φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
เที่ยวเมืองอังวะ เมืองหลวงเก่าที่เหลือเพียงแต่ซาก
เขียนเมื่อ 2015/09/20 20:42
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 2 ส.ค. 2015
หลังจากที่ตอนที่แล้วได้ไปชมเมืองซะไกง์เมืองหลวงเก่ากันมาแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20150918
คราวนี้มาต่อที่เมืองหลวงเก่าอีกแห่งคือเมืองอังวะ
คำว่าอังวะเป็นชื่อที่เรียกในภาษาไทย ส่วนชื่อในภาษาพม่าเรียกว่า "อินวา" (
အင်းဝ
inwa
) แต่ชื่อที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวตะวันตกมาตั้งแต่สมัยโบราณคือ Ava ซึ่งเริ่มมาจากภาษาโปรตุเกส โดยชาวโปรตุเกสซึ่งเข้ามาในระยะแรกๆ
เที่ยวมาถึงตรงนี้เวลาได้ล่วงเลยมาจนเกือบเที่ยงแล้ว ท้องฟ้าตอนนี้ยังคงปกคลุมด้วยเมฆอยู่เช่นเคย
คงต้องร้องเพลงต่อจากตอนเช้าว่า "ฟ้าลุ่มอิรวดียามนี้มีแต่เมฆ..."
ว่าไปแล้วในเพลง "ผู้ชนะสิบทิศ" นั้นมีการกล่าวถึงเมืองอย่างตองอูหรือเมืองแปร ซึ่งทุกคนคงจะคุ้นหูกันดีอยู่แล้ว อย่างที่รู้ได้จากเพลงนี้คือบุเรงนองเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
เราไม่เคยอ่านนิยายหรือดูละครเรื่องผู้ชนะสิบทิศ เคยแต่อ่านประวัติศาสตร์จริงๆของช่วงนั้น ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าในยุคนั้นพม่ากำลังอยู่ในช่วงวุ่นวายหลังจากที่อาณาจักรพุกามล่มสลายลงมาแล้วเป็นเวลานาน
ช่วงศตวรรษที่ 16 มีอาณาจักรหลักๆอยู่ได้แก่อังวะ แปร ตองอู แล้วก็ยังมีพะโค (หงสาวดี) ของชาวมอญ
สำหรับตองอู เมืองแปร พะโค นั้นเราไม่มีโอกาสได้ไปในครั้งนี้เพราะอยู่ห่างลงไปทางใต้ แผนคราวนี้เมืองที่จะไปเที่ยวมีแค่เมืองที่อยู่ทางเหนือเท่านั้น ซึ่งมีแค่อังวะ
ตองอูนั้นก็คืออาณาจักรของบุเรงนอง ซึ่งตอนหลังเอาชนะแล้วก็รวบรวมพม่าเป็นปึกแผ่น ส่วนเมืองแปรนั้นเป็นแค่หัวเมืองสำคัญเมืองหนึ่งที่เดิมทีแยกตัวออกมาจากอาณาจักรอังวะในปี 1482 หากเทียบกันแล้วก็ไม่ได้ถึงกับเด่นเท่าไหร่ แต่กลับมีบทบาทมากในนิยาย แล้วก็ในเพลง
จากที่เล่าไปในตอนที่แล้ว อาณาจักรอังวะก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1364 โดยพระเจ้าธะโดมีนพะยา โดยสืบทอดอำนาจต่อจากอาณาจักรปินยาและซะไกง์
อังวะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดีมากเพราะเป็นจุดตัดระหว่างแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำมยิแง (
မြစ်ငယ်မြစ်
myitnge myit
) ซึ่งสามารถใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติ ตอนที่สร้างเมืองอังวะมีการขุดคลองล้อมโดยให้ตัวเมืองอยู่ในวงปิดระหว่างคลองกับแม่น้ำสองสายทำให้เมืองมีสภาพเป็นเกาะกลางน้ำ
