φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาเขมร
เขียนเมื่อ 2022/04/15 19:41
แก้ไขล่าสุด 2022/07/18 16:15
ในบทความนี้จะเขียนอธิบายหลักการทับศัพท์คำภาษาเขมรมาเป็นภาษาไทย

การทับศัพท์ภาษาเขมรนั้นอาจทำได้โดยถอดตามรูป (ปริวรรต) หรือถอดตามเสียงอ่าน สำหรับที่จะอธิบายต่อไปนี้จะอธิบายการถอดตามเสียงอ่านเป็นหลัก โดยจะแสดงการถอดตามรูปเอาไว้ในวงเล็บเพื่อเปรียบเทียบด้วย



พยัญชนะ

ภาษาเขมรมีพยัญชนะที่ใช้อยู่ทั้งหมด ๓๓ ตัว ซึ่งสามารถจัดเรียงได้เป็นตารางตามรูปแบบของอักษรพราหมี (รายละเอียดอ่านที่นี่)

เราอาจเขียนเป็นตารางแสดงพยัญนะทั้งหมด ๓๓ ตัวของภาษาเขมรได้ดังนี้

  เสียงเบา เสียงหนัก เสียงเบา เสียงหนัก เสียงนาสิก
วรรคกะ

(ก)
/kɑ/
กอ

(ข)
/kʰɑ/
คอ

(ค)
/kɔ/
โก

(ฆ)
/kʰɔ/
โค

(ง)
/ŋɔ/
โง
วรรคจะ

(จ)
/cɑ/
จอ

(ฉ)
/cʰɑ/
ชอ

(ช)
/cɔ/
โจ

(ฌ)
/cʰɔ/
โช

(ญ)
/ɲɔ/
โญ
วรรคฏะ

(ฏ)
/ɗɑ/
ดอ

(ฐ)
/tʰɑ/
ทอ

(ฑ)
/ɗɔ/
โด

(ฒ)
/tʰɔ/
โท

(ณ)
/nɔ/
นอ
วรรคตะ

(ต)
/tɑ/
ตอ

(ถ)
/tʰɑ/
ทอ

(ท)
/tɔ/
โต

(ธ)
/tʰɔ/
โท

(น)
/ˊnɔ/
โน
วรรคปะ

(ป)
/ɓɑ/
บอ

(ผ)
/pʰɑ/
พอ

(พ)
/pɔ/
โป

(ภ)
/pʰɔ/
โพ

(ม)
/mɔ/
โม
 เศษวรรค
(ย)
/jɔ/
โย

(ร)
/rɔ/
โร

(ล)
/lɔ/
โล

(ว)
/ʋɔ/
โว

(ส)
/sɑ/
สอ

(ห)
/hɑ/
หอ
 
(ฬ)
/lɑ/
ลอ

(อ)
/ʔɑ/
ออ

อักษรไทยในวงเล็บจะแสดงตัวอักษรไทยที่เทียบเท่าตัวอักษรเขมรตัวนั้นๆ ซึ่งจะใช้ในเวลาเขียนทับศัพท์แบบถอดตามรูป แต่ไม่ได้แสดงเสียงอ่าน ส่วนเสียงอ่านจริงๆที่จะใช้ในการเขียนทับศัพท์แบบถอดเสียงจะแสดงไว้ด้านล่าง

พยัญชนะเขมรแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มที่มีสระอออยู่ในตัว แสดงด้วยพื้นสีชมพูในตาราง กับอีกกลุ่มคือกลุ่มที่มีสระโออยู่ในตัว แสดงด้วยพื้นสีม่วง ในที่นี้จะเรียกพยัญชนะ ๒ กลุ่มนี้สั้นๆว่า "กลุ่มออ" กับ "กลุ่มโอ"

พยัญชนะ ๒ กลุ่มนี้นอกจากจะเสียงต่างกันเมื่ออยู่เดี่ยวๆแล้ว ก็ยังจะให้เสียงสระต่างกันไปเมื่อเขียนด้วยสระต่างๆกัน ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

