φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



จากสนามบินปักกิ่งสู่สนามบินนาริตะ
เขียนเมื่อ 2013/12/07 12:31
แก้ไขล่าสุด 2023/02/25 22:34
#อาทิตย์ 10 พ.ย. 2013

หลังจากที่เขียนรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับงาน SOKENDAI Asian Winter School 2013 แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20131205

คราวนี้จะเริ่มเล่าถึงการเดินทาง

นี่เป็นการเดินทางไปญี่ปุ่นเป็นครั้งที่ ๒ หลังจากที่ครั้งแรกไปมาเมื่อช่วงเดือนมกราคมปีเดียวกันนี้ ซึ่งเล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20130118

สิ่งที่ต่างจากครั้งที่แล้วก็คือ ครั้งนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่การมาเที่ยว แต่เป็นการมาอบรมวิชาการ ดังนั้นความรู้สึกจึงต่างไปพอสมควร เป็นอารมณ์คนละแบบ แต่ที่เหมือนกันก็คือการได้ไปญี่ปุ่นนั้นยังไงก็มีความสุขแน่นอน

และอีกอย่างคือครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางไปต่างประเทศโดยเดินทางจากจีน ครั้งที่แล้วที่ไปญี่ปุ่นมานั้นเป็นช่วงกลับไทยก็เลยไปจากไทยโดยนั่งการบินไทย

สำหรับตั๋วเครื่องบินในครั้งนี้ทางผู้จัดงานเป็นคนจัดการจองออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ซึ่งเขาได้เลือกให้เราเดินทางโดยสายการบินเดลตา (Delta Airline) ซึ่งเป็นสายการบินของอเมริกา
ขาไป DL618 วันที่ 10 พ.ย. 2013 ออกจากสนามบินปักกิ่งเวลา 7:50 น. ถึงสนามบินนาริตะ 12:35 น.
ขากลับ DL617 วันที่ 16 พ.ย. 2013 ออกจากสนามบินนาริตะเวลา 18:50 น. ถึงสนามบินปักกิ่งเวลา 22:20 น.

ความจริงแล้วสายการบินนี้แค่ใช้นาริตะเป็นทางผ่านระหว่างเส้นทางบินระหว่างปักกิ่งกับโฮโนลูลูของฮาวาย ดังนั้นจึงมีผู้โดยสารส่วนหนึ่งในเที่ยวนี้ที่ไม่ใช่จะเดินทางไปญี่ปุ่น แค่จะต่อเครื่องเพื่อไปฮาวาย ก็เลยจะเห็นว่ามีฝรั่งขึ้นมาเยอะเหมือนกัน แต่คนจีนก็ดูจะเยอะกว่าอยู่

จากกำหนดการณ์จะเห็นว่าวันแรกเมื่อไปถึงยังเที่ยงอยู่ มีเวลาว่างทั้งวัน แต่ที่จริงเวลาก็ไม่ได้เหลือเฟืออย่างที่คิด เพราะต้องใช้เวลาในการเดินทางจากสนามบินซึ่งอยู่ไกลมาก กว่าจะถึงก็ค่ำแล้ว

เพียงแต่โชคดีว่าตอนวันสุดท้ายขากลับนั้นกว่าจะกลับก็คือตอนเย็น จึงมีเวลาเที่ยวได้ทั้งวัน เวลาส่วนนั้นก็ถือเป็นกำไรของการไปในครั้งนี้ แน่นอนว่าเราเตรียมแผนเที่ยวไว้สำหรับวันนั้นแล้ว

ทั้งเวลาขาไปและขากลับนั้นต่างกันไปตามเที่ยวบินของผู้ร่วมอบรมแต่ละคน ถ้าโชคดีก็ได้รอบที่วันแรกไปถึงเช้า แล้ววันสุดท้ายกลับเย็น ของเราถือว่าโชคดี แต่ผู้ร่วมอบรมบางคนวันสุดท้ายต้องไปกลับแต่เช้า เรียกได้ว่าเลิกงานเสร็จต้องรีบนอนแล้วตื่นมาแต่เช้าเพื่อขึ้นรถด่วนไปสนามบิน แบบนั้นลำบากแย่เลย



