φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



เล่าประสบการณ์ค่ายอบรมวิชาการทางดาราศาสตร์โดยโซวเคนได 10 - 16 พ.ย. 2013
เขียนเมื่อ 2013/12/05 22:46
แก้ไขล่าสุด 2023/02/25 22:34
เมื่อช่วง 10 - 16 พฤศจิกายน 2013 ที่ผ่านมามีโอกาสได้ไปญี่ปุ่นเพื่อเข้าค่ายอบรมวิชาการ SOKENDAI Asian Winter School 2013 (総研大 アジア冬の学校 2013)

เป็นค่ายอบรมทางดาราศาสตร์ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยบัณฑิตวิทยาลัยศูนย์รวมการวิจัย (総合研究大学院大学) หรือเรียกย่อๆว่าโซวเคนได (総研大, SOKENDAI) เป็นมหาวิทยาลัยที่สอนระดับเฉพาะระดับปริญญาเอก โดยเน้นที่ด้านการวิจัยในสาขาต่างๆ

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโซวเคนไดนั้นอ่านได้ที่บล็อกของหนุ่มแทจ็อน เขียนไว้โดยละเอียดแล้ว http://daejeonastronomy.exteen.com/20130331/sokendai-1

หน้านี้จะเขียนแนะนำคร่าวๆเกี่ยวกับงานนี้ ส่วนเรื่องเล่าขณะที่อยู่ในงานนี้และรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละส่วนนั้นจะค่อยๆเล่าถึงภายหลังตามลำดับ



แนะนำคร่าวๆ
งานนี้เป็นค่ายอบรมด้านดาราศาสตร์สำหรับนักศึกษาและนักวิจัยชาวเอเชียโดยเฉพาะ ผู้ที่เข้าร่วมก็คือใครก็ได้ที่กำลังเรียนอยู่หรือว่าทำงานวิจัยด้านดาราศาสตร์หรือว่าสาขาที่เกี่ยวข้องกับอวกาศเช่นทางด้านวิศวกรรมอวกาศ และถือสัญชาติประเทศในเอเชีย (แต่อาจไม่จำเป็นต้องเรียนหรืออาศัยอยู่ในเอเชีย ผู้ร่วมอบรมมีทั้งคนที่เรียนอยู่ที่อเมริกาและยุโรปด้วย)

กิจกรรมในงานโดยหลักจะเป็นการบรรยายเล็กเชอร์โดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย โดยทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ และนอกจากนี้ก็ยังมีการพาชมสถานที่พวกห้องวิจัย กล้องดูดาว ห้องฉายดาว และก็ยังมีงานเลี้ยงต้อนรับด้วย

โดยสถานที่จัดงานนั้นประกอบไปด้วยสองที่คือ
- องค์การวิจัยและพัฒนาการสำรวจอวกาศ (宇宙航空研究開発機構) ของญี่ปุ่นหรือที่เรียกย่อๆกันว่า JAXA (ย่อมาจากชื่อภาษาอังกฤษว่า Japan Aerospace eXploration Agency) ที่วิทยาเขตซางามิฮาระ (相模原キャンパス) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองซางามิฮาระ (相模原市) จังหวัดคานางาวะ
- หอดูดาวแห่งชาติ (国立天文台) ของญี่ปุ่นหรือที่เรียกย่อๆว่า NAOJ (ย่อมาจากชื่อภาษาอังกฤษว่า National Astronomical Observatory of Japan) ที่วิทยาเขตมิตากะ (三鷹キャンパス) ซึ่งอยู่ที่เมืองมิตากะ (三鷹市) จังหวัดโตเกียว

สำหรับข้อมูลแนะนำ JAXA ได้เขียนถึงไว้ในหน้า https://phyblas.hinaboshi.com/20140116

และข้อมูลแนะนำในส่วนของวิทยาเขตซางามิฮาระ https://phyblas.hinaboshi.com/20140118

ส่วนข้อมูลแนะนำ NAOJ หนุ่มแทจ็อนมีเขียนแนะนำไว้แล้วที่
http://daejeonastronomy.wordpress.com/2013/12/06

โดยปกติค่ายนี้จัดขึ้นที่ JAXA ทุกปีตอนช่วงฤดูหนาวแต่สำหรับปีนี้มีการจัดที่ NAOJ ด้วย ซึ่งพิเศษกว่าทุกปี ถ้าหากเป็นปีที่ผ่านๆมาทุกปีค่ายที่ NAOJ นี้จะแยกออกไปต่างหากเป็นอีกงาน ซึ่งเรียกว่าค่าย SOKENDAI Asian Winter School เหมือนกัน จัดโดยโซวเคนไดเหมือนกัน รายละเอียดของงานจะคล้ายๆกัน