ว่ากันว่าในปี 1313 ตอนที่พระเจ้าธีหะธูก่อตั้งอาณาจักรปินยานั้นเขาได้เล็งตำแหน่งที่เมืองอังวะนี้ไว้แต่เพราะโหรทำนายว่าตำแหน่งไม่เป็นมงคลก็เลยต้องเลื่อนตำแหน่งที่ตั้งเมืองหลวงปินยาไปหลายกิโลเมตร
ในปี 1527 อังวะได้พ่ายแพ้ให้กับอาณาจักรไทใหญ่ แล้วทางไทใหญ่ก็ส่งคนของตัวเองมาตั้งเป็นกษัตริย์อังวะเสียเองทำให้อังวะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทใหญ่ไป ส่วนเมืองแปรเองก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทใหญ่ไปด้วย
แต่ต่อมาความพยายามกอบกู้ชาติโดยราชวงศ์ตองอูก็เริ่มต้นขึ้นโดยพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ โดยตีพะโคแตกในปี 1539 และตีเมืองแปรแตกในปี 1542
จากนั้นถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ปี 1555 ก็ตีอังวะแตก ทำให้อังวะกลับมาเป็นของพม่าอีกครั้ง ราชวงศ์ตองอูรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ
หลังจากนั้นราชวงศ์ตองอูยังได้นำอังวะกลับมาใช้เป็นเมืองหลวงด้วยเป็นระยะเวลานานกว่าร้อยปีในช่วงปลายยุคของราชวงศ์
พอมาถึงช่วงราชวงศ์อลองพญา เมืองอังวะก็มีช่วงที่ถูกใช้เป็นเมืองหลวง คือในปี 1765 จนถึงปี 1783 จากนั้นก็มีการย้ายไปที่อมรปุระแล้วก็ย้ายกลับมาอังวะอีกทีในปี 1821 จนถึงปี 1842 ก็ย้ายกลับไปยังอมรปุระอีกที
ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าอังวะเป็นเมืองหลวงเก่าที่สำคัญเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ยาวนานมาก อย่างไรก็ตามในปี 1838 อังวะเจอแผ่นดินไหวทำให้เสียหายอย่างหนัก หลังจากนั้นก็ถูกทิ้งร้างไปเลย
ปัจจุบันอังวะกลายเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ แต่ก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศเพราะเต็มไปด้วยโบราณสถานที่หลงเหลือจากสมัยที่ยังรุ่งโรจน์
การเที่ยวอังวะนั้นสามารถมาได้ง่ายจากเมืองมัณฑะเลย์ แต่ระหว่างมัณฑะเลย์กับอังวะนั้นมีแม่น้ำมยิเงคั่นอยู่และสะพานที่จะข้ามไปนั้นก็อยู่ไกล ทำให้เส้นทางถนนที่จะไปสู่อังวะนั้นต้องอ้อมไกล ดังนั้นนักท่องเที่ยวจึงมักจะนั่งรถมาจอดที่ท่าเรือซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามตัวเมืองอังวะแล้วนั่งเรือข้ามไปเที่ยวอังวะอีกที
รถพาเราข้ามสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดีกลับมาฝั่งมัณฑะเลย์ โดยสะพานที่ข้ามคราวนี้เป็นสะพานเก่า ต่างจากขามาที่ข้ามโดยสะพานใหม่ สะพานเก่านี้ชื่อว่าสะพานอังวะ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1934 ถูกทำบายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและสร้างใหม่ในปี 1954