แต่ว่าการเดินทางครั้งนี้ก็พบว่ามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง เป็นอุปสรรคที่ทำให้กังวลใจพอสมควร คงต้องพูดถึงสักหน่อย

เรื่องมีอยู่ว่าช่วงก่อนที่จะเดินทางไม่นานเพิ่งจะมารู้ตัวว่าพาสปอร์ตที่เหลืออายุไม่ถึง ๖ เดือนนั้นไม่สามารถใช้เดินทางได้ เพราะ ตม. จะไม่ให้เข้าประเทศ เมื่อลองมาดูวันที่แล้วพบว่าช่วงที่เดินทางนั้นอายุพาสปอร์ตเหลือเพียง ๕ เดือนกว่าเท่านั้น พอรู้ดังนี้จึงร้อนใจและหาข้อมูลเป็นการใหญ่ เพราะตอนนี้ไม่ได้อยู่ในไทย การทำพาสปอร์ตใหม่ที่จีนต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน รายละเอียดอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20131203

พอรู้ว่าไม่มีทางทำพาสปอร์ตใหม่ได้ทันจึงมีแต่ต้องใช้พาสปอร์ตที่มีอยู่ตอนนี้ซึ่งเหลืออายุเพียง ๕ เดือนกว่า ลองค้นข้อมูลจากหลายแหล่งก็เห็นหลายคนบอกว่าการที่กำหนดว่าอายุพาสปอร์ตต้องเกิน ๖ เดือนนั้นเป็นแค่หลักทั่วไป เพราะหลายประเทศมีข้อกำหนดแบบนั้น แต่ความจริงแล้วแต่ประเทศที่จะไป สำหรับญี่ปุ่นแล้วไม่มีข้อกำหนดนั้น ขอแค่เหลืออายุพาสปอร์ตอยู่ก็ไปได้แล้ว พอรู้เช่นนั้นก็โล่งใจขึ้นมา

หลังจากนั้นเพื่อความแน่ใจก็ได้มีการส่งเมลไปถามทางฝ่ายที่จัดการตั๋วเครื่องบินให้มาด้วย ซึ่งเขาก็ได้ทำการโทรไปถามทั้งทางกระทรวงต่างประเทศ และทางสายการบินให้ จนได้คำตอบมาว่าไม่มีปัญหา ยิ่งทำให้สบายใจได้เลย

แต่ก็มีปัญหาอีกอย่างคือทาง ตม. จีนเอง เพราะทางจีนนั้นมีข้อกำหนดเรื่องที่ว่าพาสปอร์ตว่าต้องอายุเกิน ๖ เดือนอยู่แล้วด้วย ดังนั้นอาจเกิดปัญหาว่าเราจะโดน ตม. จีนสกัดตั้งแต่ที่สนามบินปักกิ่ง หรือถ้ารอดตอนออกไปได้ ตอนกลับมาใหม่ขาเข้าก็อาจจะไม่ได้กลับเข้าจีนก็เป็นได้

ตรงนี้ไม่สามารถหาข้อมูลมายืนยันให้แน่ใจได้ จนทำให้ต้องกังวลใจอยู่จนกระทั่งถึงวันที่ออกเดินทาง แต่ที่จริงก็คิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะเราถือวีซานักเรียนอยู่ ไม่น่าจะมีปัญหาแบบคนที่ใช้วีซาท่องเที่ยวทั่วไป



แล้วก็มาถึงวันเดินทาง เนื่องจากเป็นรอบเช้ามาก 7:50 ดังนั้นจึงต้องตื่นแต่เช้า ตี ๓ และออกจากหอพักไปตอนตี ๔ เพื่อจะไปถึงสนามบินก่อนตี ๕ ซึ่งเช้าขนาดนั้นยังไม่มีรถเมล์หรือรถไฟฟ้าไปสนามบิน มีแต่ต้องนั่งแท็กซีเท่านั้น ซึ่งเวลานั้นรถก็น้อย หายากอยู่ แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไป หาโบกรถอยู่ท่ามกลางความหนาวเหน็บยามก่อนรุ่งเช้าสักพักก็เจอ ค่าบริการแท็กซีไปสนามบินก็ร้อยกว่าหยวน