รายละเอียดของค่ายที่ NAOJ ได้มีการเขียนเล่าเรื่องไว้โดยหนุ่มแทจ็อนซึ่งได้ไปมาเมื่อปี 2012 ที่แล้ว อ่านได้ที่ http://daejeonastronomy.exteen.com/20121215/sokendai-asian-winter-school-2012-naoj-tokyo-1

ปกติค่ายที่จัดที่ JAXA ที่เดียวนั้นจะยาว ๓ วัน ส่วนค่ายที่จัดที่ NAOJ ก็ยาว ๓ วัน แต่สำหรับปีนี้เมื่อสองค่ายนี้มารวมกันจึงเป็นค่ายยาวทั้งหมด ๕ วัน คือตั้งแต่วันที่ 11-15 พ.ย. แบ่งเป็นที่ละ ๒ วันครึ่ง โดยที่วันที่ 11-12อยู่ที่ JAXA ตลอด จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 13 แล้วพอช่วงบ่ายก็ย้ายไปที่ NAOJ แล้ววันที่ 14-15 ก็อยู่ที่ NAOJ ตลอดจนสิ้นสุดงาน

หัวข้อในการจัดค่ายจะเปลี่ยนไปในแต่ละปี สำหรับปี 2013 นี้จะเป็น "ดวงตาวิทยาศาสตร์ที่ท้าทายสุดขอบปลายของจักรวาล" (宇宙の果てに挑む科学の目, Science Eyes and Minds towards Cosmic Horizon)

เนื้อหาของแต่ละเล็กเชอร์จะมีทั้งเกี่ยวกับยานอวกาศและโครงการสำรวจอวกาศในยุคปัจจุบันหรือใกล้ๆนี้ แล้วก็การค้นพบใหม่ๆ และทางด้านทฤษฎีด้วย

และนอกจากจะไปฟังเล็กเชอร์แล้ว ภายในงานยังมีช่วงเวลาที่ให้ผู้เข้าร่วมได้นำเสนองานวิจัยของตัวเองด้วย และก็จะได้รู้จักงานของผู้เข้าร่วมคนอื่นไปด้วย

หน้าเว็บไซต์หลักของงานนี้ http://www.isas.jaxa.jp/sokendai/winter_school/2013/index_e.html

อนึ่ง ปีก่อนๆที่ผ่านมาค่ายนี้จะจัดในช่วงฤดูหนาว คือช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป (ค่ายปี 2012 เวลาจัดคือต้นปี 2013) แต่เฉพาะปีนี้จัดเร็วคือเดือนพฤศจิกายนซึ่งยังเป็นฤดูใบไม้ร่วงอยู่ แต่ก็ยังคงเรียกว่าค่ายฤดูหนาวเช่นเดิม

แต่ละปีจะมีรายละเอียดและช่วงเวลาที่ไม่เหมือนกัน ต้องคอยติดตามข่าวให้ดีสำหรับผู้ที่สนใจ


JAXA วิทยาเขตซางามิฮาระ


NAOJ วิทยาเขตมิตากะ

การสมัครและการเตรียมตัว
- กรอกใบสมัครซึ่งอยู่ในหน้าเว็บไซต์หลัก แล้วส่งเมลไปภายในช่วงเวลาที่เขากำหนด รายละเอียดใบสมัครนั้นต่างกันออกไปในแต่ละปี
สำหรับของปี 2013 นี้เปิดรับสมัครตอนช่วงปลายเดือนกรกฎาคมจนถึง 2 สิงหาคม
- รอผลว่าจะได้รับเลือกให้ไปหรือเปล่า โดยของปี 2013 นี้ประกาศผลตอนเดือนกันยายน
- หลังจากประกาศผลว่าได้แล้วทางผู้จัดงานจะส่งเมลโต้ตอบมาหลายครั้งเพื่อบอกว่าเราควรเตรียมการยังไงบ้าง ตรงนี้ถ้ามีปัญหาอะไรสามารถเมลถามเขาได้ เขายินดีตอบให้อย่างดี
- สำหรับบางประเทศที่ต้องทำวีซาเขาก็จะเตรียมเอกสารให้ สำหรับไทยตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปไม่ต้องทำแล้วเลยไม่มีความจำเป็น
- ทางโน้นจะจัดเตรียมตั๋วเครื่องบินให้ เราต้องเตรียมสแกนพาสปอร์ตของตัวเองแล้วส่งไปให้เขา แล้วเขาก็จะจองตั๋วแล้วส่งรายละเอียดเที่ยวบินมาให้ เราไม่สามารถเปลี่ยนหรือกำหนดอะไรเองได้ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ
- ทุกคนต้องเตรียมการนำเสนอเกี่ยวกับงานที่ตัวเองวิจัยอยู่หรือสนใจจะทำ ปีที่ผ่านมามีทั้งนำเสนอเป็นโปสเตอร์หรือการนำเสนอหน้าห้องโดยสไลด์แล้ว แต่สำหรับปี 2013 กำหนดให้ทุกคนนำเสนอโดยโปสเตอร์เท่านั้น
- ค่าใช้จ่ายไม่ต้องเตรียมไปมากมายเพราะทั้งค่าตั๋วเครื่องบินและค่าที่พักทางโน้นจะออกให้ และอาหารบางมื้อเขาก็ออกให้ด้วย แต่พวกค่าเดินทางไปกลางจากสนามบินและค่าอาหารบางมื้อที่เขาไม่ได้เลี้ยงจะต้องออกเอง



