φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เที่ยวเมืองอมรปุระ เยี่ยมสุสานพระเจ้าอุทุมพร และวิหารที่จารึกแผนที่ดาวโบราณ
เขียนเมื่อ 2015/09/22 08:37
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# อาทิตย์ 2 ส.ค. 2015

หลังจากที่ได้ชมเมืองหลวงเก่าอังวะไปแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20150920

ตอนนี้เราก็มาต่อกันที่เมืองหลวงเก่าอีกแห่ง อมรปุระ (
အမရပူရamarapura) ซึ่งถูกใช้เป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์อลองพญา โดยถูกใช้ ๒ ครั้งในช่วงปี 1783–1821 และ 1842–1859

ปี 1859 เมืองหลวงได้ย้ายไปอยู่มัณฑะเลย์ พระราชวังก็ถูกสร้างใหม่ที่นั่นโดยได้นำวัสดุจากพระราชวังที่อมรปุระไป ทำให้พระราชวังอมรปุระถูกทิ้งร้าง ปัจจุบันก็เหลือแต่ซากซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในแผนที่ พวกเราถามคนขับรถให้เขาช่วยพาไปชมซากพระราชวังแต่ว่าเขาไม่รู้จักที่นั่นดังนั้นจึงไม่ได้พาไป

ชื่อ "อมรปุระ" นั้นเป็นชื่อจากภาษาบาลีแปลว่า "เมืองอมตะ" โดยคำว่า "อมร" ควรอ่านเป็น "อะ-มะ-ระ" ไม่ใช่ "อะ-มอน" ส่วนในภาษาพม่าเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "อะมะราปูรา"

วิหารและเจดีย์ในเมืองนี้มีอยู่มากมาย เราได้แวะไปเยี่ยมมาหลายแห่งทีเดียว ที่เราแวะไปมาได้แก่
- เจดีย์ชเวกูจี (
ရွှေဂူကြီးဘုရားshwegugyi buyar)
- วิหารบากะยา (ဗားကရာဘုန်းကြီးကျောင်းbagaya bonkyi kyaung
)
- เจดีย์ปะโทดอจี (
ပုထိုးတော်ကြီးpahtodawgyi)
- วิหารจออองซันดา (
ကျော်အောင်စံထားကျောင်းတိုက်kyaw aung san dar kyaung taik)
- เจดีย์ตองมีนจี (
တောင်မင်းကြီးဘုရားtaungmingyi buyar)
- เจดีย์ชเวโมะทอ (
ရွှေမုဋ္ဌောဘုရားshwe motehtaw buyar)
- เจดีย์เจาะตอจี (ကျောက်တော်ကြီးဘုရားkyauktawgyi buyar
)

จะเห็นว่าชื่อวัดและเจดีย์ต่างๆในเมืองนี้มีซ้ำกับสถานที่ในเมืองอื่นๆอยู่เยอะ ทำให้เวลาเรียกชื่อต้องบอกดีๆว่าของเมืองนี้



เป้าหมายแรกคือเจดีย์ชเวกูจี ชื่อเจดีย์นี้ไปซ้ำกับชเวกูจีที่เมืองพุกามแต่ไม่ได้มีชื่อเสียงเท่า คนมาเที่ยวกันน้อย ถึงอย่างนั้นก็สวยงามมาก



มีส่วนหนึ่งดูเหมือนกำลังซ่อมแซมอยู่



เดินดูในบริเวณวัด





พระพุทธรูปด้านใน



เดินมาถึงด้านหลัง



เจดีย์สวยๆอีกอันด้านใน





จากนั้นต่อกันที่วิหารบากะยา ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน ชื่อนี้ซ้ำกับบากะยาที่เมืองอังวะซึ่งเพิ่งไปมา แต่ไม่ได้มีชื่อเสียงมากเท่าทำให้เวลาหาข้อมูลก็ค่อนข้างลำบากเพราะจะขึ้นมาเป็นบากะยาที่อังวะหมด



