φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๕: มินิแบตช์
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:34
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 21:08
>> ต่อจาก บทที่ ๑๔



ในบทที่ผ่านๆมาเราใช้ข้อมูลที่มีในการฝึกโครงข่ายประสาทเทียมทีเดียวพร้อมกันทั้งหมด

แต่ในทางปฏิบัติแล้วเรานิยมแบ่งข้อมูลเป็นกลุ่มเล็กๆแล้วคำนวณทีละกลุ่ม วิธีการนี้เรียกว่ามินิแบตช์ (minibatch)

การใช้มินิแบตช์ในการเคลื่อนลงตามความชันก็ถือว่าเป็นการเคลื่อนลงตามความชันแบบสุ่ม (随机梯度下降法, stochastic gradient descent) เช่นเดียวกับการใช้ข้อมูลแค่ทีละตัว

การใช้ข้อมูลเป็นกลุ่มแบบนี้มีความแน่นอนมากกว่าใช้ข้อมูลทีละตัว เพราะทำให้ไม่ไวต่อข้อมูลตัวใดตัวหนึ่งมากไป

และจะดีกว่าการใช้ข้อมูลทั้งหมดทีเดียวในเรื่องของความเร็วด้วย ดังนั้นจึงสามารถทั้งรักษาความแน่นอนและเวลาในการคำนวณด้วย

นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกอย่าง นั่นคือลดโอกาสที่จะได้คำตอบที่เป็นแค่ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์

ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์คือค่าที่ดูแล้วต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับบริเวณรอบๆ แต่จริงๆแล้วอาจยังมีจุดที่ต่ำกว่านั้นอยู่ไกลออกไป

ถ้าเราใช้ข้อมูลทั้งหมดทีเดียวค่าเสียหายก็จะมีอยู่ค่าเดียว ทิศทางของการปรับค่าก็จะค่อนข้างแน่นอน แบบนั้นถ้าเจอจุดต่ำสุดสัมพัทธ์ก่อนก็จะมุ่งไปทางนั้นและได้ตรงนั้นเป็นคำตอบ

แต่ถ้าเราเปลี่ยนกลุ่มข้อมูลที่พิจารณาไปเรื่อยๆค่าเสียหายที่คำนวณได้ก็จะเปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง โอกาสที่จะเปลี่ยนทิศทางออกจากจุดสัมพัทธ์ตรงนั้นไปเจอจุดต่ำสุดอื่นก็จะมีมากขึ้น ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นนี้กลับเป็นผลดีมากกว่า

ด้วยเหตุนี้ทำให้ในทางปฏิบัติแล้วมินิแบตช์เป็นที่นิยมกว่า



ลองสร้างคลาสของโครงข่ายประสาทเทียมที่คล้ายกับที่ทำไปในบทที่ ๑๒ แต่เพิ่มการใช้มินิแบตช์ลงไป จะกลายเป็นแบบนี้ (อย่าลืมโหลดคลาสของชั้นต่างๆก่อนจาก >> unagi.py)
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
from unagi import Affin,Sigmoid,Sigmoid_entropy,Adam,Relu

class Prasat:
    def __init__(self,m,eta,kratun='relu'):
        m.append(1)
        self.m = m
        self.chan = []
        for i in range(len(m)-1):
            self.chan.append(Affin(m[i],m[i+1],np.sqrt(2./m[i])))
            if(i<len(m)-2):
                if(kratun=='relu'):
                    self.chan.append(Relu())
                else:
                    self.chan.append(Sigmoid())
        self.chan.append(Sigmoid_entropy())
        self.opt = Adam(self.param(),eta=eta)
    
    def rianru(self,X,z,n_thamsam,n_batch=50):
        n = len(z)
        self.entropy = []
        self.khanaen = []
        for o in range(n_thamsam):
            lueak = np.random.permutation(n)
            for i in range(0,n,n_batch):
                Xb = X[lueak[i:i+n_batch]]
                zb = z[lueak[i:i+n_batch]]
                entropy = self.ha_entropy(Xb,zb)
                entropy.phraeyon()
                self.opt()
            entropy,khanaen = self.ha_entropy(Xb,zb,ao_khanaen=1)
            self.entropy.append(entropy.kha)
            self.khanaen.append(khanaen)
    
    def ha_entropy(self,X,z,ao_khanaen=0):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c(X)
        if(ao_khanaen):
            return self.chan[-1](X,z),((X.kha>=0).flatten()==z).mean()
        return self.chan[-1](X,z)
    
    def param(self):
        p = []
        for c in self.chan:
            if(hasattr(c,'param')):
                p.extend(c.param)
        return p
    
    def thamnai(self,X):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c(X)
        return (X.kha>=0).flatten().astype(int)