ข้ามสะพานมาแล้วก็เลี้ยวลงใต้ต่อมาจนถึงท่าเรือ เห็นสภาพท่าเรือแล้วรู้ได้เลยว่าระดับน้ำขึ้นสูงกว่าปกติ มีบ้านเรือนจมอยู่ใต้น้ำ
ค่าเรือคือ ๑๐๐๐ จ๊าด เรือลำที่เราเห็นตอนแรกที่มาถึงนั้นเต็มแล้วจึงต้องรอเรือถัดไปซึ่งก็เว้นช่วงไม่นานนัก มีคนมารอขึ้นเรืออยู่ไม่น้อย ซึ่งก็เป็นชาวต่างชาติซะส่วนใหญ่
แล้วเรือก็มา
เมื่อเรือเคลื่อนเข้ามาใกล้ถึงฝั่งอังวะก็เห็นบ้านเรือนหลายหลังจมน้ำอยู่
พอมาถึงก็เจอรถม้าอยู่เป็นจำนวนมากมาย นักท่องเที่ยวแต่ละคนต่างก็จับจองรถม้าของตัวเอง โดยมากจะนั่งสองคนต่อคัน ค่าโดยสารนั้นเป็นมาตรฐานอยู่แล้วคือ ๘๐๐๐ จ๊าดต่อคัน จ้างให้ไปไหนก็ได้ในนี้เป็นเวลา ๒ ชั่วโมง เรื่องนี้คนขับแท็กซีบอกเราชัดเจนตั้งแต่ก่อนนั่งเรือมา ถึงอย่างนั้นมาถึงก็ยังมีเล่นตุกติกเช่นบอกว่า ๘๐๐๐ จ๊าดนั่งไปได้แค่ชั่วโมงเดียว แต่พอค้านไปเขาก็ยอมให้เป็น ๒ ชั่วโมง
สำหรับสถานที่เที่ยวในนี้โดยหลักๆแล้วมีอยู่ ๔ แห่ง
- หมู่เจดีย์ยะดะนาซีมี (
ရတနာဆီမီးဘုရား
yadana hsimi buyar
)
- วิหารบากะยา (
ဗားကရာကျောင်း
bagaya kyaung
)
-
หอคอยนานมยิน (
နန်းမြင့်မျှော်စင်
nan myint myawsein
)
- วัดมะฮาอองมเยโบนซาน (
မဟာအောင်မြေဘုံစံကျောင်း
maha aungmye bonzan kyaung
)
ไม่ว่าใครจะมาก็ต้องชม ๔ แห่งนี้ ซึ่งเวลา ๒ ชั่วโมงที่วางไว้ก็ดูจะลงตัวพอดีเลย อย่างไรก็ตามที่จริงแล้วในนี้ยังมีพวกเจดีย์เล็กๆที่มีความสำคัญน้อยกว่า แล้วก็ยังมีพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ดูแล้วเวลาไม่พอที่จะแวะก็เลยไม่ได้แวะ
คนที่ขับให้เรานั้นเป็นคุณลุงที่ดูแล้วอายุมากพอสมควรแต่ก็ดูยังแข็งแรงดีอยู่ เมื่อได้รถม้าแล้วก็ออกเดินทางเลย ค่ารถม้าจ่ายทันทีตั้งแต่ก่อนขึ้น ต่างจากรถม้าที่พุกามที่จ่ายหลังจากลง
ระหว่างทางผ่านพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอังวะ แต่เราไม่ได้แวะเข้าไป
แล้วก็ผ่านเจดีย์ชเวซีโกน (
ရွှေစည်းခုံဘုရား
shwezigon buyar
) ชื่อเจดีย์นี้เหมือนกับชเวซีโกนที่พุกามเลย แต่ชเวซีโกนของที่นี่ไม่มีอะไรเด่น ไม่ใช่จุดที่คนจะต้องแวะเข้าไปชม แค่ถ่ายรูประหว่างผ่านก็พอ
ระหว่างทางเส้นทางที่ผ่านเท่าที่เห็นค่อนข้างเงียบสงบมีแต่ธรรมชาติซะมาก บ้านคนไม่ค่อยเยอะ ชาวบ้านแถวนี้ทำปศุสัตว์กัน
มาถึงเป้าหมายแรกคือหมู่เจดีย์ยะดะนาซีมีแล้ว
เราเดินไม่นานก็เสร็จ ระหว่างที่รอเพื่อนผู้ร่วมเดินทางสำรวจอย่างละเอียดอยู่นั้นก็ไปเดินเล่นที่ทุ่งหญ้าข้างๆแถวนั้น เจอวัวที่คนเขาเลี้ยงไว้จึงเข้าไปถ่ายใกล้ๆ
หลังจากที่ท้องฟ้ามีฝนตั้งเค้ามานานในที่สุดก็เริ่มมีหยดน้ำปรอยตกลงมา แต่ก็ไม่ได้หนักจนทำให้ใครต้องกางร่ม
รถม้ามุ่งหน้าต่อไปสู่เป้าหมายต่อไป
นั่นคือวิหารบากะยา ที่นี่ถูกสร้างในปี 1834 โดยใช้ไม้สัก มีการแกะสลักลวดลายบนไม้มากมายดูแล้วสวยงาม เป็นสถาปัตยกรรมที่เยี่ยมยอด
