φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



โคมาจิ อากิตะชิงกันเซงจากอากิตะผ่านจังหวัดอิวาเตะสู่เซนได
เขียนเมื่อ 2023/08/18 21:26
แก้ไขล่าสุด 2023/08/21 10:45
# อาทิตย์ 6 ส.ค. 2023

หลังจากที่เที่ยวอากิตะจนเสร็จแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20230817

คราวนี้ได้เวลาเดินทางกลับเซนไดแล้ว ขากลับนี้จะกลับด้วยเส้นทางที่ต่างไปจากตอนขามาที่ใช้เส้นทางเลียบทะเลญี่ปุ่นผ่านจังหวัดยามางาตะ โดยจะกลับโดยนั่งรถไฟชิงกันเซงผ่านจังหวัดอิวาเตะ

ที่อากิตะนั้นมีสายรถไฟความเร็วสูงที่เรียกว่า อากิตะชิงกันเซง (秋田新幹線あきたしんかんせん) อยู่ เพียงแต่ว่าจริงๆแล้วนี่ไม่ใช่ชิงกันเซงเต็มรูปแบบเหมือนอย่างสายอื่น

โดยสายอากิตะชิงกันเซงนั้นจะแยกจากสายหลักโทวโฮกุชิงกันเซง (東北新幹線とうほくしんかんせん) ซึ่งเชื่อมระหว่างโตเกียวกับจังหวัดอาโอโมริ โดยทางแยกอยู่ที่สถานีโมริโอกะ (盛岡駅もりおかえき) ของเมืองโมริโอกะ (盛岡市もりおかし) จังหวัดอิวาเตะ แล้วลากไปยังสถานีอากิตะในเมืองอากิตะ

เพียงแต่ว่าทางรถไฟตั้งแต่โมริโอกะถึงอากิตะนั้นใช้ทางรถไฟที่มีรถไฟธรรมดาวิ่งอยู่แต่เดิมอยู่แล้ว ไม่ใช่ทางเฉพาะที่ทำขึ้นสำหรับให้ชิงกันเซงวิ่งโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงไม่สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงเหมือนอย่างชิงกันเซงจริงๆได้ แม้ว่าจะใช้ขบวนรถไฟแบบชิงกันเซงก็ตาม

ด้วยเหตุนี้อากิตะชิงกันเซงจึงถูกเรียกว่ามินิชิงกันเซง (ミニ新幹線しんかんせん) ซึ่งมินิในที่นี้ก็ไม่ได้หมายความว่ามันมีขนาดเล็กแต่อย่างใด และนอกจากนี้แล้วในญี่ปุ่นยังมีมินิชิงกันเซงอีกสาย คือ ยามางาตะชิงกันเซง (山形新幹線やまがたしんかんせん) ของจังหวัดยามางาตะ

ขบวนรถไฟชิงกันเซงที่วิ่งไปตามสายอากิตะชิงกันเซงนั้นมีชื่อว่า โคมาจิ (こまち) โดยจะวิ่งระหว่างอากิตะกับโตเกียว โดยที่จะวิ่งเร็วแบบชิงกันเซงในช่วงระหว่างโตเกียวถึงโมริโอกะ แต่จะวิ่งช้าเหมือนรถไฟธรรมดาในช่วงตั้งแต่โมริโอกะถึงอากิตะ

ระหว่างโตเกียวถึงโมริโอกะนั้น โคมาจิจะจอดแวะแค่ที่สถานีโอมิยะ (大宮駅おおみやえき) กับสถานีเซนได (仙台駅せんだいえき) เท่านั้น แต่จะจอดในแต่ละสถานีระหว่างโมริโอกะถึงอากิตะ

สำหรับชื่อ โคมาจิ นั้นมาจากชื่อ โอโนะ โนะ โคมาจิ (小野小町おの の こまち) สาวงามในตำนานของจังหวัดอากิตะ และยังมาจากอากิตะโคมาจิ (あきたこまち) พันธุ์ข้าวชื่อดังที่มีที่มาจากจังหวัดอากิตะ

รอบรถไฟโคมาจิที่นั่งคราวนี้เป็นรอบที่ออกจากสถานีอากิตะเวลา 13:06 และถึงสถานีเซนไดเวลา 15:30 ใช้เวลา ๒ ชั่วโมงกว่า



หลังจากนั่งรถเมล์กลับจากที่ไปเที่ยวมหาวิทยาลัยอากิตะ เราก็ลงจากรถเมล์ที่หน้าสถานีอากิตะ ขณะนั้นเวลา 12:15 มีเวลาเกือบชั่วโมง ระหว่างนี้ก็จะใช้เพื่อหาซื้อของฝากและหาอะไรกินเป็นมื้อเที่ยง



