φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
วัดต้าเจวี๋ย วัดเก่าแก่บนเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของปักกิ่ง
เขียนเมื่อ 2015/05/21 23:39
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 27 เม.ย. 2015
ปักกิ่งมีวัดเก่าแก่อยู่หลายแห่ง ช่วงนี้ก็มีโอกาสแวะเวียนไปเที่ยวมาหลายแห่งแล้ว สำหรับครั้งนี้ที่จะไปเที่ยวคือ
วัดต้าเจวี๋ย (大觉寺, ต้าเจวี๋ยซื่อ)
ซึ่งอยู่นอกตัวเมืองปักกิ่งห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือใน
เขตไห่เตี้ยน (海淀区)
วัดต้าเจวี๋ยถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียว (辽朝, ปี 916 - 1125) ตั้งอยู่บนเขาหยางไถ (阳台山, หยางไถซาน) ในตอนแรกเรียกชื่อว่าชิงสุ่ยย่วน (清水院) ในสมายราชวงศ์จิน (金朝, ปี 1115 - 1234) เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหลิงเฉวียน (灵泉寺) พอสมัยราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368 - 1644) มีการสร้างใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดต้าเจวี๋ย
ชื่อวัดนี้เขียนด้วยอักษรที่เหมือนกับชื่อ
วัดไดกากุ (大覚寺, だいかくじ)
วัดเก่าแก่ในเมืองเกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามที่ชื่อเหมือนกันนี่น่าจะเป็นความบังเอิญ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกัน
ชื่อ 大覚寺 (จีนตัวย่อเขียนเป็น 大觉寺) นั้นถ้าอ่านแบบญี่ปุ่นก็จะเป็น "ไดกากุจิ" อ่านแบบจีนเป็น "ต้าเจวี๋ยซื่อ"
ในบริเวณวัดมีต้นไม้เก่าแก่อยู่หลายต้น เช่นต้นแป๊ะก๊วย (银杏) และ ดอกยวี่หลาน (玉兰) ถ้ามาถูกฤดูจะสวยงามมาก
ปกติดอกยวี่หลานจะบานตอนต้นเดือนเมษายน แต่ในครั้งนี้เรามาตอนปลายเดือนเมษายนซึ่งมันช้าไปเสียแล้ว ความจริงตอนแรกมีแผนจะมาให้เร็วกว่านี้แต่ก็ไม่สะดวกมา สุดท้ายก็เลยมาเอาป่านนี้ทำให้ไม่ได้เห็น น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน
สำหรับการเดินทางมาที่วัดนี้เป็นอะไรที่ไม่ค่อยจะสะดวกสบายนัก ไม่มีรถไฟฟ้าไปถึงเนื่องจากอยู่ไกลจากตัวเมืองพอสมควร สามารถนั่งรถไฟฟ้าไปลงที่
สถานีเป่ย์กงเหมิน (北宫门站)
ซึ่งเป็นสถานีรองสุดท้ายของสาย 4 จากเป่ย์กงเหมินนั่งรถเมล์ต่อไป
การนั่งรถเมล์ไปนั้นมีอยู่สองทาง ให้เลือกว่าจะนั่งรถเมล์สองต่อแล้วเดินไกลหน่อย หรือนั่งแค่ต่อเดียวแล้วเดินไกลมาก
หากเลือกที่จะนั่งรถเมล์สองต่อเพื่อให้ไม่ต้องเดินไกลเกินไปละก็ ให้นั่งสาย 330 หรือ 346 ไปลงที่ป้าย