กำหนดการณ์
อาทิตย์ 10 พ.ย. 2013
- เครื่องบินมาถึงญี่ปุ่น เดินทางเข้าพักที่ JAXA วิทยาเขตซางามิฮาระ

จันทร์ 11 พ.ย. 2013
- เริ่มงานเวลา 10:00 น. โดยการกล่าวเปิดงาน และตามด้วยเล็กเชอร์แรก ๑ ชั่วโมง
- ช่วงบ่ายมีเล็กเชอร์ยาว ๓ ชั่วโมง
- ตอนเย็นมีการนำเสนอโปสเตอร์ที่เตรียมมา
- มื้อเย็นมีการเลี้ยงอาหารต้อนรับ

อังคาร 12 พ.ย. 2013
- ช่วงเช้าตั้งแต่ 10:00 น. มีเล็กเชอร์ ๑ ชั่วโมง
- หลังจากนั้นก็พาไปเยี่ยมชมห้องควบคุมดาวเทียมเรย์เมย์
- ช่วงบ่ายมีเล็กเชอร์ ๑ ชั่วโมง
- หลังจากนั้นก็พาไปเยี่ยมชมส่วนจัดแสดงต่างๆภายในวิทยาเขตซางามิฮาระ

พุธ 13 พ.ย. 2013
- ช่วงเช้าตั้งแต่ 10:00 น. มีเล็กเชอร์ ๑ ชั่วโมง
- หลังเล็กเชอร์เป็นการกล่าวปิดท้ายสรุปค่ายในวิทยาเขตซางามิฮาระ
- หลังทานมื้อเที่ยงก็นั่งรถออกเดินทางสู่หอดูดาวแห่งชาติวิทยาเขตมิตากะ
- เมื่อมาถึงวิทยาเขตมิตากะมีการกล่าวแนะนำสั้นๆและเริ่มเล็กเชอร์ยาว ๒ ชั่วโมง

พฤหัส 14 พ.ย. 2013
- ช่วงเช้าตั้งแต่ 10:00 น. มีเล็กเชอร์ ๒ ชั่วโมง
- ช่วงบ่ายมีเล็กเชอร์ ๒ ชั่วโมง
- หลังจากนั้นพาชมห้องทำงานบางส่วนในวิทยาเขตมิตากะ
- ตอนเย็นเป็นช่วงนำเสนอโปสเตอร์อีกครั้ง

ศุกร์ 15 พ.ย. 2013
- ช่วงเช้าตั้งแต่ 10:00 น. มีเล็กเชอร์ ๒ ชั่วโมง
- ช่วงบ่ายเล็กเชอร์ ๑ ชั่วโมง
- แล้วก็ไปชมหนัง 4D ที่โดมฉายดาว
- กลับมาเล็กเชอร์ต่ออีก ๑ ชั่วโมง
- กล่าวปิดงาน
- งานเลี้ยงส่งท้าย

เสาร์ 16 พ.ย. 2013
- เดินทางกลับ

รายละเอียดดูได้ที่ http://www.isas.jaxa.jp/sokendai/winter_school/2013/program_2013.html

ในกำหนดการณ์มีเขียนตัวเลขเวลาของแต่ละกิจกรรมเอาไว้ แต่พอถึงเวลาจริงนอกจากเวลาเริ่มตอนเช้าแล้วแทบจะไม่เดินตรงตามเวลาที่เขียนไว้เลย ปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นตามสถานการณ์เป็นอย่างมาก ในนี้จึงไม่ขอเขียนเวลาลงในนี้