ตรงที่ลงรถเมล์มานั้นพอดีอยู่ด้านหน้าห้างอากิตะโอปา (秋田あきたオーパ) ซึ่งในขณะนั้นจัดงานพรีเคียวอยู่พอดี พอเห็นก็เลยลองแวะเข้าไปดูหน่อย



ในนี้เห็นวางภาพพรีเคียวรุ่นต่างๆเรียงรายมากมาย



มีขายพวกสินค้าต่างๆ




เดินแป๊บเดียวไม่มีอะไรมาก จากนั้นก็ออกมา ภาพนี้ถ่ายด้านหน้าอาคารห้างอากิตะโอปา ทางขวาคือสถานีอากิตะ



ที่ฝั่งตรงข้ามเห็นร้านอาหารที่มีขายคิริตัมโปะ (きりたんぽ) ของขึ้นชื่อของอากิตะซึ่งใครแวะมาอากิตะก็ต้องแวะกิน แต่ว่าร้านนี้เปิดช่วงเย็น ตอนมื้อเที่ยงไม่ได้เปิดอยู่



จากนั้นเราเดินขึ้นมายังสถานี



เข้าไปดูห้างโทปีโก (トピコ) ภายในสถานี



ภายในนี้เต็มไปด้วยร้านขายของฝากมากมาย



และเข้ามาด้านในถึงตรงนี้มีร้านอาหาร มีร้านที่ขายคิริตัมโปะด้วย แต่ดูแล้วคนแน่นมาก ถ้าจะกินก็ต้องรอ เราไม่ได้มีเวลาขนาดนั้นจึงตัดสินใจไม่กินอะไร แค่หาซื้ออะไรไปกินในรถไฟก็พอ



ที่นี่ยังมีชั้นล่างลงไป คือชั้น ๑ และชั้นใต้ดิน



ลงมาดูชั้น ๑ ก็มีร้านอาหารอีกหลายร้าน แต่ก็คนแน่นเต็มเหมือนกัน



ส่วนชั้นล่างสุดเป็นศูนย์อาหาร ไม่ว่าไปไหนก็คนแน่น



จากนั้นกลับมาเดินดูของที่ชั้น ๒ มีอะไรขายมากมาย เช่นหมาอากิตะที่ดูจะเป็นจุดขายอย่างหนึ่งของจังหวัดอากิตะ



ตรงนี้มีขนมต่างๆขายมากมาย





ตรงนี้คือโมโรโกชิ (諸越もろこし) ขนมขึ้นชื่อของอากิตะ เราได้เดินดูโมโรโกชิอยู่หลายร้านแล้วก็ได้ซื้อกลับไป ทั้งสำหรับกินเองและสำหรับฝากเพื่อน




จากนั้นเดินออกมาดูตรงร้านขายของฝากที่อยู่ในห้องนั่งรอของสถานี




ตรงนี้เห็นขายคิริตัมโปะแบบให้เอากลับไปทำเองได้ ในเมื่อเราไม่มีโอกาสได้กินคิริตัมโปะที่นี่แล้วก็เลยตัดสินใจซื้อกลับไปทำก็ได้



แล้วก็ใกล้เวลา จึงได้เวลาเดินเข้าผ่านที่ตรวจตั๋วไปรอรถไฟ




ชานชลาชิงกันเซงอยู่ตรงนี้



เมื่อลงมารถไฟก็จอดรออยู่แล้ว



จะเห็นว่าขบวนรถไฟเป็นแบบชิงกันเซงเหมือนชิงกันเซงสายอื่นทั่วไป แต่ว่ารางที่วิ่งอยู่นั้นเป็นรางธรรมดา



อันนีตั๋วสำหรับเที่ยวนี้ ถ่ายตอนเข้ามานั่งในที่นั่งในรถไฟแล้ว



บรรยากาศภายใน คนไม่ได้นั่งกันเยอะจนแน่นเต็มอย่างที่คิด ซึ่งผิดคาด เพราะคิดว่าช่วงงานเทศกาลคนจะเยอะ



ระหว่างอยู่บนรถไฟเราก็ใช้เวลาทำการสรุปของฝากที่ซื้อมาสักหน่อย แล้วก็หยิบส่วนหนึ่งขึ้นมากิน

เริ่มจากอันนี้ โมโรโกชิถั่วลิสง โมโรพี (もろピー) ราคา ๕๔๐ เยน



ภายในแบ่งเป็นซองย่อยอีกที เลยแกะมากินส่วนหนึ่ง



ส่วนอันนี้เป็นโมโรโกชิที่สลักรูปหมาอากิตะ ราคา ๔๑๐ เยน



เราเอามาแกะกินตรงนี้เลย ภายในมี ๓ รส ๓ สี




นี่ก็โมโรโกชิที่ทำเป็นรูปหมาอากิตะ ราคา ๕๔๐ เยน



โมโรโกชิกาแฟ (珈琲諸越コーヒーもろこし) ๓๒๔ เยน



อันนี้ก็โมโรโกชิ ใส่แยกเป็นถุง มีรูปงานเทศกาลอากิตะคันโตวประกอบ ราคา ๕๔๐ เยน เอาไปเป็นของฝากให้เพื่อนที่ที่ทำงาน