ไปถึงสนามบินก่อนตี ๕ สนามบินนี้มาบ่อยหลายครั้งเพราะไปๆกลับๆไทย แต่ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนๆตรงที่ว่าต้องไปอาคาร ๒ ในขณะที่ทุกทีจะไปอาคาร ๓ เพราะว่าสายการบินไทยที่นั่งไปกลับไทยประจำนั้นใช้อาคาร ๓ แต่สายการบินเดลตานั้นใช้อาคาร ๒
ปกติแล้วอาคาร ๓ จะใหญ่กว่าและมีแต่สายการบินนานาชาติเท่านั้น ในขณะที่อาคาร ๒ จะเล็กกว่าและมีสายการบินในประเทศปนอยู่ด้วย ปกติเวลาบินข้ามประเทศจึงมักไปทางอาคาร ๓ มากกว่า

ภายในอาคาร ๒ ขณะรอเช็กอิน พอถึงตี ๕ ก็สามารถเริ่มเช็กอินเข้าไปด้านในได้ ตอนเช็กอินพนักงานก็มีถามด้วยว่าทำไมไม่มีวีซาทั้งๆที่ไปญี่ปุ่นครั้งก่อนยังมีวีซา เราก็เลยต้องบอกไปว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมาคนไทยไม่ต้องใช้วีซาเพื่อไปญี่ปุ่นแล้ว



ครั้งนี้ของที่ขนมาด้วยนอกจากกระเป๋าเป้สองใบก็มีม้วนโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่เตรียมเพื่อไปนำเสนอในค่ายด้วย ตอนแรกคิดว่าอยากจะโหลดขึ้นเครื่องเพราะมันอันใหญ่เกะกะ แต่เขาบอกว่าไม่ควรโหลด ก็เลยถือไป ก็เลยคิดว่าไหนๆก็ไม่โหลดโปสเตอร์แล้ว กระเป๋าเป้ใบใหญ่ก็ไม่โหลดด้วยละกัน จะได้ประหยัดเวลาไม่ต้องไปรอของตรงสายพาน ครั้งนี้เลยไม่โหลดเลย ซึ่งก็มีข้อดี แต่ทำให้เราเจอปัญหาตอนตรวจของ เพราะมีพบขวดน้ำและครีมทากันผิวแห้งไปในกระเป๋าใบที่ตอนแรกกะจะโหลด ก็เลยโดนยึดหมดเลย แต่ไม่เป็นไรไม่สำคัญมาก

หลังจากนั้นก็ผ่าน ตม. ช่วงที่ผ่านก็ลุ้นอยู่ว่าจะโดนทักเรื่องที่อายุพาสปอร์ตเหลือไม่ถึง ๖ เดือนหรือเปล่า แต่ปรากฏว่าเขาดูผ่านแค่นิดเดียวแล้วก็ให้ออก พอมาถึงตรงนี้แล้วก็โล่งใจ เท่านี้ก็ได้ไปญี่ปุ่นแน่นอนแล้ว

บรรยากาศขณะเดินไปยังห้องรอ ช่างเงียบเหงา



นั่งรอในนี้นานเลย เพราะมาก่อนเวลาเผื่อเวลาไว้นานพอสมควร แต่ตอนมาถึงตรงนี้ทีแรกพบว่าทำตั๋วขึ้นเครื่องตกไว้กลางทาง ต้องเดินย้อนกลับไปค้นหา โชคดีมีพนักงานเก็บเอาไว้ให้



