φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[python] วิธีทำให้ import มอดูลที่ต้องการทุกครั้งเมื่อเริ่มโปรแกรม
เขียนเมื่อ 2019/01/07 15:07
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ปกติเวลาเขียนโปรแกรมไพธอนเรามักจะต้องเริ่มต้นด้วยการ import มอดูลที่จำเป็น

บางมอดูลเราต้องใช้อยู่บ่อยๆตลอดเวลา เช่นบางคนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ ต้องใช้ numpy และ matplotlib เป็นประจำ ถ้าสามารถทำให้โปรแกรมมีการ import ตลอดทุกครั้งโดยไม่ต้องมาเขียน import ตลอดก็จะประหยัดเวลาเขียนไปได้ไม่น้อย

หากต้องการทำเช่นนั้น ในไพธอนมีวิธีที่จะทำแบบนั้นได้อยู่ ในที่นี้ขอแนะนำ ๒ วิธีที่ทำได้ง่าย



วิธีแรก: กรณีที่ต้องการเฉพาะเมื่อใช้ ipython

เนื่องจากคนที่ใช้ python จำนวนมากนิยมใช้ ipython กันเป็นหลัก ในกรณีนี้มีวิธีที่ใช้การได้ง่ายๆอยู่ คือสร้างไฟล์ที่เขียนโค้ดที่ต้องการให้ทำงานเมื่อเริ่มต้นเอาไว้ แล้วนำไปวางในตำแหน่งดังนี้

สำหรับ windows ให้เข้าไปที่
C:\Users\<ชื่อผู้ใช้>\.ipython\profile_default\startup

สำหรับ mac
/Users/<ชื่อผู้ใช้>/.ipython/profile_default/startup

สำหรับ linux
/home/<ชื่อผู้ใช้>/.ipython/profile_default/startup

พอเข้าไปแล้วก็สร้างไฟล์ชื่ออะไรก็ได้ขึ้นมาเป็น .py แล้วใส่โค้ดที่ต้องการให้รันเมื่อเริ่มโปรแกรมไพธอน

ยกตัวอย่างเช่น สร้างไฟล์ชื่อว่า สิ่งที่ต้องการทำเมื่อเริ่มต้น.py เขียนว่า
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt


โค้ดนี้จะทำงานทุกครั้งที่มีการเริ่มต้น ipython

ดังนั้นพอเปิด spyder ขึ้นมาแล้วลองพิมพ์ np และ plt ก็จะได้แบบนี้
In [1]: np
Out[1]: <module 'numpy' from 'C:\\Users\\phyblas\\Anaconda3\\lib\\site-packages\\numpy\\__init__.py'>
In [2]: plt
Out[2]: <module 'matplotlib.pyplot' from 'C:\\Users\\phyblas\\Anaconda3\\lib\\site-packages\\matplotlib\\pyplot.py'>

แสดงให้เห็นว่ามีการ import ไว้แล้ว ถ้าขึ้นแบบนี้ก็แสดงว่าทำสำเร็จแล้ว ต่อไปนี้เราก็ไม่ต้องคอย import ทุกครั้งที่เข้าแล้ว



อีกวิธี: กรณีที่ต้องการเมื่อรันโปรแกรมไพธอนด้วยอะไรก็ตาม

สำหรับคนที่ไม่ได้จะใช้ ipython ให้ใช้อีกวิธีนึง วิธีนี้จะมีผลตลอดไม่ว่าจะรันไพธอนด้วย ipython หรือไม่ก็ตาม

วิธีคือให้ไปตั้งตัวแปรสภาพแวดล้อมที่ชื่อ PYTHONSTARTUP ให้ไปอ่านไฟล์ที่เราต้องการให้รันเมื่อเริ่มใช้งานไพธอน

สำหรับ windows 10

ให้ไปที่ตัวเลือกมุมซ้ายล่าง พิมพ์ค้นหา "แก้ไขตัวแปรสภาพแวดล้อมของระบบ"



เมื่อเปิดขึ้นมาจะขึ้นหน้าจอแบบนี้ ให้เลือก "ตัวแปรสภาพแวดล้อม" ซึ่งอยู่ล่างขวา



เปิดขึ้นมาแล้วลองดูด้านบน จะเห็นรายการของตัวแปรผู้ใช้ ซึ่งมีอยู่หลายอย่าง

ที่เราต้องทำคือเพิ่มตัวแปรใหม่เข้าไป ให้กด "สร้าง..."

แล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาก็ให้ใส่ชื่อและค่าของตัวแปร ให้ใส่ชื่อเป็น PYTHONSTARTUP ส่วนค่าก็คือไฟล์ที่เราต้องการ



เช่นในตัวอย่างนี้ขอเอาคำสั่งที่ต้องการไปใส่ไว้ในไฟล์นี้ C:\Users\phyblas\Documents\singthitongkanhaithammuearoemton.py

(ชื่อไฟล์ที่ใช้ในที่นี้ไม่สามารถตั้งด้วยอักษรภาษาไทยได้)

ใส่เสร็จก็กดตกลง แล้วสิ่งที่เราใส่เข้าไปก็จะเข้าไปอยู่ในรายการตัวแปรสภาพแวดล้อม

เท่านี้เวลาเริ่มใช้งานไพธอน โค้ดจากไฟล์นี้ก็จะถูกอ่านก่อนเสมอ

สำหรับ mac

ให้ตั้งตัวแปรสภาพแวดล้อมได้โดยไปแก้ไฟล์ .bash_profile ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ /Users/<ชื่อผู้ใช้>

แต่ไฟล์นี้มีชื่อขึ้นต้นด้วยจุด . ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ทั่วไป ให้กดปุ่ม cmd+shift+. จึงจะมองเห็น



เปิดไฟล์ขึ้นมาแล้วไปที่บรรทัดล่างสุด เขียน export PYTHONSTARTUP="<ตำแหน่งไฟล์ที่ต้องการ>" ใส่เข้าไป เช่นถ้าจะวางทิ้งไว้ใน Desktop ก็เขียน
export PYTHONSTARTUP="/Users/phyblas/Desktop/singthitongkanhaithammuearoemton.py"

สำหรับ linux

ทำด้วยการเขียนเพิ่มบรรทัดที่ทำการ export ตัวแปรสภาพแวดล้อม คล้ายๆกันกับ mac แต่ไฟล์ที่ต้องแก้คือ .bashrc ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ /home/<ชื่อผู้ใช้>


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文