φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



เที่ยวเมืองอมรปุระ เยี่ยมสุสานพระเจ้าอุทุมพร และวิหารที่จารึกแผนที่ดาวโบราณ
เขียนเมื่อ 2015/09/22 08:37
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# อาทิตย์ 2 ส.ค. 2015

หลังจากที่ได้ชมเมืองหลวงเก่าอังวะไปแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20150920

ตอนนี้เราก็มาต่อกันที่เมืองหลวงเก่าอีกแห่ง อมรปุระ (
အမရပူရamarapura) ซึ่งถูกใช้เป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์อลองพญา โดยถูกใช้ ๒ ครั้งในช่วงปี 1783–1821 และ 1842–1859

ปี 1859 เมืองหลวงได้ย้ายไปอยู่มัณฑะเลย์ พระราชวังก็ถูกสร้างใหม่ที่นั่นโดยได้นำวัสดุจากพระราชวังที่อมรปุระไป ทำให้พระราชวังอมรปุระถูกทิ้งร้าง ปัจจุบันก็เหลือแต่ซากซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในแผนที่ พวกเราถามคนขับรถให้เขาช่วยพาไปชมซากพระราชวังแต่ว่าเขาไม่รู้จักที่นั่นดังนั้นจึงไม่ได้พาไป

ชื่อ "อมรปุระ" นั้นเป็นชื่อจากภาษาบาลีแปลว่า "เมืองอมตะ" โดยคำว่า "อมร" ควรอ่านเป็น "อะ-มะ-ระ" ไม่ใช่ "อะ-มอน" ส่วนในภาษาพม่าเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "อะมะราปูรา"

วิหารและเจดีย์ในเมืองนี้มีอยู่มากมาย เราได้แวะไปเยี่ยมมาหลายแห่งทีเดียว ที่เราแวะไปมาได้แก่
- เจดีย์ชเวกูจี (
ရွှေဂူကြီးဘုရားshwegugyi buyar)
- วิหารบากะยา (ဗားကရာဘုန်းကြီးကျောင်းbagaya bonkyi kyaung
)
- เจดีย์ปะโทดอจี (
ပုထိုးတော်ကြီးpahtodawgyi)
- วิหารจออองซันดา (
ကျော်အောင်စံထားကျောင်းတိုက်kyaw aung san dar kyaung taik)
- เจดีย์ตองมีนจี (
တောင်မင်းကြီးဘုရားtaungmingyi buyar)
- เจดีย์ชเวโมะทอ (
ရွှေမုဋ္ဌောဘုရားshwe motehtaw buyar)
- เจดีย์เจาะตอจี (ကျောက်တော်ကြီးဘုရားkyauktawgyi buyar
)

จะเห็นว่าชื่อวัดและเจดีย์ต่างๆในเมืองนี้มีซ้ำกับสถานที่ในเมืองอื่นๆอยู่เยอะ ทำให้เวลาเรียกชื่อต้องบอกดีๆว่าของเมืองนี้



เป้าหมายแรกคือเจดีย์ชเวกูจี ชื่อเจดีย์นี้ไปซ้ำกับชเวกูจีที่เมืองพุกามแต่ไม่ได้มีชื่อเสียงเท่า คนมาเที่ยวกันน้อย ถึงอย่างนั้นก็สวยงามมาก



มีส่วนหนึ่งดูเหมือนกำลังซ่อมแซมอยู่



เดินดูในบริเวณวัด





พระพุทธรูปด้านใน



เดินมาถึงด้านหลัง



เจดีย์สวยๆอีกอันด้านใน





จากนั้นต่อกันที่วิหารบากะยา ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน ชื่อนี้ซ้ำกับบากะยาที่เมืองอังวะซึ่งเพิ่งไปมา แต่ไม่ได้มีชื่อเสียงมากเท่าทำให้เวลาหาข้อมูลก็ค่อนข้างลำบากเพราะจะขึ้นมาเป็นบากะยาที่อังวะหมด