ที่นี่ก็ถือเป็นวิหารที่มีความสวยงามมากอีกแห่ง




หลังคาสวยมาก




รายละเอียดที่ประตู



ด้านในสุดมีเจดีย์เล็กๆ



ด้านในภายในตัวอาคาร



เพื่อนผู้ร่วมเดินทางติดใจที่นี่อยู่ไม่น้อยจึงตั้งใจสำรวจเก็บรายละเอียดพอสมควร ระหว่างนั้นเราก็หยิบอาช่าขึ้นมานั่งเล่นรอ ตอนนี้ยังคงเล่นอยู่ในช่วงที่สู้อยู่ในหอสมุดกลางป่าไม่ได้กระเตื้องไปสักเท่าไหร่ https://phyblas.hinaboshi.com/20150819





จากนั้นมาต่อที่เจดีย์ปะโทดอจี ซึ่งก็อยู่ใกล้กันมาก เจดีย์นี้ชื่อซ้ำกับปะโทดอจีที่เมืองมีนกูนซึ่งเรากำลังจะไปเที่ยวในวันถัดไป เทียบกันแล้วปะโทดอจีของ
มีนกูนมีชื่อเสียงมากกว่า ทำให้เวลาพูดถึงที่นี่ต้องบอกให้ดีว่าเป็นปะโทดอจีของเมืองนี้



เจดีย์นี้มีชื่อเต็มๆว่า มะฮาวีซะยะรานธีปะโทดอจี (
မဟာဝိဇယရံသီပုထိုးတော်ကြီးmaha vijayarangsi pahtodawgyi) เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่มากพอสมควร ถูกสร้างขึ้นในปี 1819 โดยพระเจ้าจักกายแมง บาจีดอ (ဘကြီးတော်)

ข้างๆเจดีย์ใหญ่สีขาวนั้น มีเจดีย์อันเล็กๆอีกอันซึ่งดูแล้วสวยดี




ระฆัง



ภาพส่วนอื่นๆภายในบริเวณ






จากนั้นคนขับก็แนะนำวัดเล็กๆอีกแห่งชื่อวิหารจออองซันดา



ภายใน




มีพระนอนด้วย





เสร็จแล้วจึงเลยต่อมาหน่อยถึงเจดีย์ตองมีนจี



ภายในวัด





ที่ให้เขาพามาที่นี่ไม่ใช่เพราะเจดีย์นี้มีอะไรเป็นพิเศษ แต่เพราะจะใช้มันเป็นจุดตั้งหลักเพื่อจะหาสถานที่อีกแห่งซึ่งไม่ได้ดังมากแต่มีความสำคัญและความน่าสนใจที่จะต้องค้นหา


สถานที่แห่งนั้นคือสุสานของพระเจ้าอุทุมพร กษัตริย์ของอยุธยา ท่านถูกจับมาเป็นเชลยหลังเสียกรุงครั้งที่สองแล้วก็เสียชีวิตลงในพม่า จากนั้นจึงถูกนำฝัง

สถานที่ตั้งของสุสานที่คาดว่าเป็นของพระเจ้าอุทุมพรอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่าเนินลินซิน ในบริเวณนั้นมีสถูปแบบนี้อยู่หลายแห่งทำให้เราต้องเปิดรูปเทียบกับข้อมูลที่เจอในเน็ตให้ดี เพราะไม่มีป้ายติดบอกอะไรทั้งนั้น



งมหาอยู่สักพักถามทางคนโน้นคนนี้ ในที่สุดก็เจอ ที่นี่แหละที่เขาเชื่อกันว่าฝังศพของพระเจ้าอุทุมพรไว้



เจดีย์ที่เห็นไกลๆอยู่เป็นฉากหลายนั้นคือเจดีย์ชเวโมะทอ



เมื่อได้ชมสุสานพระเจ้าอุทุมพรเสร็จแล้วเป้าหมายต่อไปก็คือเดินข้ามสะพานอูเบน (
ဦးပိန်တံတားu bein tantar) ซึ่งก็อยู่ใกล้กับเจดีย์ตองมีนจีนี้เอง

