φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



นั่งรถไฟสายโจวบังไปเมืองชินจิทางตอนเหนือของจังหวัดฟุกุชิมะ ชมซากปราสาทชินจิระหว่างทางเดินไปปีนเขา
เขียนเมื่อ 2022/11/03 22:14
แก้ไขล่าสุด 2022/11/04 20:38
#พฤหัส 3 พ.ย. 2022

วันที่ 3 พฤศจิกายนนั้นที่ญี่ปุ่นเป็นวันวัฒนธรรม บุงกะโนะฮิ (文化ぶんか) ซึ่งเป็นวันหยุดราชการของญี่ปุ่น ทางกลุ่มที่มหาวิทยาลัยโทวโฮกุเลยจัดกิจกรรม เอนโซกุ (遠足えんそく) คือไปเที่ยวด้วยกันแล้วเดินเป็นระยะทางไกลและมีการปีนเขาด้วย

เป้าหมายอยู่ที่เมืองชินจิ (新地町しんちまち) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดฟุกุชิมะ (福島県ふくしまけん) ติดกับจังหวัดมิยางิ ที่นี่มีภูเขาคาโรว (鹿狼山かろうさん) ซึ่งเป็นภูเขาสูง ๔๓๐ เมตร ตั้งอยู่ระหว่างเมืองชินจิ กับเมืองมารุโมริ (丸森町まるもりまち) ของจังหวัดมิยางิ เป้าหมายหลักของเที่ยวนี้คือการปีนเขาลูกนี้

แต่ก่อนจะปีนเขานั้นระหว่างทางต้องผ่านปราสาทชินจิ (新地城しんちじょう) ซึ่งเป็นปราสาทเก่าของญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง จึงได้แวะไปชมด้วย

ปราสาทชินจิถูกสร้างขึ้นในยุคเซงโงกุโดยไดเมียวตระกูลโซวมะ (相馬そうま) ซึ่งปกครองพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดฟุกุชิมะ และเป็นคู่ปรับกับตระกูลดาเตะ (伊達だて) ที่ปกครองพื้นที่แถบจังหวัดมิยางิ โดยบริเวณเมืองชินจินี้อยู่ตรงพรมแดน จึงได้มีการสร้างปราสาทชินจิขึ้นมาเพื่อใช้เป็นฐานต่อสู้กับตระกูลดาเตะ

แต่ว่าในที่สุดตระกูลโซวมะก็พ่ายแพ้ แล้วปราสาทชินจิก็ถูกทำลายลง ปัจจุบันตัวปราสาทยังเหลือซากคลองให้เห็นอยู่นิดหน่อย แม้จะไม่มีอะไรให้ดูมาก แต่ถ้าสนใจประวัติศาสตร์ก็สามารถแวะไปชมดูได้

เมืองชินจินั้นสามารถไปได้สะดวกโดยนั่งรถไฟสายโจวบัง (常磐線じょうばんせん) ไปลงที่สถานีชินจิ (新地駅しんちえき) แต่ตัวสถานีอยู่ห่างจากปากทางปีนขึ้นเขาคาโรวไปราวๆ ๖ กิโลเมตร ระหว่างทางต้องเดินเอา ดังนั้นจึงเป็นการอุ่นเครื่องก่อนปีนเขา

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองชินจิในจังหวัดฟุกุชิมะ แสดงเป็นสีเหลืองเข้มด้านบนขวา






การเดินทางเริ่มต้นที่สถานีเซนได ทุกคนนัดรวมกันที่นี่ตอน 8:00 เพื่อขึ้นรถไฟรอบ 8:12 ซึ่งจะถึงสถานีชินจิเวลา 9:02



สถานที่นัดคือตรงหน้าเครื่องตรวจตั๋ว



แต่ว่าตอน 7:50 เกิดสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น ในโทรศัพท์มือถือมีข้อความแจ้งเตือนเข้ามาว่าเกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธข้ามทวีป และมีเส้นทางที่อาจผ่านญี่ปุ่น ให้ทุกคนหลบเข้าไปในสิ่งก่อสร้างเพื่อความปลอดภัย