ผู้บรรยาย
ทั้งหมดมีการบรรยายรวมแล้ว ๑๗ เล็กเชอร์ โดยผู้บรรยายเปลี่ยนไปเรื่อยๆเป็นคนละคนกันหมดเลย ที่วิทยาเขตซางามิฮาระ ๗ เล็กเชอร์ และที่วิทยาเขตมิตากะ ๑๐ เล็กเชอร์ ในจำนวนนั้นวิทยากรเป็นคนญี่ปุ่น ๑๔ คน ที่เหลือเป็นคนอิตาลี เยอรมัน และอเมริกา อย่างละคน

JAXA วิทยาเขตซางามิฮาระ
1. ร.ศ. โองาวะ ฮิโรยุกิ (小川 博之) วิจัยด้านพลศาสตร์ของไหลร้อน JAXA
2. ร.ศ. โซเนะ โยชิตสึงุ (曽根 理嗣) วิจัยด้านเทคโนโลยีคลื่นแหล่งกำเนิดคลื่นที่ใช้ในอวกาศ JAXA
3. ศ. ฮายากาวะ ฮาจิเมะ (早川 基) วิจัยด้านฟิสิกส์แม็กนิโตสเฟียร์ดาวเคราะห์ JAXA
4. ร.ศ. อิมามุระ ทาเกชิ (今村 剛) วิจัยด้านบรรยากาศดาวเคราะห์ JAXA
5. ผ.ศ. ยามาซากิ อัตสึชิ (山﨑 敦) วิจัยด้านฟิสิกส์พลาสมาและบรรยากาศดาวเคราะห์ JAXA
6. ศ. อิชิกาวะ ทาเกฮิโกะ (石川 毅彦) วิจัยด้านวิศวกรรมเครื่องกล JAXA
7. ศ. คาวาซากิ ชิเงโอะ (川﨑 繁男) วิจัยด้านวิศวกรรมสื่อสารคลื่นไฟฟ้าในอวกาศ JAXA

NAOJ วิทยาเขตมิตากะ
8. Prof. Dr. Roland Diehl สถาบันวิจัยมักซ์ พลังค์ และมหาวิทยาลัยเทคนิกแห่งมิวนิก
9. Prof. Raffaele Flaminio ศูนย์วิจัยคลื่นโน้มถ่วง NAOJ
10. ดร. ทากิวากิ โทโมยะ (滝脇 知也) ศูนย์ดาราศาสตร์คอมพิวเตอร์ NAOJ
11. ศ. อิโอโนะ ไดสึเกะ (伊王野 大介) หอสังเกตการณ์ชิลี NAOJ
12. ศ. อาโอกิ วาโกว (青木 和光) แผนกวิจัยดาราศาสตร์แสงและอินฟราเรด NAOJ
13. ศ. คาจิโนะ โทชิทากะ (梶野 敏貴) แผนกวิจัยดาราศาสตร์ทฤษฎี NAOJ และภาควิชาดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว
14. ดร. ทานากะ มาซาโอมิ (田中 雅臣) แผนกวิจัยดาราศาสตร์ทฤษฎี NAOJ
15. ดร. คุโดว ทากาฮิโระ (工藤 哲洋) แผนกวิจัยดาราศาสตร์ทฤษฎี NAOJ
16. ศ. ซากุไร ทากาชิ (桜井 隆) แผนกสังเกตการณ์ฟิสิกส์ดวงอาทิตย์ NAOJ
17. Prof. Grant J. Mathews มหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม และแผนกวิจัยดาราศาสตร์ทฤษฎี NAOJ

สำหรับรายละเอียดของแต่ละเล็กเชอร์นั้นจะไปพูดถึงคร่าวๆตอนที่เล่าถึงรายละเอียดในแต่ละวัน แต่จะไม่ลงรายละเอียดมาก เนื่องจากว่าอาจต้องใช้เวลาสรุปนาน สำหรับจุดประสงค์ที่เขียนครั้งนี้อยากเน้นไปที่แนะนำประสบการณ์มากกว่าที่จะใส่เนื้อหาส่วนที่เป็นวิชาการมากเกินไป
บางเล็กเชอร์ที่รู้สึกสนใจเป็นพิเศษโดยการส่วนตัวอาจจะนำมาสรุปแยกอีกทีภายหลัง อย่างไรก็ตามอาจารย์บอกว่าจะแจกสไลด์ที่นำเสนอในห้องทั้งหมดให้กับผู้เข้าร่วมทุกคนภายหลัง แต่อาจต้องรอเวลาผ่านไปก่อน อาจเป็นเดือนๆ ดังนั้นหากจะเขียนก็ยังจำเป็นต้องรอถึงตอนนั้นไม่อย่างนั้นก็ยังไม่สามารถเขียนได้


