φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาต่างๆ
เขียนเมื่อ 2022/05/19 14:42
แก้ไขล่าสุด 2023/05/21 19:30
 

การแทนปีต่างๆด้วยสัตว์ชนิดต่างๆ ๑๒ ชนิดนั้นเรียกว่า "ปีนักษัตร" เป็นระบบที่มีที่มาจากจีน และถูกใช้ในประเทศรอบๆทั้งในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงไทยด้วย

ในบทความนี้จะพูดถึงชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาต่างๆ โดยเน้นเรื่องทางภาษาศาสตร์และเสียงอ่านในภาษาต่างๆเป็นหลัก ไม่กล่าวถึงรายละเอียดหรือความเชื่อใดๆทั้งนั้น





ปีต่างๆและสัตว์ประจำปี

เริ่มแรกขอสรุปชื่อปีนักษัตรทั้ง ๑๒ ว่ามีอะไรบ้างและแทนด้วยอักษรจีนตัวไหน ส่วนเสียงอ่านอักษรแต่ละแบบจะยกไปอธิบายในส่วนหลัง

ลำดับ   ชื่อปี
ในภาษาไทย
สัตว์ อักษรจีน
ชื่อสัตว์
อักษรจีน
ชื่อปี
1 🐭 ชวด หนู
2 🐮 ฉลู วัว
3 🐯 ขาล เสือ
4 🐰 เถาะ กระต่าย
5 🐲 มะโรง มังกร (งูใหญ่) 龍 (龙)
6 🐍 มะเส็ง งู (งูเล็ก)
7 🐴 มะเมีย ม้า 馬 (马)
8 🐏 มะแม แกะ (แพะ)
9 🐵 วอก ลิง
10 🐔 ระกา ไก่ 雞 (鸡)
11 🐶 จอ หมา
12 🐷 กุน หมู 豬 (猪)

ปีมังกรนั้นในไทยบางทีก็ถูกเรียกว่าเป็น "งูใหญ่" ในขณะที่งูถูกเรียกเป็น "งูเล็ก"

ปีแกะนั้นในบางประเทศรวมทั้งไทยถือว่าเป็นแพะ



ที่มาของชื่อจากภาษาเขมร

ปีนักษัตรแต่ละปีจะแทนด้วยอักษรจีน ๑ ตัว ชื่อนี้ยังใช้ในภาษาญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม อีกด้วย โดยจะอ่านต่างๆกันออกไป

แต่สำหรับในภาษาไทยนั้นได้มีการเรียกชื่อปีต่างๆทั้ง ๑๒ นี้ตามชื่อสัตว์ในภาษาเขมรโบราณ และปัจจุบันในภาษาเขมรก็ยังเรียกชื่อปีต่างๆตามนั้นอยู่ แต่คำเหล่านี้ไม่ได้ใช้เป็นคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาเขมรปัจจุบันแล้ว

ตารางต่อไปนี้จะแสดงชื่อในภาษาเขมรที่กลายมาเป็นที่มาของชื่อเรียกปีต่างๆในภาษาไทย

  ชื่อไทย ชื่อเขมร
อักษรเขมร ถอดอักษร ทับศัพท์ IPA
🐭 ชวด ជូត ชูต จูด /cuːt/
🐮 ฉลู ឆ្លូវ ฉฺลูว ชเลิว /cʰləw/
🐯 ขาล ខាល ขาล คาล /kʰaːl/
🐰 เถาะ ថោះ โถะ เทาะห์ /tʰɑh/
🐲 มะโรง រោង โรง โรง /roːŋ/
🐍 มะเส็ง ម្សាញ់ มฺสาญ่ มสาญ /msaɲ/
🐴 มะเมีย មមី มมี โมะมี /mɔ.ˈmiː/
🐏 มะแม មមែ มแม โมะแม /mɔ.ˈmɛː/
🐵 วอก វក วก โวก /ʋɔːk/
🐔 ระกา រកា รกา โระกา /rɔ.ˈkaː/
🐶 จอ จอ /cɑː/
🐷 กุน កុរ กุร กาว /kao/



ความสัมพันธ์กับชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนาม

ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาไทยนั้นมาจากชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาเขมร แต่ที่มาของชื่อนั้นเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับชื่อเรียกสัตว์ในภาษาเวียดนามโบราณ

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าชื่อเรียกสัตว์ในภาษาเวียดนามในปัจจุบันนั้นดูคล้ายคลึงกับชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาเขมร ซึ่งกลายมาเป็นชื่อเรียกปีในภาษาไทย

