φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ชมฟ้าหญิงดีดกู่เจิงในงานสายสัมพันธ์สองแผ่นดินที่มหาวิทยาลัยชิงหัว
เขียนเมื่อ 2013/12/15 22:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 14 ธ.ค. 2013

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2013 ที่ผ่านมามีโอกาสได้ไปชมงานสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน (ไทยจีน) ครั้งที่ ๖ ซึ่งเป็นงานแสดงดนตรีและการแสดงต่างๆโดยมีทั้งของไทยและของจีน และจุดเด่นที่สำคัญสุดของงานนี้ก็คือฟ้าหญิงมาแสดงการดีดกู่เจิง

การแสดงมีทั้งหมด ๑๖ ชุด ใช้เวลา ๒ ชั่วโมงครึ่ง ในจำนวนนั้นเป็นการแสดงดีดกู่เจิงทั้งหมด ๙ เพลง ที่เหลือเป็นการแสดงของไทย ๔ รายการและการแสดงของจีน ๓ รายการ

รายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงนั้นคงจะไม่พูดถึงเลยเพราะว่าไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเพลงและเรื่องศิลปะการแสดงอะไรเลย เลยได้แค่เล่าคร่าวๆ

งานนี้จัดขึ้นทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ ๖ แล้ว สำหรับปีนี้มีจัดทั้งหมดสามที่คือที่ปักกิ่งในวันที่ 14 ที่หางโจวในวันที่ 17 และที่เซี่ยงไฮ้ในวันที่ 20

สำหรับในปักกิ่งจัดที่มหาวิทยาลัยชิงหัว ซึ่งบังเอิญว่าวันก่อนก็เพิ่งไปสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นมาพอดี https://phyblas.hinaboshi.com/20131201

อาคารที่จัดแสดงก็คือตึกซินชิงหัวเสวียถาง (新清华学堂) ที่เคยเดินผ่านมาแล้วตอนนั้น

รูปที่ถ่ายเมื่อวันนั้น ตอนนั้นแค่เดินผ่านก็รู้สึกว่าเป็นตึกที่สวยดี



สำหรับวันนี้เรามาตอนกลางคืน เพราะงานนี้เป็นเวลา 19:30-22:00 น. ที่ตึกนี้เป็นเป็นอีกบรรยากาศ มีเปิดไฟสวยงาม ตอนที่มาถึงก็พบว่ามีคนมารอต่อแถวเข้ากันอยู่แล้วมากมาย ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเกือบทั้งหมดเลย เต็มไปด้วยคนไทยมาจนแทบลืมไปว่าอยู่จีนเลย



จะเข้าไปข้างในใด้ต้องมีบัตรเข้าร่วมงาน ซึ่งนักเรียนทุกคนที่เรียนอยู่ในปักกิ่งสามารถรับมาได้มาฟรี แค่ต้องบอกชื่อจองไว้ล่วงหน้าเท่านั้น




ด้านใน



บัตรของเราอยู่ชั้น ๓ ต้องขึ้นไป





ห้องที่จัดแสดง มีทั้งหมด ๓ ชั้น เวทีอยู่ด้านล่างสุด ที่จริงอยู่ชั้น ๓ ค่อนข้างไกลไปหน่อย เห็นเวทีเล็กมากเลย



เราไปถึงตอนหกโมงครึ่ง คนยังโล่งๆอยู่เลย ต้องนั่งรออยู่ชั่วโมง

พอเจ็ดโมงครึ่งการแสดงก็เริ่มขึ้น เพลงแรกที่ออกมาก็คือเพลง "เดือนเพ็ญ" เป็นเพลงเก่าที่ชอบมากเพลงหนึ่งเลย ด้านหน้าเป็นสองคนดีดกู่เจิง ส่วนด้านหลังนั้นมีวงดนตรีขนาดใหญ่คอยเล่นประสาน



คนแรกที่อยู่ทางซ้ายก็คือฟ้าหญิง



ส่วนอีกคนเป็นอาจารย์ที่สอนฟ้าหญิงเล่นกู่เจิง ชื่อว่าฉางจิ้ง (常静) เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงมากในจีน เรื่องเกี่ยวกับฉางจิ้งเห็นมีคนเขียนไว้ละเอียดเลยสามารถอ่านได้ที่นี่ http://www.thaichinese.net/thaichineseblog/lily-chang



จะเห็นได้ชัดว่าเธอดีดกู่เจิงเก่งมาก ด้วยท่าทีพริ้วไหวมีลีลา ไม่ใช่แค่นั่งจ้องกู่เจิงตั้งหน้าตั้งตาดีดอยู่ตลอดเวลา สมเป็นมืออาชีพจริงๆ

