φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ทำความเข้าใจความเป็นโลหะ (metalness) ของ standardSurface ใน arnold ใน maya
เขียนเมื่อ 2021/09/17 17:12
แก้ไขล่าสุด 2021/10/23 19:12

หลังจากที่ในบทความก่อนหน้านี้ได้อธิบายถึงสีพื้นฐาน (base) และสีสเป็กคิวลาร์ (specular) ไปแล้ว (https://phyblas.hinaboshi.com/20210915 และ https://phyblas.hinaboshi.com/20210916)

คราวนี้มาต่อกันด้วยเรื่องของค่า metalness (メタル性) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงความเป็นโลหะ

เมื่อลองเปิดดูแอตทริบิวต์อีดิเตอร์ จะพบว่าค่า metalness ปรากฏอยู่ที่ลำดับสุดท้ายของสีพื้นฐาน



แต่จริงๆเรื่องของความเป็นโลหะนั้นเกี่ยวเนื่องไปถึงสเป็กคิวลาร์ด้วย จึงขอแยกมาเขียนถึงหลังจากที่ได้ทำความเข้าใจทั้งส่วนของสีพื้นฐานและสีสเป็กคิวลาร์ไปแล้ว

เช่นเดียวกับบทความก่อนหน้านี้ คราวนี้เราจะลองมาทำการปรับค่าต่างๆแล้วเรนเดอร์เปรียบเทียบความแตกต่างของภาพที่ได้กันดู

สำหรับตัวอย่างคราวนี้จะใช้โมเดลฮารุซาเมะ (春雨はるさめ) (ที่มา https://3d.nicovideo.jp/works/td27807)




ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่าความเป็นโลหะ

ค่า metalness นั้นถ้าจะอธิบายง่ายๆก็คือค่าที่กำหนดระดับความเป็นโลหะของวัสดุนั้นๆนั่นเอง โดยปกติแล้วถ้าไม่ใช่โลหะจะให้เป็น 0 ถ้าเป็นโลหะก็จะเป็น 1 อาจมีบางกรณีเช่นสารที่มีความเป็นโลหะปนบางส่วนเช่นพวกสีทารถ แบบนั้นอาจใช้ค่าระหว่าง 0 ถึง 1

การปรับให้เป็นโลหะนั้นคือการทำให้เกิดสีสเป็กคิวลาร์เป็นสีเดียวกับสีพื้นฐานขึ้นมา ทำให้ดูระยิบระยับเป็นโลหะขึ้นมา ซึ่งส่วนนี้จะไปเสริมในส่วนของสเป็กคิวลาร์ พวกค่าดัชนีหักเหและความหยาบตรงนี้ก็ถูกกำหนดโดยคุณสมบัติในส่วนของสีสเป็กคิวลาร์ไปด้วย

ตัวอย่างเช่น ลองให้ค่าน้ำหนักของสเป็กคิวลาร์เป็น specular=0, specularIOR=1.5, specularRoughness=0.1 แล้วลองปรับค่า metalness เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ 0 จนถึง 1


จะเห็นว่ายิ่งค่าความเป็นโลหะมากขึ้นก็ยิ่งดูเหมือนเป็นโลหะ แสงที่สะท้อนมานั้นเป็นสีเดียวกับสีพื้นฐาน ซึ่งกำหนดสีตามเท็กซ์เจอร์

ในที่นี้ให้ specular=0 การสะท้อนทั้งหมดจึงเกิดขึ้นจากความเป็นโลหะทั้งหมด




เมื่อลองใช้พร้อมกับสเป็กคิวลาร์

ค่า metalness นั้นสามารถใช้ร่วมไปพร้อมกันกับส่วนของแสงสเป็กคิวลาร์ที่กำหนดในแผง specular

ลองทำแบบตัวอย่างที่แล้ว คือปรับค่า metalness เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจาก 0 ถึง 1 แต่คราวนี้ให้ specular=1 และ specularColor เป็นสีขาว และ specularRoughness=0.1


จะเห็นว่าเริ่มต้นมาก็ดูมีความแวววาวเพราะสเป็กคิวลาร์ แต่แสงที่สะท้อนทั้งหมดนั้นเป็นสีขาว ดูแล้วไม่เหมือนการสะท้อนของผิวโลหะ แต่พอปรับค่าความเป็นโลหะมากขึ้น สีที่สะท้อนก็จะออกมาดูสมเป็นโลหะขึ้นมา




ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่าความหยาบ

ความหยาบของสเป็กคิวลาร์ก็ส่งผลถึงความเป็นโลหะด้วย คราวนี้ลองให้น้ำหนัก specular=0 อีกที ให้แสงสเป็กคิวลาร์กำหนดด้วย metalness ทั้งหมด จากนั้นลองปรับ specularRoughness ตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 1





ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่า anisotropy

นอกจากความหยาบแล้ว ค่าอื่นๆเช่น specularAnisotropy ก็มีผลเมื่อใช้ metalness เช่นกัน

ลองให้ specularRoughness=0.2 แล้วปรับค่า specularAnisotropy ตั้งแต่ 0 ถึง 1 แล้วเทียบดู





เปรียบเทียบภาพที่มุมมองต่างๆ

สุดท้ายนี้ ลองปรับมุมกล้องดูจากมุมต่างๆเพื่อแสดงให้เห็นว่าผลจาก metalness ก็เปลี่ยนไปตามทิศทางของที่มอง

สำหรับตัวอย่างนี้ให้ specularRoughness=0.2, specularIOR=1.5, specularAnisotropy=0




จากตัวอย่างที่ลองทำมาจะเห็นได้ว่าเราสามารถจำลองผิวที่ดูระยิบระยับเหมือนโลหะได้โดยการปรับที่ค่า metalness และปรับค่าต่างๆในส่วนของ specular เพื่อให้ได้ผลการสะท้อนแสงเป็นไปตามที่ต้องการ






-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