φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



กัมลาสตอน ย่านเมืองเก่ากลางเมืองสตอกโฮล์ม
เขียนเมื่อ 2014/07/05 19:03
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 9 พ.ค. 2014

หลังจากที่เดินเล่นแถวสถานีรถไฟและศาลากลางเมืองมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20140703

ตอนนี้เราได้ข้ามสะพานเพื่อไปเดินในย่านเมืองเก่าของสตอกโฮล์ม ที่เรียกกันว่ากัมลาสตอน (Gamla stan) ตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆกลางสตอกโฮล์ม

คำว่า gamla แปลว่าเก่า และคำว่า stan แปลว่าเมือง ดังนั้นรวมแล้วจึงแปลได้ตรงๆว่าเมืองเก่านั่นเอง แต่ผู้คนนิยมเรียกทับศัพท์แบบนี้กันแม้แต่เวลาที่พูดภาษาอังกฤษก็ตาม

อนึ่ง เห็นคนชอบเรียกผิดเป็น "กัมลาสแตน" หรือ "กัมลาสตัน" ได้ยินแล้วก็รู้สึกสตันไปตามๆกัน ที่ถูกต้องจริงๆคือ "กัมลาสตอน" ตัว a ในภาษาสวีเดนอาจออกเสียง "อา" หรือ "ออ" ซึ่งก็ไม่มีหลักที่แน่นอนนัก ต้องจำเป็นคำๆไป

ที่นี่คือย่านเมืองเก่าที่มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งเมืองสตอกโฮล์ม แต่ก่อนนี้เมืองสตอกโฮล์มมีพื้นที่แค่บริเวณเกาะเล็กๆนี้และจึงขยายข้ามเกาะมาเรื่อยๆจนเป็นเมืองใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ดังนั้นเกาะเล็กๆแห่งนี้ก็เลยเต็มไปด้วยบ้านและสิ่งก่อสร้างสมัยโบราณ และก็เป็นที่พักอาศัยของราชวงศ์สวีเดน พระราชวังหลวง (Kungliga slottet) ก็ตั้งอยู่ที่นี่ด้วย



เราข้ามมาจากฝั่งสถานีรถไฟกลางโดยใช้สะพานนอราแยร์นแวกสบรูน (Norra Järnvägsbron) เมื่อข้ามไปจะไปถึงส่วนของเกาะริดดาร์โฮลเมิน (Riddarholmen) โดย Riddar แปลว่าอัศวิน และ holmen แปลว่าเกาะ ดังนั้นชื่อเกาะนี้หมายถึงเกาะแห่งอัศวิน



เกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของย่านเมืองเก่า

ปราสาทวรังเกลสกา (Wrangelska palatset) นี่เป็นปราสาทที่เคยใช้เป็นที่พักหลักของราชวงศ์สวีเดนก่อนที่พระราชวังหลวงจะสร้างเสร็จ



ตรงข้ามปราสาทเป็นลานกว้างริมน้ำ



จากตรงนี้มองออกไปทางใต้ก็จะเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของเกาะเซอเดอร์มาล์มได้



และมองไปทางเหนือก็จะเห็นบริเวณสถานีรถไฟกลาง



และก็สามารถเห็นศาลากลางได้ด้วย จากมุมนี้มองจากกลางน้ำโดยไม่มีอะไรมาบัง



มองออกไปไกลทางตะวันตกจะเห็นสะพานแวสเตอร์บรูน (Västerbron) ซึ่งเป็นสะพานสำคัญหนึ่งที่เชื่อมส่วนเหนือกับส่วนใต้ของเมือง



ด้านหลังปราสาทรังเกลสกาก็เป็นลานกว้าง



นี่เป็นรูปปั้นของบีร์เยอร์ ยอร์ล (Birger jarl) รัฐบุรุษคนหนึ่งของสวีเดน คนเดียวกับที่หลุมศพเทียมตั้งอยู่ที่ศาลากลางเมือง



ตรงนี้จะเห็นโบสถ์ริดดาร์โฮล์ม (Riddarholmskyrkan) เป็นโบสถ์ที่ฝังศพของพวกเชื้อพระวงศ์สวีเดน เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในสตอกโฮล์ม สร้างมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 13



จากตรงนี้ถ้าข้ามสะพานไปก็จะเป็นเกาะหลักของกัมลาสตอนแล้ว



ข้ามไปที่เห็นทันทีก็คือริดดาร์ฮูเส็ต (Riddarhuset) แปลว่าบ้านของอัศวิน



รูปปั้นของจักรพรรดิกุสตาฟ วอซา (Gustav Vasa)