นอกจากในตารางนี้แล้วที่จริงภาษาเขมรยังมี ឝ (ศ) และ ឞ (ษ) อีก ซึ่งเป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว รวมหมดจริงๆเป็น ๓๕ ตัว แต่ในที่นี้จะไม่เขียนถึง จะเขียนถึงเฉพาะอักษร ๓๓ ตัวที่ใช้อยู่จริงเท่านั้น

อักษรตัวต่างๆนอกจากจะแสดงในรูปดังในตารางข้างต้นนี้แล้วยังอาจปรากฏเป็นตัวห้อยด้านล่างอักษรอื่นด้วย ซึ่งหน้าตาจะเปลี่ยนไป ต้องมาจำแยกอีกที

ตารางต่อไปนี้จะทำการสรุปอักษรทั้ง ๓๓ ตัวให้เห็นทั้งรูปธรรมดาและรูปที่แสดงเมื่อห้อย และแสดงตัวอย่างคำที่ใช้

อักษร เมื่อห้อย IPA ทับศัพท์ กลุ่ม ตัวอย่าง
្ក (ก) /k/ ออ កត់ (กด่) = ก็อด
្ខ (ข) /kʰ/ ខ្នប់ (ขฺนบ่) = คน็อบ
្គ (ค) /k/ โอ គោព្រៃ (โคพฺไร) = โกไปร
្ឃ (ฆ) /kʰ/ ឃ្នង (ฆฺนง) = คนอง
្ង (ง) /ŋ/ ចង្រៃ (จงฺไร) = จังไร
្ច (จ) /c/  ออ ចំនួន (จํนัวน) = จ็อมนวน
្ឆ (ฉ) /cʰ/ ឆ្លាក (ฉฺลาก) = ชลาก
្ជ (ช) /c/ โอ ជាញ (ชาญ) = เจียญ
្ឈ (ฌ) /cʰ/ ឈើ (เฌอ) = เชอ
្ញ (ญ) /ɲ/ ជំនាញ (ชํนาญ) = จุมเนียญ
្ដ (ฏ) /ɗ/ ออ ដំណើរ (ฎํเนอร) = ด็อมนา
្ឋ (ฐ) /tʰ/ ឋិតិ (ฐิติ) = เทะเตะ
្ឌ (ฑ) /ɗ/ โอ ឌិម្ភា (ฑิมฺภา) = เดิมเพีย
្ឍ (ฒ) /tʰ/ អឌ្ឍ (อัฑฺฒ) = อัดเทียะ
្ណ (ณ) /n/ ออ បណ្ដាល (บณฺดาล) = บ็อนดาล
្ត (ต) /t/ តំណាល (ตํณาล) = ต็อมนาล
្ថ (ถ) /tʰ/ ថោះ (เถาะ) = เทาะห์
្ទ (ท) /t/ โอ ទំនាយ (ทํนาย) = ตุมเนียย
្ធ (ธ) /tʰ/ ធ្លាយ (ธฺลาย) = ทเลียย
្ន (น) /n/ ខ្នើយ (ขฺเนอย) = คนาย
្ប (ป) /ɓ/ ออ បន្ទំ (ปนฺทํ) = บ็อนต็อม
្ផ (ผ) /pʰ/ ផ្លាញ (ผฺลาญ) = พลาญ
្ព (พ) /p/ โอ ពួក (พัวก) = ปวก
្ភ (ภ) /pʰ/ ភ្លើង (ภฺเลอง) = เพลิง
្ម (ม) /m/ ជាម (ชาม) = เจียม
្យ (ย) /j/ របាយ (รบาย) = โระบาย
្រ (ร) /r/ របៀប (รเบียบ) = โระเบียบ
្ល (ล) /l/ លំបាក (ลํบาก) = ลุมบาก
្វ (ว) /ʋ/ រវាង (รวาง) = โระเวียง
្ស (ส) /s/ ออ សប្បាយ (สปฺปาย) = สับบาย
្ហ (ห) /h/ កំហែង (กํแหง) = ก็อมหายง์
្ឡ (ฬ) /l/ ចំឡង (จํฬง) = จ็อมลอง
្អ (อ) /ʔ/ អាច (อาจ) = อาจ

พยัญชนะบางตัวอาจอ่านได้หลายเสียง เช่น ត (ต) อาจแทนได้ทั้งเสียง "ด" หรือ "ต" แต่ส่วนใหญ่จะแทนเสียง "ต" มากกว่า

