φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ศาลากลางเมืองสตอกโฮล์ม สถานที่จัดพิธีรับรางวัลโนเบล
เขียนเมื่อ 2014/07/03 18:50
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 9 พ.ค. 2014

หลังจากที่เดินตากฝนเล่นในเมืองอุปซอลามาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20140701

ต่อไปเราเดินทางกลับมายังสตอกโฮล์มเพื่อเที่ยวต่อ

หากพูดถึงสวีเดนแล้ว อย่างแรกที่คนจะนึกถึงก็คงจะเป็นรางวัลโนเบล ซึ่งพิธิรับรางวัลโนเบลนั้นเป็นธรรมเนียมที่จัดขึ้นทุกปีภายในสตอกโฮล์ม และสถานที่รับรางวัลโนเบลนั้นก็คือศาลากลางเมืองสตอกโฮล์ม (Stockholm stadshus)

ตัวอาคารศาลากลางเมืองนี้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1911 และเสร็จเมื่อปี 1923 ถูกออกแบบโดยได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งก่อสร้างดังๆหลายแห่งในยุโรปเอามาผสมกัน ตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆเกาะหนึ่งชื่อว่าเกาะคุงสโฮลเมิน (Kungsholmen) โดยคำว่า Kung แปลว่าราชา และ holmen แปลว่าเกาะ ดังนั้นชื่อเกาะนี้หมายความว่าเกาะแห่งราชา

นี่เป็นสถานที่เดียวในสตอกโฮล์มที่เรารู้จักมาตั้งนานแล้วก่อนที่จะมาวางแผนเที่ยวครั้งนี้ นี่น่าจะเป็นสถานที่ในฝันสำหรับนักวิทยาศาสตร์ หากคิดจะมาสตอกโฮล์มโดยไม่ต้องเก็บตังละก็ไม่ยากหรอก
แค่สร้างผลงานเยอะๆให้ได้รับรางวัลโนเบลเดี๋ยวเขาก็เชิญมาเอง ง่ายกว่าการทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตกอีกนะ (?)

ศาลากลางเมืองสตอกโฮล์มนั้นอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟกลางสตอกโฮล์มมาก สามารถเดินไปได้สบายๆ เพียงแต่มีแม่น้ำคั่นอยู่ต้องข้ามสะพานไปเท่านั้น



เรากลับมาถึงสถานีสตอกโฮล์มเวลา 14:21



ด้านหน้าสถานี




ตอนที่มาถึงฝนหยุดตกแล้ว ก็เลยสบายหน่อย



เดินมาทางตะวันตกนิดหน่อยก็จะมองเห็นศาลากลางเมืองอยู่ตรงข้ามริมฝั่งน้ำ



ข้ามฝั่งไปก็จะถึง



ข้างหน้านี้ก็คือเกาะคุงสโฮลเมินซึ่งศาลากลางเมืองตั้งอยู่




ข้ามฝั่งและเดินมาจนถึงศาลากลางเมือง



หากมองกลับไปทิวทัศน์ฝั่งโน้นก็สวยดี



ประตูนี้สามารถเข้าได้ตามสบาย แต่ว่านี่ไม่ใช่ประตูเข้าด้านใน เป็นแค่ประตูเข้าไปยังลานกว้างด้านในอาคาร



บริเวณลานกว้างภายในอาคาร




จะเห็นว่าบางส่วนมีการซ่อมแซมอยู่



เดินทะลุออกไปอีกด้านจะเป็นบริเวณสวนสวยๆริมน้ำ




จากด้านนี้จะเห็นว่าเขากำลังซ่อมแซมอยู่



ที่ด้านตะวันออกของตึกจะเจอหลุมศพเทียมของบีร์เยอร์ ยอร์ล (Birger Jarl) รัฐบุรุษคนหนึ่งของสวีเดน ขาเป็นผู้ก่อตั้งสตอกโฮล์มให้เป็นเมืองหลวง



จากตรงนี้มองออกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จะเห็นย่านเมืองเก่า กัมลาสตอน (Gamla stan) ซึ่งเป็นที่ที่เราจะไปเดินต่อถัดจากนี้




