φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



มหาวิทยาลัยอากิตะและพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่
เขียนเมื่อ 2023/08/17 05:03
แก้ไขล่าสุด 2023/12/11 09:23
# อาทิตย์ 6 ส.ค. 2023

หลังจากที่ได้ไปเที่ยวปราสาทอากิตะแล้วนั่งรถเมล์ย้อนกลับมายังสถานีอากิตะในตอนที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20230816

เป้าหมายสุดท้ายที่จะไปเที่ยวก่อนที่จะเดินทางกลับก็คือที่ มหาวิทยาลัยอากิตะ (秋田大学あきただいがく)

มหาวิทยาลัยนี้ก่อตั้งในปี 1949 โดยเริ่มแรกมีแค่ ๒ คณะคือคณะศิลปศาสตร์ และคณะเหมืองแร่ โดยคณะเหมืองแร่นี้ก็อาจถือเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยแห่งนี้เลยก็ว่าได้ คณะเหมืองแร่มีที่มาจากโรงเรียนเฉพาะทางเหมืองแร่อากิตะ (秋田鉱山専門学校あきたこうざんせんもんがっこう) อากิตะนั้นสมัยก่อนอุดมด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ มีการตั้งเหมืองแร่ขึ้นมา

ที่นี่ยังประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่มหาวิทยาลัยอากิตะ (秋田大学鉱業博物館あきただいがくこうぎょうはくぶつかん) เป็นสถานที่เที่ยวแห่งหนึ่งซึ่งน่าสนใจ มีของจัดแสดงมากมาย ทำออกมาดีมาก สามารถแวะเข้าชมได้

สำหรับการเที่ยวครั้งนี้เรามีเป้าหมายทั้งชมภายในตัวมหาวิทยาลัย แล้วก็เข้าชมในพิพิธภัณฑ์

ตัวมหาวิทยาลัยอยู่ค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีอากิตะ การไปอาจใช้รถเมล์ไปได้ แต่ก็อยู่ในระยะที่สามารถเดินไปได้เช่นกัน ครั้งนี้เราตัดสินใจที่จะเดินไป แล้วขากลับค่อยนั่งรถเมล์กลับ



หลังจากที่เราลงรถเมล์มาที่จุดขึ้นรถเมล์ทางฝั่งตะวันตกของสถานีอากิตะแล้ว ก็เดินเข้ามาที่ตัวสถานี ทะลุไปทางฝั่งตะวันออก



ด้านตะวันออกของสถานี เห็นฟ้ากำลังโปร่งและแดดเปรี้ยง พอคิดว่าเดี๋ยวจะต้องเดินออกไปก็รู้สึกท้อแล้ว




ยังไงก็พยายามเดินในร่มให้มากที่สุด



ภาพถ่ายตัวสถานีอากิตะ หลังจากเดินเลียบไปตามที่ร่มจนมาถึงสุดทางลานหน้าสถานี



จากตรงนี้ไปก็คือเดินตากแดดไปเรื่อยๆ ร้อนทรมานแต่ก็ยังพอไหว











แล้วก็เดินมาถึงรั้วหน้ามหาวิทยาลัยอากิตะ



ส่วนทางเข้าประตูหน้าอยู่ที่นี่




ตรงนี้มีแผนที่ภายในบริเวณ



เดินเล่นชมในมหาวิทยาลัย








เดินจนมาออกทางประตูเล็กฝั่งเหนือ




ส่วนพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่นั้นอยู่นอกรั้วมหาวิทยาลัย ต้องออกมาจากประตูเหนือแล้วเดินลึกเข้าไปในซอยอีกหน่อย




แล้วก็เริ่มเห็นตัวอาคารอยู่ทางนั้น





เข้าชมด้านใน




จากนั้นซื้อตั๋วเข้าชม ราคาแค่ ๑๐๐ เยน (แต่ถ้าเป็นนักเรียนจะไม่ต้องจ่ายค่าเข้า) มีแผ่นพับอธิบายเกี่ยวกับที่นี่มาให้ด้วย



น่าเสียดายว่าภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ให้ถ่ายรูปในห้องจัดแสดง ก็เลยได้แต่ถ่ายภาพบรรยากาศโดยรวมในตัวอาคาร จะเห็นว่าเป็นอาคารทรงกระบอก สูง ๓ ชั้น ตรงกลางเป็นห้องโถงใหญ่ มีบันไดเวียน ตกแต่งดูสวยงามมาก



จากตรงนี้มองขึ้นไปเห็นถึงด้านบนชั้น ๓



ภาพถ่ายจากชั้น ๒



จากนั้นขึ้นมาที่ชั้น ๓ มองลงไปจากด้านบน



มองลงไปยังพื้นด้านล่าง ดูสวยงาม



เราใช้เวลาชมข้างในอยู่ประมาณ ๕๐ นาที ในนี้กว้างขวาง ดูแล้วมีอะไรมากจริงๆ แม้ว่าจะไม่ให้ถ่ายรูป แต่ก็ถือว่าคุ้มที่ได้แวะมาชม

จากนั้นก็ดูตารางรถเมล์ กะเวลาให้ใกล้เวลาแล้วก็เดินออกมารอรถเมล์ที่ป้ายรถเมล์ที่อยู่หน้าปากซอยทางเข้าพิพิธภัณฑ์ เพื่อจะกลับ



ตอนเดินออกมาถึงป้ายเห็นยังเหลือเวลานิดหน่อย เลยเข้ามาดูมหาวิทยาลัยอากิตะต่ออีกหน่อย ก็เจออาคารศูนย์การเรียนรู้อากิตะมหาวิทยาลัยโฮวโซว (放送大学ほうそうだいがく 秋田学習あきたがくしゅうセンター)



เข้ามาแค่ถ่ายจากด้านหน้าอาคาร แต่ก็ไม่ได้เข้าไป



จากนั้นก็กลับมาที่ป้ายรถเมล์ให้ทันเวลารถเมล์ออกคือ 12:04 แล้วรถเมล์ก็มาตามเวลา



บนรถเมล์



ระหว่างทางผ่านสวนสาธารณะเซนชู ได้เห็นสระบัวอีกแล้ว



แล้วก็กลับถึงสถานีอากิตะ ใกล้จะได้เวลาเดินทางกลับเซนไดแล้ว ตอนหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของบันทึกการเที่ยวอากิตะครั้งนี้ เป็นเรื่องเล่าตอนเดินทางกลับโดยชิงกันเซง https://phyblas.hinaboshi.com/20230818




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> มหาวิทยาลัย
-- ประเทศญี่ปุ่น >> อากิตะ
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文