φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ไอซึฮังโกวนิชชิงกัง แบบจำลองโรงเรียนประจำไอซึฮังสมัยเอโดะ
เขียนเมื่อ 2019/06/19 07:40
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# อาทิตย์ 26 พ.ค. 2019

ตอนที่แล้วนั่งรถไฟมาถึงสถานีฮิงาชินางาฮาระ

แล้วก็เดินมาเรื่อยๆจนถึงโรงเรียนประจำไอซึฮัง ไอซึฮังโกวนิชชิงกัง (會津藩校日新館あいづはんこうにっしんかん) ที่ถูกสร้างจำลองใหม่

รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่นี้ได้อธิบายไปแล้วตอนที่เขียนถึงซากหอดูดาวนิชชิงของจริง https://phyblas.hinaboshi.com/20190603

สำหรับเรื่องเกี่ยวกับหอดูดาวได้กล่าวถึงละเอียดไปในหน้านั้นแล้วในที่นี้จึงจะเน้นเขียนส่วนอื่น

สถานที่ที่เราจะไปชมต่อจากนี้ทั้งหมดเป็นแค่ของจำลองที่สร้างขึ้นในปี 1987 แต่ก็ถูกพยายามสร้างขึ้นให้เหมือนจริง เพียงแต่ว่าวัตถุประสงค์ในการสร้างคือเพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ไม่ได้ถูกใช้งานจริงเหมือนในสมัยนั้น

เว็บของที่นี่ https://nisshinkan.jp



การเดินทางมาที่นี่นอกจากจะเดินจากสถานีรถไฟซึ่งค่อนข้างไกลแล้ว ยังอาจนั่งรถเมล์มาได้ ป้ายรถเมล์อยู่หน้าทางเข้าเลย จึงสะดวกกว่า เพียงแต่ว่าเที่ยวรถเมล์มีน้อยมาก จึงต้องกะเวลาให้ดี เช่นเดียวกับเที่ยวรถไฟ และรถเมล์ก็ช้ากว่ารถไฟมากเพราะจอดตลอดทางที่วิ่งผ่านในตัวเมือง ดังนั้นโดยรวมแล้วถ้าสามารถเดินไกลได้ มาด้วยรถไฟจะดีกว่า

เราเดินผ่านทางเข้าเข้ามาก็ผ่านป้ายรถเมล์ ซึ่งอยู่ใกล้ทางเข้า



จากป้ายรถเมล์เดินต่อเข้ามา




เจอร้านขายของที่ระลึก




เดินต่อไปขึ้นบันไดมาอีก



ก็มาถึงหน้าทางเข้านิชชิงกัง ที่หน้าทางเข้ามีรูปปั้นยามากาวะ เคนจิโรว (山川やまかわ 健次郎けんじろう, 1854-1931) นักฟิสิกส์ซึ่งเป็นชาวไอซึ เขาเคยเรียนที่นิชชิงกัง และได้ร่วมรบในสงครามไอซึสังกัดอยู่ในกลุ่มเบียกโกะไต




ซื้อบัตรเข้าชมทางขวาตรงนี้ ค่าเข้าปกติราคา ๖๒๐ เยน แต่ถ้ามาเป็นกลุ่มจะลดเหลือ ๕๖๐ เยน ซึ่งตอนที่ไปครั้งนี้ไม่แน่ใจว่าเพราะสาเหตุใดเขาลดให้เหลือ ๕๖๐ เยนทั้งๆที่มาแค่ ๒ คน



จากนั้นเริ่มชมจากทางซ้าย



อาคารตรงนี้ถูกทำเป็นห้องฉายหนัง




เป็นวีดิทัศน์อธิบายแนะนำให้รู้จักนิชชิงกัง ก่อนที่จะเข้าไปชมด้านในจริงๆ



ชมเสร็จก็ออกมาแล้วมาเข้าประตูกลางเพื่อเข้าไปยังส่วนตรงกลาง




ที่ประตูหลักมีสิงโต



ตรงกลางเป็นสวนซึ่งล้อมรอบด้วยอาคารต่างๆ



เส้นทางเดินที่เขาแนะนำนั้นให้เริ่มจากไปทางขวา เดินวนทวนเข็มนาฬิกา



เริ่มอาคารส่วนด้านตะวันออก เป็นส่วนการศึกษาของเด็กอายุ ๑๐ ถึง ๑๕ ปี เรียกว่าโซโดกุโชะ (素読所そどくしょ)