โดยรวมแล้วดูซับซ้อนขึ้นมา เพราะต้องเพิ่มวังวน for ด้านในมาเพื่อวนทำซ้ำเพื่อหยิบข้อมูลเป็นกลุ่มๆในแต่ละรอบ

ทุกรอบจะมีจำนวนข้อมูลเท่ากันหมดยกเว้นรอบสุดท้ายจะเป็นการเก็บเศษที่เหลืออยู่ ซึ่งอาจไม่ครบตามจำนวน

ในแต่ละรอบจะเปลี่ยนกลุ่ม เปลี่ยนลำดับการสุ่มทั้งหมด

นอกจากนี้เวลาคำนวณคะแนนจะไม่คำนวณในแต่ละรอบย่อย แต่จะรอให้ใช้ข้อมูลทั้งหมดครบแล้วคำนวณทั้งหมดพร้อมกันใหม่ทีเดียว จึงได้มีการปรับปรุงเมธอด .ha_entropy() ให้สามารถเลือกที่จะคำนวณค่าคะแนนไปด้วย ทั้งคะแนนและเอนโทรปีเป็นผลจากการคำนวณไปข้างหน้าเหมือนกัน แต่ต่างตรงขั้นตอนสุดท้าย ดังนั้นถ้าต้องการทั้งสองอย่างจึงควรคำนวณพร้อมกัน

สำหรับจำนวนต่อรอบนั้นโดยทั่วไปที่คนนิยมใช้กันมากคือเลขยกกำลังของสอง เช่น 64, 128, 256 สาเหตุไม่ใช่เพราะจะทำให้ผลลัพธ์ดีกว่า แต่เป็นเหตุผลในแง่ของความเร็ว เพราะคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลในรูปแบบของเลขฐานสองเป็นหลัก

ยังไงจำนวนต่อรอบต่างกันเล็กน้อยก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อผลลัพธ์ ดังนั้นการเลือกค่าที่ทำให้คำนวณได้เร็วจึงกลายเป็นปัจจัยที่ถูกพิจารณาไป

ลองนำมาใช้จำแนกข้อมูลหน้าตาซับซ้อนแบบนี้
np.random.seed(7)
r = np.tile(np.sqrt(np.linspace(0.5,25,2000)),2)
t = np.random.normal(np.sqrt(r*50),0.5)
z = np.arange(2).repeat(2000)
t += z*np.pi
X = np.array([r*np.cos(t),r*np.sin(t)]).T

plt.scatter(X[:,0],X[:,1],50,c=z,alpha=0.1,edgecolor='k',cmap='RdYlGn')
plt.show()



ให้ทำการแบ่งเขตพร้อมทั้งแสดงค่าเอนโทรปีและคะแนนการทำนายด้วย
prasat = Prasat(m=[2,70],eta=0.005)
prasat.rianru(X,z,n_thamsam=100,n_batch=50)
plt.subplot(211,xticks=[])
plt.plot(prasat.entropy,'#772277')
plt.title(u'เอนโทรปี',family='Tahoma',size=12)
plt.subplot(212)
plt.plot(prasat.khanaen,'#227777')
plt.title(u'คะแนน',family='Tahoma',size=12)
plt.figure()

mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),200),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),200))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mz = prasat.thamnai(mX).reshape(200,-1)
plt.axes(aspect=1,xlim=(X[:,0].min(),X[:,0].max()),ylim=(X[:,1].min(),X[:,1].max()))
plt.contourf(mx,my,mz,cmap='RdYlGn',alpha=0.2)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],20,c=z,alpha=0.5,edgecolor='k',cmap='RdYlGn')
plt.show()




ผลที่ได้จะเห็นว่าเอนโทรปีไม่ได้ลดลงอย่างสม่ำเสมอแต่มีการขึ้นๆลงๆไม่แน่นอน เพราะแต่ละรอบสุ่มข้อมูลมาในลำดับที่ไม่ซ้ำกันทำให้ทิศทางการปรับพารามิเตอร์มีความไม่แน่นอนมากขึ้น แต่โดยแนวโน้มแล้วก็จะยังคงไปในทิศทางที่ลดลงเรื่อยๆ



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๖


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