อย่างไรก็ตาม ปกติชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาเวียดนามจะใช้ตามภาษาจีน ดังนั้นที่จะดูคล้ายกับชื่อปีในภาษาไทยก็คือชื่อเรียกสัตว์ต่างๆในภาษาเวียดนามที่เป็นคำเรียกโดยทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน

ประเด็นนี้ชวนให้สับสนได้ไม่น้อย แต่สรุปคร่าวๆก็คือว่า

  ชื่อสัตว์เวียดนาม ≈ ชื่อปีนักษัตรเขมร = ชื่อปีนักษัตรไทย

แต่
  ชื่อปีนักษัตรเวียดนาม = ชื่อปีนักษัตรจีน

ชื่อปีที่ไปตรงกับชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนามมีอยู่ ๖ อันดังนี้

  ปีนักษัตร ชื่อปีในภาษาเขมร ชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนาม สัตว์
อักษรเขมร ทับศัพท์ อักษรโรมัน ทับศัพท์
🐭 ชวด ជូត จูด chuột จวด หนู
🐰 เถาะ ថោះ เทาะห์ thỏ ท่อ กระต่าย
🐲 มะโรง រោង โรง rồng หร่ง / ส่ง มังกร
🐍 มะเส็ง ម្សាញ់ มสาญ rắn รั้น / ซั้น งู
🐔 ระกา រកា โระกา ก่า ไก่
🐶 จอ จอ chó จ๊อ หมา

ดังนั้นแล้วการรู้ชื่อปีต่างๆเหล่านี้จึงเป็นตัวช่วยจำศัพท์ชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนามไปในตัวด้วย

แต่ว่าชื่อเรียก วัว เสือ ม้า แกะ (แพะ) ลิง หมู ในภาษาเวียดนามที่ใช้ทั่วไปปัจจุบันเป็นคำที่มาต่างไปจากนี้ จึงไม่ได้นำมาเทียบในตารางนี้ด้วย



คำอ่านชื่อจีนสำเนียงต่างๆและภาษาอื่นๆ

ต่อมามาดูว่าอักษรแต่ละตัวนั้นอ่านว่าอย่างไรในภาษาจีนสำเนียงต่างๆ รวมถึงในภาษาญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ซึ่งได้เอาชื่อจีนไปใช้ด้วย

1. ชวด 子🐭

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง จื่อ ㄗˇ
กวางตุ้ง จี๋ zi2  
ฮกเกี้ยน จี้ chí  
แต้จิ๋ว จื้อ ze2  
ฮากกา จื้อ chṳ́  
ฮกจิว จวี cṳ̄  
ไหหลำ จี่ zi3  
ญี่ปุ่น ชิ shi
เกาหลี ชา ja
เวียดนาม ตื้อ tử  


2. ฉลู 丑🐮

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง โฉ่ว chǒu ㄔㄡˇ
กวางตุ้ง เฉา cau2  
ฮกเกี้ยน ทิ่ว thiú  
แต้จิ๋ว ทิ่ว tiu2  
ฮากกา ชู่ chhú  
ฮกจิว ทีว tiū  
ไหหลำ สิ่ว siu3  
ญี่ปุ่น จู chū ちゅう
เกาหลี ชุก chuk
เวียดนาม ซื่ว sửu  


3. ขาล 寅🐯

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง อิ๋น yín ㄧㄣˊ
กวางตุ้ง หยั่น jan4  
ฮกเกี้ยน อิ๋น în  
แต้จิ๋ว อิ๊ง ing5  
ฮากกา อี่  
ฮกจิว อิ้ง ìng  
ไหหลำ อิ่น in2  
ญี่ปุ่น อิง in いん
เกาหลี อิน in
เวียดนาม เหยิ่น dần  


4. เถาะ 卯🐰

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง เหม่า mǎo ㄇㄠˇ
กวางตุ้ง หมาว maau5  
ฮกเกี้ยน เบ้า báu  
แต้จิ๋ว เบ้า bhao2  
ฮากกา เมา mâu  
ฮกจิว มาว māu  
ไหหลำ เหม่า mao3  
ญี่ปุ่น โบว ばう
เกาหลี มโย myo
เวียดนาม หมาว mão  


5. มะโรง 辰🐲

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง เฉิน chén ㄔㄣˊ
กวางตุ้ง สั่น san4  
ฮกเกี้ยน สิน sîn  
แต้จิ๋ว ซิ้ง sing5  
ฮากกา สึ่น sṳ̀n  
ฮกจิว ซี่ง sìng  
ไหหลำ ติ่น din2  
ญี่ปุ่น ชิง shin しん
เกาหลี ชิน jin
เวียดนาม ถี่น thìn  