อาคารมี ๒​ ชั้น แต่ชั้นบนไม่ได้ให้เข้าชม เส้นทางเดินชมจึงแค่เดินไปตามทางในชั้นล่าง



เดินเข้ามาตามทาง เจอห้องแรกเป็นห้องเรียน ข้างในแค่จัดแสดงของต่างๆ



นี่คือภาพวาดแสดงแผนที่ของที่นี่



ขยายดูตรงส่วนนี้ ทางซ้ายคือประตูที่เราเดินเข้ามา ด้านบนคือสวนตรงกลาง และทางขวาคืออาคารที่เราอยู่ตอนนี้ จะเห็นว่าเดิมทีใช้เป็นที่เล่าเรียน



เดินถัดเข้ามา



ห้องต่อไปเป็นห้องเรียนที่มีการใช้หุ่นจำลอง แต่ละคนที่จำลองมานี้มีต้นแบบมาจากบุคคลจริงในสมัยนั้น มีชื่อบอกว่าเป็นใครด้วย



ถัดมาอีกห้องเป็นห้องเรียนการเขียนพู่กัน




ถัดมาเดินเลี้ยวซ้ายไป




ห้องถัดมาหุ่นแสดงการทำความสะอาดห้อง



ถัดมาเป็นห้องเรียนดาราศาสตร์



มีแสดงลูกทรงกลมท้องฟ้า



ทางนี้กำลังวาดกลุ่มดาว



ตรงนี้อธิบายเกี่ยวกับศาสตร์ต่างๆที่ศึกษาที่นี่ มุมซ้ายล่างเขียนถึงหอดูดาว มีภาพซากหอดูดาวที่หลงเหลือในปัจจุบันด้วย



ถัดมาห้องนี้แสดงพิธีการใช้ดาบ



ห้องต่อมาเป็นกิจกรรมยามว่าง



จากนั้นออกมาแล้วไปยังส่วนถัดไป อาคารทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นส่วนที่เรียกว่าไดงากุ (大学だいがく) ซึ่งจริงๆคำนี้แปลว่ามหาวิทยาลัย แต่สำหรับในนิชชิงกังนี้หมายถึงส่วนที่ศึกษาในระดับผู้ใหญ่สำหรับคนที่จบจากโซโดกุโชะแล้ว



การเดินเข้าชมในส่วนนี้ต้องถอดรองเท้า จะถอดวางไว้หรือจะถือไปด้วยก็ได้ ถ้าวางไว้ก็ต้องกลับมาเอา แต่ถ้าถือไปก็เดินทะลุไปต่อจนถึงส่วนถัดไปได้ เราวางรองเท้าไว้ตรงทางเข้าเพราะเดินกลับมาอีกทีก็ไม่ได้ลำบากอะไร



ภายในอาคาร



ตรงนี้จัดแสดงภาพวาดแสดงวิถีชีวิตที่นี่




ทางนี้ขายหนังสือ



มีมังงะเช่นนิชชิงกันโมโนงาตาริ ซึ่งเล่าเกี่ยวกับนิชชิงกัง



โปสเตอร์ละครเรื่องเบียกโกะไต ฉายไปเมื่อปี 2007 ตัวเอกคือซากาอิ มิเนจิ (酒井さかい 峰治みねじ, 1852-1932) สมาชิกกลุ่มเบียกโกะไตคนนึงที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่คว้านท้องตาย นำแสดงโดยยามาชิตะ โทโมฮิสะ (山下やました 智久ともひさ)



สวนด้านหลัง



เดินเข้าไปต่อ




จะผ่านไปถึงส่วนตรงกลางเหนือสุด เป็นส่วนห้องพระ เรียกว่า ไทเซย์เดง (大成殿たいせいでん)