ที่นี่ก็ถือเป็นวิหารที่มีความสวยงามมากอีกแห่ง




หลังคาสวยมาก




รายละเอียดที่ประตู



ด้านในสุดมีเจดีย์เล็กๆ



ด้านในภายในตัวอาคาร



เพื่อนผู้ร่วมเดินทางติดใจที่นี่อยู่ไม่น้อยจึงตั้งใจสำรวจเก็บรายละเอียดพอสมควร ระหว่างนั้นเราก็หยิบอาช่าขึ้นมานั่งเล่นรอ ตอนนี้ยังคงเล่นอยู่ในช่วงที่สู้อยู่ในหอสมุดกลางป่าไม่ได้กระเตื้องไปสักเท่าไหร่ https://phyblas.hinaboshi.com/20150819





จากนั้นมาต่อที่เจดีย์ปะโทดอจี ซึ่งก็อยู่ใกล้กันมาก เจดีย์นี้ชื่อซ้ำกับปะโทดอจีที่เมืองมีนกูนซึ่งเรากำลังจะไปเที่ยวในวันถัดไป เทียบกันแล้วปะโทดอจีของ
มีนกูนมีชื่อเสียงมากกว่า ทำให้เวลาพูดถึงที่นี่ต้องบอกให้ดีว่าเป็นปะโทดอจีของเมืองนี้



เจดีย์นี้มีชื่อเต็มๆว่า มะฮาวีซะยะรานธีปะโทดอจี (
မဟာဝိဇယရံသီပုထိုးတော်ကြီးmaha vijayarangsi pahtodawgyi) เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่มากพอสมควร ถูกสร้างขึ้นในปี 1819 โดยพระเจ้าจักกายแมง บาจีดอ (ဘကြီးတော်)

ข้างๆเจดีย์ใหญ่สีขาวนั้น มีเจดีย์อันเล็กๆอีกอันซึ่งดูแล้วสวยดี




ระฆัง



ภาพส่วนอื่นๆภายในบริเวณ






จากนั้นคนขับก็แนะนำวัดเล็กๆอีกแห่งชื่อวิหารจออองซันดา



ภายใน




มีพระนอนด้วย





เสร็จแล้วจึงเลยต่อมาหน่อยถึงเจดีย์ตองมีนจี



ภายในวัด





ที่ให้เขาพามาที่นี่ไม่ใช่เพราะเจดีย์นี้มีอะไรเป็นพิเศษ แต่เพราะจะใช้มันเป็นจุดตั้งหลักเพื่อจะหาสถานที่อีกแห่งซึ่งไม่ได้ดังมากแต่มีความสำคัญและความน่าสนใจที่จะต้องค้นหา


สถานที่แห่งนั้นคือสุสานของพระเจ้าอุทุมพร กษัตริย์ของอยุธยา ท่านถูกจับมาเป็นเชลยหลังเสียกรุงครั้งที่สองแล้วก็เสียชีวิตลงในพม่า จากนั้นจึงถูกนำฝัง

สถานที่ตั้งของสุสานที่คาดว่าเป็นของพระเจ้าอุทุมพรอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่าเนินลินซิน ในบริเวณนั้นมีสถูปแบบนี้อยู่หลายแห่งทำให้เราต้องเปิดรูปเทียบกับข้อมูลที่เจอในเน็ตให้ดี เพราะไม่มีป้ายติดบอกอะไรทั้งนั้น



งมหาอยู่สักพักถามทางคนโน้นคนนี้ ในที่สุดก็เจอ ที่นี่แหละที่เขาเชื่อกันว่าฝังศพของพระเจ้าอุทุมพรไว้



เจดีย์ที่เห็นไกลๆอยู่เป็นฉากหลายนั้นคือเจดีย์ชเวโมะทอ



เมื่อได้ชมสุสานพระเจ้าอุทุมพรเสร็จแล้วเป้าหมายต่อไปก็คือเดินข้ามสะพานอูเบน (
ဦးပိန်တံတားu bein tantar) ซึ่งก็อยู่ใกล้กับเจดีย์ตองมีนจีนี้เอง

