φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



pytorch เบื้องต้น บทที่ ๑๒: โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (CNN)
เขียนเมื่อ 2018/09/16 14:35
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 16:22
>> ต่อจาก บทที่ ๑๑



บทนี้จะเป็นวิธีการสร้างโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (卷积神经网路, convolutional neural network, CNN)

โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันมีส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้นมาจากเพอร์เซปตรอนหลายชั้นแบบธรรมดาคือมีส่วนที่ประกอบขึ้นจากชั้นคอนโวลูชัน (convolution layer) และชั้นบ่อรวม (pooling layer)



ชั้นคอนโวลูชัน

ใน pytorch ได้เตรียมชั้นคอนโวลูชันแยกตามมิติของข้อมูล คือ
- torch.nn.Conv1d
- torch.nn.Conv2d
- torch.nn.Conv3d

ค่าที่ต้องระบุ เรียงตามลำดับดังนี้
in_channels = จำนวนช่องข้อมูลขาเข้า
out_channels = จำนวนช่องข้อมูลขาออก
kernel_size = ขนาดตัวกรอง

ส่วนค่าต่อไปนี้เป็นตัวเลือกเสริม
stride = จำนวนช่องที่เลื่อนต่อครั้ง ค่าตั้งต้นคือ 1
padding = ค่า 0 ที่เติมเสริมที่ขอบ ค่าตั้งต้นคือ 0
bias = ให้มีพารามิเตอร์ไบแอสหรือไม่ ค่าตั้งต้นคือ True

กรณีสองมิติขึ้นไป kernel_size, stride และ padding นั้นถ้าใส่ค่าเป็นเลขตัวเดียวจะมีผลกับทุกมิติ แต่ถ้าใส่เป็นทูเพิลจะแยกค่าของแต่ละมิติ

ขนาดของพารามิเตอร์น้ำหนักคือ (out_channels,in_channels,kernel_size[0],kernel_size[1]) ส่วนไบแอสจะมีขนาดเป็น out_channels
import torch

conv1 = torch.nn.Conv1d(3,4,5)
print(conv1.weight.shape) # ได้ torch.Size([4, 3, 5])
conv2 = torch.nn.Conv2d(3,4,5)
print(conv2.weight.shape) # ได้ torch.Size([4, 3, 5, 5])
conv2 = torch.nn.Conv2d(3,4,[5,6])
print(conv2.weight.shape) # ได้ torch.Size([4, 3, 5, 6])
print(conv2.bias.shape) # ได้ torch.Size([4])



ชั้นบ่อรวม

ชั้นบ่อรวมสูงสุด (max pooling) คือ
- torch.nn.MaxPool1d
- torch.nn.MaxPool2d
- torch.nn.MaxPool3d

ส่วนชั้นบ่อรวมเฉลี่ย (average pooling) คือ
- torch.nn.AvgPool1d
- torch.nn.AvgPool2d
- torch.nn.AvgPool3d

ค่าที่ต้องใส่คือ
kernel_size = ขนาดตัวกรอง

ค่าตัวเลือกเพิ่มเติมคือ
stride = จำนวนช่องที่เลื่อนต่อครั้ง ค่าตั้งต้นคือเท่ากับขนาดเคอร์เนล
padding = ค่า 0 ที่เติมเสริมที่ขอบ ค่าตั้งต้นคือ 0
ceil_mode = ถ้าเป็น True จะเก็บเอาเศษที่เลื่อนแล้วเหลือไม่ครบตามขนาดตัวกรองด้วย ถ้า false จะทิ้งไป ค่าตั้งต้นคือ False

นอกจากนี้ ยังมีบ่อรวมแบบปรับแต่งได้ (adaptive) ซึ่งจะต่างจากแบบธรรมดาตรงที่จะกำหนดขนาดของข้อมูลขาออก แทนที่จะกำหนดว่าให้กรองกี่ตัวเป็นตัวเดียว แบบนี้จะสะดวกเวลาที่ใช้กับข้อมูลที่มีขนาดไม่แน่นอน
- torch.nn.AdaptiveMaxPool1d
- torch.nn.AdaptiveMaxPool2d
- torch.nn.AdaptiveMaxPool3d
- torch.nn.AdaptiveAvgPool1d
- torch.nn.AdaptiveAvgPool2d
- torch.nn.AdaptiveAvgPool3d