สะพานอูเบนสร้างประมาณปี 1850 มีความยาว ๑๒๐๐ เมตร เป็นสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก ใช้สำหรับข้ามทะเลสาบตองธะมาน (
တောင်သမန်အင်းtaungthaman in) ไม้ที่ใช้สร้างนี้ถูกนำมาจากไม้ที่สร้างพระราชวังเก่าที่อังวะ เมืองหลวงเก่าซึ่งถูกทำลายไปก่อนหน้า

ที่นี่เป็นสถานที่เที่ยวยอดนิยม มีนักท่องเที่ยวมากมาย ตรงหน้าทางเข้าสู่สะพานมีร้านขายของมากมายดูครึกครื้น



กำลังจะเข้าสู่ตัวสะพาน



บรรยากาศของผู้คนที่กำลังเดินบนสะพาน และมีเรือพร้อมที่จะให้บริการคนที่ไม่อยากเดินข้ามเอง รวมที้งอาจสามารถช่วยคนที่ตกน้ำด้วย เพราะสะพานนี้แคบมากและบริเวณส่วนใหญ่ไม่มีราวกั้น



ระหว่างทางก็มีศาลาพักอยู่เป็นช่วงๆ



ภายในนี้มีขายของ ไอศกรีมขายด้วย ราคา ๒๐๐ เราเลยซื้อมาดับกระหายสักหน่อย



ขณะนั้นฝนไม่ตกแล้ว และฟ้าก็กำลังเริ่มเปิดเลยเห็นทิวทัศน์สวยมาก แต่ก็เดินไปเสียวไปต้องระวังตลอด ถ้ามัวแต่ทิวทัศน์จนเพลินอาจร่วงได้โดยไม่รู้ตัว ต้องมองพื้นมากกว่ามองฟ้า




มองเห็นเจดีย์ปะโทดอจีอยู่ทางซ้าย ก็คือฝั่งทิศเหนือของทะเลสาบ มันเป็นเจดีย์ใหญ่สวยเด่นเห็นแต่ไกลจริงๆ



พอใกล้ถึงฝั่งตรงข้ามของสะพานเราได้เห็นภาพที่ทำให้รู้สึกตกใจอีกครั้ง คือบ้านที่จมอยู่ใต้น้ำจนเห็นแต่หลังคา แสดงให้เห็นว่าระดับน้ำตอนนี้ขึ้นสูงกว่าปกติมากจริงๆ อีกอย่างที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ตอนเดินมาก็คือสะพานอูเบนที่เราเห็นนั้นขามันดูเตี้ยกว่ารูปที่เคยเห็นตามเว็บท่องเที่ยว นั่นเพราะน้ำขึ้นสูงมาก





เมื่อข้ามมาถึงฝั่งตรงข้ามแล้วก็เดินต่อไปเพื่อไปยังเจดีย์แห่งสุดท้ายในวันนี้และเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดนั่นคือเจดีย์เจาะตอจี



เจดีย์เจาะตอจี สร้างขึ้นในปี 1847 โดยพระเจ้าพุกามแมง โดยมีแบบมาจากเจดีย์อานันดาในพุกามซึ่งก่อนหน้านี้ได้แวะไปชมมาแล้ว

สิ่งที่โดดเด่นอย่างมากภายในเจดีย์นี้ก็คือภาพวาดฝาหนังซึ่งวาดอะไรต่างๆไว้มากมายซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวพม่าในสมัยนั้น และทีสำคัญที่สุดคือแผนที่ดาวฉบับพม่าโบราณซึ่งวาดไว้ที่เพดานของเจดีย์ฝั่งเหนือกับใต้ ซึ่งมีส่วนให้เข้าใจถึงแนวคิดด้านดาราศาสตร์ของพม่า

มีคนญี่ปุ่นเคยวิจัยเกี่ยวกับภาพวาดแผนที่ดาวที่นี่ไว้ เขียนไว้ใน http://homepage3.nifty.com/silver-moon/burma/part1.htm

ไว้หากมีเวลาก็อยากจะลองอ่านแล้วแปลเรียบเรียงดู แต่ยังไงตอนนี้ยังมีเรื่องอื่นที่ต้องทำมากกว่าจึงไว้รอโอกาสหน้า