แล้วตอน 8:00 ก็มีข้อความเตือนส่งมาอีกรอบ



หลังจากนั้นทางสถานีรถไฟก็ประกาศหยุดขบวนรถไฟทั้งหมด จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าทุกอย่างปลอดภัย ทำให้ตารางเวลารถไฟเช้านี้รวนไปหมด

ในที่สุดทางสถานีก็แจ้งว่าขีปนาวุธดูจะไม่มีอันตรายอะไร แล้วประกาศเดินรถไฟตามปกติ พวกเราจึงเดินผ่านที่ตรวจตั๋วเข้าไปยังชานชลาเพื่อขึ้นรถไฟ

แต่ว่าตอนที่ไปถึงนั้นรถไฟขบวนที่จะขึ้นนั้นยังไม่ได้มาจอดที่สถานี แต่กลับมีรถไฟขบวนที่วิ่งไปตามสายรถด่วนอาบุกุมะ ซึ่งควรจะออกตอน 7:53 แต่ตอนที่ไปถึงนั้นเป็นเวลา 8:07 แล้ว รถไฟกลับยังไม่ออก



รถไฟสายรถด่วนอาบุกุมะเที่ยวนี้เราเคยนั่งไปแล้วในครั้งก่อน เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20221022

แต่ขบวนรถไฟที่มาครั้งนี้เป็นคนละลายกับครั้งก่อน คราวนี้เป็นลายอนิเมะ มาซามุเนะดาเตนิเคิล (政宗まさむねダテニクル) ซึ่งเป็นอนิเมะที่ฉายตั้งแต่ปี 2016 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองดาเตะ (伊達市だてし) จังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งรถไฟสายนี้แล่นผ่าน






แล้วรถไฟขบวนนี้ก็ออกไปตอน 8:08 ซึ่งช้ากว่าเวลาเดิมไป ๑๕ นาที

หลังจากนั้นรถไฟสายโจวบังที่เราจะขึ้นนั้นจึงมา แต่กว่าจะออกเดินทางก็คือเวลา 8:26 ซึ่งช้าไป ๑๔ นาทีจากเวลาเดิม



สายโจวบังนั้นแยกทางจากสายหลักโทวโฮกุที่สถานีอิวานุมะ (岩沼駅いわぬまえき) เมืองอิวานุมะ (岩沼市いわぬまし) ระหว่างทางนั้นก็ผ่านสถานีเดียวกับสายหลักโทวโฮกุ ซึ่งเราเคยขึ้นมาแล้ว

หลังจากผ่านสถานีอิวานุมะไปแล้วรถไฟขบวนนี้ก็แยกมาทางตะวันออก เข้าสู่เขตเมืองวาตาริ (亘理町わたりちょう)

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองวาตาริในจังหวัดมิยางิ เป็นสีเหลืองเข้ม




เมืองนี้มีสถานีรถไฟอยู่ ๓ สถานี เริ่มจากผ่านสถานีโอกุมะ (逢隈駅おおくまえき)



จากนั้นก็มาถึงสถานีวาตาริ (亘理駅わたりえき) ซึ่งเป็นสถานีใจกลางของเมืองนี้ ที่ข้างๆสถานีมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองวาตาริ (亘理町立郷土資料館わたりちょうりつきょうどしりょうかん) ซึ่งถูกทำเป็นลักษณะเหมือนปราสาทญี่ปุ่น สามารถมองเห็นได้ระหว่างรถไฟผ่านสถานีนี้



ถัดมารถไฟก็ผ่านสถานีฮามาโยชิดะ (浜吉田駅はまよしだえき) แต่เราไม่ได้ถ่ายภาพสถานีนี้ไว้ตอนขาไป เลยขอเอาภาพตอนขากลับมาลงแทน



หลังจากนั้นรถไฟก็เข้าสู่เขตเมืองยามาโมโตะ (山元町やまもとまち) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ทางใต้สุดของจังหวัดมิยางิ ในเขตเมืองนี้มีอยู่ ๒ สถานีคือสถานียามาชิตะ (山下駅やましたえき) และสถานีซากาโมโตะ (坂元駅さかもとえき)