6. มะเส็ง 巳🐍

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง ซื่อ ㄙˋ
กวางตุ้ง จี่ zi6  
ฮกเกี้ยน จี chī  
แต้จิ๋ว จี๋ zi6  
ฮากกา ซื้อ sṳ  
ฮกจิว เส่ย sê̤ṳ  
ไหหลำ แส่ se5  
ญี่ปุ่น ชิ shi
เกาหลี ซา sa
เวียดนาม ติ tị  


7. มะเมีย 午🐴

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง อู่ ㄨˇ
กวางตุ้ง อึ๋ง ng5  
ฮกเกี้ยน ง่อ ngó͘  
แต้จิ๋ว โง่ว ngou2  
ฮากกา อึ่ง ńg  
ฮกจิว งู ngū  
ไหหลำ หง่อว ngou5  
ญี่ปุ่น โกะ ngo
เกาหลี โอ o
เวียดนาม เหงาะ ngọ  


8. มะแม 未🐏

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง เว่ย์ wèi ㄨㄟˋ
กวางตุ้ง เหม่ย์ mei6  
ฮกเกี้ยน บี  
แต้จิ๋ว บี่ bhi7  
ฮากกา วี้ vi  
ฮกจิว หมูย muôi  
ไหหลำ วี vi1  
ญี่ปุ่น มิ mi
เกาหลี มี mi
เวียดนาม หมู่ย mùi  


9. วอก 申🐵

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง เซิน shēn ㄕㄣ
กวางตุ้ง ซั้น san1  
ฮกเกี้ยน ซิ้น sin  
แต้จิ๋ว ซิง sing1  
ฮากกา ซึน sṳ̂n  
ฮกจิว ซิ้ง sĭng  
ไหหลำ ติน din1  
ญี่ปุ่น ชิง shin しん
เกาหลี ชิน sin
เวียดนาม เทิน thân  


10. ระกา 酉🐔

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง โหย่ว yǒu ㄧㄡˇ
กวางตุ้ง เหยา jau5  
ฮกเกี้ยน อิ้ว  
แต้จิ๋ว อิ้ว iu2  
ฮากกา ยู  
ฮกจิว อี้ว  
ไหหลำ อิ่ว iu3  
ญี่ปุ่น ยู ゆう
เกาหลี ยู yu
เวียดนาม เหยิ่ว dậu  


11. จอ 戌🐶

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง ซวี ㄒㄩ
กวางตุ้ง เซิ้ด seot1  
ฮกเกี้ยน สุด sut  
แต้จิ๋ว สุก sug4  
ฮากกา สุด sut  
ฮกจิว โสว sók  
ไหหลำ ตุ๊ด dud7  
ญี่ปุ่น จุตสึ jutsu じゅつ
เกาหลี ซุล sul
เวียดนาม ต๊วด tuất  


12. กุน 亥🐷

  ทับศัพท์ไทย ถอดอักษร
โรมัน อื่นๆ
จีนกลาง ไฮ่ hài ㄏㄞˋ
กวางตุ้ง ห่อย hoi6  
ฮกเกี้ยน ไฮ hāi  
แต้จิ๋ว ไห hai6  
ฮากกา ฮ้อย hoi  
ฮกจิว หาย hâi  
ไหหลำ ไห่ hhai5  
ญี่ปุ่น ไก gai がい
เกาหลี แฮ hae
เวียดนาม เห่ย hợi  




ชื่อภาษามองโกล


มองโกลก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่นำระบบปีนักษัตรไปใช้ และก็ไม่ได้เรียกตามในภาษาจีน แต่เรียกตามชื่อสัตว์นั้นๆในภาษามองโกลเอง

  ปี ชื่อมองโกล
อักษรมองโกล อักษรซีริลลิก ทับศัพท์
🐭 ชวด ᠬᠤᠯᠤᠭᠠᠨ᠎ᠠ хулгана ฮลกัน
🐮 ฉลู ᠦᠬᠡ үхэр อุเฮร์
🐯 ขาล ᠪᠠᠷᠰ бар บาร์
🐰 เถาะ ᠲᠠᠤᠯᠠᠢ туулай โทไล
🐲 มะโรง ᠯᠤᠤ луу โล
🐍 มะเส็ง ᠮᠣᠭᠠᠢ могой มอกอย
🐴 มะเมีย ᠮᠣᠷᠢ морь มอร์
🐏 มะแม ᠬᠣᠨᠢ хонь ฮ็อน
🐵 วอก ᠪᠡᠴᠢᠨ бич บิช
🐔 ระกา ᠲᠠᠬᠢᠶ᠎ᠠ тахиа ทาฮิอา
🐶 จอ ᠨᠣᠬᠠᠢ нохой นอฮอย
🐷 กุน ᠭᠠᠬᠠᠢ гахай กาไฮ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文