ส่วนทางฝั่งตะวันออกจะเป็นบริเวณสถานีรถไฟซึ่งเราเพิ่งเดินจากมา



ส่วนทางทิศใต้จะเป็นเกาะเซอเดอร์มาล์ม (Södermalm) ซึ่งเดี๋ยวก็จะไปเดินเล่นเช่นกัน ที่นั่นเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม





ทางเข้าตัวอาคาร สามารถเข้าไปชมด้านในได้



เข้ามาถึงจะเจอห้องขายตั๋วสำหรับเข้าชม เราไม่ได้เข้าไปเพราะว่าต้องเสียค่าเข้าชมแพงพอสมควร แค่ได้มาเห็นตัวอาคารเท่านี้ก็คิดว่าพอแล้ว



แต่ก็ยังสามารถเอากล้องส่องเข้าไปถ่ายด้านในได้นิดหน่อย ตรงนี้เป็นจุดที่เดินเข้าไปไม่ได้แล้วถ้าไม่จ่ายค่าเข้า



นอกจากนี้ยังมีอีกจุดที่เข้าไปได้คือร้านค้าเล็กๆสำหรับขายของที่ระลึก



จากลาศาลากลางเมืองแค่นี้ ภาพสุดท้ายถ่ายจากด้านตะวันตก



จากนั้นเดินเล่นต่อไปทางตะวันตกอีกสักหน่อย





บริเวณนี้พื้นไม่ค่อยราบ มีทางขึ้นลงเขาเต็มไปหมด



ขึ้นไปที่สูงแล้วมองลงมาก็เห็นภาพสวยๆด้านล่างได้



เดินเล่นชมแถวนี้ไปเรื่อยๆได้สักพักก็ได้เวลาต้องย้อนกลับ เพราะเป้าหมายต่อไปของเราอยู่ที่ย่านเมืองเก่า ซึ่งอยู่ทิศตรงกันข้ามกัน




ข้ามสะพานกลับมายังฝั่งสถานีรถไฟ



มองไปไกลๆเห็นตึกสวยๆอยู่ประปรายเมื่อมองขยายเข้าไป แถวนั้นไม่มีเวลาไปเดิน




กลับมาถึงสถานีรถไฟ



ข้างๆสถานีรถไฟเป็นสถานีรถบัสกลางสตอกโฮล์ม และตึก World Trade Center เป็นอาคารสำนักงาน



จากตรงนี้เราก็เดินต่อเพื่อหาทางข้ามไปยังย่านเมืองเก่า




ผ่านโบสถ์คลารา (Klara kyrka) โบสถ์เก่าที่สร้างขึ้นเมื่อปี 1572



เส้นทางจากนี้เป็นการเดินบนทางยกระดับ ซึ่งทางเดินซับซ้อนมาก เดินแล้วมึนๆจนหลงไปด้วย



จากบนทางยกระดับก็มองเห็นทิวทัศน์ในเมืองได้สวย





ผ่านด้านบนของชานชลาสถานีรถไฟด้วย



จากตรงนี้ก็ยังเห็นศาลากลางเมืองได้อีก



สะพานตรงนี้ถ้าข้ามก็จะไปยังย่านเมืองเก่าแล้ว แต่ตรงนี้ไม่ใช่ทางเดินของคนเดินเท้า จำเป็นต้องลงไปก่อน ทางเดินเท้าจะเป็นทางสะพานเล็กๆที่อยู่ทางใต้ของสะพานใหญ่สำหรับรถข้ามอีกที



ลงมาด้านล่าง



ทางเดินด้านใต้สะพานใหญ่ที่เราเดินผ่านมาเมื่อครู่



ตรงนี้เป็นท่าขึ้นเรือ



จากตรงนี้สามารถนั่งเรือไปยังพระราชวังดร็อตนิงโฮล์มได้



ศาลากลางเมืองอีกภาพ ฟ้าเริ่มเปิดมากขึ้นแล้วหลังฝนหยุดไป



ข้ามสะพานนี้ไปก็จะไปสู่ย่านเมืองเก่าแล้ว



เรื่องราวของย่านเมืองเก่า กัมลาสตอน จะเล่าถึงในตอนถัดไป https://phyblas.hinaboshi.com/20140705


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ต่างแดน >> ยุโรป >> สวีเดน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文