เอี๋ยม
忝 = thiám = เที่ยม
渗/滲 = siàm = เสี่ยม
iap เอียบ 叶/葉 = ia̍p = เอี๊ยบ
碟 = tia̍p = เตี๊ยบ
摄/攝 = liap = เหลียบ
ian เอียน 沿 = iân = เอี๋ยน
免 = bián = เบี้ยน
涎 = siân = เสียน
iat เอียด 揲 = ia̍t = เอี๊ยด
吉 = kiat = เกียด
穴 = hia̍t = เฮี้ยด
iang เอียง 炀/煬 = iāng = เอียง
凉/涼 = liâng = เหลียง
飨/饗 = hiáng = เฮี่ยง
iak เอียก 擉 = tia̍k = เตี๊ยก
铄/鑠 = siak = เสียก
iong อย็อง 仲 = tiōng = ตย็อง
恐 = khióng = คย่อง
iok อย็อก 却/卻 = khiok = ขย็อก
弱 = jio̍k = ย้อก
oan/uan อวน 团/團 = thoân = ถวน
选/選 = soán = ซ่วน
oat/uat อวด 斡 = oat = อวด
劣 = loa̍t = ล้วด
罰 = hoa̍t = ฮ้วด


สระเดี่ยว+กักเส้นเสียง

ตรงกับสระเดี่ยวเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย การเขียนในเป่อ่วยยีและไถหลัวจะเขียนในลักษณะเดียวกับสระเดี่ยวเสียงเปิด แต่เพิ่ม h เข้ามา ส่วนการเขียนในภาษาไทยให้เปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นทั้งหมด

ah อะ 鸭/鴨 = ah = อะ
煠 = sa̍h = ซะ
eh เอะ 厄 = eh = เอะ
挈 = khe̍h = เคะ
ih อิ 撆 = pih = ปิ
昳 = thi̍h = ทิ
oh เออะ 学/學 = o̍h = เอ๊อะ
箔 = po̍h = เป๊อะ
阁/閣 = koh = เกอะ
o͘h/ooh เอาะ 膜 = mo̍͘h/mo̍oh = เมาะ
謼 = ho͘h/hooh = เหาะ
uh อุ 揬 = tu̍h = ตุ๊
托 = thuh = ถุ


สระประสม+กักเส้นเสียง

สระในกลุ่มนี้มีหลายตัวที่ไม่มีในภาษาไทย

ส่วนเสียง auh และ iauh นั้นให้เขียนเหมือนกับกรณี au และ iau แต่อาจเติม ^ เข้ามาตอนท้ายเพื่อแยกให้เห็นว่ามีเสียงกักตอนท้าย

ioh ใช้สระเอียะเหมือนกับ iah แต่ในกรณีที่ต้องการแยะแยะก็อาจเขียนแยกเป็น "อี^เออะ"

auh เอา (เอา^) 雹 = pha̍uh = เพ้า (เพ้า^)
喃 = nauh = เหน่า (เหน่า^)
iah เอียะ (อี^อะ) 搤 = iah = เอียะ
拆 = thiah = เถียะ
夕 = sia̍h = เซียะ
ioh เอียะ (อี^เออะ) 药/藥 = io̍h = เอี๊ยะ (อี^เอ๊อะ)
抾 = khioh = เขียะ (คี^เออะ)
液 = sio̍h = เซียะ (ซี^เอ๊อะ)
iuh อยุ 搐 = tiuh = ตยุ
oah/uah อัวะ 末 = boa̍h = บั๊วะ
撒 = soah = สัวะ
oeh/ueh เอวะ 襪 = boe̍h = เบว๊ะ
缺 = khoeh = เขวะ
iauh เอียว (เอียว^) 蛲/蟯 = ngia̍uh = เงี้ยว (เงี้ยว^)
藃 = hiauh = เหี่ยว (เหี่ยว^)