เวินเฉวียน (温泉)
จากนั้นก็เปลี่ยนไปขึ้นสาย 633 เพื่อนั่งต่อไปลงยังป้าย
ต้าเจวี๋ยซื่อ (大觉寺)
อย่างไรก็ตามถึงจะลงที่ป้ายนี้ก็ต้องเดินต่ออีกไกลพอสมควร ประมาณ ๑ ก.ม. แต่ก็ไม่มีป้ายรถเมล์ที่ใกล้กว่านี้แล้ว
ส่วนอีกทางคือนั่งแค่ต่อเดียว คือขึ้นสาย 346 ไปแล้วไปลงที่ป้าย
เป่ย์อานเหอ (北安河)
จากนั้นก็เดินไกลมาก ๒ ก.ม. ซึ่งเราเลือกทางนี้
นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่เป่ย์กงเหมินจากนั้นก็จะเห็นป้ายรถเมล์ที่มีสายรถเมล์ให้ขึ้นมากมาย มี 346 อยู่ด้วย ซึ่งสายนี้มีปลายทางอยู่ที่เฟิ่งหวงหลิ่งซึ่งเราเคยไปเที่ยวมาแล้วเมื่อ ๓ ปีก่อน เล่าถึงไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20120517
รอสักพักสาย 346 ก็มา ครั้งนี้เราจะไปเพื่อลงแค่กลางทางเท่านั้น
ใช้เวลาประมาณ ๔๕ นาที ก็มาถึงป้ายเป่ย์อานเหอ
เป่ย์อานเหอนั้นเป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง ไม่มีอะไรมาก
พอเดินเข้าไปในบริเวณที่น่าจะเป็นหมู่บ้านก็พบว่าร้างมาก เหมือนบ้านส่วนใหญ่โดนรื้อออกไปหมด เหลือแค่ไม่กี่หลังแต่ก็ยังเห็นมีคนอาศัยอยู่ ไม่รู้ว่าอยู่กันยังไง
เดินไปเรื่อยๆก็ออกนอกบริเวณหมู่บ้าน (ร้าง)
ออกมาถึงตรงนี้แล้วเจอป้ายรถเมล์ต้าเจวี๋ยซื่อซึ่งถ้านั่งสาย 633 มาก็จะมาลงที่นี่ แต่ถึงยังไงก็ยังต้องเดินต่ออีก
มีป้ายสีน้ำตาลชี้ทางบอกว่าไปวัดต้าเจวี๋ยต้องเดินไปทางนี้
ระหว่างทางก็ดูจะไม่ได้เดินง่ายนักเพราะเป็นทางขึ้นเขา
ป้ายชี้บอกทางสีน้ำตาลซึ่งแสดงสถานที่เที่ยว จะเห็นว่านอกจากวัดต้าเจวี๋ยแล้วก็ยังมีที่อื่นอีก แต่ก็ไม่สำคัญนัก
มีแผนที่สถานที่เที่ยวบริเวณนี้ด้วย
เดินขึ้นต่อไป
มีทางรถไฟตัดผ่านตรงนี้ด้วย เป็นทางรางเดียว
ยังคงเดินขึ้นต่อไปอีก
ในที่สุดก็ถึงจนได้ ตรงนี้เป็นที่ขายตั๋ว ราคาค่าเข้าชมคือ ๒๐ หยวน แต่เป็นนักเรียนก็ลดเหลือ ๑๐ หยวน
ประตูทางเข้าวัด
หน้าวัดมีขายของเต็มไปหมด
เดินเข้าวัด
ที่หน้าวัดมีป้ายเขียนบอกว่าข้างในมีบางส่วนกำลังปรับปรุงอยู่ทำให้ไม่สามารถเข้าได้ แต่ว่าบริเวณส่วนใหญ่ก็ยังเข้าได้อยู่ ไม่เป็นไรเพราะก่อนมาก็มีหาข้อมูลมาก็มีคนพูดถึงเรื่องนี้ คิดว่าไม่ใช่ปัญหาอะไรขนาดนั้นก็เลยยังคงตั้งใจมาอยู่ ยังไงมันก็ยังเปิดอยู่ ดีกว่าบางที่ที่ซ่อมแล้วก็ปิดทั้งหมดไม่สามารถไปเข้าชมได้เลย
