φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



การทำให้ comfyui บันทึกภาพเป็น .jpg หรือ .webp พร้อมทั้งยังฝังข้อมูลอภิพันธุ์ของกระแสงาน
เขียนเมื่อ 2024/07/06 06:52
 

comfyui เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างภาพด้วยสเตเบิลดิฟฟิวชัน (stable diffusion) ที่ใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นโดยการปรับแต่งการใช้งานในรูปของแผนผังโหนดที่ต่อเชื่อมกัน

เพียงแต่ว่าภาพที่บันทึกโดย comfyui นั้นโดยค่าตั้งต้นแล้วจะเป็นไฟล์ .png ซึ่งมักมีขนาดใหญ่ เปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ทำให้เวลานำไปใช้มักจะต้องไปแปลงเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง .jpg หรือ .webp อีกที

อย่างไรก็ตาม การต้องมาแปลงเองใหม่ทุกครั้งนั้นยุ่งยาก อีกทั้งภายในไฟล์ .png นั้นนอกจากตัวข้อมูลรูปภาพแล้วยังมีการฝังข้อมูลอภิพันธุ์ (metadata) ของกระแสงาน (workflow) ที่ระบุโครงสร้างโหนดซึ่งถูกใช้ตอนสร้างภาพนี้ขึ้นมา ทำให้ถ้าหากเราลากเอาไฟล์ .png นี้ไปใส่ในหน้าจอ comfyui ก็จะได้ภาพผังงานตอนที่ภาพนั้นถูกสร้างขึ้นมา

ดังนั้นถ้าหากสามารถบันทึกเป็นไฟล์ชนิดอื่นโดยยังคงความสามารถในการบันทึกข้อมูลโหนดไว้ได้แบบนั้นก็คงจะดี ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยติดตั้งปลักอินเสริม

ดังนั้นในบทความนี้จะมาแนะนำการติดตั้งและการใช้งาน รวมถึงการเปิดดูเพื่อเอาข้อมูลแยกออกมาหรือย้ายไปไว้ในไฟล์รูปภาพใหม่ด้วย




ปลักอินเสริมที่ใช้ได้

ที่จริงแล้วเมื่อลองค้นดูก็พบว่ามีปลักอินหลายตัวมากเลยที่ช่วยให้ทำการบันทึกภาพเป็นไฟล์ .jpg หรือ .webp ได้ ซึ่งชื่อก็คล้ายๆกันและอาจทำให้สับสนได้ง่ายด้วย เช่น

Extended Save Image for ComfyUI https://github.com/palant/extended-saveimage-comfyui
Save Image Extended for ComfyUI https://github.com/audioscavenger/save-image-extended-comfyui
SaveImgPrompt https://github.com/mpiquero1111/ComfyUI-SaveImgPrompt
ComfyUI Image Saver https://github.com/alexopus/ComfyUI-Image-Saver
Save Image Plus for ComfyUI https://github.com/Goktug/comfyui-saveimage-plus

ครั้งนี้จะขอแนะนำแค่ Extended Save Image for ComfyUI กับ Save Image Extended for ComfyUI ซึ่งมีข้อดีแตกต่างกันไป ชื่อก็คล้ายกันด้วย ดังนั้นระวังสับสน

ความแตกต่างนั้นพูดง่ายๆก็คือ Extended Save Image for ComfyUI นั้นแค่ทำให้บันทึกภาพเป็น .jpg หรือ .webp ได้ด้วย แต่ปรับแต่งอะไรไม่ได้ ในขณะที่ Save Image Extended for ComfyUI บันทึกเป็นไฟล์ชนิออื่นได้อีกหลายชนิด รวมถึงปรับแต่งรายละเอียดได้มากกว่า ค่อนข้างอิสระ แต่ก็อาจมองว่าเกินจำเป็น

ดังนั้นถ้าไม่อยากคิดอะไรมากก็แค่เลือกใช้ Extended Save Image for ComfyUI แต่ถ้าอยากได้ความสามารถเพิ่มเติมกว้างขวางปรับแต่งอะไรมากก็เลือก Save Image Extended for ComfyUI