สำหรับชั้นแบบนี้สิ่งที่ต้องกำหนดมีแค่ output_size ที่ต้องการ



สร้างโครงข่ายประสาท

เพื่อแสดงตัวอย่างการใช้ง่ายๆ ขอเริ่มจากลองสร้างโครงข่ายขึ้นโดยใช้ Module ง่ายๆ ดังนี้
relu = torch.nn.ReLU()
ha_entropy = torch.nn.CrossEntropyLoss()
maxp = torch.nn.MaxPool2d(2)

class Khrongkhai(torch.nn.Module):
    def __init__(self):
        super(Khrongkhai,self).__init__()
        self.c1 = torch.nn.Conv2d(1,16,5,1,0)
        self.b1 = torch.nn.BatchNorm2d(16)
        self.c2 = torch.nn.Conv2d(16,16,5,1,0)
        self.b2 = torch.nn.BatchNorm2d(16)
        self.l1 = torch.nn.Linear(4*4*16,16)
        self.b3 = torch.nn.BatchNorm1d(16)
        self.l2 = torch.nn.Linear(16,10)
    
    def forward(self,X):
        a1 = self.c1(X)
        r1 = relu(a1)
        d1 = self.b1(r1)
        h1 = maxp(d1)
        a2 = self.c2(h1)
        r2 = relu(a2)
        d2 = self.b2(r2)
        h2 = maxp(d2).reshape(len(X),-1)
        a3 = self.l1(h2)
        r3 = relu(a3)
        h3 = self.b3(r3)
        a4 = self.l2(h3)
        return a4

โครงข่ายประกอบไปด้วยชั้นคอนโวลูชัน ๒ ชั้น และชั้นเชิงเส้น ๒ ชั้น โดยแต่ละชั้นมีการใช้แบตช์นอร์มด้วย

แบตช์นอร์มที่ใช้ระหว่างชั้นคอนโวลูชันจะเป็น BatchNorm2d ในขณะที่แบตช์นอร์มระหว่างชั้นเชิงเส้นจะเป็น BatchNorm1d



ลองนำโครงข่ายมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลข MNIST
from torch.utils.data import DataLoader as Dalo
import torchvision.datasets as ds
import torchvision.transforms as tf
import time

folder_mnist = '~/pytorchdata/mnist'
tran = tf.Compose([tf.ToTensor(),tf.Normalize((0.5,),(0.5,))])
rup_fuek = ds.MNIST(folder_mnist,transform=tran,train=1) # ข้อมูลฝึก
rup_truat = ds.MNIST(folder_mnist,transform=tran,train=0) # ข้อมูลตรวจสอบ
minibatch = Dalo(rup_fuek,batch_size=64,shuffle=True) # ข้อมูลฝึกทำเป็นมินิแบตช์
X_truat,z_truat = list(Dalo(rup_truat,10000))[0] # ข้อมูลตรวจสอบนำมาใช้ทีเดียว

khrongkhai = Khrongkhai()
opt = torch.optim.Adam(khrongkhai.parameters(),lr=0.001)

lis_khanaen = [] # ลิสต์บันทึกคะแนนในแต่ละขั้น
t_roem = time.time()
for o in range(5):
    khrongkhai.train()
    for Xb,zb in minibatch:
        a = khrongkhai(Xb)
        J = ha_entropy(a,zb)
        J.backward()
        opt.step()
        opt.zero_grad()
    khrongkhai.eval()
    khanaen = (khrongkhai(X_truat).argmax(1)==z_truat).numpy().mean() # คำนวณคะแนนความแม่นในการทายข้อมูลตรวจสอบ
    lis_khanaen.append(khanaen)
    print('%d ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป %.1f นาที ทำนายแม่น %.4f'%(o+1,(time.time()-t_roem)/60,khanaen))