ส่วน ប (ป) อาจแทนเสียง "บ" หรือ "ป" แต่มักจะเป็น "บ" มากกว่า

นอกจากนี้ก็ยังมีข้อยกเว้นที่พบได้อีกมาก ทำให้การอ่านไม่เป็นไปตามรูปที่เขียน ซึ่งจะไม่ได้พูดถึงในนี้โดยเฉพาะ หากต้องการถอดตามเสียงก็อาจเปิดดูเสียงอ่านจากพจนานุกรมหรือยึดตามที่ได้ยินจากที่เจ้าของภาษาพูด

พยัญชนะบางตัวนั้นกรณีที่เป็นตัวสะกดจะมีเสียงต่างจากเมื่อเป็นพยัญชนะ เช่น

រ (ร) จะไม่ออกเสียง

កន្ថោរ (กนฺโทร) = ก็อนทาว
ដើរ (เดอร) = ดา

ตัว ស (ส) จะกลายเป็นเสียงพ่นลม เหมือนเป็นเสียง "ห" สะกดต่อท้าย ให้เขียนเป็น "ห์"

ប្រោស (ปฺโรส) = โปรห์
ក្រចាស (กฺรจาส) = เกราะจาห์



นอกจากนี้แล้วก็ยังมีพยัญชนะเพิ่มเติมที่ได้จากการประกอบ ซึ่งเอาไว้ใช้กับคำภาษาต่างประเทศเพื่อแทนเสียงพยัญชนะที่ไม่มีในภาษาเขมรเดิม หรือเปลี่ยนให้เป็นอีกกลุ่มที่ยังขาดไป บางตัวอาจอ่านได้ ๒ แบบขึ้นอยู่กับคำ

อักษร IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
ហ្គ (หฺค) /ɡɑ/ กอ ហ្គាស (หฺคาส) = กาห์
ហ្គ៊ (หฺค ៊) /ɡɔ/ โก ហ្គ៊ារ (หฺค ៊าร) = เกีย
ហ្វ (หฺว) /fɑ/ ฟอ កាហ្វេ (กาเหฺว) = กาเฟ
ហ្វ៊ (หฺว ៊) /fɔ/ โฟ ហ្វ៊ីល (หฺว ៊ ีล) = ฟีล
ហ្ស (หฺส) /ʒɑ/
/zɑ/
จอ
ซอ
ហ្សាស (หฺสาส) = จาห์
ភីហ្សា (ภีหฺสา) = พีซา
ហ្ស៊ (หฺส ៊) /ʒɔ/
/zɔ/
โจ
โซ
ហ្ស៊ីប (หฺส ៊ ีป) = จีบ
ហ្សឺណេវ (หฺส ៊ ืเนร์) = เซอเนว
ហ្ន (หฺน) /nɑ/ นอ ហ្នាំង (หฺนำง) = นาง
ប៉ (ป ៉) /pɑ/ ปอ ប៉័ង (ป ៉ุง) = ปาง
ហ្ម (หฺม) /mɑ/ มอ គ្រូហ្ម (คฺรูหฺม) = กรูมอ
ហ្ល (หฺล) /lɑ/ ลอ ហ្លួង (หฺลัวง) = ลวง



สระ

สระในภาษาเขมรนั้นแต่ละตัวจะมีเสียงอ่านอยู่ ๒ แบบ ซึ่งจะต่างกันตามพยัญชนะต้น โดยขึ้นกับว่าเป็นพยัญชนะกลุ่มออหรือกลุ่มโอ

ในตารางต่อไปนี้จะแสดงสระต่างๆที่มีในภาษาเขมร โดยแสดงเสียงอ่านทั้ง ๒ กรณี พร้อมยกตัวอย่าง