ส่วนอันนี้เป็นคิริตัมโปะแบบเอาไปทำเอง ราคา ๑๑๘๘ เยน



ใบเสร็จทั้งหมดที่ซื้อ ทั้งหมดนี้มี ๖ อย่าง ซื้อมาจาก ๓ ร้าน



ทิวทัศน์ระหว่างทางบนรถไฟ รางที่วิ่งนั้นเป็นรางธรรมดาและรถไฟก็วิ่งด้วยความเร็วแบบรถไฟธรรมดา ไม่ใช่ความเร็วสูง จึงสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ได้ง่าย ข้างทางเท่าที่เห็นก็สวยมากด้วย



แล้วก็มาจอดที่สถานีโอมางาริ (大曲駅おおまがりえき) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองไดเซง (大仙市だいせんし) ตรงกลางจังหวัดอากิตะ ที่จริงแล้วเมื่อก่อนที่นี่คือเมืองโอมางาริ (大曲市おおまがりし) แต่ว่าในปี 2005 ได้ถูกควบรวมเข้ากับเมืองเล็กๆข้างๆอีกหลายเมืองแล้วเกิดเป็นเมืองใหม่ขึ้นมา





แผนที่จังหวัดอากิตะ แสดงตำแหน่งเมืองไดเซงเป็นสีชมพูเข้ม




หลังจากจอดที่สถานีนี้สักพักแล้วรถไฟก็วิ่งย้อนกลับทางเดิมโดยกลัวหัวเป็นท้าย แล้วจึงเลี้ยวขวาไปทางตะวันออก ดังนั้นหลังจากตรงนี้ไปทิศทางเคลื่อนที่จะตรงข้ามกับช่วงที่ผ่านมา



ระหว่างทางผ่านโอบาโกะไรซ์เทอร์มินัล (おばこライスターミナル) เป็นโรงงานข้าวของอากิตะโอบาโกะไม (秋田あきたおばこまい) ซึ่งเป็นยี่ห้อหนึ่งของข้าวอากิตะโคมาจิ ที่นี่ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีอุโงะยตสึยะ (羽後四ツ屋駅うごよつやえき) ซึ่งชิงกันเซงขบวนนี้ก็วิ่งผ่าน แต่ไม่ได้จอด




จากนั้นระหว่างทางก็ผ่านทุ่งข้าวซึ่งดูสวยงาม จึงได้ถ่ายภาพตลอดทางที่ผ่านไป










แล้วก็มาถึงสถานีต่อไปคือสถานีคากุโนดาเตะ (角館駅かくのだてえき) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเซมโบกุ (仙北市) ที่จริงแล้วที่นี่เมื่อก่อนก็เป็นเมืองคากุโนดาเตะ (角館町かくのだてまち) แต่ว่าถูกควบรวมเข้ากับเมืองอื่นจึงเกิดเป็นเมืองใหม่ขึ้น





คากุโนดาเตะยังเป็นสถานที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดอากิตะด้วย ถ้ามีโอกาสก็น่าแวะมาเที่ยวเหมือนกัน

ตำแหน่งเมืองเซมโบกุ แสดงเป็นสีชมพูเข้ม ตรงกลางมีช่องกลมๆคือทะเลสาบทาซาวะ (田沢湖たざわこ) เป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในญี่ปุ่น มีความลึกถึงกว่า ๔ ร้อยเมตร



ถัดมารถไฟก็มาจอดที่สถานีทาซาวะโกะ (田沢湖駅たざわこえき) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเซมโบกุเหมือนกัน แต่เมื่อก่อนที่นี่ก็เป็นอีกเมือง ชื่อเมืองทาซาวะโกะ (田沢湖町たざわこまち) นี่ก็เป็นอีกสถานที่เที่ยวที่สำคัญ เพราะตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบทาซาวะ ถ้าจะไปเที่ยวทะเลสาบนี้ก็ต้องมาลงที่สถานีนี้



สถานีทาซาวะโกะนั้นเป็นสถานสุดท้ายในเขตจังหวัดอากิตะแล้ว หลังจากนั้นรถไฟก็เข้าสู่จังหวัดอิวาเตะ

ระหว่างนั้นรถไฟได้แวะมาจอดทีสถานีอากาบุจิ (赤渕駅あかぶちえき) ซึ่งอยู่ในเมืองชิซึกุอิชิ (雫石町しずくいしちょう) แต่ว่าไม่ได้จอดให้ลง แค่จอดเพื่อรอสับรางเปลี่ยนรถไฟ



แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองชิซึกุอิชิในจังหวัดอิวาเตะ แสดงเป็นสีเหลืองเข้มทางซ้าย ติดกับจังหวัดอากิตะ




หลังจากรอสักพักรถไฟก็วิ่งต่อไป



แล้วก็มาจอดที่สถานีต่อไปคือสถานีชิซึกุอิชิ (雫石駅しずくいしえき) ซึ่งเป็นสถานีกลางเมืองชิซึกุอิชิ



ภาพหลังจากออกจากสถานี



แล้วรถไฟก็มาแวะจอดอีกทีที่สถานีโอกามะ (大釜駅おおかまえき) ในเมืองทากิซาวะ (滝沢市たきざわし) แต่ก็ไม่ได้ใช่การจอดให้ลง แค่มารอวลาเปลี่ยนรถสักพัก



ตำแหน่งเมืองทากิซาวะ สีชมพูเข้ม



หลังจากนั้นรถไฟก็เข้าสู่เขตเมืองโมริโอกะ เมืองเอกของจังหวัดอิวาเตะ

ตำแหน่งเมืองโมริโอกะ



แล้วก็มาถึงที่สถานีโมริโอกะตอนเวลา 14:50 หลังจากที่เดินทางมานานกว่าชั่วโมงครึ่ง



ที่สถานีนี้ขบวนรถโคมาจิที่เรานั่งจะถูกประกบเข้ากับขบวนฮายาบุสะ (はやぶさ) ของโทวโฮกุชิงกันเซง ก่อนที่จะวิ่งต่อไปยังสถานีเซนได



จากสถานีโมริโอกะในที่สุดรถไฟก็วิ่งบนรางชิงกันเซงด้วยความเร็วสูงสมเป็นชิงกันเซง โดยใช้เวลาแค่ ๔๐ ก็มาถึงเซนไดเวลา 15:30 ซึ่งถือว่าแป๊บเดียวเมื่อเทียบที่ระยะจากอากิตะมาถึงโมริโอกะใช้เวลาไปกว่าชัวโมงครึ่ง



หลังจากที่มาถึงเซนไดแล้ว ที่จริงแล้วคือมีเพื่อนที่มาจากไต้หวันและเราต้องไปรับที่สนามบินเซนไดพอดี เขาจะมางานประชุมวิชาการที่เมืองโคริยามะ (郡山市こおりやまし) จังหวัดฟุกุยามะ ซึ่งก็สามารถไปจากเซนไดได้ง่ายโดยนั่งชิงกันเซงไป ดังนั้นเลยไปรับเขาที่สนามบินเซนไดแล้วก็นั่งรถไฟมาที่สถานีเซนได แล้วไปแวะหาอะไรกินด้วยกันแล้วค่อยพาไปขึ้นชิงกันเซงไปโคริยามะอีกที

หลังจากที่ลงชิงกันเซงมา เราก็ไม่ต้องออกจากสถานี แต่เดินเข้าไปต่อรถไฟไปสายเชื่อมต่อสนามบินเลย โดยรอบต่อไปเป็นเวลา 15:50



ถึงสนามบินเซนได เรารอจนเพื่อนลงจากเครื่องบินมา แล้วก็นั่งรถไฟกลับสถานีเซนได



หลังจากนั้นก็แวะไปหาอะไรกินกัน เข้ากินราเมงที่ร้านดาชิโรว (だしろう) ไม่ไกลจากสถานีเซนได ชามนี้ ๙๙๐ เยน



พอดีช่วงนี้เซนไดก็กำลังมีเทศกาลเซนไดทานาบาตะ (仙台七夕せんだいたなばたまつり, 6-8 สิงหาคม) อยู่พอดีด้วย เลยพาเพื่อนมาดูบรรยากาศในย่านถนนคนเดินใกล้สถานี




หลังจากนั้นก็พาเพื่อนกลับมาที่สถานีเซนไดเพื่อไปขึ้นชิงกันเซงไปโคริยามะ ก่อนแยกกันเขาก็ให้ของฝากจากไต้หวันมาด้วย เราก็ให้โมโรโกชิที่ซื้อจากอากิตะไปอันนึง





บันทึกเรื่องการเที่ยวในอากิตะก็จบลงเท่านี้ เป็นการเที่ยวที่สนุกและคุ้มค่าที่ได้ไปมากทีเดียว แม้ว่าจะเจอเรื่องผิดแผนไปบ้าง และต้องเจออากาศร้อนของฤดูร้อนทำให้ลำบากไปบ้างก็ตาม แต่ก็ถือว่าไม่ผิดหวังเลย



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ประเทศญี่ปุ่น >> อิวาเตะ
-- ประเทศญี่ปุ่น >> อากิตะ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> ราเมง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文