ได้
1 ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป 0.8 นาที ทำนายแม่น 0.9865
2 ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป 1.6 นาที ทำนายแม่น 0.9887
3 ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป 2.5 นาที ทำนายแม่น 0.9891
4 ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป 3.4 นาที ทำนายแม่น 0.9895
5 ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป 4.3 นาที ทำนายแม่น 0.9885

จะพบว่าแค่วนครบรอบแรกก็ทายได้แม่นเกือบ 99% แล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงข่ายประสาทเทียมแค่แบบง่ายๆนี้ก็ใช้การได้ดีมากแล้วกับข้อมูลชุดนี้



ข้อควรระวังเรื่องมิติของข้อมูล

ครั้งนี้เราใช้ torchvision.datasets โหลดข้อมูลรูป รูปจึงถูกแปลงเทนเซอร์สี่มิติขนาดเท่ากับ (จำนวนภาพ,สี,ความสูง,ความกว้าง)

ถ้าเราเปิดไฟล์ข้อมูลรูปภาพเอาเองโดยไม่ได้ใช้วิธีนี้ละก็ ต้องอย่าลืมแปลงเทนเซอร์เป็นขนาดแบบนี้ด้วย ปกติรูปที่โหลดด้วยคำสั่งอ่านรูปเช่นใน matplotlib จะได้อาเรย์ในรูป (ความสูง,ความกว้าง,สี) ซึ่งลำดับไม่ตรงกับที่ชั้นคอนโวลูชันต้องการ กรณีแบบนี้ต้องสลับแกนให้เรียบร้อย

กรณีภาพขาวดำ มิติของสีจะมีแค่ 1 แต่ยังไงก็ต้องมีมิตินั้นอยู่ จำนวนช่องข้อมูลขาเข้าจะเป็น 1 ขนาดข้อมูลป้อนเข้าจะกลายเป็น (จำนวนภาพ,1,ความสูง,ความกว้าง)



ใช้ Sequential

ในตัวอย่างที่แล้วจะเห็นว่าใน forward มีการคำนวณเป็นลำดับขั้น แบบนี้ควรใช้ Sequential เขียนเพื่อจะได้ไม่ต้องมานิยาม forward

ปัญหาอยู่ตรงขั้นตอน h2 ที่มีการ reshape ตรงนี้จำเป็นต้องนิยามชั้นขึ้นมาเสริมเพื่อใช้ในการเปลี่ยนรูป

เราอาจนิยามชั้นสำหรับทำการเปลี่ยนรูปเทนเซอร์ได้ดังนี้
class Plianrup(torch.nn.Module):
    def __init__(self,*k):
        super(Plianrup,self).__init__()
        self.k = k

    def forward(self,x):
        return x.reshape(x.size()[0],*self.k)

ถ้าป้อนค่าเป็น -1 ก็จะเป็นการยุบมิติที่สองขึ้นไปให้มารวมเป็นมิติเดียว เหลือสองมิติ

แบบจำลองเดิม ถ้าใช้ Sequential อาจสร้างได้ง่ายๆในลักษณะนี้
khrongkhai = torch.nn.Sequential(
    torch.nn.Conv2d(1,16,5,1,0),
    relu,
    torch.nn.BatchNorm2d(16),
    maxp,
    torch.nn.Conv2d(16,16,5,1,0),
    relu,
    torch.nn.BatchNorm2d(16),
    maxp,
    Plianrup(-1),
    torch.nn.Linear(4*4*16,16),
    relu,
    torch.nn.BatchNorm1d(16),
    torch.nn.Linear(16,10)
)



สร้างแบบจำลองให้ปรับส่วนประกอบได้

เพื่อความสะดวกในการสร้างข้อมูลหลายชั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องพิมพ์ซ้ำไปมา และสามารถปรับแต่งได้ง่าย คราวนี้จะลองสร้างเป็นคลาสของโครงข่ายประสาทแบบสำเร็จรูปที่ปรับรูปแบบได้โดยแค่เปลี่ยนแก้ตัวเลข