เดินย่านใจกลางกัมลาสตอน





ร้านค้าเต็มไปหมด ส่วนใหญ่ขายของที่ระลึก








บางซอยก็แคบๆเปลี่ยวๆ






นี่คือโบสถ์เยอรมัน (Tyska kyrkan) มีหอคอยที่ตั้งสูงเด่นที่สุดใจกลางย่านนี้



ข้างในสามารถเข้าชมได้ แต่ว่าเวลาตอนนี้มันปิดไปแล้ว




เดินต่อไป




นี่คือถนนด้านข้างพระราชวังหลวง ที่สุดทางไกลๆจะเห็นมหาวิหารสตอกโฮล์ม (Stockholms domkyrka) หรือที่นิยมเรียกกันว่าสโตร์ชือร์กัน ซึ่งแปลว่าโบสถ์ใหญ่ เป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในย่านเมืองเก่านี้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบอิธโกธิก



ถนนด้านหน้าพระราชวังหลวง



ด้านหน้าพระราชวังหลวง ตรงนี้ไม่สามารถเข้าไปได้ มีรั้วกั้นและมียามเฝ้าอยู่ด้วย



จากตรงนี้มองลงไปจะเห็นทิวทัศน์ริมน้ำสวยงาม





แล้วก็เดินมาทางทิศเหนือของปราสาท ถ่ายปราสาทจากด้านข้าง



สามารถขึ้นไปหน้าปราสาทได้ แต่ว่าจากตรงนี้ก็ไม่สามารถเข้าได้เช่นกัน ระหว่างที่เดินถึงตรงนี้ฝนก็เริ่มโปรยปรายหนักขึ้นมาอีกแล้ว วันนี้ฝนตกๆหยุดๆอยู่ทั้งวัน ดูแล้วอาจไม่เหมาะแก่การเที่ยวเท่าไหร่เลย แต่ก็กลับเป็นวันที่เราเที่ยวลุยหนักที่สุด



จากตรงนี้ก็เห็นทิวทัศน์ริมน้ำสวย ฝั่งนั้นที่เห็นก็คือเกาะเฮลเกอันด์สโฮลเมิน (helgeandsholmen) เป็นเกาะเล็กๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกัมลาสตอน



บนเกาะนั้นเป็นที่ตั้งของอาคารรัฐสภา (Riksdagshuset)




เดินต่อมาก็จะมาถึงด้านหลังของพระราชวังหลวง ซึ่งจะเห็นว่ามีการก่อสร้างอยู่อีกแล้ว



ลานกว้างด้านหลังพระราชวัง



จากตรงนี้เราสามารถเข้าชมพระราชวังหลวงได้ แต่ก็มีค่าเข้าชมอยู่ และตอนนี้ก็เลยเวลาเข้าชมแล้วจึงไม่ได้เข้า ที่นี่เปิดถึงสี่โมงเท่านั้นในช่วงฤดูนั้น แต่ตอนนั้นเป็นเวลาห้าโมงกว่าแล้ว



เดินผ่านถนนย่านใจกลางอีกในขณะที่ฝนตกและผู้คนต่างกางร่ม






มหาวิหารสตอกโฮล์ม



ลานกว้างใหญ่กลางย่านเมืองเก่า



มุมนี้เป็นมุนที่คนนิยมถ่ายรูปเก็บกลับไปกันมาก เห็นตึกเหลืองตึกแดงตรงกลางดูเด่นสวยดี



ในลานกว้างนี้มีพิพิธภัณฑ์โนเบล (Nobelmuseet) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงบันทึกเกี่ยวกับผู้ได้รับรางวัลโนเบลทุกคนตลอดตั้งแต่ปี 1901 และชีวประวัติของอัลเฟรด โนเบลผู้ให้กำเนิดรางวัลโนเบล ดังนั้นจึงน่าสนใสมาก แต่น่าเสียดายว่าตอนที่มาถึงมันปิดไปแล้ว



การเดินเที่ยวภายในกัมลาสตอนก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ เดินจนเกือบทั่วเหมือนกัน ที่นี่ไม่ได้กว้างนัก แต่ก็ยังเหลือบางซอกมุมที่ยังไม่ได้เดิน แต่ก็เพียงพอแล้ว

ต่อไปเราเดินต่อไปยังทางใต้เพื่อข้ามฝั่งไปยังเกาะเซอเดอร์มาล์ม (Södermalm)



ท่ามกลางสายฝนที่ยังคงโปรยปรายลงมาต่อเนื่องเรื่อยๆการเดินตะลุยเที่ยวสตอกโฮล์มยังคงดำเนินต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20140707


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> โบสถ์
-- ต่างแดน >> ยุโรป >> สวีเดน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

各月日志

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

找更早以前的日志