φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



numpy & matplotlib เบื้องต้น บทที่ ๑๖: แผนภาพการกระจาย
เขียนเมื่อ 2016/06/11 22:46
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 20:29
matplotlib มีคำสั่งที่ใช้ในการวาดแผนภาพการกระจายซึ่งมีไว้แสดงการแจกแจงของค่าต่างๆ นั่นคือ plt.scatter

การเขียนแผนภาพการกระจายจะคล้ายกับการเขียนกราฟเส้น เพียงแต่ไม่มีเส้น ส่วนคีย์เวิร์ดต่างๆมีคล้ายกัน และบางส่วนก็ต่างกัน

ลองเริ่มจากลองวาดแผนภาพการกระจายของการแจกแจงแบบปกติขึ้นมาเป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุด
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

x = np.random.randn(1000) # สุ่มค่า x
y = np.random.randn(1000) # สุ่มค่า y
plt.figure(figsize=[7,7]) # กำหนดขนาดภาพให้เป็นจตุรัส
plt.scatter(x,y) # วาดแผนภาพการกระจาย
plt.show()



จะเห็นว่าตรงกลางภาพซ้อนทับกันหนาแน่นไปหมด แบบนี้ดูความเปลี่ยนแปลงในการแจกแจงได้ยาก ดังนั้นอาจใส่ความโปร่งใสลงไปด้วยคีย์เวิร์ด alpha

นอกจากนี้ทั้งสี, รูปแบบ และขนาดของจุด ก็ทำได้เหมือนกับกราฟเส้น

คีย์เวิร์ดของแผนภาพการกระจายที่มักใช้บ่อย ได้แก่
color หรือ c สีของจุด
size หรือ s ขนาดของจุด
marker รูปแบบของจุด
alpha ความโปร่งใส
label ข้อความอธิบาย
linewidth หรือ lw ความกว้างขอบของจุด

จะเห็นว่าส่วนใหญ่ก็คล้ายกับกราฟเส้น แต่บางอย่างที่เหมือนกันแต่ชื่อต่างกันก็มี

linewidth หรือ lw นั้นถ้าเป็นใน plot จะเป็นความกว้างของเส้น แต่ใน scatter จะเป็นความกว้างของเส้นขอบจุด

ลองใส่คีย์เวิร์ดอะไรต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดขอบเขตของกราฟเพิ่มเข้าไปด้วย แล้วดูกราฟใหม่อีกรอบ
x = np.random.randn(1000)
y = np.random.randn(1000)
plt.figure(figsize=[7,7])
plt.axes(xlim=[-4,4],ylim=[-4,4]) # กำหนดขอบเขต
plt.scatter(x,y,alpha=0.15,marker='o',s=50,c='#FFAA66',lw=0)
plt.show()



เท่านี้ก็จะเห็นการกระจายที่สวยงามมากขึ้น

ลูกเล่นต่อไปที่แผนภาพการกระจายทำได้เหนือกว่ากราฟเส้นก็คือ การที่จุดแต่ละจุดสามารถใส่สีต่างกันและทำให้ขนาดต่างกันได้

คีย์เวิร์ด c กับ s นั้นถ้าใส่เป็นข้อมูลเดี่ยวก็จะได้สีและขนาดเท่ากันหมดแต่ถ้าใส่เป็นลิสต์ ที่มีจำนวนเท่ากับจำนวนจุดก็จะได้จุดที่มีสีและขนาดต่างๆกันไป

ที่จริงแล้ว c กับ color นั้นมีข้อแตกต่างกันอยู่ และ s กับ size ก็มีข้อแตกต่างกัน คือ c กับ s จะใส่เป็นข้อมูลเดี่ยวหรือกลุ่มก็ได้ แต่ color กับ size จะต้องใส่เป็นข้อมูลเดี่ยวเท่านั้น นั่นคือสีเดียวและขนาดเดียว

เราลองสร้างชุดข้อมูลสุ่มขึ้นมาอีกอัน ไว้เป็นตัวกำหนดสีและขนาด ขนาดในที่นี้จะลองให้กำหนดจากระยะทาง ถ้าสมมุติว่าเรากำลังมองทรงกลมที่มีขนาดเท่ากันแต่อยู่ห่างไม่เท่ากันก็จะ เห็นอันที่ใกล้กว่ามีขนาดใหญ่กว่า โดยขนาดปรากฏแปรผกผันกับระยะทาง ทำแบบนี้แล้วจะให้ความรู้สึกเหมือนมองวัตถุที่ซ้อนกันอยู่ในสามมิติขึ้นมา ส่วนสีก็ให้อันที่อยู่ใกล้เป็นสีน้ำเงิน ที่อยู่ไกลสีแดง

ลองวาดใหม่ตามนี้
x = np.random.randn(1000)
y = np.random.randn(1000)
z = np.random.randn(1000) # ระยะแกน z ไม่ได้แสดงในภาพแต่ใช้เพื่อกำหนดขนาดและสี
s = 500/(z+4.5) # ขนาด ผกผันกับ z
c = np.vstack((0.5+z/10,0.3+z/20,0.5-z/10)).T # สีจากแม่สีทั้ง ๓ ที่เปลี่ยนค่าไปตาม z
plt.figure(figsize=[7,7])
plt.axes(xlim=[-4,4],ylim=[-4,4])
plt.scatter(x,y,alpha=0.15,marker='o',s=s,c=c,lw=2)
plt.show()





ลองนำแผนภาพการกระจายมาประกอบเข้ากับฮิสโทแกรมจะช่วยให้เห็นภาพรวมของการกระจายได้ดีขึ้น
x = np.random.randn(1000)-2
x[:500] += 4 # แยกตำแหน่งในแกน x ให้มีศูนย์กลาง ๒ ที่
y = np.random.randn(1000)
z = np.random.randn(1000)
s = 200/(z+4.5)
c = np.vstack((0.5+z/10,0.3+z/20,0.5-z/10)).T
ax1 = plt.subplot(221,xlim=[-6,6],ylim=[-4,4]) # แผนภาพหลัก
ax1.scatter(x,y,alpha=0.15,marker='o',s=s,c=c,lw=0)
ax1.xaxis.set_ticks_position('top') # ตั้งให้เลขบอกตำแหน่งอยู่ด้านบน
ax1.yaxis.set_ticks_position('left')
ax2 = plt.subplot(222,xlim=[0,60],ylim=[-4,4]) # ฮิสโทแกรมแกน y
ax2.hist(y,bins=50,orientation='horizontal')
ax2.xaxis.set_ticks_position('top')
ax2.yaxis.set_ticks_position('right')
ax3 = plt.subplot(223,xlim=[-6,6],ylim=[0,70]) # ฮิสโทแกรมแกน z
ax3.invert_yaxis() # พลิกกลับให้แท่งชี้ลง
ax3.hist(x,color='#AA22EE',bins=50)
ax3.xaxis.set_ticks_position('bottom')
ax3.yaxis.set_ticks_position('left')
plt.show()





อ้างอิง


<< บทที่แล้ว     บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

各月日志

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

找更早以前的日志