จากตรงนี้มองย้อนลงไปยังบริเวณสวน



จากนั้นเดินต่อไปตามทางจะเป็นส่วนที่จัดแสดงวัตถุและเอกสารโบราณ ตรงนี้เขาห้ามถ่ายรูป เลยแค่ชมเฉยๆ ไม่ได้เก็บภาพมา



จากนั้นก็เดินย้อนมาหยิบรองเท้า แล้วเดินต่อไปทางตะวันตก ทะลุไปยังสวนที่ล้อมรอบบ่อน้ำ สึยเรนสึยบะอิเกะ (水練水馬池すいれんすいばいけ)






ถัดมาส่วนที่ให้ชมคือส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงปลายยุคเอโดะ ส่วนตรงนี้ก็ห้ามถ่ายรูปจึงไม่ได้เก็บภาพมาลง




อาคารตรงกลางริมสระเรียกว่าบุโกว (武講ぶこう)



ภายในไม่ใหญ่มาก มีจัดแสดงอะไรอยู่เล็กน้อย






ทิวทัศน์สระน้ำจากตรงนี้ก็ไม่เลว



จากนั้นเดินต่อไปก็เจอส่วนที่ให้วาดระบายสีอากาเบโกะเล่น




ถัดไปเป็นห้องนั่งพัก





ในนี้มีเครื่องขายน้ำอัตโนมัติ



ถัดมาเป็นโรงยิงธนู



ด้านในเข้ามาถึงเป็นส่วนที่ระบายสีอากาเปโกะ



เข้าไปด้านในเป็นลานยิงธนู สามารถยิงเล่นได้ แต่มีค่าใช้จ่าย



จากนั้นเดินไปทางตะวันตกต่อ ไปยังส่วนสุดท้าย



ซึ่งก็คือส่วนของหอดูดาว



เดินขึ้นบันไดมาชมด้านบนได้



จากตรงนี้มองลงไปทางตะวันออกเห็นตัวอาคารนิชชิงกังทั้งหมด



หากมองไปทางตะวันออกเฉียงเหนือก็จะเห็นรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมที่ไอซึมุระ




ข้างๆหอดูดาวเป็นรูปปั้นของอิบุกะ คาจิโนะสึเกะ (井深いぶか 梶之助かじのすけ, 1854-1940) ชาวไอซึที่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มเบียกโกะไตและเข้าร่วมสงครามไอซึ เคยเรียนอยู่ที่นิชชิงกัง ตอนหลังได้กลายเป็นศิษยาภิบาล




ถัดไปข้างๆเป็นสนามฝึกยิงปืน




จากนั้นก็หมดเท่านี้ เดินต่อไปก็เป็นทางออก




ระหว่างทางเดินลงมาผ่านพวกอาคารร้านขายของจำนวนนึง แต่ไม่ได้แวะเพราะต้องรีบเดินไปขึ้นรถไฟ




เดินลงมาจนถึงหน้าทางเข้าที่เข้ามาตอนแรก



จากนั้นก็เดินกลับไปโดยไปคนละทางกับที่มาตอนแรก เนื่องจากขากลับนี้จะเดินไปขึ้นที่สถานีฮิโรตะ (広田駅ひろたえき) ซึ่งอยู่ใกล้กว่าสถานีฮิงาชินางาฮาระที่เรามาลงตอนแรก แต่ก็ต้องใช้เวลายี่สิบกว่านาทีในการเดินเหมือนกัน



ทิวทัศน์ระหว่างทาง แถวนี้ก็เต็มไปด้วยท้องนา สมกับที่ชื่อ "ฮิโรตะ" ที่แปลว่า "ท้องนากว้าง"






ถึงสถานีฮิโรตะ สถานีนี้ก็เป็นสถานีเล็กๆที่มีแต่ชานชลาไม่มีคนเฝ้า



เข้ามารอรถไฟที่ชานชลา





แล้วรถไฟก็มา ขึ้นรถไฟเพื่อเดินทางกลับไปยังตัวเมืองไอซึวากามัตสึ



เป้าหมายต่อไปคือเที่ยวในย่านนาโนกะมาจิ (七日町なのかまち) https://phyblas.hinaboshi.com/20190620



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุชิมะ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文