แล้วก็รออยู่จนสว่าง เห็นเครื่องบินลำที่จะออกเตรียมลากงวงไว้แล้ว



ได้เวลาขึ้นเครื่อง เวลาขึ้นเครื่องนั้นก่อนเวลาออกเดินทางตั้งชั่วโมง ต้องนั่งรอบนเครื่องนานเลยกว่าจะออก ครั้งนี้ได้นั่งริมหน้าต่าง แถมเป็นตอนกลางวันด้วย จึงได้เห็นทิวทัศน์ด้านนอกตลอดทาง ถ่ายภาพมาได้มาก



แล้วเครื่องก็ออก ลาก่อนปักกิ่ง แต่อีกแค่สัปดาห์เดียวก็กลับมา



อาหารบนเครื่องไม่ได้อร่อยเท่าไหร่ แต่ชอบตอนขากลับมากกว่า



หลังจากนั้นเครื่องก็ออกทะเล แต่บินมาได้แค่สักพักเดียวก็เริ่มเห็นแผ่นดินอีกครั้ง ซึ่งก็คือคาบสมุทรเกาหลีนั่นเอง แผ่นดินข้างล่างนี้คือประเทศเกาหลีใต้



ตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าเกาหลีเหนือหรือใต้ แต่ดูแผนที่การบินก็แน่ใจได้ว่าเป็นเกาหลีใต้ ไม่แปลกเลย เพราะใครจะไปกล้าบินผ่านเกาหลีเหนือ ยิ่งนี่เป็นสายการบินของอเมริกาด้วย อาจโดนสอยร่วงได้



สักวันหนึ่งก็อยากจะมาเที่ยวบ้างจัง เกาหลีใต้ เป็นประเทศหนึ่งที่อยากมาเที่ยว



แค่ ๑๕ นาทีเท่านั้นเครื่องบินก็บินทะลุข้ามผ่านคาบสมุทรเกาหลีไป เร็วมาก



สักพักก็เริ่มเห็นแผ่นดินญี่ปุ่น แต่ดูเหมือนญี่ปุ่นตอนนี้จะปกคลุมด้วยเมฆหนา มองลงไปเห็นแต่ขาวโพลนไปหมด แทบไม่เห็นอะไร ต้องรอตอนเครื่องบินใกล้ถึงแล้วบินต่ำลงมาอยู่ใต้เมฆจึงจะเริ่มมองเห็นด้านล่างและถ่ายภาพได้




ทิวทัศน์สวยๆเต็มไปหมด





แล้วก็ได้เวลาลงที่สนามบินนาริตะ



ถึงแล้ว ขณะนั้นเพิ่งจะเกือบเที่ยง เท่ากับว่าเครื่องลงก่อนเวลาที่กำหนดมากกว่าครึ่งชั่วโมง



พอมาถึงที่นี่ต้องเปลี่ยนโหมดภาษาทันที จากที่ตอนแรกมาจากจีนก็ใช้แต่ภาษาจีน แม้แต่ในเครื่องคนที่ขึ้นส่วนใหญ่ก็คนจีน แต่พอลงมาที่นี่ก็ต้องเปลี่ยนมาพูดภาษาญี่ปุ่น ถึงตอนนี้ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองพูดภาษาญี่ปุ่นได้ไม่ดีเท่าภาษาจีน ถึงจะฝึกมานานแต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ แต่ถึงยังไงก็ยังอยู่ในระดับที่ใช้สื่อสารได้สบาย ไม่มีปัญหา ดีกว่าอังกฤษเยอะ



ตรงนี้สำหรับคนที่เปลี่ยนเครื่องไปโฮโนลูลู (ฮาวาย) เพราะเครื่องที่ขึ้นนี้เป็นเครื่องที่บินต่อเนื่องจากปักกิ่งแล้วมาหยุดพักที่นาริตะก่อนที่จะไปโฮโนลูลูต่อ แต่เราลงที่นี่โดยตรงดังนั้นก็ไม่ต้องเข้าไปตรงนี้



ตรงนี้มีป้ายต้อนรับ ภาษาอังกฤษเขียนว่ายินดีต้อนรับ แต่ภาษาญี่ปุ่นกลับเขียนว่าขอต้อนรับกลับ