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองยามาโมโตะเป็นสีเหลืองเข้ม



ภาพสถานีซากาโมโตะที่ถ่ายตอนขากลับ



หลังจากผ่านสถานีซากาโมโตะมา รถไฟก็ข้ามไปสู่จังหวัดฟุกุชิมะ แล้วสถานีต่อไปที่มาจอดก็คือสถานีชินจิ ซึ่งเป็นเป้าหมายของเรา เวลาที่ถึงคือ 9:12 ซึ่งช้ากว่ากำหนดเดิมคือ 9:02 ไป ๑๐ นาที

พวกเราลงจากรถไฟที่สถานีนี้




ค่าเดินทางจ่ายด้วยบัตร Suica ราคา ๘๕๘ เยน



ออกมาด้านหน้าสถานี





นอกจากพวกเราที่มาโดยรถไฟแล้วก็มีกลุ่มที่นั่งรถมาด้วย ซึ่งก็นัดเจอที่สถานีนี้เหมือนกัน



แล้วก็ได้เวลาเริ่มเดินทาง เป้าหมายคือภูเขาคาโรวที่อยู่ทางตะวันตก



ระหว่างทางเป็นท้องนาที่ดูแห้งแล้ง



มีพวกอาคารบ้านหรือโรงงานอยู่ประปราย



รถไถนาอยู่กลางท้องทุ่ง



เดินมาประมาณ ๒๐ นาทีก็เห็นป้ายชี้ทางไปสู่ปราสาทชินจิ



ตรงนี้เป็นปากทางเข้าสู่ปราสาทชินจิ




ป้ายชี้ทางไปทางนี้



ระหว่างทางต้องปีนเขาขึ้นไปแต่ก็ไม่ลำบาก




แล้วก็ขึ้นมาถึงบริเวณซากปราสาทชินจิตั้งอยู่ ตรงนี้มีป้ายเขียนแนะนำเกี่ยวกับปราสาทชินจิ



หลังป้ายนั้นเป็นเนินดินที่เป็นร่องรอยของปราสาท




ในบริเวณนี้ตอนนี้เป็นสวนสาธารณะ มีโต๊ะเก้าอี้และเครื่องเล่นเด็ก



เดินลึกเข้าไปด้านใน



เจอร่องรอยคลองเก่าซึ่งถูกขุดไว้ล้อมปราสาทเพื่อใช้ป้องกัน แต่เป็นคลองเปล่าที่ไม่มีน้ำ




การชมในบริเวณซากปราสาทชินจิก็จบลงเท่านี้ จากนั้นก็เดินกลับลงมาแล้วมุ่งหน้าไปสู่ทางขึ้นเขาคาโรวต่อ



ระหว่างทางผ่านอ่างเก็บน้ำ




ทิวทัศน์ตรงอ่างเก็บน้ำ






ตรงนี้มีแหล่งน้ำสะอาดที่ไหลจากใต้ดิน เรียกว่า อุกนชิมิซึ (右近清水うこんしみず) มีผู้คนมาตักน้ำไปดื่มกัน



จุดที่น้ำไหลออกมา



ในนี้ยังมีศาลเจ้าเล็กๆด้วย



จากนั้นเดินขึ้นไปทางนี้




แล้วก็เดินทางมุ่งหน้าต่อไป





เริ่มเห็นภูเขาใกล้เข้ามาอยู่ตรงหน้าแล้ว




ระหว่างทางเจอแหล่งน้ำสะอาดอีกแห่งคือ มายุมิชิมิซึ (真弓清水まゆみしみず)





จากนั้นเดินต่อ ทางเริ่มชันขึ้นมา




จากนั้นเราก็เดินทางมาจนถึงปากทางปีนขึ้นเขาคาโรวตอนเวลา 11:31 ขอจบตอนลงเพียงเท่านี้ เรื่องการปีนเขาคาโรวจะเขียนถึงต่อในตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20221104



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุชิมะ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文