ต่อจากเพลงเดือนเพ็ญก็เป็นเพลงจีนชื่อฉางเจียงฮวาเยวี่ยเย่ (春江花月夜)



หลังจากเล่นจบไปสองเพลง ต่อมาก็เป็นการแสดงรำเชี่ยวเจียงหนาน (俏江南) ของจีน



ตามด้วยรำไทย



รำไทยอีกชุด



พอดีตำแหน่งมุมที่นั่งไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีเหล็กด้านหน้าบัง เลยไม่อาจถ่ายภาพการแสดงอันนี้ได้ชัด



ตามด้วยการแสดงชุดสุ่ยจือหลิง (水之灵) ของจีน (เสียดายจริงๆ เหล็กด้านหน้าที่นั่งบังเต็มๆเลยไม่มีรูปชัดๆเลย)




เสร็จแล้วก็กลับมาเป็นการดีดกู่เจิงต่อ เพลงดวงทิพย์



ตามด้วยเพลงฉางเสี่ยงสือ (长相思) ของจีน



แล้วก็เพลงแคนลำโขง อันนี้ตอนแรกที่เขาขึ้นชื่อภาษาอังกฤษมานี่เล่นเอางงว่าควรจะอ่านว่าอะไร สะกดให้ถูกจริงๆน่าจะเขียนว่า khaen lam khong มากกว่า



หลังจากแสดงไป ๙ ชุดแล้วก็มีการพักครึ่ง ระหว่างพักครึ่งเขาบอกว่าให้คนที่อยู่ชั้น ๓ บางส่วนย้ายไปนั่งชั้น ๑ ได้ เนื่องจากที่ข้างล่างโล่งเยอะ ลงไปข้างล่าง ตอนแรกเขาก็จะให้เราย้ายไปด้วย แต่ไปๆมาๆสุดท้ายก็กลับมาอยู่ชั้น ๓ เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตำแหน่งที่นั่งให้เห็นชัดขึ้น

แล้วการแสดงก็เริ่มต่อ คราวนี้ได้ตำแหน่งที่เห็นชัดกว่าเดิมมาก




การแสดงของไทย



แล้วก็ต่อด้วยการแสดงของจีนอีก




แล้วก็การแสดงของไทยอีกชุด เป็นอย่างสุดท้าย



ก่อนจะมาเริ่มการแสดงกู่เจิ้งช่วงท้ายสุดอีกสองเพลง นี่คือเพลงยามเย็น เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ใครๆก็ต้องเคยได้ยินตอนข่าวพระราชสำนัก



จะสังเกตได้อย่างหนึ่งว่าหลังจากช่วงพักนั้นทั้งสองคนมีไปเปลี่ยนชุดมาด้วย




แล้วเพลงสุดท้ายของงานนี้ก็คือเพลงสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องทั้งภาษาไทยและจีน



และแล้วงานก็จบ นักแสดงทั้งหมดออกมาอยู่หน้าเวที พิธีกรกล่าวปิดงาน



หลังงานจบแล้ว สำหรับคนไทยที่มาดูงานนั้นมันยังไม่จบ เพราะต่อไปต้องลงมาชั้นล่างมาส่งเสด็จฟ้าหญิง



ตั้งแถวรอส่งเสด็จ



แล้วเวลาที่รอก็มาถึง ฟ้าหญิงเดินออกมาแล้ว




เมื่อส่งเสด็จเสร็จเราก็เดินออกจากอาคารที่จัดแสดงงานแล้วก็ได้เวลาแยกย้ายกันกลับมหาวิทยาลัยตัวเองโดยนั่งรถเท็กซีเนื่องจากดึกแล้วไม่มีรถเมล์กลับ

เป็นงานที่คุ้มดี ได้ชมการแสดงกู่เจิงของฟ้าหญิงและก็นักดนตรีชื่อดังอย่างฉางจิ้ง แล้วก็ยังการแสดงอื่นๆอีก นานๆทีมาร่วมกิจกรรมแบบนี้ก็ดีเหมือนกันอยู่ไทยก็ยังไม่เคยมีโอกาสแบบนี้เลย

และงานนี้ทำให้รู้ว่ามีคนไทยอาศัยอยู่ในปักกิ่งมากแค่ไหน เท่าที่เห็นก็มีเป็นร้อยๆ ให้บรรยากาศเหมือนอยู่เมืองไทยเลยจนอาจเผลอนึกว่าเรากลับไทยแล้วทีเดียว



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> มหาวิทยาลัย
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