อ.โซเนะ โยชิตสึงุ (
曽根 理嗣) หนึ่งในวิทยากร และเป็นผู้รับผิดชอบดูแลค่ายครั้งนี้ เป็นอาจารย์ที่ติดต่อใกล้ชิดผู้ร่วมอบรมมากที่สุด (ภาพนี้ถ่ายโดยผู้ร่วมอบรมชาวมาเลเซีย ขอยืมเขามาลง)



ผู้ร่วมอบรม
งานในปี 2013 นี้ผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยหลากหลายประเทศรวมทั้งหมด ๓๐ คน จาก ๑๐ ประเทศ ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่ยื่นสมัครทั้งหมด ๑๒๐ คน เรียกได้ว่าคัดมาเพียงหนึ่งในสี่ มีคนรู้จักที่สมัครแล้วไม่ได้ไปอยู่เหมือนกัน
- ญี่ปุ่น ๕ คน
- อินโดนีเซีย ๘ คน
- มาเลเซีย ๕ คน
- ฟิลิปปินส์ ๓ คน
- ไต้หวัน ๒ คน
- ปากีสถาน ๒ คน
- ไทย ๒ คน
- จีน ๑ คน
- เกาหลีใต้ ๑ คน
- เวียดนาม ๑ คน

ผู้ร่วมอบรมส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาปริญญาโทหรือเอก มีบางส่วนที่เป็นอาจารย์หรือนักวิจัยที่จบแล้ว แล้วก็มีนักศึกษาปริญญาตรีด้วย ส่วนใหญ่เรียนสาขาดาราศาสตร์ แต่ก็มีคนที่เรียนสาขาอื่นเช่นวิศวกรรมอยู่ด้วย
คนไทยมี ๒ คน คือเราซึ่งเรียน ป.โท อยู่ที่จีน กับอีกคนซึ่งเพิ่งได้มารู้จักกันในงานนี้ เขาเรียน ป.เอก อยู่ที่อเมริกา ทั้งคู่ไม่ได้มาจากไทยเลย
ประเทศที่มาเยอะที่สุดคืออินโดนีเซีย มี ๘ คน แต่มีอยู่คนหนึ่งที่เรียนอยู่ที่สิงคโปร์ ที่เหลืออยู่ในประเทศตัวเอง
คนจีนน้อยผิดคาด มีอยู่แค่คนเดียว แต่เขาเรียนอยู่ที่ฮอลันดา ก็เลยกลายเป็นว่าที่เรียนอยู่ที่จีนมีแค่เราคนเดียว
คนเวียดนามมาสายกว่าคนอื่น ๑ วันเนื่องจากเจออุบัติเหตุพายุไต้ฝุ่นที่ฟิลิปปินส์ทำให้เที่ยวบินของเขาเลื่อนออกไป
คนญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพนั้น ตามในรายชื่อมีอยู่ ๕ คน แต่ว่ามาจริงๆแค่ ๔ คน โดยที่ ๓ คนร่วมตลอดงาน แต่อีก ๑ คนมาร่วมเฉพาะตอนอยู่วิทยาเขตมิตากะ
ผู้ร่วมอบรมบางคนเคยเข้าร่วมงานนี้ในปีก่อนๆมาก่อน เขาไม่ได้ห้ามเข้าร่วมซ้ำแต่อย่างใด



ประโยชน์ที่ได้รับจากงานนี้
- ได้รับความรู้มากมายจากเล็กเชอร์ต่างๆ
- ได้เยี่ยมชมสถาบันวิจัยของญี่ปุ่น ได้รู้จักการทำงานที่นี่
- ได้แนะนำให้คนอื่นรู้จักงานวิจัยของตัวเองจากการนำเสนอ
- ได้รู้จักอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ที่นี่ มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ เผื่อในอนาคตต้องการมาเรียนต่อ
- ได้รู้จักกับเพื่อนจากประเทศต่างๆหลายชาติในเอเชีย ได้แลกเปลี่ยนความเห็น เป็นการเปิดโลกให้กว้างไกล
- หากมีเวลาว่างเหลือก็สามารถถือโอกาสเที่ยวได้ จะได้ทำความรู้จักเกี่ยวกับญี่ปุ่นให้มากขึ้น

โดยรวมแล้วการมางานครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากมาย คุ้มค่าจริงๆ



ในตอนต่อไปจะเริ่มเขียนเล่าบันทึกการเดินทาง ติดตามอ่านต่อกันได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20131207


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ดาราศาสตร์
-- ประเทศญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文