ตรงทางเข้าวัดมีอุปกรณ์สำหรับอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ให้เช่า ๒๐ หยวน มีอยู่ ๕ ภาษา หรือสามารถจ้างคนแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ ๘๐ หยวน แต่มีแต่ภาษาจีน
เข้ามาถึงก็เห็นกำลังก่อสร้างอยู่ทำให้บางบริเวณอาจดูไม่สวยไปบ้างจริงๆ
แผนที่และคำอธิบายแนะนำที่นี่ รวมทั้งแผนที่
อาคารตรงนี้เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับเทพแห่งท้องฟ้าทั้งยี่สิบ
ภายใน
ที่นี่มีศาลาแผ่นหินอยู่สองหลัง เหนือกับใต้ อันนี้ศาลาฝั่งเหนือ
ภายใน
ตรงนี้เป็นบ่อน้ำ มีปลาว่ายอยู่ด้วย
ข้ามสะพานเดินลึกเข้าไปในวัด
มีขายอาหารปลาด้วย ๕ หยวน
เช่นเดียวกับวัดทั่วไปต้องมีทั้งหอกลอง (鼓楼) และหอระฆัง (钟楼)
ภายในบริเวณมีอยู่หลายจุดที่วางป้ายที่เขียนขออภัยในความไม่สะดวกที่ข้างในมีการก่อสร้างอยู่ ดูเหมือนเขาจะใส่ใจกับเรื่องนี้มากทีเดียว
ตรงนี้คืออาคารเทียนหวางเตี้ยน (天王殿) ข้างในมีพระสกันทะ (韦驮, เหวย์ถัว) และพระเมตไตรย (弥勒佛, หมีเล่อฝัว) และจาตุมหาราชิกา (四大天王, ซื่อต้าเทียนหวาง)
เดินทะลุอาคารนี้เข้าไปก็เจอกับบริเวณที่มีดอกจื่อเถิง (紫藤) ปลูกอยู่
และนี่คืออาคารหลัก ต้าสยงเป่าเตี้ยน (大雄宝殿)
เดินผ่านอาคารนี้มาก็จะเจออาคารอู๋เลี่ยงโซ่วฝัวเตี้ยน (无量寿佛殿) หรืออาคารอมิตาภพุทธะ ซึ่งกำลังซ่อมด้านนอกอยู่ แต่ว่าเข้าไปชมด้านในได้
เดินทะลุผ่านอาคารนี้มาก็จะเจออาคารอีกหลังที่กำลังซ่อมอยู่ แต่ก็เข้าได้เช่นกัน
อาคารนี้คืออาคารต้าเปย์เตี้ยน (大悲殿)
ภายในจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวัดนี้
ภาพบริเวณภายในวัดในแต่ละฤดู สีสันเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา ถ้ามาฤดูใบไม้ร่วงก็จะเห็นแป๊ะก๊วยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสวย ถ้ามาฤดูใบไม้ผลิก็อาจเห็นดอกยวี่หลานบาน
แบบจำลองบริเวณวัด ทำออกมาได้ดูสวยดี
ออกมาจากอาคารแล้วเดินไปทางด้านขวา
มีแผ่นหินบันทึกที่สร้างในปี 1068 สมัยราชวงศ์เหลียว มีบันทึกประวัติช่วงแรกๆของวัดนี้เอาไว้
จากตรงนี้บันไดให้ขึ้นไปอีก
แต่ก็พบว่ามันตันแค่นี้
พอมองขึ้นไปก็เห็นว่ามีอะไรบางอย่างกำลังซ่อมอยู่ นั่นคือเจดีย์ซึ่งอยู่ตรงส่วนยอดของวัดนี้ น่าเสียดายที่กำลังซ่อมแซมอยู่ก็เลยไม่มีโอกาสได้ชม
เมื่อขึ้นไปต่อไม่ได้แล้วเราก็เดินกลับลงมาจนถึงตรงหน้าบริเวณต้าสยงเป่าเตี้ยนซึ่งมีทางแยกให้เลี้ยวซ้ายไป จะเป็นลานฝั่งใต้
บริเวณนี้เป็นร้านชา มีอยู่สองฝั่ง
ฝั่งหนึ่งเป็นในอาคาร บรรยากาศดูน่านั่งดี
ส่วนอีกฝั่งเป็นลาน