อักษร กลุ่มออ กลุ่มโอ
IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
អា (อา) /aː/ อา ចាក (จาก) = จาก /iːə/ เอีย កំរាប (กํราบ) = ก็อมเรียบ
អិ (อิ) /e/ เอะ តិច(ติด) = เต็ด /ɨ/ เออะ គិត (คิด) = เกิด
អី (อี) /əj/ เอ็ย ខ្ចី (ขฺจี) = เขจ็ย /iː/ อี គម្ពីរ (กมฺพีร) = กมปี
អឹ (อึ) /ə/ อะ ខ្សឹប (ขฺสึป) = คสับ /ɨ/ เออะ នឹង (นึง) = เนิง
អឺ (อื) /əːɨ/ เออว ជំហឺ (ชํห์) = จุมเหอว /ɨː/ เออ បន្លឺ (บนฺลื) = บ็อนเลอ
អុ (อุ) /o/ โอะ ប្រុង (ปฺรุง) = ปรง /u/ อุ មុម (มุม) = มุม
អូ (อู) /oːu/ โอ ឫសដូង (ฤสฏูง) = ริห์โดง /uː/ อู ជូត (จูต) = จูด
អួ (อัว) /uːə/ อัว ត្រកួត (ตฺรกัวด) = เตราะกวด /uːə/ อัว គួរ (คัวร) = กัว
អើ (เออ) /aːə/ อา ស្មើ (สฺเมอ) = สมา /əː/ เออ ជើង (เชอง) = เจิง
អឿ (เอือ) /ɨːə/ เอือ តឿ (เตือ) = เตือ /ɨːə/ เอือ រឿង (เรือง) = เรือง
អៀ (เอีย) /iːə/ เอีย របៀង (รเบียง) = โระเบียง /iːə/ เอีย រៀប (เรียบ) = เรียบ
អេ (เอ) /eːi/ เอ ក្រេប (กฺเรบ) = เกรบ /eː/ เอ ពេល (เพล) = เปล
អែ (แอ) /aːe/ อาย សំដែង (สํแฏง) = ส็อมดายง์ /ɛː/ แอ មមែ (มแม) = โมะแม
អៃ (ไอ) /aj/ ไอ ស្បៃ (สฺไบ) = สไบ /ɨj/ ไอ នៃ (ไน) = ไน
អោ (โอ) /aːo/ อาว អំណោយ (อํโณย) = อ็อมนาวย์ /oː/ โอ គោម (โคม) = โกม
អៅ (เอา) /aw/ เอา ក្ដៅ (กฺเดา) = กเดา /ɨw/ เอิว ជំរៅ (ชเรา) = จุมเริว

อย่างไรก็ตาม ที่อธิบายตรงนี้เป็นแค่กรณีโดยทั่วไป แต่เวลาใช้งานจริงมีข้อยกเว้นอยู่มาก เช่นบางคำเป็นพยัญชนะกลุ่มโอแต่กลับอ่านตามสระกลุ่มออ หรือไม่ก็กลับกัน หรืออาจจะออกเสียงสระอื่นที่ไม่ตรงกับรูปที่เขียนเลยก็เป็นได้ จึงควรจะเอาตามเสียงเจ้าของภาษาพูดจริงๆมากกว่าที่จะยึดติดการถอดตามรูป



นอกจากนี้ยังมพวกคำที่ประกอบด้วนิคหิต (วงกลมวางด้านบน) หรือวิสรรชนีย์ (วงกลมสองวงทางขวา) อาจทำให้เกิดเสียงเพิ่มเติมดังนี้

อักษร กลุ่มออ กลุ่มโอ
IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
អំ (อํ) /ɑm/ อ็อม អំណាច (อํนาจ) = อ็อมนาจ /um/ อุม ជំរំ (ชํรํ) = จุมรุม
អុំ (อํุ) /om/ อม ដុំ (ดุํม) = ดม /um/ อุม ជំនុំ (จํนุํ) = จุมนุม
អាំ (อำ) /am/ อาม ចាំ (จำ) = จาม /oəm/ อวม គាំ (คำ) = กวม
អាំង (อำง) /aŋ/ อาง កំបាំង (กมฺบำง) = ก็อมบาง /eəŋ/ เอียง លាំង (ลำง) = เลียง
អះ (อะ)  /aʰ/ อะห์ ខះខំ (ขะขํ) = คะห์ค็อม /eəʰ/ เอียห์ ជំរះ (ชํระ) = จุมเรียห์
អោះ (โอะ) /ɑʰ/ เอาะห์ កោះ (เกาะ) = เกาะห์ /ʊəʰ/ อัวห์ ឈ្លោះ (ฌฺเลาะ) = ชลัวห์