สะพานอูเบนสร้างประมาณปี 1850 มีความยาว ๑๒๐๐ เมตร เป็นสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก ใช้สำหรับข้ามทะเลสาบตองธะมาน (
တောင်သမန်အင်းtaungthaman in) ไม้ที่ใช้สร้างนี้ถูกนำมาจากไม้ที่สร้างพระราชวังเก่าที่อังวะ เมืองหลวงเก่าซึ่งถูกทำลายไปก่อนหน้า

ที่นี่เป็นสถานที่เที่ยวยอดนิยม มีนักท่องเที่ยวมากมาย ตรงหน้าทางเข้าสู่สะพานมีร้านขายของมากมายดูครึกครื้น



กำลังจะเข้าสู่ตัวสะพาน



บรรยากาศของผู้คนที่กำลังเดินบนสะพาน และมีเรือพร้อมที่จะให้บริการคนที่ไม่อยากเดินข้ามเอง รวมที้งอาจสามารถช่วยคนที่ตกน้ำด้วย เพราะสะพานนี้แคบมากและบริเวณส่วนใหญ่ไม่มีราวกั้น



ระหว่างทางก็มีศาลาพักอยู่เป็นช่วงๆ



ภายในนี้มีขายของ ไอศกรีมขายด้วย ราคา ๒๐๐ เราเลยซื้อมาดับกระหายสักหน่อย



ขณะนั้นฝนไม่ตกแล้ว และฟ้าก็กำลังเริ่มเปิดเลยเห็นทิวทัศน์สวยมาก แต่ก็เดินไปเสียวไปต้องระวังตลอด ถ้ามัวแต่ทิวทัศน์จนเพลินอาจร่วงได้โดยไม่รู้ตัว ต้องมองพื้นมากกว่ามองฟ้า




มองเห็นเจดีย์ปะโทดอจีอยู่ทางซ้าย ก็คือฝั่งทิศเหนือของทะเลสาบ มันเป็นเจดีย์ใหญ่สวยเด่นเห็นแต่ไกลจริงๆ



พอใกล้ถึงฝั่งตรงข้ามของสะพานเราได้เห็นภาพที่ทำให้รู้สึกตกใจอีกครั้ง คือบ้านที่จมอยู่ใต้น้ำจนเห็นแต่หลังคา แสดงให้เห็นว่าระดับน้ำตอนนี้ขึ้นสูงกว่าปกติมากจริงๆ อีกอย่างที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ตอนเดินมาก็คือสะพานอูเบนที่เราเห็นนั้นขามันดูเตี้ยกว่ารูปที่เคยเห็นตามเว็บท่องเที่ยว นั่นเพราะน้ำขึ้นสูงมาก





เมื่อข้ามมาถึงฝั่งตรงข้ามแล้วก็เดินต่อไปเพื่อไปยังเจดีย์แห่งสุดท้ายในวันนี้และเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดนั่นคือเจดีย์เจาะตอจี



เจดีย์เจาะตอจี สร้างขึ้นในปี 1847 โดยพระเจ้าพุกามแมง โดยมีแบบมาจากเจดีย์อานันดาในพุกามซึ่งก่อนหน้านี้ได้แวะไปชมมาแล้ว

สิ่งที่โดดเด่นอย่างมากภายในเจดีย์นี้ก็คือภาพวาดฝาหนังซึ่งวาดอะไรต่างๆไว้มากมายซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวพม่าในสมัยนั้น และทีสำคัญที่สุดคือแผนที่ดาวฉบับพม่าโบราณซึ่งวาดไว้ที่เพดานของเจดีย์ฝั่งเหนือกับใต้ ซึ่งมีส่วนให้เข้าใจถึงแนวคิดด้านดาราศาสตร์ของพม่า

มีคนญี่ปุ่นเคยวิจัยเกี่ยวกับภาพวาดแผนที่ดาวที่นี่ไว้ เขียนไว้ใน http://homepage3.nifty.com/silver-moon/burma/part1.htm

ไว้หากมีเวลาก็อยากจะลองอ่านแล้วแปลเรียบเรียงดู แต่ยังไงตอนนี้ยังมีเรื่องอื่นที่ต้องทำมากกว่าจึงไว้รอโอกาสหน้า