การติดตั้ง

ทั้ง ๒ ตัวนี้ติดตั้งได้ง่ายโดยใช้ comfyui manager ลองค้นด้วยคำเช่นว่า save image ก็จะออกมาทั้งคู่



ทั้งคู่ใช้ชื่อโหนดเป็น SaveImageExtended ดังนั้นไม่สามารถลงได้ในขณะเดียวกันเพราะจะตีกัน ให้เลือกใช้สักตัว




การเพิ่มโหนด

หลังติดตั้งก็ดับเบิลคลิกที่ว่างแล้วพิมพ์ค้นเลือกโหนดชื่อ SaveImageExtended



หรือคลิกขวาแล้วเลือกจากเมนู



สำหรับกรณีที่ใช้ Extended Save Image for ComfyUI ก็มีอยู่แค่นี้ คล้ายโหนดบันทึกที่ให้มาเดิม แค่เลือกชนิดไฟล์ภาพเป็น .jpg หรือ .webp ได้



ส่วน Save Image Extended for ComfyUI นั้นพอสร้างแล้วจะมีตัวเลือกปรากฏขึ้นมามากมายแบบนี้ ขอไม่อธิบายรายละเอียด ไปลองปรับแต่งดูได้



ที่สำคัญคือตัวเลือกชนิดข้อมูล มีให้เลือกมากมายกว่ามาก






ลองใช้งาน

เมื่อจะใช้งานเราก็แค่เอาโหนด SaveImageExtended ไปต่อวางแทนส่วนที่เคยเป็นโหนด SaveImage ธรรมดา

ครั้งนี้เพื่อความง่ายขอยกตัวอย่างโดยใช้ Extended Save Image for ComfyUI โดยเริ่มจากกด load default เพื่อโหลดโหนดตั้งต้น แล้วก็แก้โหนด CLIPTextEncode ไปเป็น DeepTranslatorCLIPTextEncodeNode เพื่อจะได้พิมพ์ข้อความเป็นภาษาไทยได้ ตามที่ได้เขียนอธิบายวิธีไว้ในบทความที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20240702

ตัวแบบที่ใช้ครั้งนี้คือ MeinaMix เป็นตัวแบบสายอนิเมะที่มีชื่อเสียงมากตัวนึง

โยงแผนผังเสร็จแล้วก็ปรับค่าบางส่วนสักหน่อย เสร็จแล้วก็ได้ออกมาตามรูปนี้ เลือกบันทึกเป็น jpg (JPEG) แล้วก็สั่งเริ่มสร้างได้เลย


(คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)


ภาพที่ได้ออกมา ลองโหลดภาพนี้แล้วลากไปใส่ในหน้าจอ comfyui ของตัวเองดูก็จะได้แผนผังโหนดตามรูปข้างบน



อย่างไรก็ตาม ข้อมูลกระแสงานที่ถูกเก็บไว้ในไฟล์ .jpg หรือ .webp ที่สร้างขึ้นจากปลักอินนี้จะสามารถเปิดอ่านใน comfyui ได้ก็ต่อเมื่อติดตั้งปลักอินนี้ไว้เท่านั้น

ที่ยุ่งไปกว่านั้นก็คือ ปลักอินทั้ง ๒ ตัวนี้มีรูปแบบการเก็บข้อมูลใน .jpg หรือ .webp แตกต่างกัน ใช้ร่วมกันไม่ได้ กล่าวคือภาพที่สร้างจาก Extended Save Image for ComfyUI ต้องติดตั้ง Extended Save Image for ComfyUI จึงจะอ่านได้ ต่อให้ติดตั้งปลักอิน Save Image Extended for ComfyUI ไว้ก็อ่านไม่ได้

