นี่เป็นแผนที่ทางรถไฟของไต้หวัน จะเห็นว่าเป็นวงรอบเกาะเลย อย่างไรก็ตาม เราเคยนั่งแค่เสี้ยวด้านเหนือสุดของเกาะคือระยะระหว่างไทเปถึงซินจู๋เท่านั้นเอง
รถไฟที่นี่หลักๆแล้วมีอยู่สองประเภทก็คือ ชวีเจียน (區間) กับจื้อเฉียง (自強) จะขึ้นแบบไหนต้องดูให้ดี
แบบชวีเจียนคือรถไฟแบบปกติ จะจอดทุกสถานี ในขณะที่จื้อเฉียงจะจอดเฉพาะสถานีหลักๆเท่านั้น
นั่นคือถ้าใครที่ต้นทางกับปลายทางเป็นสถานีหลักๆอยู่แล้ว จะนั่งชวีเจียนหรือจื้อเฉียงก็ไม่ต่างกัน แต่แบบจื้อเฉียงจะเหมาะสำหรับเดินทางไกลๆมากกว่า
แบบชวีเจียนจะมาบ่อยกว่าจื้อเฉียงพอสมควร โดยทั่วไปถ้าเดินทางใกล้ๆไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นแบบจื้อเฉียง
รถไฟแบบชวีเจียน ประตูอยู่กลางๆโบกี้
ข้อดีของแบบจื้อเฉียงคือสามารถจองที่นั่งได้ คือถ้าซื้อตัวพร้อมที่นั่งก็สบายใจได้ว่าไม่ต้องยืนไปจนตลอดทางแน่นอน ดังนั้นตั๋วแบบจื้อเฉียงนั้นจะแพงกว่าแบบชวีเจียนพอสมควร
ส่วนคนที่ซื้อแค่ตั๋วแบบชวีเจียนก็สามารถนั่งจื้อเฉียงได้ เพราะเขาไม่มีตรวจหรอกว่าเราขึ้นรถไฟแบบไหน แต่จะได้นั่งต่อเมื่อถ้ามีที่ว่างเท่านั้น แต่ถ้ามีเจ้าของที่มาทวงก็ต้องลุกทันที ในขณะที่ถ้าขึ้นชวีเจียนธรรมดานี่คือใครมาก่อนก็ได้นั่งก่อน
ดังนั้นถ้าเราแน่ใจว่าช่วงเวลาที่เราขึ้นรถเนี่ยมีผู้โดยสารน้อยก็ไม่ต้องซื้อตั๋วแบบจื้อเฉียงให้เปลืองเลย ยังไงก็มีที่นั่งโดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
รถไฟแบบจื้อเฉียง ประตูอยู่ริมโบกี้
ภายในขบวนรถก็จะเห็นว่าต่างกันชัดเจน ชวีเขียนเป็นที่นั่งแบบสองแถวหันหน้าเข้าหากัน และมีที่ให้คนยืนเหลือเฟือ ส่วนจื้อเฉียงเป็นที่นั่งแบบรถเมล์ เก้าอี้เป็นตัวๆนั่งสบาย ทุกคนหันไปด้านหน้า มีที่ให้ยืนน้อยมาก บางเวลามีพนักงานเข็นรถเข็นมาขายอาหารด้วย
รถไฟแบบชวีเจียน ที่นั่งแบบสองแถว
รถไฟแบบจื้อเฉียง ที่นั่งแบบรถเมล์
เราเองไม่เคยซื้อตั๋วแบบจื้อเฉียงเลย เพราะไม่มีความจำเป็นต้องนั่ง ไม่เคยไปไหนไกล บางครั้งก็ได้ที่นั่ง บางครั้งนั่งๆอยู่เจอเจ้าของที่มาทวงคืน เรียกได้ว่าต่อให้ได้นั่งก็นั่งได้อย่างไม่เป็นสุขเท่าไหร่ ขึ้นชวีเจียนดีที่สุด ถ้าเรานั่งแล้วจะไม่มีใครมาแย่งที่เราได้
นอกจากนี้ก็มีรถไฟแบบจวี่กวาง (莒光) ซึ่งราคาอยู่ระหว่างกลาง จำนวนสถานีที่จอดก็อยู่ระหว่างกลางระหว่างชวีเจียนกับจื้อเฉียง ส่วนลักษณะขบวนรถจะคล้ายๆกับจื้อเฉียง แต่จำนวนรถจวี่กวางมีน้อยมาก ตั้งแต่ขึ้นรถไฟมาไม่รู้กี่ครั้งเพิ่งจะมีครั้งเดียวเองที่ได้นั่งจวี่กวาง
รถไฟแบบจวี่กวาง ดูภายนอกคล้ายๆกับจื้อเฉียง
ภายในก็เป็นที่นั่งแบบรถเมล์คล้ายกับจื้อเฉียง
ภาพสถานีเถาหยวน (桃園火車站) ที่เราขึ้นประจำ
ภายนอกสถานี
ชานชลา
อุโมงค์สำหรับข้ามไปอีกฝั่งของทางรถไฟ
อันนี้เป็นสถานีจงลี่ (中壢火車站) ดูแล้วใหญ่กว่าสถานีเถาหยวนนิดหน่อย
ภายนอก
ชานชลา
สถานนีอิงเกอ (鶯歌火車站) อิงเกอเป็นเขตหนึ่งในจังหวัดไทเป สถานีนี้เป็นสถานีย่อยไม่ใช่สถานีหลักจึงไม่มีจื้อเฉียงมาลง แม้จะเป็นเพียงสถานีย่อยแต่กลับดูหรูกว่า เพราะเป็นตึกสองชั้นสวยทีเดียว
ชั้นล่าง
ชั้นสอง
ชานชลา
สถานีซินจู๋ (新竹火車站) มีครั้งหนึ่งได้ไปเที่ยวมาเลยถ่ายเอาไว้ด้วย สถานีนี้ออกแนวตะวันตกนิดหน่อย
อันนี้เป็นวิวข้างทางถ่ายระหว่างเดินทางขึ้นจื้อเฉียงจากสถานีจงลี่ไปซินจู๋ พอดีโชคดีมีที่นั่งสบาย รถจื้อเฉียงนี้วิ่งตรงจากจงลี่ไปซินจู๋โดยไม่มีแวะที่ไหนเลย (ทะลุผ่านสถานีที่ถ้าเป็นชวีเจียนต้องจอดไปหลายสถานี) ใช้เวลา ๒๕ นาทีก็ถึง
และข้อดีอีกอย่างหนึ่งของรถไฟที่นี่ก็คือสามารถใช้รูดบัตรแทนการซื้อตั๋วได้ เหมือนกับที่รถไฟฟ้าเลย อันนี้ใช้บัตรอันเดียวกับรถไฟฟ้าที่ไทเป
อย่างไรก็ตาม รูดบัตรสามารถไปได้ไกลสุดแค่ถึงซินจู๋เท่านั้นเอง ถ้าไกลกว่านี้ยังไงก็ต้องซื้อตั๋ว
และการรูดบัตรมีค่าเท่ากับการนั่งชวีเจียนดังนั้นถ้าอยากได้ที่นั่งในจื้อเฉียงก็ต้องซื้อเอา
และที่สถานีรถไฟของที่นี่ก็มีเรื่องให้แปลกใจอีกเช่นเดียวกับรถเมล์ นั่นคือ...
ลองสังเกตป้ายทางมุมขวาล่างกับซ้ายบนของภาพให้ดี
มันมีภาษาไทยด้วยน่ะสิ!! และก็มีภาษาเวียดนามกับอินโดนีเซีย