และในภาษาเขมรยังมีการใช้รูปสระลอยดังนี้

อักษร IPA ทับศัพท์
อิ /ʔə/ เอะ
อี /ʔəj/ ไอ
โอะ /ʔo/ โอ
อู /ʔu/ อู
โอว /ʔɨw/ เอิว
เอ /ʔeː/ เอ
ไอ /ʔaj/ ไอ
ឱ/ឲ โอ /ʔaːo/ อาว
เอา /ʔaw/ เอา
/rɨ/ เรอะ
ฤๅ /rɨː/ เรอ
/lɨ/ เลอะ
ฦๅ /lɨː/ เลอ



ตัวอย่าง

ตัวเลข

เลขเขมร เลขอารบิก ตัวเขียน ทับศัพท์
0 សូន្យ (สูนฺย) โสน
1 មួយ (มัวย) มวย
2 ពីរ (พีร) ปี
3 បី (ปี) เบ็ย
4 បួន (บัวน) บวน
5 ប្រាំ (ปรำ) ปราม
6 ប្រាំមួយ (ปรำมัวย) ปรามมวย
7 ប្រាំពីរ (ปรำพีร) ปรามปี
8 ប្រាំបី (ปรำปี) ปรามเบ็ย
9 ប្រាំបួន (ปรำปวน) ปรามบวน
១០ 10 ដប់ (ฏบ่) ด็อบ
២០ 20 ម្ភៃ (มฺไภ) มเพ็ย
១០០ 100 មួយ‌រយ (มัวยรย) มวยโรย



ชื่อจังหวัดในประเทศกัมพูชา

ตัวเขียน ทับศัพท์ตามเสียง ชื่อแปลไทยตามที่นิยมใช้
បន្ទាយមានជ័យ
(บนฺทายมานชัย)
บ็อนเตียยเมียนจัย บันทายมีชัย
បាត់ដំបង
(บาต่ฏํบง)
บัดด็อมบอง พระตะบอง
កំពង់ចាម
(กํพง่จาม)
ก็อมปงจาม กำปงจาม
កំពង់ឆ្នាំង
(กํปงฉฺนำง)
ก็อมปงชนาง กำปงฉนัง
កំពង់ស្ពឺ
(กํปง่สฺปื)
ก็อมปงสปือ กำปงสปือ
កំពង់ធំ
(กํปงธํ)
ก็อมปงทม กำปงธม
កំពត
(กํปต)
ก็อมโปด กำปอด
កណ្ដាល
(กณฺฏาล)
ก็อนดาล กันดาล
កោះកុង
(เกาะกุง)
เกาะห์กง เกาะกง
ក្រចេះ
(กฺรเจะ)
เกราะเจห์ กระแจะ
គិរី
(คิรี)
กิรี คีรี
ភ្នំពេញ
(พฺนํเพญ)
พนุมเปิญ พนมเปญ
ព្រះវិហារ
(พฺระวิหาร)
เปรียห์วิเหีย พระวิหาร
ព្រៃវែង
(พฺไรแวง)
ไปรแวง ไพรแวง
ពោធិ៍សាត់
(โพธิสาต่)
โปสัด โพธิสัตว์
រតនគិរី
(รตนคิรี)
รอตะนะกิรี รัตนคีรี
សៀមរាប
(เสียมราบ)
เสียมเรียบ เสียมราฐ
ព្រះសីហនុ
(พฺระสีหนุ)
เปรียห์เส็ยหโน พระสีหนุ
ស្ទឹងត្រែង
(สฺตึงตฺแรง)
สเติงแตรง สตึงแตรง
ស្វាយរៀង
(สฺวายเรียง)
สวายเรียง สวายเรียง
តាកែវ
(ตาแกว)
ตากาวย์ ตาแก้ว
ឧត្តរមានជ័យ
(โอตฺตรมานชัย)
โอดอนเมียนจัย อุดรมีชัย
កែប
(แกบ)
กายบ์ แกบ
ប៉ៃលិន
(ไป ៉ลิน)
ไปเลิน ไพลิน
ត្បូងឃ្មុំ
(ตปูงฆมุํ)
ตโบงคมุม ตะโบงคมุม





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาเขมร

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文