ส่วนประกอบมีดังนี้
- กำหนดจำนวนชั้นคอนโวลูชันและขนาดตัวกรองได้
- ให้ตั้งว่าจะให้มีแบตช์นอร์มหรือดรอปเอาต์หรือเปล่าได้
- ตั้งค่าน้ำหนักตั้งต้นแจกแจงปกติแบบเหอ ไข่หมิง ไบแอสตั้งต้นเป็น 0
- ชั้นคำนวณเชิงเส้นสร้างโดยกำหนดแค่ขนาดขาออก
- ขนาดขาเข้าของชั้นคำนวณเชิงเส้นชั้นแรกจะถูกคำนวณโดยอัตโนมัติ

ขนาดข้อมูลขาเข้าของชั้นคำนวณเชิงเส้นจะต้องสัมพันธ์กับขนาดของข้อมูลขาออกของชั้นคอนโวลูชันชั้นสุดท้าย เราสามารถเขียนให้มีการคำนวณขนาดที่ควรเป็นตรงนี้โดยอัตโนมัติเพื่อจะได้ปรับขนาดชั้นคอนโวลูชันได้โดยไม่ตรงกังวลตรงนี้

เราอาจเขียน Sequential ให้เป็นคลาสของโครงข่ายตามแบบที่อธิบายมาได้ดังนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

class Prasat(torch.nn.Sequential):
    def __init__(self,kwang,m_cnn,m_lin,eta=0.001,dropout=0,bn=0):
        super(Prasat,self).__init__()
        '''
        ค่าภายใน m_cnn:
            m[0]: จำนวนขาเข้า
            m[1]: จำนวนขาออก
            m[2]: ขนาดตัวกรอง
            m[3]: stride
            m[4]: pad
            m[5]: ขนาด maxpool
        m_lin: ขนาดขาออกของชั้นเชิงเส้นแต่ละชั้น
        eta: อัตราการเรียนรู้
        dropout: อัตราดรอปเอาต์ในแต่ละชั้น
        bn: แทรกแบตช์นอร์มระหว่างแต่ละชั้นหรือไม่
        '''
        for i,m in enumerate(m_cnn,1):
            kwang = np.floor((kwang-m[2]+m[4]*2.)/m[3])+1
            
            c = torch.nn.Conv2d(m[0],m[1],m[2],m[3],m[4])
            torch.nn.init.kaiming_normal_(c.weight)
            c.bias.data.fill_(0)
            self.add_module('c%d'%i,c)
            
            self.add_module('relu_c%d'%i,relu)
            
            if(bn):
                self.add_module('bano_c%d'%i,torch.nn.BatchNorm2d(m[1]))
            
            if(m[5]>1):
                self.add_module('maxp_c%d'%i,torch.nn.MaxPool2d(m[5]))
                kwang = np.floor(kwang/m[5])
            
            if(dropout):
                self.add_module('droa_c%d'%i,torch.nn.Dropout(dropout))
                
        
        self.add_module('o',Plianrup(-1))
        m_lin = [int(kwang)**2*m_cnn[-1][1]]+m_lin
        nm = len(m_lin)
        for i in range(1,nm):
            c = torch.nn.Linear(m_lin[i-1],m_lin[i])
            torch.nn.init.kaiming_normal_(c.weight)
            c.bias.data.fill_(0)
            self.add_module('l%d'%i,c)
            
            if(i<nm-1):
                if(bn):
                    self.add_module('bano_l%d'%i,torch.nn.BatchNorm1d(m_lin[i]))
                    
                if(dropout):
                    self.add_module('droa_l%d'%i,torch.nn.Dropout(dropout))
                    
                self.add_module('relu_l%d'%i,relu)
        
        self.opt = torch.optim.Adam(self.parameters(),lr=eta)
        