การเก็บข้อมูลภายในไฟล์ .jpg หรือ .webp นั้นไม่ได้เป็นมาตรฐานของ stable diffusion จึงแตกต่างกันไปตามคนเขียนโค้ด ดังนั้นถ้าหากต้องการไฟล์ภาพที่สามารถดึงข้อมูลแผนผังโหนดมาใส่ comfyui ของคนอื่นได้ทั่วไปทุกเครื่องได้เหมือนกันก็ยังจำเป็นต้องบันทึกเป็น .png อยู่ดี นอกจากจะรอให้สักวันทาง comfyui รองรับข้อมูลอื่นนอกจาก .png อย่างเป็นทางการ




การเปิดดูข้อมูลกระแสงานภายในไฟล์และบันทึกแยกเป็น .json

ข้อมูลอภิพันธุ์ของกระแสงานนั้นที่ถูกเก็บไว้ในไฟล์ภาพนั้นสามารถเปิดอ่านดูได้จากหลายวิธี เช่นถ้าใช้ภาษาไพธอนก็อาจใช้มอดูล PIL เพื่อเปิดดูและทำการแก้ไขได้

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างโค้ดสำหรับอ่านข้อมูลภายในภาพแล้วบันทึกใหม่ลงเป็นไฟล์ .json
from PIL import Image,PngImagePlugin
import json,os

chuefile = '{{พาธและชื่อไฟล์ภาพ}}'
# กรณีที่เป็น png
if(chuefile.split('.')[-1].lower()=='png'):
    rup = PngImagePlugin.PngImageFile(chuefile)
    jdic = json.loads(rup.info['workflow'])
# กรณีที่เป็นไฟล์ชนิดอื่น
else:
    rup = Image.open(chuefile)
    jexif = rup._getexif()
    # กรณีบันทึกด้วย Extended Save Image for ComfyUI
    if(37510 in jexif):
        jdic = json.loads(jexif[37510])['workflow']
    # กรณีบันทึกด้วย Save Image Extended for ComfyUI
    else:
        jdic = json.loads(jexif[270][10:])
# บันทึกลงใน .json
with open(os.path.join(os.path.dirname(chuefile),os.path.basename(chuefile).split('.')[0]+'.json'),'w') as jf:
    json.dump(jdic,jf,indent=2,ensure_ascii=False)

ไฟล์ .json ที่บันทึกได้มานี้สามารถนำไปลากลง comfyui เพื่อใช้งานได้




การแปลงข้อมูลจาก .png เป็น .jpg หรือ .webp

ถ้าใครมีข้อมูลที่ถึงตอนนี้เคยบันทึกเป็นไฟล์ .png มาแล้วต่อจากนี้อยากเปลี่ยนมาเป็น .jpg หรือ .webp เพื่อประหยัดพื้นที่ก็สามารถทำได้ด้วยโค้ดที่จะแนะนำต่อไปนี้

เพียงแต่ว่าอย่างที่บอกไปแล้วคือเมื่อแปลงเป็นไฟล์อื่นที่ไม่ใช่ .png แล้วจะเปิดอ่านผังโหนดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อติดตั้งปลักอินไว้แล้วเท่านั้น ถ้าจะเก็บไว้เพื่อใช้งานเองก็คงไม่ต้องกังวลตรงนี้ แต่ถ้าจะเอาไว้แจกให้คนอื่นอีกทีก็จำเป็นต้องบอกให้ติดตั้งปลักอินตัวเดียวกันด้วย

โค้ดต่อไปนี้เป็นกรณีที่ใช้ Extended Save Image for ComfyUI และจะแปลงเป็น .jpg
from PIL import Image,PngImagePlugin
import json,glob,os

folder = '{{โฟลเดอร์ที่เก็บภาพ}}'
for chuefile in glob.glob(os.path.join(folder,'*.png')):
    rup = PngImagePlugin.PngImageFile(chuefile)
    jdic = {k: json.loads(v) for k,v in rup.info.items()}
    jexif = Image.Exif()
    jexif[37510] = json.dumps(jdic)
    rup.save(chuefile.replace('.png','.jpg'),exif=jexif.tobytes())

เท่านี้ก็ประหยัดพื้นที่ในเครื่องไปได้มากมายแล้ว


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python
-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> สเตเบิลดิฟฟิวชัน >> comfyui

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文