หลังคาของศาลาทำออกมาได้สวยงาม
ตัวอาคารซึ่งทำจากไม้นั้นดูแล้วสวยงาม
ลวดลายต่างๆที่แกะสลักบนผิวไม้อย่างวิจิตร
เข้ามาชมด้านในอาคารก็พบว่ามีการแกะสลักอยู่มากมาย
แม้แต่ที่พื้นก็มีลวดลาย
ภายในนี้ยังมีสามเณรกำลังนั่งเรียนหนังสืออยู่ด้วย เราได้แต่มองจากห่างๆไม่ได้เข้าไปใกล้และไม่กล้าส่งเสียงรบกวน
ข้างๆมีเจดีย์ริมน้ำอยู่ ถ่ายสะท้อนน้ำสวยงาม
เสร็จแล้วก็เดินทางย้อนกลับไปทางเดิมเพื่อเลี้ยวไปเข้าย่านในกำแพงเมืองเก่า
เดินผ่านประตูเมืองเก่า
เข้ามาด้านในกำแพงแล้ว ภายในนี้ก็เห็นเจดีย์อยู่ประปรายระหว่างทาง
ระหว่างทางเส้นทางที่ผ่านนั้นเริ่มดูเคว้งและรถม้าก็แล่นช้าพอสมควร เรามองรอบข้างจนไม่มีอะไรให้มองแล้วก็เลยตัดสินใจหยิบเกมมาเล่นต่อ ซึ่งก็มีเวลาสักพักในการเล่นเพราะรถม้าค่อนข้างช้า แม้ขนาดภายในตัวเมืองจะไม่ได้กว้างสักเท่าไหร่แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร ตรงนี้เล่นถึงตอนที่เจอศัตรูอาละวาดภายในหอสมุดและกำลังต่อสู้อยู่
https://phyblas.hinaboshi.com/20150819
มาถึงหอคอยนานมยิน หอนี้สูง ๓๐ เมตร ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังที่สร้างขึ้นในปี 1822 ปัจจุบันยังคงหลงเหลืออยู่โดยมีลักษณะเด่นคือเอียง
ด้านบนปิดไม่ให้ขึ้น
เสร็จแล้วก็มาต่อกันที่สุดท้ายคือวัดมะฮาอองมเยโบนซาน
ที่นี่เป็นวิหารสีเหลืองสวยงาม
ชั้นล่างของวิหารนั้นข้างในว่างเปล่าไม่มีอะไร
ขึ้นมาด้านบน
เข้าไปในอาคาร ในนี้มีแกะสลักอยู่บ้างแต่ไม่มาก
มองข้ามไปทางโน้นมีเจดีย์สีขาว
มองไปตรงนี้เห็นแม่น้ำอิรวดี
เห็นสะพานอังวะได้ชัด
เมื่อเสร็จแล้วก็นั่งรถม้ากลับมาที่เรือ เวลาที่ใช้ทั้งหมดก็ประมาณ ๒ ชั่วโมงพอดี
ออกเรือเพื่อเดินทางกลับ ระหว่างทางก็ถ่ายภาพสะพานอังวะพร้อมกับเนินเขาซะไกง์ได้
แล้วก็กลับมาถึงฝั่ง ซึ่งแท็กซีก็กำลังรอเราอยู่ เรารีบขึ้นแท็กซีเพื่อไปยังถัดไปซึ่งเป็นสุดท้ายของวันนี้นั่นคืออมรปุระ
https://phyblas.hinaboshi.com/20150922
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
ศาสนสถาน
>>
วัด
--
ต่างแดน
>>
อุษาคเนย์
>>
พม่า
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นริมฝั่งทะเลเบปปุยามเช้า มีหาดทรายนิดหน่อย
ปราสาทคิฟุเนะ จุดชมทิวทัศน์ยุเกมุริ เบปปุทาวเวอร์
เบปปุจิโงกุเมงุริ เที่ยวชมอนเซงบ่อนรกที่มีสีสันสวยงามแปลกตาทั้ง ๗ แห่งในเบปปุ
ขึ้นรถกระเช้าเบปปุไปยังยอดเขาทสึรุมิสูง ๑๓๗๕ เมตร มองเห็นเมืองเบปปุริมฝั่งทะเลจากมุมสูง
เดินไปตามถนนยุโนะทสึโบะ ชมยุฟุอิงฟลอรัลวิลเลจ แวะกินตามข้างทางไปเรื่อย
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文