    def rianru(self,rup_fuek,rup_truat,n_thamsam,ro=10):
        X_truat,z_truat = rup_truat
        self.khanaen = []
        khanaen_sungsut = 0
        t_roem = time.time()
        for o in range(n_thamsam):
            self.train()
            for Xb,zb in rup_fuek:
                a = self(Xb)
                J = ha_entropy(a,zb)
                J.backward()
                self.opt.step()
                self.opt.zero_grad()
            self.eval()
            khanaen = self.ha_khanaen_(X_truat,z_truat)
            self.khanaen.append(khanaen)
            print('%d ครั้งผ่านไป ใช้เวลาไป %.1f นาที ทำนายแม่น %.4f'%(o+1,(time.time()-t_roem)/60,khanaen))
            
            if(khanaen>khanaen_sungsut):
                khanaen_sungsut = khanaen
                maiphoem = 0
            else:
                maiphoem += 1
            if(ro>0 and maiphoem>=ro):
                break
    
    def thamnai_(self,X):
        return self(X).argmax(1)
    
    def ha_khanaen_(self,X,z):
        return (self.thamnai_(X)==z).numpy().mean()

ในส่วนของเมธอด .rianru() นั้นข้อมูลป้อนเข้าคือข้อมูลฝึกในรูปของ DataLoader สำหรับทำมินิแบตช์ และข้อมูลตรวจสอบในรูปของเทนเซอร์ของข้อมูลทั้งหมด

ข้อมูลตรวจสอบใช้เพื่อเป็นเงื่อนไขในการหยุด ถ้าความแม่นยำในการทำนายข้อมูลตรวจสอบไม่เพิ่มหลังจากฝึกต่อไปแล้วเป็นจำนวนกี่ครั้งตามที่กำหนดก็ให้สิ้นสุดการเรียนรู้

คราวนี้ลองทดสอบกับข้อมูล FashionMNIST บ้าง ส่วนประกอบต่างๆจะเหมือนกับข้อมูล MNIST ธรรมดา แต่จะยากกว่าหน่อย

เนื่องจากเป็นข้อมูลเสื้อผ้า ดังนั้นการนำภาพมากลับซ้ายขวาจึงช่วยเพิ่มความหลากหลายในการเรียนรู้ได้ เราสามารถใช้ตัวเลือกแปลง tf.RandomHorizontalFlip() ได้ สำหรับชุดข้อมูลฝึก ส่วนชุดข้อมูลทดสอบไม่จำเป็นต้องทำก็ได้
folder_fashionmnist = '~/pytorchdata/fashionmnist/'
tran = tf.Compose([
    tf.RandomHorizontalFlip(), # สุ่มกลับซ้ายขวา
    tf.ToTensor(),
    tf.Normalize((0.5,),(0.5,))])
rup_fuek = ds.FashionMNIST(folder_fashionmnist,transform=tran,train=1,download=True)
rup_fuek = Dalo(rup_fuek,batch_size=64,shuffle=True) # ข้อมูลฝึก ทำเป็นมินิแบตช์

tran = tf.Compose([
    tf.ToTensor(),
    tf.Normalize((0.5,),(0.5,))])
rup_truat = ds.FashionMNIST(folder_fashionmnist,transform=tran,train=0)
rup_truat = list(Dalo(rup_truat,100000))[0] # ข้อมูลตรวจสอบ ดึงมาทีเดียว

# โครงสร้างโครงข่ายประสาท
m_cnn = [
    [1,16,5,1,0,2],
    [16,16,5,1,0,2],
]
m_lin = [32,10]
prasat = Prasat(28,m_cnn,m_lin,eta=0.001,dropout=0,bn=1)
prasat.rianru(rup_fuek,rup_truat,n_thamsam=200,ro=5)

plt.plot(prasat.khanaen)
plt.show()


ผลออกมาไม่ดีมากเท่าชุดข้อมูลตัวเลข แต่ก็ถึง 90% ได้เหมือนกัน



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๓


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文