ภาพก่อนถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง พอถึงตรงที่ตรวจคนเข้าเมืองแล้วก็มีหยิบกล้องขึ้นมาจะถ่ายแต่เขารีบห้ามทันใด ตอนเขาตรวจพาสปอร์ตก็ลุ้นๆอยู่อีกครั้งว่าจะมีปัญหาเรื่องอายุพาสปอร์ตหรือไม่ ก็ปรากฏว่าเขาเปิดดูผ่านๆอย่างรวดเร็วแป๊บเดียวก็ให้ผ่านได้แล้ว สรุปแล้วผ่านฉลุยตลอด



จากนั้นก็ออกมาสู่บริเวณฝากกระเป๋า แต่ครั้งนี้เราไม่ได้โหลดของขึ้นเครื่องเลยก็เลยสบาย ผ่านออกมาได้เลย ตรงสายพานรับกระเป๋านี้เราก็มีหยิบกล้องออกมาจะถ่ายเหมือนกัน นึกว่าตรงนี้จะถ่ายได้แล้วแต่เขากลับไม่ให้ถ่าย

ในที่สุดก็ออกมาด้านนอก



เป้าหมายแรกของเราคือตามหาไปรษณีย์เพื่อรับซิมสำหรับต่อเน็ตของ docomo ที่สั่งซื้อเอาไว้ทางเว็บไซต์ รายละเอียดของซิมที่ว่า http://www.bmobile.ne.jp/english/product.html

มีอยู่ ๒ ชนิดให้เลือก ใช้ได้นานที่สุด ๑๔ วัน ใครจะไปญี่ปุ่นหลายวันก็แนะนำให้ใช้เหมือนกัน ครั้งที่แล้วไปญี่ปุ่น ๑๒ วันเลยใช้ คุ้มอย่างมาก ครั้งนี้ไปแค่ ๗ วัน แต่ก็คิดว่าน่าจะคุ้มก็เลยซื้อ เพราะแม้จะโทรคุยไม่ได้แต่สามารถต่อเน็ตได้ก็สามารถใช้ skype โทรได้ ใช้เน็ตเช็กข้อมูลอะไรก็ได้ เวลาไปไหนสามารถใช้ GPS ดูตำแหน่งได้ตลอด ความเร็วก็ไม่ได้ช้านัก

ครั้งนี้พลาดอย่างมากเลยที่ไม่ได้จำมาว่าไปรษณีย์อยู่ที่ไหน ทั้งๆที่ในตัวเว็บก็มีบอกตำแหน่งและมีแผนที่ให้ดูด้วย พอเป็นแบบนี้ก็เลยต้องไปถามคนอื่น เสียเวลาไปพอสมควร โชคดีที่ครั้งนี้เครื่องลงเร็วแถมไม่ต้องไปรับกระเป๋าเลยพอมีเวลา แต่ก็ยังต้องรีบอยู่ดี พอรู้ว่าอยู่ชั้น ๔ ก็เลยขึ้นไปชั้น ๔ ก็พบว่านั่นเป็นชั้นที่ต้องมาตอนขาออกนั่นเอง ไว้ตอนขากลับก็ต้องมาตรงนี้อีก



ไปรษณีย์อยู่คนละมุมกับบริเวณที่เช็กอิน



ไปถึงก็ยื่นพาสปอร์ตให้เขาดูแล้วเขาก็จะให้ซองแบบนี้มา ภายในก็จะมีซิมพร้อมกับคู่มือวิธีใช้






หลังจากรับซิมมาใส่เครื่องเรียบร้อยก็พร้อมแล้ว ได้เวลาออกเดินทาง ตอนต่อไปจะเล่าถึงการเดินทางจากสนามบินนาริตะไปยัง JAXA วิทยาเขตซางามิฮาระ ซึ่งก็เป็นการเดินทางที่ทรหดพอสมควร ติดตามอ่านกันต่อไปได้

https://phyblas.hinaboshi.com/20131209


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> จิบะ
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文