ชื่อเจดีย์แห่งนี้ซ้ำกับชื่อวิหารเจาะตอจีในมัณฑะเลย์ ทั้ง ๒ ที่ต่างก็เป็นสถานที่เที่ยวที่สำคัญทั้งคู่ ทำให้เวลาเรียกต้องเน้นให้ดีว่าหมายถึงเจาะตอจีเมืองไหน

คนขับรถพูดติดตลกว่าวันนี้ที่เรามาเที่ยวอมรปุระครั้งนี้เป็นการมาเที่ยว 4G เพราะมีเจดีย์ ๔ แห่งที่ชื่อลงท้ายด้วย "จี" คือชเวกูจี ปะโทดอจี ตองมีนจี และเจาะตอจี

ถึงหน้าทางเข้าแล้ว ทางเข้าอยู่ทางฝั่งใต้ของเจดีย์



เดินเข้ามาถึงตัวเจดีย์ สวยงามมาก




ที่ประตูฝั่งใต้ตอนที่ไปถึงเห็นฝรั่งกลุ่มหนึ่งกำลังเล่นกับเด็กชาวพม่าอย่างสนุกสนาน



เข้ามาด้านใน บรรยากาศภายในวิหารใต้เจดีย์




ภาพเขียนที่สำคัญนั้นถูกเขียนไว้บริเวณประตูทางเข้าทั้ง ๔ ทิศ รูปนี้คือประตูทิศใต้




เมื่อมองขึ้นไปบนเพดานก็จะเห็นแผนที่ดาว




ส่วนนี่เป็นประตูทิศตะวันตก ก็มีแผนที่ดาวเช่นกัน



แล้วก็ประตูทิศเหนือ จะเห็นว่าแผนที่ดาวในประตูแต่ละทิศเขียนต่างกันออกไป



ส่วนทางทิศตะวันออกนั้นเป็นทิศเดียวที่ไม่ได้วาดแผนที่ดาวเอาไว้เลย




เพื่อนผู้ร่วมเดินทางใช้เวลาสำรวจภาพวาดภายในเจดีย์แห่งนี้เป็นเวลานานเนื่องจากนี่เป็นงานและเกี่ยวข้องกับที่เขานำเสนอในงานบรรยายดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ด้วย

ระหว่างนั้นเรานั่งรออยู่ที่ประตูใต้ นั่งดูภาพวาดไปพลางๆหยิบเกมมาเล่นไปพลางๆ จากตอนที่แล้วที่เล่นค้างไว้ที่วิหารบากะยาพอสู้จบโอดีเลียก็มาคุยแล้วบอกว่าหอสมุดนี้มีปัญหาอยู่เลยไม่ค่อยปลอดภัยแล้วก็ช่วยค้นหนังสือเล่นแร่แปรธาตุที่อาช่าหาอยู่ให้



ช่วงที่รออยู่ประมาณ ๒๐ นาทีก็เล่นไปถึงตอนที่อาช่าลงมาค้นหาหนังสือแล้วก็เจอคีธกริฟเข้าอีกครั้ง



เสร็จแล้วเราก็เดินกลับผ่านสะพานอูเบนกลับไปทางเดิม ตอนนั้นพระอาทิตย์ใกล้ตกดินทิวทัศน์จึงสวยงาม เสียดายที่เมฆเยอะอยู่เลยเห็นอะไรไม่ชัดนัก





เมื่อกลับมาถึงเราก็เข้าไปหาอะไรทานที่ห้าง Diamond Plaza อีก เข้าร้านที่อยู่ใกล้กับร้านไต้หวันที่แวะกินเมื่อวาน อาหารมื้อนี้ราคา ๒๕๐๐ ถือว่าไม่แพงแล้วก็อร่อยมากด้วย



คืนนี้ง่วงมากเป็นพิเศษจึงนอนเร็วมาก ตั้งแต่ตอนห้าทุ่ม พักเหนื่อยจากที่วันนี้เที่ยวมาอย่างหนักจนถึงเย็น วันต่อมาจะเป็นการเที่ยวที่ค่อนข้างสบายกว่ามากแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20150924



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ต่างแดน >> อุษาคเนย์ >> พม่า
-- ท่องเที่ยว >> สุสาน
-- ท่องเที่ยว >> ทะเลสาบ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