ชื่อเจดีย์แห่งนี้ซ้ำกับชื่อวิหารเจาะตอจีในมัณฑะเลย์ ทั้ง ๒ ที่ต่างก็เป็นสถานที่เที่ยวที่สำคัญทั้งคู่ ทำให้เวลาเรียกต้องเน้นให้ดีว่าหมายถึงเจาะตอจีเมืองไหน

คนขับรถพูดติดตลกว่าวันนี้ที่เรามาเที่ยวอมรปุระครั้งนี้เป็นการมาเที่ยว 4G เพราะมีเจดีย์ ๔ แห่งที่ชื่อลงท้ายด้วย "จี" คือชเวกูจี ปะโทดอจี ตองมีนจี และเจาะตอจี

ถึงหน้าทางเข้าแล้ว ทางเข้าอยู่ทางฝั่งใต้ของเจดีย์



เดินเข้ามาถึงตัวเจดีย์ สวยงามมาก




ที่ประตูฝั่งใต้ตอนที่ไปถึงเห็นฝรั่งกลุ่มหนึ่งกำลังเล่นกับเด็กชาวพม่าอย่างสนุกสนาน



เข้ามาด้านใน บรรยากาศภายในวิหารใต้เจดีย์




ภาพเขียนที่สำคัญนั้นถูกเขียนไว้บริเวณประตูทางเข้าทั้ง ๔ ทิศ รูปนี้คือประตูทิศใต้




เมื่อมองขึ้นไปบนเพดานก็จะเห็นแผนที่ดาว




ส่วนนี่เป็นประตูทิศตะวันตก ก็มีแผนที่ดาวเช่นกัน



แล้วก็ประตูทิศเหนือ จะเห็นว่าแผนที่ดาวในประตูแต่ละทิศเขียนต่างกันออกไป



ส่วนทางทิศตะวันออกนั้นเป็นทิศเดียวที่ไม่ได้วาดแผนที่ดาวเอาไว้เลย




เพื่อนผู้ร่วมเดินทางใช้เวลาสำรวจภาพวาดภายในเจดีย์แห่งนี้เป็นเวลานานเนื่องจากนี่เป็นงานและเกี่ยวข้องกับที่เขานำเสนอในงานบรรยายดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ด้วย

ระหว่างนั้นเรานั่งรออยู่ที่ประตูใต้ นั่งดูภาพวาดไปพลางๆหยิบเกมมาเล่นไปพลางๆ จากตอนที่แล้วที่เล่นค้างไว้ที่วิหารบากะยาพอสู้จบโอดีเลียก็มาคุยแล้วบอกว่าหอสมุดนี้มีปัญหาอยู่เลยไม่ค่อยปลอดภัยแล้วก็ช่วยค้นหนังสือเล่นแร่แปรธาตุที่อาช่าหาอยู่ให้



ช่วงที่รออยู่ประมาณ ๒๐ นาทีก็เล่นไปถึงตอนที่อาช่าลงมาค้นหาหนังสือแล้วก็เจอคีธกริฟเข้าอีกครั้ง



เสร็จแล้วเราก็เดินกลับผ่านสะพานอูเบนกลับไปทางเดิม ตอนนั้นพระอาทิตย์ใกล้ตกดินทิวทัศน์จึงสวยงาม เสียดายที่เมฆเยอะอยู่เลยเห็นอะไรไม่ชัดนัก





เมื่อกลับมาถึงเราก็เข้าไปหาอะไรทานที่ห้าง Diamond Plaza อีก เข้าร้านที่อยู่ใกล้กับร้านไต้หวันที่แวะกินเมื่อวาน อาหารมื้อนี้ราคา ๒๕๐๐ ถือว่าไม่แพงแล้วก็อร่อยมากด้วย



คืนนี้ง่วงมากเป็นพิเศษจึงนอนเร็วมาก ตั้งแต่ตอนห้าทุ่ม พักเหนื่อยจากที่วันนี้เที่ยวมาอย่างหนักจนถึงเย็น วันต่อมาจะเป็นการเที่ยวที่ค่อนข้างสบายกว่ามากแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20150924



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ต่างแดน >> อุษาคเนย์ >> พม่า
-- ท่องเที่ยว >> สุสาน
-- ท่องเที่ยว >> ทะเลสาบ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文