ภายในลานตรงนี้มีต้นยวี่หลานอายุเก่าแก่ แต่ว่ามันหมดช่วงที่บานไปแล้วก็เลยเหลือแต่ใบเขียวธรรมดา
จากนั้นเดินย้อนกลับมาแล้วไปทางฝั่งตรงข้ามก็มีลานฝั่งเหนือ
ตรงนี้มีต้นแป๊ะก๊วยขนาดใหญ่ ถ้าหากถึงฤดูใบไม้ร่วงคงจะเหลืองสวยงามมาก
ตรงนี้ก็มีทางให้เดินขึ้น
แต่ก็มาตันตรงนี้เขาปิดก่อสร้างอยู่
เท่านี้ก็เดินจนทั่วบริเวณที่สามารถเดินได้แล้ว เหลือแค่บริเวณที่ปิดอยู่อีกเล็กน้อยที่ไม่สามารถเดินได้ แต่แค่นี้ก็เพียงพอ
จากนั้นก็เดินออกไปยังลานหน้าวัดเพื่อถามคนแถวนั้นว่าพอจะหารถรับจ้างเพื่อกลับไปยังป้ายรถเมล์เป่ย์อานเหอได้หรือเปล่า คนขายก็กลับแนะนำว่าไม่มีหรอก ให้เดินไปขึ้นที่ป้ายต้าเจวี๋ยซื่อซึ่งอยู่ใกล้กว่าดีกว่า ขึ้นรถเมล์จากตรงนั้นแม้ว่าจะต้องนั่งสองต่อแต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากมาก
เราก็คิดว่าคงต้องอย่างนั้นแล้วล่ะ ที่จริงตอนแรกตัดสินใจนั่ง 346 มาก็เพราะไม่อยากนั่งสองต่อ แต่มันก็ทำให้ต้องเดินไกลมาก คราวนี้ขากลับไม่อยากเดินไกลก็เปลี่ยนมานั่งสองต่อละกัน คิดเช่นนั้นแล้วเราก็เดินย้อนกลับมา ขากลับนั้นเป็นการเดินลงเขาซึ่งสบายกว่าตอนมาซึ่งเดินขึ้นเขา เรารีบวิ่งลงไปตามทางลาดอย่างรวดเร็วแป๊บเดียวก็มาถึงตรงป้ายรถเมล์ต้าเจวี๋ยซื่อ
ตรงนี้มีแค่สาย 633 เท่านั้น จะกลับไปยังตัวเมืองต้องนั่งไปลงที่ป้ายเวินเฉวียน รอไม่นานรถเมล์ก็มา เรานั่งมาลงที่ป้ายเวินเฉวียน
เวินเฉวียนเป็นชื่อตำบลหนึ่งในเขตไห่เตี้ยน คำว่าเวินเฉวียนแปลว่าบ่อน้ำร้อน หรือก็คือที่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "อนเซง" นั่นเอง (คนมักเรียกผิดเป็น "ออนเซน")
ที่เวินเฉวียนนี้มีรถเมล์หลายสายผ่าน เช่น 330 และ 346 ที่เรานั่งไปตอนแรก นอกจากนี้ก็มี 651 ซึ่งสามารถนั่งกลับเมืองได้เหมือนกันเพียงแต่มันไม่ได้ไปจอดที่สถานีเป่ย์กงย่วน แต่ไปจอดที่
สถานีมหาวิทยาลัยเหรินหมิน (人民大学站)
ปรากฏว่า 651 มาก่อน ดังนั้นครั้งนี้เราจึงนั่งสายนี้กลับไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีมหาวิทยาลัยเหรินหมินเพื่อเดินทางกลับอีกที
ใช้เวลาประมาณ ๕๐ นาทีก็มาถึง แวะทานมื้อเที่ยงที่นี่ก่อนกลับ วันนี้เที่ยวแค่นี้ไม่ได้ไปไหนต่อเพราะยิ่งเข้าช่วงบ่ายอากาศก็ยิ่งร้อน เริ่มจะหมดฤดูที่สามารถเที่ยวได้อย่างสบายๆแล้ว
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
ศาสนสถาน
>>
วัด
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文