φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



สุยหั่วถงหยวน เมื่อน้ำและไฟอยู่ร่วมกัน
เขียนเมื่อ 2016/04/07 18:24
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 27 มี.ค. 2016

เมื่อคืนเดินทางมาถึงกวานจื๋อหลิ่ง (關子嶺) และได้พักในโรงแรม https://phyblas.hinaboshi.com/20160405

ในวันนี้เราจะออกเดินทางไปเที่ยวสถานที่รอบๆบริเวณนี้ ที่นี่ไม่ได้มีแค่ย่านโรงแรมแต่ยังประกอบไปด้วยวัดและอะไรอื่นๆอีก

จุดท่องเที่ยวเด่นของที่นี่อย่างหนึ่งก็คือสุยหั่วถงหยวน (水火同源) ซึ่งเป็นที่ที่มีไฟพุ่งออกมาจากน้ำ เกิดจากการที่ตรงนั้นมีก๊าซธรรมชาติพุ่งขึ้นมา

สถานที่นี้ถูกค้นพบ ตั้งแต่ปี 1701 ตั้งแต่ก่อนที่บริเวณนี้จะถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นย่านพักตากอากาศเสียอีก ตั้งแต่ถูกค้นพบไฟก็ยังคงลุกอยู่ที่เดิมตลอดจนถึงทุกวัน

ก่อนนอนได้เปิดน้ำร้อนจากบ่อน้ำแร่ทิ้งเอาไว้ในอ่าง พอตื่นเช้ามามันก็เย็นแล้วแต่ก็ยังมีไออุ่น พอจะแช่ได้อยู่ เราลงไปแช่สักพักแล้วก็ออกมาอาบน้ำ หลังจากนั้นอาอี๋ก็มาแช่ต่ออีกที ดูแล้วคนไต้หวันน่าจะชอบแช่น้ำแร่อยู่ไม่น้อย ยิ่งอากาศหนาวแบบนี้



โรงแรมนี้มีแถมอาหารเช้า แต่ร้านอาหารเปิด 8 โมงเช้า ซึ่งถือว่าค่อนข้างสาย ดังนั้นเราจึงออกไปเดินเล่นข้างนอกกันก่อน อากาศยามเช้าสดใสน่าเดินเล่นออกกำลังกาย



ทิวทัศน์ริมน้ำสวยงาม



หมาเยอะเหมือนกัน



เดินไปตามทางไม้





เดินถึงแค่นี้แล้วก็ไม่ได้ไปต่อเพราะข้างหน้าไม่มีอะไรแล้ว



ระหว่างเดินกลับโรงแรมเห็นรถขนาดใหญ่ น่าจะพากลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่มาลง



บรรยากาศสบายๆในหมู่บ้านกลางเขาแบบนี้ให้ความรู้สึกสบายๆดีไม่น้อย อากาศเย็นยามเช้าทำให้สดชื่น



กลับมาถึงห้องแล้วนั่งรอสักพักร้านอาหารก็เปิด



อาหารเช้าก็เน้นขนมปังอีกเช่นเคย ที่นี่มีแยมถั่วอร่อย แต่ก็ไม่ได้อร่อยมากเท่าเชียนเต่าเจี้ยงที่โรงแรมที่เถาหยวน



จากนั้นกลับมาพักที่ห้องจนถึงเก้าโมงครึ่งก็ออกมาขึ้นรถเพื่อไปยังสุยหั่วถงหยวน

นั่งรถไม่นานก็มาถึง เพราะอยู่ใกล้ ที่นี่มีร้านตั้งอยู่มากมาย



ขายของกินหลายอย่าง



กำแพงลายมังกรระหว่างทางเดินไป



ตรงนี้ขายขิง



ขายลูกข่าง



ของประดับ



ถึงจุดสำคัญแล้ว



มองไปเห็นไฟขึ้นมาจากน้ำ





พอชมเสร็จก็เดินต่อมาไปยังวัดหั่วซานปี้หยวิน (火山碧雲寺) สร้างขึ้นในปี 1808 เป็นวัดเล็กๆ



ตอนที่มาถึงที่นี่มีจัดพิธีพอดี ทำให้มีเสียงประทัด และมีควันเต็มไปหมด




คนก็แน่น




พอดูในวัดเสร็จก็ออกมาจากวัดแล้วเดินไปมองๆไกลๆ



มองลงจากหน้าผาตรงข้ามวัด ทิวทัศน์ไม่เลว






จากนั้นก็แวะมาวัดอีกแห่งชื่อว่าวัดต้าเซียน (大仙寺) วัดนี้มีขนาดใหญ่กว่าและเก่าแก่กว่า สร้างในปี 1701



ข้างในตกแต่งสวยงาม



มังกรสวยงาม



ที่นี่เองก็มีจัดงานพิธีอยู่เช่นกัน




ไม่ค่อยชอบอะไรแบบนี้เท่าไหร่ ทั้งหนวกหูทั้งอันตราย สิ้นเปลืองทรัพยากรด้วย เป็นภาพที่ไม่ได้น่าดูสักเท่าไหร่นัก ถึงเราจะชอบจีนแต่ประเพณีแบบนี้ไม่ค่อยอยากสนับสนุน



ด้านหน้าอาคารวัด





การเที่ยวในกวานจึหลิ่งก็จบลงแค่นี้ จากนี้ไปจะเดินทางไปเที่ยวสถานที่อื่นในเขตจังหวัดไถหนานต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20160409



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไถหนาน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