ไร้สระ

กลุ่มนี้คือเสียงที่เป็นตัวสะกดลอยขึ้นมา มีอยู่แค่ ๒ เสียงคือ m กับ ng และอาจมีพยัญชนะต้น กรณีที่มีพยัญชนะต้นจะออกเสียงเป็นสระอึ

การเขียนให้แทนด้วยสระอึทั้งหมด

m อึม 姆 = ḿ = อึ้ม
茅 = hm̂ = หึม
ng อึง 黄/黃 = n̂g = อึ๋ง
问/問 = mn̄g = มึง
园/園 = hn̂g = หึง



ตัวอย่าง

นับเลข

0 〇/零 lêng/lîng หลิง
1 chi̍t/tsi̍t จิ๊ด
2 nn̄g นึง
3 saⁿ ซ้า (ซ้า*)
4 สี่
5 gō͘/gōo งอ ('งอ)
6 la̍k ลัก
7 chhit/tshit ฉิด
8 peh เปะ
9 káu เก้า
10 cha̍p/tsa̍p จั๊บ
100 pah ปะ
1,000 chheng/tshing ชิ้ง
10,000 万/萬 bān บัน
100,000,000 亿/億 ek/ik อิก
1,000,000,000,000 tiāu เตียว


ชื่อสถานที่ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

อักษรจีน เป่อ่วยยี/ไถหลัว ทับศัพท์ จีนกลาง
รูปเดิม แปรเสียง
台湾/臺灣 tâi-oân/tâi-uân tāi-oân/tāi-uân ไตอ๋วน ไถวาน (ไต้หวัน)
台北/臺北 tâi-pak tāi-pak ไตปัก ไถเป่ย์ (ไทเป)
基隆 ke-lâng kē-lâng เกหลัง จีหลง
桃园/桃園 thô-hn̂g thō-hn̂g เทอหึง เถาหยวน
新竹 sin-tek/sin-tik sīn-tek/sīn-tik ซินติก ซินจู๋
苗栗 biâu-le̍k/biâu-li̍k biāu-le̍k/biāu-li̍k เบียวลิก เหมียวลี่
台中/臺中 tâi-tiong tāi-tiong ไตตย๊อง ไถจง
彰化 chiong-hoà/tsiong-hoà chiōng-hoà/tsiōng-hoà จย็องหั่ว จางฮว่า
南投 lâm-tâu lām-tâu ลัมเต๋า หนานโถว
云林/雲林 hûn-lîm hūn-lîm ฮุนหลิม หยวินหลิน
嘉义/嘉義 ka-gī kā-gī คางี ('งี) เจียอี้
台南/臺南 tâi-lâm tāi-lâm ไตหลัม ไถหนาน
高雄 ko-hiông kō-hiông เกอฮหย็อง เกาสยง
宜兰/宜蘭 gî-lân gī-lân งีหลัน ('งี) อี๋หลาน
花莲/花蓮 hoa-liân/hua-liân hoā-liân/huā-liân ฮัวเหลียน ฮวาเหลียน
台东/臺東 tâi-tang tāi-tang ไตตั๊ง ไถตง
屏东/屏東 pîn-tong pīn-tong ปินต๊อง ผิงตง
澎湖 phêⁿ-ô͘/phênn-ôo phēⁿ-ô͘/phēnn-ôo เพอ๋อ (เพ*) เผิงหู
金门/金門 kim-mn̂g kīm-mn̂g กิมหมึง จินเหมิน
马祖/馬祖 má-chó͘/má-tsóo ma-chó͘/ma-tsóo ม้าจ้อ หมาจู่
连江/連江 liân-kang liān-kang เลียนกั๊ง เหลียนเจียง
绿岛/綠島 le̍k-tó/li̍k-tó lek-tó/lik-tó หลิกเต้อ ลวี่เต่า
兰屿/蘭嶼 lân-sū lān-sū ลันซู หลานหยวี่
小琉球 sió-liû-khiû sio-liū-khiû เซี้ยลิวขิว (ซี^เอ๊อ) เสี่ยวหลิวฉิว




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาจีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